[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 76
๒. สันถววรรค
๑. อินทสมานโคตตชาดก
ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 76
๒. สันถววรรค
๑. อินทสมานโคตตชาดก
ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ
[๑๗๑] บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับบุรุษชั่วช้า ท่านผู้เป็นอริยะรู้ประโยชน์อยู่ ไม่พึงทำความสนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น แม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำบาปกรรมดุจช้างผู้ทําลายล้างดาบสชื่ออินทสมานโคตรฉะนั้.
[๑๗๒] บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเรา โดยศีล ปัญญา และสุตะ พึงทำไมตรีกับบุคคลนั้นนั่นแล เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษนํามาซึ่งความสุขแท้.
จบ อินทสมานโคตตชาดกที่ ๑
อรรถกถาสันถววรรคที่ ๒
อรรถกถาอินทสมานโคตตชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 77
น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา ดังนี้.
เรื่องภิกษุว่ายากนั้น จักมีแจ้งในคิชฌชาดกนวกนิบาต.
พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุแม้เมื่อก่อนเธอก็ไม่เชื่อฟังคำของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะเธอเป็นผู้ว่ายาก จึงเหลวแหลกเพราะเท้าช้างตกมัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า
ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยละฆราวาส ออกบวชเป็นฤาษี เป็นครูของเหล่าฤาษี ๕๐๐ อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ในครั้งนั้นบรรดาดาบสเหล่านั้น ได้มีดาบสชื่ออินทสมานโคตร เป็นผู้ว่ายากไม่เชื่อฟัง. ดาบสนั้นเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง. พระโพธิสัตว์ได้ทราบข่าว จึงเรียกดาบสนั้นมาถามว่า เขาว่าเธอเลี้ยงลูกช้างไว้จริงหรือ. ดาบสตอบว่าจริงขอรับอาจารย์ ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่งแม่มันตาย. พระโพธิสัตว์พูดเตือนว่า ขึ้นชื่อว่าช้าง เมื่อเติบโตมักฆ่าคนเลี้ยง. เธออย่าเลี้ยงลูกช้างนั้นเลย. ดาบสกล่าวว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจทิ้งมันได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเธอจักได้รู้เอง. ดาบสเลี้ยงดูช้างนั้น ต่อมามันมีร่างกายใหญ่โต. คราวหนึ่งพวกฤาษีพากันไปในที่ไกลเพื่อหารากไม้ และผลาผลในป่า แล้วพักอยู่ ณ ที่นั้น ๒ - ๓ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 78
ช้างก็ตกมันรื้อบรรณศาลาเสียกระจุยกระจาย ทำลายหม้อน้ำดื่ม โยนแผ่นหินทิ้ง ถอนแผ่นกระดานแขวนทิ้ง แล้วเข้าไปยังที่ซ่อนแห่งหนึ่งยืนคอยมองดูทางมาของดาบส ด้วยหวังว่า จักฆ่าดาบสนั้นแล้วไป. ดาบสอินทสมานโคตรหาอาหารไว้ให้ช้าง เดินมาก่อนดาบสทั้งหมด ครั้นเห็นช้างนั้น จึงเข้าไปหามันตามความรู้สึกที่เป็นปกติ. ครั้นแล้วช้างนั้นออกจากที่ซ่อนเอางวงจับฟาดลงกับพื้น เอาเท้าเหยียบศีรษะขยี้ให้ถึงความตาย แล้วแผดเสียงดังเข้าป่าไป. พวกดาบสที่เหลือจึงแจ้งข่าวนั้นให้พระโพธิสัตว์ทราบ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ไม่ควรทำความคลุกคลีกับคนชั่ว แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับคนชั่ว ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์อยู่ไม่พึงทำความสนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น แม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำความชั่วดุจช้างผู้ทำลายดาบสอินทสมานโคตรฉะนั้น
บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเรา ด้วยศีล ด้วยปัญญา และแม้ด้วยสุตะ พึงทำไมตรีกับบุคคลผู้นั้นนั่นแหละ เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษนำมาซึ่งความสุขแท้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา ความว่า บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา หรือความสนิท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 79
สนมด้วยความเป็นมิตร กับคนมักโกรธที่น่าชัง. บทว่า อริโย ในบทว่า อริโยนริเยน ปชานมตฺถํ ได้แก่ อริยะ ๔ จำพวก คือ อาจารอริยะ ได้แก่อริยะในทางมารยาท ๑ ลิงคอริยะ อริยะใน ทางเพศ ๑ ทัสสนอริยะ อริยะในทางความเห็น ๑ ปฏิเวธอริยะ อริยะในทางรู้แจ้งแทงตลอด ๑. บรรดาอริยะเหล่านั้น อาจารอริยะท่านประสงค์เอาในที่นี้. อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอริยะรู้จักประโยชน์ คือรู้จักผล ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ดำรงอยู่ในอาจาระ ไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหาหรือความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร กับคนที่มิใช่อริยะ คือคนทุศีลไม่มียางอาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคนที่มิใช่อริยะนั้น แม้อยู่ร่วมกันนาน ก็มิได้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันนั้น ย่อมกระทำความชั่ว คือกระทำกรรมอันลามกเท่านั้น. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนช้างฆ่าอินทสมานโคตรดาบสใดกระทำความชั่ว. ในบทเป็นต้นว่า ยเทว ปญฺา สทิโส มมํ ความว่า พึงรู้จักบุคคลใดว่า ผู้นี้เหมือนเราโดยศีลเป็นต้น พึงกระทำไมตรีกับบุคคลนั้นเท่านั้น การสมาคมกับด้วยสัตบุรุษย่อมนำความสุขมาให้.
พระโพธิสัตว์สอนหมู่ฤาษีว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็น ผู้สอนยาก ควรศึกษาให้ดีแล้วให้จัดการเผาศพอินทสมานโคตรดาบส เจริญพรหมวิหาร ได้เข้าถึงพรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 80
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดก. อินทสมานโคตรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุสอนยากนี้ในครั้งนี้. ส่วนครูประจำคณะได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอินทสมานโคตรชาดกที่ ๑