เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
การระลืกเป็นไปใน อกุศล ไม่ทราบว่าเป็นหน้าที่การงานของเจตสิกใดครับ
เข้าใจว่าสติเกิดกับโสภณจิตทุกประเภทอยู่แล้ว ถ้าฟังธรรมเข้าใจ สติย่อมเกิดขึ้นกระทำกิจของสติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรห่วงว่าสติเกิดหรือไม่เกิด แต่ควรเป็นผู้ไม่ประ-
มาทในการเจริญกุศลทุกประการ เป็นคนดีทุกเมื่อ เพราะขณะที่จิตเป็นไปในกุศลสติ
ย่อมเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ส่วนสติปัฏฐานจะเกิดได้ต่อเมื่อมีเหตุที่สมควร คือ การสั่งสม
สุตตะ และความเข้าใจ ที่เพียงพอที่จะปรุงแต่งให้สติขั้นนั้นๆ เกิดขึ้นครับ
ขออนุโมทนาครับ
จะทำอย่างไร เมื่อไหร่ ผิดเมื่อนั้น ทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามเหตุปัจจัย
สติปัฏฐานจะเกิดก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัย ความเข้าใจขั้นการฟังเป็นเหตุปัจจัยให้สติ-
ปัฏฐานเกิด รวมทั้งกุศลประการต่างๆ ด้วย (บารมี 10) หากไม่มีกุศลประการต่างๆ ใน
ชีวิตประจำวัน ก็เหมือนกับคนที่เห็นทางแต่ไม่มีแรงที่จะเดินไป กุศลประการต่างๆ จึง
เป็นปัจจัยให้สติเกิดได้ แต่ที่สำคัญที่สุดนั่นคือความเข้าใจเรื่องสภาพธรรม จะเป็น
ปัจจัยให้สติเกิด
ข้อแนะนำคือมั่นคงในความเป็นอนัตตาจริงๆ ว่าสติและปัญญา รวมทั้งสภาพ
ธรรมอื่นๆ เป็นอนัตตา เบาสบายขึ้นเมื่อเข้าใจว่าธรรมย่อมเกิดจากเหตุ สติไม่เกิดก็ไม่เกิดทำอย่างไรได้ มีโอกาสก็ฟัง ไม่มีโอกาสฟังเพราะโสตวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
ไม่มีโอกาสที่จะได้ยินเสียงธรรมเพราะเป็นอนัตตา เป็นผลของกรรมที่ไม่มีใครบังคับ
บัญชาได้ เมื่อไหร่ เริ่มเห็นแม้โลภะที่ต้องการสติ เพราะรู้เหตุของสติ (ฟังธรรม) จึง
อยากสะสมเหตุ ด้วยความต้องการ (โลภะ) มั่นคงตรงนี้ว่าเป็นอนัตตาจึงจะเรียกได้ว่า
เป็นผู้มีปรกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะสติจะเกิดหรือไม่เกิดเป็นปรกติจริงๆ
" ความรู้ยังไม่พอที่สติจะเกิด ....."
ขออนุโมทนาครับที่เข้าใจว่าสติ (สติปัฏฐาน) จะเกิดได้ ต้องมีความรู้ที่เพียงพอ
และคิดว่าท่านผู้ถามคงมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป
อยากจะสนทนาด้วยครับว่า ในระหว่างที่ไม่ใช่โอกาสที่จะฟังธรรม เราอาจทำกุศล
อื่นที่เป็นไปเพื่อปัญญาได้ เช่นการสนทนาธรรม หรือการแสดงธรรม
และหากไม่ใช่โอกาสที่จะสนทนาธรรม หรือแสดงธรรม ก็ควรทำกิจหน้าที่การงาน
โดยไม่ล่วงศีล หรือเป็นไปในทาน โดยสรุปคือทำความดีทุกประการ (ไม่ว่าจะเล็กน้อย
สักเพียงใด) หรือถ้ารู้สึกว่าบางทีความดีนั้นทำยาก ก็มีข่าวดีครับว่า ขณะใดที่เพียง
งดเว้นการทำไม่ดีด้วยกาย วาจา และใจ ขณะนั้นก็เป็นความดีแล้วครับ (ชวนจิตที่
ไม่ใช่อกุศล เป็นกุศลจิต)
สติที่เกิดกับกุศลจิตซึ่งไม่ใช่สติปัฏฐานนั้น มีความสำคัญมากเช่นกันครับ เพราะแม้
จะไม่สามารถละกิเลสได้ แต่ก็ทำให้จิตพร้อมสำหรับกุศลจิตขั้นภาวนา โดยจะเห็นได้
ว่า ก่อนพระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมอันเป็นปรมัตถ์นั้น มักจะทรงแสดงให้เห็น
คุณของกุศลในทาน และศีลก่อน เพื่อให้ผู้ฟังน้อมใจไปในคำสอนที่ละเอียดครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
สติเป็นเจตสิกที่ระลึกไปทางกุศล แล้ว การระลึกไปในอกุศล ในชีวิตประจำวันไม่ทราบว่าเป็นเจตสิกใหนเกิดขึ้นทำหน้าที่นี้ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
การระลืกเป็นไปใน อกุศล ไม่ทราบว่าเป็นหน้าที่การงานของเจตสิกใดครับ