กาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) คือ ที่ทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้าน กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้พิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างหรือ
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะ (การคิดเอาเอง)
6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน)
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
ขอความกรุณาผู้รู้ รบกวนอธิบายใน ข้อ 7 ของ กาลามสูตรด้วยค่ะ ไม่เข้าใจว่าถ้าคิดตามเหตุและผลทำไม่ถึงไม่ปลงใจเชื่อ
ขอบคุณค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำหรับกาลามสูตร หรือ เกสปุตตสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกับชาวกาลามะ ที่ว่า มีสมณพราหมณ์มาแสดงความเห็นต่างๆ และก็กล่าวว่า ความเห็นของผู้นี้ไม่จริงของเราจริง สมณพราหมณ์ต่างๆ ก็มาแสดงความเห็นมากมาย ชาวกาลามะก็เลยสงสัยมากราบทูลพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ว่าข้าพระองค์สงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดีแล้วที่ท่านทั้งหลายสงสัยในสิ่งที่ควรสงสัยและพระองค์ก็แสดงว่าท่านอย่าเชื่อ.. (คลิก) กาลามสูตร [เกสปุตตสูตร]
แต่ตอนท้ายพระองค์ก็แสดงว่า แต่เมื่อใดที่ท่านทั้งหลายรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมนี้มีโทษ เป็นอกุศล ผู้ที่เสพคุ้นหรือเจริญอกุศลย่อมมีโทษ และท่านก็ควรละธรรมเหล่านั้น จากข้อความนี้แสดงให้เห็นครับว่า พระองค์ให้ชาวกาลามะ รวมทั้งพวกเราได้พิจารณาด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ใช่เชื่อเลยเมื่อได้ยินมาหรือจากเหตุอื่นก็ไม่ควรเชื่อเลยทีเดียว แต่พิจารณาด้วยปัญญา โดยการรู้ด้วยตนเองนั่นแหละครับ จึงรู้ความจริงว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เมื่อเกิดปัญญา พิจารณารู้ได้ด้วยตนเองแล้ว จึงไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะพิจารณาด้วยปัญญาของตนแล้วครับ ดังนั้นพระองค์จึงสื่อความหมายให้พุทธบริษัท พิจารณาในสิ่งต่างๆ ไม่ใช่เชื่อทันที คือพิจารณาด้วยปัญญาของตนจึงรู้ว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดไม่จริง สิ่งใดมีโทษ ไม่มีโทษและก็ประพฤติในสิ่งที่ดีและละในสิ่งที่ไม่ดีครับ ปัญญาของตนเองที่พิจารณานั่นเองครับ ที่พระองค์สื่อให้เข้าใจในสูตรนี้
สำหรับข้อที่ 7 อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล เพราะเหตุว่า ทางหลักวิทยาศาสตร์ หรือทั่วๆ ไป ก็มีเหตุผล ตามหลักการของเขา แต่ไม่ได้หมายความสิ่งนั้นต้องจริง ที่เป็นการคิดโดยตรรกะ หรือ โดยเหตุผล หรือ แม้หลักเหตุผล ง่ายๆ ที่ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา แต่ เมื่อเอาหลัก ตรรกะ การคิดแบบเหตุผล มาสรุปทั้งหมดก็ผิด คือ สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นเป็นอัตตา (แต่ความจริงคืออนัตตา) นี่คือการคิดแบบเหตุผล ตรรกะ แต่เป็นการสรุปที่ผิด เพราะ จริงๆ แล้ว (นิพพาน) สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข แต่เป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ครับ
เพราะฉะนั้น อย่าเชื่อเพราะการคิดโดยเหตุผล ต้องรู้ด้วยปัญญาจึงเชื่อ ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในเกสปุตตสูตร ว่าด้วย ไม่ควรเชื่อโดยอารการ ๑๐ อย่าง มีไม่ควรเชื่อโดยการฟังตามกันมาเป็นต้นนั้น นั้น ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดปัญญา เข้าใจด้วยตนเอง รู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังอะไรมา ก็อย่าพึ่งเชื่อ แต่ควรพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล ตรงตามความเป็นจริง ว่าเป็นจริงอย่างที่ได้ยินได้ฟังมาหรือไม่อย่างไร ควรละ หรือ ควรเจริญ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ หรือ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นต้น ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น ที่จะเข้าใจในสิ่งนั้นตรงตามความเป็นจริง ไม่ผิด ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อให้ผู้ศึกษาเกิดปัญญาเป็นของตัวเอง เข้าใจอย่างถูกต้องด้วยตนเอง ซึ่งถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้อาศัยคำจริงแต่ละคำที่พระองค์ทรงแสดง ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริงได้ ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ คุณ paderm และ คุณ khampan อย่างสูง
เหตุผลนี่ต้องไปในทางละคลายความติดข้องใช่ไหมครับ จึงเป็นสิ่งที่ถูก
7. ไม่ใช่ตรึกเองตามเหตุผล ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ต้องรู้ความจริงไม่ใช่เพียงคิดค่ะ
สัพเพ ธัมมา อนัตตา ไม่มีเรา มีแต่ธรรมะ และธรรมะเป็นอนัตตา ขออนุโมทนาในกุศลค่ะ