[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 318
๒. บุคคล ที่ควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และอาการไม่ชอบใจ ให้ปรากฏ เหมือนแผลเรื้อรัง ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีน้ำเลือด น้ำหนองไหลออกมากมาย ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้ายและอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น
ใบมะพลับแห้งถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดัง จิจิฏะ จิฏะ จิฏะ เกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติ ย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น
หลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ ย่อมมีกลิ่นเหม็นเกินประมาณกลิ่นเหม็นเกินประมาณ ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ควรโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่าแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อมข้อง ย่อมกำเริบ ย่อมแสดงอาการผิดปกติย่อมกระด้าง ย่อมแสดงความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏ ก็ฉันนั้น บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า เขาจะพึงด่าเราบ้าง พึงว่าเราบ้าง พึงกระทำความฉิบหายแก่เราบ้าง เพราะฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรวางเฉยเสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บทว่า "ตินฺทุกาลาตํ" ได้แก่ ใบแห้งของต้นมะพลับ.
ข้อว่า "ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจฺจิฏายติ" ความว่า ก็ใบแห่งต้นมะพลับนั้นเมื่อถูกเผาอยู่ แม้ตามธรรมดา ย่อมมีเสียงสะเก็ดระเบิดดัง จิฏิจิฏะ อธิบายว่า เมื่อมีอะไรๆ มากระทบแล้ว ย่อมมีเสียงดังมาก.
ข้อว่า "เอวเมว" ความว่า บุคคลผู้มักโกรธ แม้ตามธรรมดาของตนก็ เป็นผู้ดุร้าย เพราะเขามีจิตฟุ้งซ่าน และย่อม ประพฤติฉันที่นั้นนั่นแหละ.
อนึ่ง เมื่อผู้อื่น กล่าวคำเล็กน้อย คนผู้มักโกรธนั้น ก็กระทำ ความดุร้าย เพราะตนเป็นผู้มีความฟุ้งซ่านหนัก ขึ้นว่า "บุคคลนี้ ย่อมกล่าวอย่างนี้กะบุคคลชื่อ ผู้เช่นกันด้วยเรา"
บทว่า "คูถกูโป" ได้แก่ หลุมอันเต็มไปด้วยคูถ อีกอย่างหนึ่งได้แก่ กองแห่งคูถนั่นเอง.ก็บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมาในคำว่า "คูถกูโป" นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เห็นปานนี้อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพ บุคคลผู้มักโกรธนั้น เมื่อผู้อื่นเสพมากเกินไปบ้าง เข้าไปหามากเกินไปบ้าง ย่อมโกรธทั้งนั้น แม้เมื่อผู้อื่นหลีกไปก็โกรธอีกนั่นแหละว่า "ประโยชน์อะไร กับบุคคลผู้นี้เล่า" ฉะนั้น เขา (ผู้มักโกรธนั้น) บุคคลพึงวางเฉยเสีย ไม่ควรซ่องเสพ เหมือนไฟไหม้ฟาง.
ข้อนี้มีคำอธิบายไว้อย่างไร
มีคำอธิบายว่า ผู้ใดเข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางมากเกินไปย่อมเร่าร้อน สรีระของตนก็ย่อมจะถูกไฟไหม้ ผู้ใดไม่ถอยห่างออกมา ก็ย่อมเร่าร้อน ความเย็นย่อมไม่เกิดแก่เขา เมื่อผู้นั้นไม่เข้าไปใกล้ ไม่หลีกไปเพ่ง อยู่ด้วยความวางเฉย ความเย็นของผู้นั้นย่อมมี แม้กายเขาก็ไม่ถูกไหม้ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธนั้น อันบุคคลพึงวางเฉย ไม่ควรซ่องเสพไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ดุจไฟไหม้ฟาง ฉะนั้นแล.
ขออนุโมทนา......
จะวางเฉยได้ ต้องอาศัยการสั่งสมของปัญญา ที่จะเห็นคุณของ "ขันติบารมี" ครับ
เป็นคนขี้โกรธ ทำอย่างไร ดี?
อนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น