๖. กุมารเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตมีแต่ความหิวเพราะกรรมอะไร
โดย บ้านธัมมะ  17 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40384

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 545

มหาวรรคที่ ๔

๖. กุมารเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีแต่ความหิวเพราะกรรมอะไร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 545

๖. กุมารเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีแต่ความหิวเพราะกรรมอะไร

[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมารสององค์เป็นพระราชโอรสอยู่ในพระนครสาวัตถี ข้างประเทศหิมพานต์ พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์นั้นเป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแต่งความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรงเห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์ ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรมอันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอัน นำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิดในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและกระหาย เมื่อก่อน ในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของในที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นี้อีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 546

ขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อมตายเพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่า เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๖

อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภเปรต ๒ ตน จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาวตฺถิ นาม นครํ ดังนี้

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลมีพระโอรส ๒ พระองค์ น่าเลื่อมใส กำลังอยู่ในปฐมวัย มัวเมาในความเป็นหนุ่ม กระทำกรรมคือคบหาภรรยาของคนอื่น ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นเปรตที่หลังคู. ในเวลากลางคืน เปรตเหล่านั้นพากันรำพันด้วยเสียงอันน่าสะพึงกลัว พวกมนุษย์ได้ฟังเสียงนั้น พากันสะดุ้งกลัว คิดว่า เมื่อพวกเราทำอย่างนี้ อวมงคลนี้ย่อมสงบ จึงพากันถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เพราะได้ยินเสียงนั้น อันตรายอะไรๆ ย่อม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 547

ไม่มีแก่พวกท่าน เพื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งเสียงนั้นแล้วแสดงธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า :-

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมารสองพระองค์ เป็นพระราชโอรสอยู่ในกรุงสาวัตถี ข้างหิมวันตประเทศ พระราชกุมารทั้งสองพระองค์นั้นเป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรงเห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรมอันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอันนำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิดในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย เมื่อก่อนในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของในที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วกลับเสื่อมลง ย่อมตาย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 548

เพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความมัวเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้เห็นด้วยญาณของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้เราได้ฟังมาอย่างนี้ โดยที่ปรากฏในโลก.

บทว่า กามสฺสาทาภินนฺทิโน ได้แก่ มีปกติเพลิดเพลินด้วยอำนาจความยินดีในกามคุณ. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนสุเข คิทฺธา ได้แก่ เป็นผู้ติด คือข้องในอารมณ์รักว่าความสุขที่เป็นปัจจุบัน. บทว่า น เต ปสฺสึสุนาคตํ ความว่า พระราชกุมารทั้งสองนั้นละทุจริต ประพฤติสุจริต ไม่คิดถึงสุขที่จะพึงได้ในเทวดาและมนุษย์ในอนาคต คือในกาลต่อไป.

บทว่า เตธ โฆเสนฺตุทิสฺสนฺตา ความว่า เปรตเหล่านั้น เมื่อก่อนเป็นราชโอรส มีรูปไม่ปรากฏร้องคร่ำครวญอยู่ในที่ใกล้กรุงสาวัตถีนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า คร่ำครวญว่าอย่างไร? ท่านจึงกล่าวว่า ตนได้ทำกรรมชั่วไว้ในกาลก่อน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกเหตุแห่งการคร่ำครวญของเปรตเหล่านั้น โดยเหตุและผล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่มาก ดังนี้เป็นต้น.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 549

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูสุ วต สนฺเตสุ ได้แก่ เมื่อพระทักขิไณยเป็นอันมากมีอยู่. บทว่า เทยฺยธมฺเม อุปฏฺิเต ความว่า แม้เมื่อไทยธรรมที่ควรให้อันเป็นของตนอันไว้แล้วในที่ใกล้ อธิบาย ว่า อันจะได้อยู่. บทว่า ปริตฺตํ สุขาวหํ มีวาจาประกอบความว่า เราไม่อาจทำบุญอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขในอนาคตแม้มีประมาณน้อย แล้วทำตนให้มีความสวัสดี คือ ให้ปราศจากอุปัทวันตราย.

บทว่า กึ ตโต ปาปกํ อสฺส ความว่า ชื่อว่ากรรมอันเป็นบาป คือลามกกว่านั้น จะพึงกลายเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร. บทว่า ยํ โน ราชกุลา จุตา ความว่า เพราะบาปกรรมอันใด พวกเราจึงจุติจากราชสกุล เกิดในเปตวิสัยนี้ คือ บังเกิดในหมู่เปรต เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหายเที่ยวไปอยู่.

บทว่า สามิโน อิธ หุตฺวาน ความว่า เมื่อก่อน ราชบุตรเป็นเจ้าของเที่ยวไปในที่ใดในโลกนี้ แต่ไม่เป็นเจ้าของในที่นั้นนั่นเอง ด้วยบทว่า มนุสฺสา อุนฺนโตนตา ท่านแสดงว่า ในเวลาเป็นมนุษย์ ราชกุมารเหล่านั้นเป็นเจ้าของ ทำกาละแล้วเสื่อมลงด้วยอำนาจกรรม เพราะความหิวกระหาย ท่านจงเห็นปกติของสงสาร.

บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา อิสฺสรมทสมฺภวํ ความว่า นรชนรู้โทษ กล่าวคือการเกิดในอบายอันเกิดด้วยด้วยความเมาในความเป็นใหญ่นี้ แล้วละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย ขวนขวาย


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 550

เอาแต่บุญ. บทว่า ภเว สคฺคคโต นโร ความว่า พึงไปสวรรค์ คือ เทวโลกเท่านั้น

พระศาสดาครั้นตรัสประวัติของเปรตเหล่านั้นด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงให้อุทิศทานที่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกระทำแก่พวกเปรตเหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของบริษัทผู้ประชุมกัน เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖