[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 486
ปัญจมปัณณาสก์
อาวาสกวรรคที่ ๔
๒. ปิยสูตร
ว่าด้วยปิยธรรมของเจ้าอาวาส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 486
๒. ปิยสูตร *
ว่าด้วยปิยธรรมของเจ้าอาวาส
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก จำทรงไว้ ขึ้นปาก คล่องใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ประกอบ
* สูตรที่ ๒ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 487
ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มีโทษ ให้ทราบข้อความได้ชัด ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ เพื่อนพรหมจรรย์.
จบปิยสูตรที่ ๒