คำว่า "นิวรณ์" มีความหามยว่าอย่างไรครับ และได้ยินมาว่า นิวรณ์นี้ประกอบไปด้วยธรรมอีก ๕ อย่าง ๕ อย่างนั้นได้แก่อะไรบ้างครับ
ขอบคุณมากครับ
คำว่า "นิวรณ์" หมายถึงธรรมเป็นเครื่องกางกั้นกุศลจิต มี ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ ๑ พยาปาทะ ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัทจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑
นิวรณธรรม ๕ คือ
กามฉันทนิวรณ์ ได้แก่ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
พยาปาทนิวรณ์ ได้แก่ ความขุ่นเคืองใจ
ถีนมิทธนิวรณ์ ได้แก่ ความท้อถอย หดหู่ และความซบเซาง่วงเหงา
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญใจ
วิจิกิจฉานิวรณ์ ได้แก่ ความสงสัยไม่แน่ใจในสภาพธรรม และในเหตุและผลของสภาพธรรม
องค์ฌาน ๕ เป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม ๕ โดยวิตกเจตสิกจรดที่อารมณ์ซึ่งทำให้ จิตสงบได้ และวิจารเจตสิกตามประคองอารมณ์ที่วิตกเจตสิกจรดลง ทำให้จิตไม่ ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น ปีติเจตสิกเป็นสภาพที่เอิบอิ่ม สุขเวทนาเพิ่มพูนยิ่งขึ้นตาม ความเอิบอิ่ม และเอกัคคตาที่องค์ฌาน ๔ อุปการะอุดหนุนแล้ว ตั้งมั่นคงในอารมณ์โดย อาการของปฐมฌานที่ประกอบด้วยองค์ ๕
องค์ฌาน ๕ เป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม ๕ ดังนี้
๑. วิตกเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อถีนมิทธนิวรณ์ เพราะเมื่อวิตกเจตสิกตรึกถึงแต่อารมณ์ ของสมถภาวนามากขึ้นเรื่อยๆ ความท้อถอย หดหู่ และความง่วงเหงาก็ย่อมเกิดไม่ได้
๒. วิจารเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อวิจิกิจฉานิวรณ์ เมื่อวิจารเจตสิกประคองอารมณ์ตาม วิตกเจตสิกที่จรดลงในอารมณ์ของสมถภาวนาไปเรื่อยๆ ความสงสัยความไม่แน่ใจใน สภาพธรรม และในเหตุผลของสภาพธรรมก็เกิดไม่ได้
๓. ปีติเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อพยาปาทนิวรณ์ เมื่อความสงบในอารมณ์ของสมถภาวนา เพิ่มขึ้น ปีติก็เอิบอิ่มในความสงบนั้นยิ่งขึ้น ทำให้ความพยาบาทขุ่นเคืองใจเกิดไม่ได้ ในระหว่างนั้น
๔. สุข (โสมนัสสเวทนา) เป็นปฎิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เมื่อกำลังเป็นสุขใน อารมณ์ของสมถภาวนาอยู่ ความเดือดร้อนใจ กังวลใจ และความฟุ้งซ่านในอารมณ์อื่น ก็เกิดไม่ได้ เพราะกำลังเป็นสุขในสมถอารมณ์ในขณะนั้น
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อกามฉันทนิวรณ์ เพราะเมื่อสมาธิตั้งมั่นในอารมณ์ ของสมถภาวนา แล้วก็ไม่ยินดีในกามอารมณ์ใดๆ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ