ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สุชาติ กำลังคิดว่า ตาเห็นรูป แล้วมันเกิด ดับ พอจะอธิบาย ว่ามันเกิดดับจริงๆ พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ไหม
ท่านอาจารย์ จักขุปสาท มีอายุเท่าไร นานทั้งวัน หรือ เร็วมาก
สุชาติ เร็วมาก
ท่านอาจารย์ เร็วมาก รูปที่ปรากฏทางตา มีอายุเท่าไร
สุชาติ ๑๗ ขณะจิต
ท่านอาจารย์ เหมือนกันซึ่งเร็วมาก นี่เป็นการที่ตอบ ตามตำรา
สุชาติ ตามหลักการที่ว่าทุกอย่าง มันเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วปัญญาก็ค่อยๆ พิจารณาไป อย่างเรื่องของสี่งที่ปรากฏทางตา ถ้าพิจารณาถึงธาตุทีเป็นประธาน ๔ ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตูลม มีลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหวหรือเกาะกุม เป็นสภาพที่ปรากฏเมื่อกระทบได้เพียง ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะของธาตุดินที่อ่อนหรือแข็ง ลักษณะของธาตุลมคือตึงหรือไหว ลักษณะของธาตุไฟคือเย็นหรือร้อน อันนี้เป็นประธาน หมายความว่าในทุกกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด ซึ่งมีอากาสธาตุแทรกคั่นอยู่ จะต้องมี มหาภูตรูป ๔ แต่ไม่ใช่เมีเพียงเฉพาะมหาภุตรูป ๔ ยังมีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งปรากฏให้รู้ได้ทางตานี่ค่ะ ก็ค่อยๆ พิจารณาไป ถึงความจริง ถึงความละเอียดของธรรม จนกว่าจะแยกออกว่า สี่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่ มหาภูตรูป
เพราะฉะนั้น ความรู้ต้องค่อยๆ เพี่มขึ้นนะคะ และเรื่องของการที่จะประจักษ์แจ้ง จะต้องประจักษ์แจ้งจริงๆ แต่ขอให้เข้าใจขึ้น เพื่อที่สติปัฏฐานจะได้ระลึกโดยที่ว่า ทางตา อาจจะไม่เคยได้ระลึกเลยว่าเป็นแต่เพียงสี่งที่ปรากฏ เพราะว่ามักจะปรากฏเป็นสี่งหนึ่งสี่งใดทันที แม้ว่าจะได้ยินได้ฟังมาก็ตาม แต่ว่าอาศัยการฟังบ่อยๆ ก็จะมีบางขณะที่สติระลึกแลัวก็รู้ โดยน้อมไปว่าสี่งนี้ เป็นแต่เพียงสี่งที่ปรากฏ ไม่ใช่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เลย ถ้าไม่คิด เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความสำคัญของ สังขารขันธ์ อีกนะคะซึ่งก็คงจะกล่าวถึงว่า ถ้ามีแต่เพียง วิญญาณขันธ์เท่านั้น คือ จิตซึ่งเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้ง ลักษณะของอารมณ์ โดยที่ไม่มีสัญญาขันธ์ สภาพที่จำ หรือว่าไม่มีสังขาร ที่ตรึกนึกถึงรูปร่างของสี่งที่ปรากฏ แล้วละก็ จะเป็นแต่เพียงปรมัตถธรรมที่ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเลย
เพราะฉะนั้น กิจหน้าที่ของวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่เห็นผิด แต่่่กิจที่เห็นผิด เป็นหน้าที่ของทิฏฐิเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดหลังจากที่มี การใส่ใจ ในรูปร่าง ลักษณะของสี่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็แยก ทางตากับทางใจ ออกโดยการรู้ว่าเฉพาะ ทางตานี้ เพียงเห็น และในเวลาที่กำลังจำ หรือ กำลังรู้ว่า เป็น สี่งหนึ่ง สี่งใด ขณะนั้นก็เป็น ทางใจเสียแล้ว ค่อยๆ แยกทางตากับทางใจออก ทางหูกับทางใจออก....ทางกายกับางใจออก แล้วถึงจะรู้ว่า ปรมัตถธรรม แท้ๆ ไม่ใช่ในขณะที่กำลังคิด เรื่องรูปร่าง หรือว่าเรื่องราวต่างๆ นี่ก็จะต้องเป็นเพราะ สติสัมปชัญญะ (สติปัฏฐาน ฟังไม่ชัด คุณ สุชาตพูดแทรก)
สุชาติ อย่างนั้นเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจก็ต้องปฏิบัติค่ะ ตามที่เข้าใจ จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น เพราะว่าถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็ต้องนำไปสู่การ เกิด ดับ ได้ เพราะว่า เมื่อรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท ก็ดับแล้ว ๑๗ ขณะ เร็วมาก
สุชาติ ถ้าเราจะเห็นรูป กำหนดเห็น วรรณรูป เราเห็นรูปที่ปรากฏ ชื่อว่าเราเห็นวรรณรูปของมหาภูตรูป อย่างนั้นจริงๆ หรือ ทีี่่เราเห็นว่า วรรณรูป
ท่านอาจารย์ เราเห็นรูปหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน
สุชาติ เราสามารถเห็นได้ เนื้อแท้จริงๆ ของมันหรือท่านอาจารย์ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ล่ะค่ะ นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ต้องมีอีก รูปหนึ่ง ซึ่งเป็น รูปารมณ์ในกลุ่มนั้น ในกลาปนั้น เหมืนกับดูเงาในกระจก ตลอดชีวิตแท้จริงไม่มี แต่ก็เหมือนมี เวลาที่ส่องกระจกนี่คะ เห็นใคร ยืนส่องกระจกนีค่ะเห็นใครยึดถือว่าเป็นเราในกระจก แล้วเรามีไหมคะ ฉันใด ในขณะนี้ทางตา ก็กำลังเห็นเหมือนอย่างนั้น แต่ก็มีการคิดนึกรูปร่างสันฐาน ที่ทำให้ยึดถือว่ายังคงเป็นเราอยู่ จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่า สี่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนเงา ให้คิดนึกเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ โดยที่ว่าหามีสี่งนั้นจริงๆ ไม่ เป็นแต่เพียงสี่งซึ่ง เกิดแล้วดับไปๆ ๆ แต่ว่าสืบต่อกันอย่างเร็วมาก จนกระทั่งทำให้ดูเหมือนว่า ยังมีสี่งนั้นอยู่ ทุกครั้งที่เห็น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
"....ค่อยๆ แยกทางตากับทางใจออก ทางหูกับทางใจออก....ทางกายกับทางใจออก แล้วถึงจะรู้ว่า ปรมัตถธรรม แท้ๆ ไม่ใช่ในขณะที่กำลังคิด เรื่องรูปร่าง หรือว่าเรื่องราวต่างๆ ..."
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและอนุโมทนาทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาครับ