[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 434
๙. สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 434
๙. สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
[๑๖๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขอริยสัจ ฯลฯ เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขนิโรธคามินี-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 435
ปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบสังกาสนสูตรที่ ๙
อรรถกถาสังกาสนสูตร
พึงทราบอธิบายในสังกาสนสูตรที่ ๙.
คำว่า อปริมาณา วณฺณา ได้แก่ อักขระ ไม่มีประมาณ.
คำว่า พยัญชนะ ดังนี้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อักขระหาปริมาณมิได้เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เอกเทศหนึ่ง แห่งอักขระ ก็คือชื่อว่า พยัญชนะ.
คำว่า การจำแนก คือ การแยก.
จริงอยู่ เมื่อสัจจะหนึ่งๆ ท่านแสดงให้พิสดารอยู่ โดยอาการทั้งปวง อักขระเป็นต้น ก็ชื่อว่า ไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแล้วอย่างนี้.
จบอรรถกถาสังกาสนสูตรที่ ๙