บัญญัติ ไม่มีจริง เป็นธรรมะหรือไม่ เช่น โต๊ะ เป็นธรรมะใช่หรือไม่
บัญญัติ ไม่มีจริง ไม่มีสภาวลักษณะ เป็นอารมณ์ของจิตในขณะที่จิตคิดถึงชื่อ เรื่องราวสัณฐานเท่านั้น คือ ไม่ใช่สภาพธรรม แต่ในทางภาษาที่ใช้สื่อกัน ในบางแห่งกล่าวถึง บัญญัติธรรม ในความหมายว่า เป็นบัญญัติ แต่ในบางแห่งความหมายคำว่า ธรรมะ หมายเอาเฉพาะธรรมะที่มีสภาวลักษณะเท่านั้น
บัญญัติไม่มีสภาวะของตน ถ้าไม่มีปรมัต จิต เจตสิก รูป บัญญัติก็มีไม่ได้ ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่มีสัตว์ เพราะมีจิต เจตสิก รูป จึงบัญญัติว่าเป็น สัตว์ บุคคล ชื่อนั้น ชื่อนี้ ดังนั้น บัญญัติจึงไม่มีลักษณะของตน จึงไม่เป็นอารมณ์ของการเจริญ สติปัฏฐาน ครับ (สติปัฏฐาน ต้องมี นาม รูปเป็นอารมณ์)
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม นั้นๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่ ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะ เป็นต้น พึง ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ) . ก็กาลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเพียงบัญญัติเท่านั้น เพราะไม่มีสภาวะ (ภาวะของตน) .
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
[๘๔๓] บัญญัติธรรม เป็นไฉน? การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนามการตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใดสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า บัญญัติธรรม
ผู้ที่เจริญเมตตามีบัญญัติเป็นอารมณ์คือ มีสัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์
ผู้ที่เจริญสมถภาวนามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติเป็นอารมณ์
ผู้ที่เจริญปัฏฐานมีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
ขออนุโมทนา
ยินดีในกุศลจิตค่ะ