ขอเรียนถาม
สภาพธรรมเป็นอย่างไร
ลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างไร
2สิ่งนี้ต่างกันอย่างไร
ขอบพระคุณครับ
สภาพธรรม คือ สิ่งที่มีลักษณะจริงๆ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ลักษณะของ
สภาพธรรมแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เช่น จิตมีลักษณะอย่างหนึ่ง เจตสิกแต่ละประเภทมี
ลักษณะของตนไม่เหมือนกับสภาพธรรมอย่างอื่น เช่น ผัสสะ มีลักษณะกระทบ เวทนา
มีลักษณะเสวย เป็นต้น สรุป คือ สภาพธรรมมีความหมายกว้างกว่า รวมสิ่งที่มีจริงทั้ง
หมด แต่ลักษณะแต่ละประเภทของสภาพธรรมไม่เหมือนกัน
....... เวทนา มีลักษณะเสวย เป็นอย่างไรคะ ช่วยขยายความให้เข้าใจลักษณะของเสวยมากกว่านี้อีกหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ......
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก. ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ทุกข์ และไม่ใช่สุข. มอักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเชื่อมบท.ธรรมมีสุขเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้คือ ย่อมเสวยรสของอารมณ์. บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนามีความเสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ ทุกขเวทนา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ อทุกขมสุขเวทนามีการเสวยอารมณ์ผิดแปลกจากเวทนาทั้งสอง.
สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สภาพธัมมะ คือ สิ่งที่มีจริง ทำไมถึงมีจริง เพราะมีลักษณะให้รู้ จึงชื่อว่ามีจริง
ลักษณะคืออะไร ลักษณะ คือ สิ่งที่แสดงบ่งบอก ของธรรมนั้นๆ เช่น ไม่เที่ยง เป็นต้น
เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าสิ่งใดไม่มีลักษณะให้รู้ ก็รู้ไม่ได้ สิ่งที่รู้ไม่ได้เพราะไม่มี
ลักษณะ จึงไม่ใช่สิ่งที่มีจริง สิ่งใดไม่มีจริงก็ไม่เป็นสภาพธรรม ดังนั้น เมื่อเป็นสภาพ
ธัมมะหรือสิ่งที่มีจริง ต้องมีลักษณะของเขา ขอยกตัวอย่าง สภาพเย็น (สภาพธัมมะ) มี
จริงไหม มีจริง เพราะอะไร เพราะมีลักษณะ คือ มีลักษณะเย็น (วิเสสลักษณะ ลักษณะ
เฉพาะของสภาพธัมมะนั้น) สภาพเย็น มีลักษณะ ไม่เที่ยง คือ เกิดขึ้นและดับไป (ไม่
เที่ยง เป็นทุกข์และอนัตตา เป็น สามัญญลักษณะ คือ เป็นลักษณะทั่วไปของสภาพ
ธัมมะที่มีจริง คือ สภาพธัมมะอื่นก็ไม่เที่ยงด้วย..เป็นต้น เสียง (สภาพธัมมะ) มีจริงไหม
มีจริงเพราะอะไร มีลักษณะคือ ดังหรือกระทบหู (วิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะตัวของ
สภาพธัมมะนั้น เสียง เที่ยงหรือไม่เที่ยง เสียง มีลักษณะ ไม่เที่ยง (สามัญญลักษณะ)
เป็นต้น
ต่างกันอย่างไร
สภาพธัมมะ เป็นสิ่งที่มีจริง ลักษณะของสภาพธัมมะ เป็นสิ่งที่บ่งบอกหรือแสดงสภาวะของสภาพธัมมะที่มีจริง ซึ่งต้องเกี่ยวเนื่องกันเสมอ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์