เคยฟังคำบรรยายของบางท่านที่กล่าวว่า ธรรมะมีความหมาย ๔ อย่าง คือ
๑. ธรรมชาติ
๒. ธรรมดา
๓. การปฏิบัติหน้าที่
๔. คำสอนทางศาสนา
แต่บางท่านอธิบายความหมาย ๔ อย่างเช่นกัน แต่มีความต่างกัน คือ
๑. ธรรมชาติ
๒. กฎของธรรมชาติ
๓. หน้าที่ตามธรรมชาติ
๔. ผลที่ได้รับจากการทำหน้าที่ตามธรรมชาติ
อยากทราบว่า หากจะอธิบายให้คนไม่เคยฟังเลยหรือไม่เคยสนใจ ในความหมายของธรรมะ ควรจะอธิบายอย่างไรให้เข้าใจได้ง่ายๆ
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้แสดงความหมายศัพท์ว่า ธัมมะ ไว้ทั้งหมดรวมเป็นสิบอย่างคือ ท่านใช้ในอรรถต่างๆ บางแห่งหมายถึง พระธรรมคำสอนที่เป็นปริยัติ บางแห่งหมายถึง บุญ บางแห่งหมายถึง สภาวธรรม บางแห่งหมายความ เป็นธรรมดา เป็นต้น
เมื่อว่าโดยนัยปรมัตถธรรม คำว่า ธรรม หมายถึงสภาวธรรม คือ ธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา เป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น ทางตามีเพียงสี ทางหูมีเพียงเสียง ทางจมูกมีเพียงกลิ่น เป็นต้น ทั้งหมดเป็นธรรม
โปรดอ่านข้อความโดยตรงในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
คลิกอ่านเพิ่มเติม..
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 47
ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และ เญยยะ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ 47
ธมฺมศัพท์
ในบทว่า ธมฺมฏฺฐิติญาณํ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ปัญญา บุญ บัญญัติ อาบัติ ปริยัติ นิสสัตตตา วิการ คุณ ปัจจัย ปัจจยุปบัน เป็นต้น
ธรรมะ คือ สิ่งที่มีจริง เช่น ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราก็เป็น ธรรมะ
ก็ ธมฺม ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสภาวะ ได้ในติกะว่า
กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล,
กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล,
อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ
อนุโมทนานะคะ ดิฉันได้นำความรู้ที่ได้รับนี้ไปเผยแพร่ต่อค่ะ เพราะส่วนมากเราจะเหมือนรู้กันเองว่า หมายถึงอะไร แต่การได้ทราบข้อความจากพระไตรปิฎกย่อมถูกต้องอย่างที่สุด
กราบขอบพระคุณนะคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ