๒. มิคโปตกชาดก คําพูดที่ทําให้หายเศร้าโศก
โดย บ้านธัมมะ  24 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35828

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 854

๒. มิคโปตกชาดก

คําพูดที่ทําให้หายเศร้าโศก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 854

๒. มิคโปตกชาดก

คําพูดที่ทําให้หายเศร้าโศก

[๘๐๘] การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้วเป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สงบระงับ.

[๘๐๙] ดูก่อนท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์หรือเนื้อย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะอยู่ร่วมกันมา มนุษย์หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถที่จะไม้เศร้าโศกถึงได้.

[๘๑๐] ชนเหล่าใดมาร้องไห้รําพัน บ่นเพ้อถึงผู้ตายไปแล้ และผู้จะตายอยู่ณ บัดนี้ การร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เปล่าจากประโยชน์ ดูก่อนฤๅษีเพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย.

[๘๑๑] ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไปแล้ว หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้เพราะการร้องไห้ เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ถึงพวกญาติของกันและกัน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 855

[๘๑๒] มหาบพิตรมาราดอาตมภาพผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระวนกระวายได้ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียงให้ดับไปฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตมภาพออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความโศกครอบงํามหาบพิตรก็ได้บรรเทาความโศกถึงบุตรเสียได้ ดูก่อนท้าววาสวะ อาตม-ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตมภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคําของมหาบพิตร.

จบ มิคโปตกชาดกที่ ๒

อรรถกถามิคโปตกชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อคาราปจจุเปตสฺส ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุแก่นั้นให้เด็กคนหนึ่งบวช. สามเณรบํารุงภิกษุแก่นั้นโดยเคารพ ครั้นกาลต่อมา ได้กระทํากาละโดยความไม่ผาสุก.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 856

เพราะการทํากาละของสามเณรนั้น ภิกษุแก่ถูกความโกรธครอบงําเที่ยวร่ําไห้ด้วยเสียงอันดัง. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจให้ยินยอมได้ จึงสั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุแก่ชื่อโน้นเที่ยวร่ําไห้ เพราะการทํากาละของสามเณร ภิกษุแก่นั่นคงจักเหินห่างการเจริญมรณัสสติ. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุแก่นี้ เมื่อสามเณรนั้นตายแล้วก็เที่ยวร่ําไห้อยู่ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ครองความเป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น มีบุรุษชาวแคว้นกาสีคนหนึ่ง เข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้น้อยใหญ่. วันหนึ่ง ฤๅษีนั้นเห็นลูกเนื้อแม่ตายตัวหนึ่งในป่า จึงนํามายังอาศรมบท ให้เหยื่อเลี้ยงดูไว้. ลูกเนื้อเติบโตขึ้นมีรูปร่างงามถึงความงามอันเลิศ. ดาบสกระทําลูกเนื้อนั้นให้เป็นลูกของตนอยู่. วันหนึ่ง ลูกเนื้อกินหญ้ามากไป ได้กระทํากาละเพราะไม่ย่อยดาบสเที่ยวร่ําไห้ว่า ลูกเราตายเสียแล้ว. ในกาลนั้นท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาดูชาวโลก ทรงเห็นดาบสนั้น ดําริว่าจักทําดาบสนั้นให้สลดใจ จึงเสด็จมาแล้วประทับยืนในอากาศ ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 857

การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้วเป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตสงบระงับ.

ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์หรือเนื้อ ย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะอยู่ร่วมกันมา มนุษย์หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถที่จะไม่เศร้าโศกถึงได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ สกฺกา ความว่า อาตมภาพไม่อาจเพื่อจะไม่โศกถึงมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานนั้น คือ อาตมภาพเศร้าโศกถึงทีเดียว.

ลําดับนั้น ท้าวสักกะได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า :-

ชนเหล่าใดร้องไห้รําพัน บ่นเพ้อถึงผู้ตายไปแล้ว และผู้จะตายอยู่ในบัดนี้ การร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าเปล่าจากประโยชน์ ดูก่อนฤาษี เพราะฉะนั้นท่านอย่าร้องไห้เลย.

ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไปแล้ว หากจะกลับเป็นขึ้นได้เพราะการร้องไห้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 858

เราก็จะประชุมกันทั้งหมด ร้องไห้ถึงญาติของกันและกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มริสฺสํ ได้แก่ บุคคลผู้จักตายในบัดนี้. บทว่า ลปนฺติ จ ได้แก่ บ่นเพ้อ. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า ชนเหล่าใดร้องไห้ถึงคนผู้ตายแล้ว และผู้จักตายอยู่ในโลกชนเหล่านั้นก็คงจะร้องไห้และบ่นเพ้ออยู่. ชื่อว่าวันที่จะขาดน้ำตาของชนเหล่านั้น ย่อมไม่มี เพราะเหตุไร? เพราะคนผู้ตายไปแล้วและคนผู้ที่จะตายยังมีอยู่เสมอ. บทว่า อิสิ มา โรทิ ความว่า ดูก่อนฤๅษีเพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย. เพราะเหตุไร? เพราะสัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าการร้องไห้เปล่าประโยชน์. อธิบายว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวการร้องไห้ว่าเป็นหมัน.บทว่า มโต เปโต ความว่า ถ้าบุคคลที่เรียกว่า ผู้ตายแล้ว ผู้ละไปแล้ว จะพึงฟื้นขึ้นเพราะการร้องให้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราจะอยู่เฉยทําไม พวกเราทั้งหมดทีเดียว จะพากันประชุมร้องให้ถึงญาติทั้งหลายของกันและกัน ก็เพราะเหตุที่ญาติเหล่านั้นไม่ฟื้นขึ้นเพราะเหตุร้องไห้ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงทรงประกาศการร้องไห้ว่าเป็นหมัน.

เมื่อท้าวสุกกะตรัสไปๆ อยู่อย่างนี้ ดาบสกําหนดได้ว่า การร้องไห้ไร้ประโยชน์ เมื่อจะกระทําการชมเชยท้าวสักกะ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 859

มหาบพิตรมารดาอาตมภาพผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระวนกระวายได้ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียงให้ดับไปฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตมภาพออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความโศกครอบงํา มหาบพิตรก็ได้บรรเทาความโศกถึงบุตรเสียได้ ดูก่อนท้าววาสวะ อาตมภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตมภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคําของมหาบพิตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยมาสิ ตัดบทเป็น ยํ เม อาสิ. บทว่า หทยนิสฺสิตํ (๑) ได้แก่ เสียบแน่นอยู่ในหทัย. บทว่า อปานุทิ ได้แก่ นําออกแล้ว.

ท้าวสักกะครั้นประทานโอวาทแก่ดาบส แล้วก็เสด็จไปเฉพาะยังสถานที่ของพระองค์.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุแก่ในบัดนี้


(๑) บาลีว่า หทยสฺสิตํ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 860

เนื้อในครั้งนั้น ได้มาเป็นสามเณรในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้นได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิคโปตกชาดกที่ ๒