[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 20
ปฐมปัณณาสก์
พลวรรคที่ ๒
๔. วิตถตสูตร
ว่าด้วยกําลัง ๕ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 20
๔. วิตถตสูตร
ว่าด้วยกำลัง ๕ ประการ
[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือศรัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า กำลังคือศรัทธา. ก็กำลังคือวิริยะ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลังคือวิริยะ. ก็กำลังคือสติเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ เครื่องรักษาตัวชั้นเยี่ยม ระลึกตาม แม้สิ่งที่ทำ แม้คำที่พูดไว้นานได้ นี้เรียกว่า กำลังคือสติ. ก็กำลังคือสมาธิเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 21
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข และทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า กำลังคือสมาธิ. ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลังคือปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล.
จบวิตถตสูตรที่ ๔
อรรถกถาวิตถตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในวิตถตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สติเนปกฺเกน นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เนปักกะ (ปัญญารักษาตน). ท่านถือเอาปัญญานั้น โดยความเป็นอุปการะแก่สติ.
จบอรรถกถา วิตถตสูตรที่ ๔