๖. สัมมสสูตร ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน
โดย บ้านธัมมะ  3 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36549

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 341

๖. สัมมสสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 341

๖. สัมมสสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน

[๒๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัมมาสทัมมนิคม ของชาวกุรุ ณ กุรุชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในบ้างหรือไม่ เมื่อพระองค์ตรัสถามอย่างนี้แล้ว มีภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลเนื้อความนี้ขึ้นแด่พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในพระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสถามว่า เธอเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 342

อย่างไร ทันใดนั้นแล ภิกษุรูปนั้นก็ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่ถูกพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๕๕] เมื่อพระภิกษุรูปนั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว พระองค์ตรัสการพิจารณาปัจจัยภายในข้อใด ภิกษุทั้งหลายฟังการพิจารณาปัจจัยภายในข้อนั้นจากพระองค์แล้ว จักทรงจำไว้ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระพุทธเจ้าข้า.

[๒๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ชราและมรณะนี้อันใดแล ย่อมบังเกิดในโลก เป็นทุกข์หลายอย่างต่างๆ กัน ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้แล มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้ง มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี.

เมื่อเธอพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ชราและมรณะนี้อันใดแล ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก เป็นทุกข์หลายอย่างต่างๆ กัน ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้แล มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นที่ตั้งขึ้น มีอุปธิเป็นกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เธอย่อมทราบชัดซึ่งชราและมรณะ ย่อมทราบชัดซึ่งความเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมทราบชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมทราบชัดซึ่งปฏิปทาอันสมควร เครื่องให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 343

และเธอย่อมเป็นผู้ปฏิบัติตามนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุรูปนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับไปแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ.

[๒๕๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็อุปธิอันนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี.

เมื่อเธอพิจารณาอยู่ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี เธอย่อมทราบชัดซึ่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งความดับแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งปฏิปทาอันสมควรเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปธิ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติตามนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุรูปนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ.

[๒๕๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็ตัณหานี้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน.

เมื่อเธอพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ที่ใดแล เป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น ก็อะไรเล่าเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตาเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก... หูเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก... จมูกเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจโนโลก... ลิ้นเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก... กายเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก... ใจเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 344

เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น.

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดมาทำอุปธิให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นแล้วจากทุกข์ได้เลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่าเขาจักไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 345

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้ เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขาย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดังนี้.

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันสำริดที่ใส่น้ำ ที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามา ระหายน้ำ คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นอย่างนี้ว่า นาย ขันสำริดที่ใส่น้ำนี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าเมื่อดื่มน้ำนั้น ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้.

บุรุษนั้นผลุนผลันไม่ทันพิจารณาดื่มน้ำนั้นเข้าไปไม่บ้วนทิ้งเลย เขาก็พึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มน้ำนั้นเป็นเหตุทันที แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ฯลฯ ในอนาคตกาล ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 346

เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขาย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นแล้วจากทุกข์ได้.

อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 347

โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักละตัณหาได้ ฯลฯ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก้วเหล้าที่พร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความอบอ้าวเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้ามา ระหายน้ำ คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นอย่างนี้ว่า นาย แก้วเหล้าที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าเมื่อดื่มเหล้านั้น ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่านจักถึงความตาย หรือทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า เหล้านี้เราดื่มแล้ว เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำเย็น ด้วยเนยใส ด้วยน้ำข้าวสัตตุเค็ม หรือด้วยน้ำชื่อโลณโสจิรกะ แต่เราจะไม่ดื่มเหล้านั้นเลย เพราะไม่เป็นประโยชน์ มีแต่ทุกข์แก่เราช้า


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 348

นาน เขาพิจารณาดูแก้วเหล้านั้นแล้ว ไม่พึงดื่ม เขาทิ้งเสีย เขาก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ.

แม้ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ฯลฯ ในปัจจุบันกาล ย่อมเห็นอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 349

อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

จบสัมมสสูตรที่ ๖

อรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖

ในสัมมสสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไรจึงตรัสเรียก.

ตอบว่า เพราะพระธรรมเทศนาสุขุมนำพระไตรลักษณ์มาปรากฏ.

เล่ากันว่า ในชนบทนั้น พวกมนุษย์เป็นคนมีเหตุผล มีปัญญา ได้ยินว่า โภชนาหารทั้งหลายในชนบทนั้นละเอียดอ่อน. เมื่อประชาชนบริโภคโภชนาหารเหล่านั้น ปัญญาก็งอกงาม พวกเขาสามารถแทงตลอดธรรมกถาที่ลึกซึ้งซึ่งนำพระไตรลักษณ์มาได้ เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระสูตรที่ลึกซึ้งแม้อื่นๆ มีอาทิอย่างนี้คือ มหาสติปัฏฐานสูตร มหานิทานสูตร อาเนญชสัปปายสูตร ในทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย จูฬนิทานสูตรเป็นต้นในสังยุตตนิกาย ในชนบทนั้นทีเดียว.

บทว่า สมฺมสถ โน ได้แก่ พิจารณาหนอ.

บทว่า อนฺตรํ สมฺมสํ ได้แก่ พิจารณาปัจจัยในภายใน.

บทว่า น โส ภิกฺขุ ภควโต จิตฺตํ อาราเธสิ ความว่า ภิกษุนั้นไม่พยากรณ์อย่างนั้น เมื่อพยากรณ์ด้วยอำนาจอาการ ๓๒ จึงไม่อาจยึดพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระประสงค์จะให้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า เทศนาไม่ไปตามอนุสนธิ ได้ตรัสคำนี้เพื่อเทศนาคำนั้นไปตามอนุสนธิ.

บทว่า เตนหานนฺท สุณาถ นี้


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 350

เป็นบทไม่แตกต่างกันในพุทธวจนะคือพระไตรปิฎก.

จริงอยู่ ในที่อื่นชื่อว่าคำที่กล่าวอย่างนี้ไม่มี.

บทว่า อุปธินิทานํ ได้แก่ มีอุปธิคือขันธ์เป็นเหตุ จริงอยู่ ขันธ์ ๕ ในที่นี้ท่านเรียกว่า อุปธิ.

อุปฺปชฺชติ แปลว่า ย่อมเกิด.

บทว่า นิวิสติ ความว่า ย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจความประพฤติบ่อยๆ.

บทว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ความว่า รูปใดเป็นปิยสภาวะและมธุรสภาวะในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า จกฺขุํ โลเก เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในโลกยึดมั่นโดยถือว่าเป็นของเราในจักษุ เป็นต้น ตั้งอยู่ในสมบัติ สำคัญปสาทรูปทั้ง ๕ อันผ่องใสโดยทำนองแห่งการยึดถือจักษุของตนว่าเป็นนิมิตในแว่นกระจกเป็นต้น เหมือนสีหบัญชรแก้วมณีที่ยกขึ้นในวิมานทอง ย่อมสำคัญจักษุปสาทนั้นเหมือนก้านเงิน และสายสังวาล สำคัญฆานปสาทที่ได้โวหารว่า ตงฺคนาสา (จมูกสูง) เหมือนเกลียวหรดาลที่เขาวางไว้ สำคัญชิวหาปสาทนุ่มสนิท เป็นที่รับรสอร่อย เหมือนผ้ากัมพลอ่อน สำคัญกายปสาทเหมือนเมล็ดสาละ และเสาระเนียดทองคำ สำคัญใจว่าใหญ่ยิ่งไม่เหมือนกับใจของชนเหล่าอื่น.

บทว่า นิจฺจโต อทฺทกฺขุํ ความว่า ได้เห็นว่าเที่ยง.

แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า น ปริมุจฺจิํสุ ทุกฺขสฺมา ความว่า หลุดพ้นจากวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.

บทว่า ทกฺขิสฺสนฺติ แปลว่า จักเห็น.

บทว่า อาปานียกํโส เป็นชื่อของขันจอก ก็เพราะเหตุที่ชนทั้งหลายดื่มน้ำในขันจอกนี้ ฉะนั้น จึงเรียกว่า อาปานีย.

อาปานีย นั้นด้วย กํส ด้วย ชื่อว่า อาปานียกํส คำว่า อาปานียกํส นี้เป็นชื่อของขันจอกสำหรับใส่สุราใส.

แต่ที่มันตั้งอยู่ในขันสำริดนั่นแล ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า วณฺณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสี.

บทว่า ฆมฺมาภิตตฺโต แปลว่า ถูกความ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 351

ร้อนแผดเผา.

บทว่า ฆมฺมปเรโต แปลว่า ถูกความร้อนสัมผัสแล้วแล่นไปตาม.

บทว่า ปิวโต หิ โข ตํ ฉาเทสฺสติ ความว่า น้ำดื่มนั้นจักเป็นที่ชอบใจของผู้ดื่ม หรือจักทำให้เกิดความยินดีแผ่ไปทั่วสรีระตั้งอยู่.

บทว่า อปฺปฏิสงฺขา แปลว่า ไม่ได้พิจารณา.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีคำเปรียบเทียบข้ออุปมาดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ อารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก พึงเห็นเหมือนขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม. ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะ เหมือนบุรุษผู้ถูกความร้อนแผดเผา ชนผู้ถูกอารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปเชื้อเชิญในโลก เหมือนบุรุษผู้ถูกเชิญด้วยขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม กัลยาณมิตรมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น เหมือนมนุษย์ผู้เชิญให้ดื่มน้ำ บอกคุณสมบัติและโทษในขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม, อาจารย์หรือพระอุปัชฌาย์ ย่อมบอกคุณและโทษในกามคุณ ๕ แก่ภิกษุ เหมือนมนุษย์ผู้ยืนอยู่ในร้านตลาดบอกคุณและโทษในขันสำริดสำหรับใส่น่าดื่มแก่บุรุษนั้น ในอุปมานั้นเปรียบเหมือนเมื่อเขาบอกกล่าวถึงคุณและโทษในขันสำริดใส่น้ำดื่มแล้ว บุรุษนั้น ด้วยคุณสมบัติมีสีเป็นต้นนั่นเองก็เกิดความระหายฉับพลันว่า "ถ้าจักตาย ก็จักรู้กันทีหลัง" ไม่พิจารณาโดยรอบคอบแล้วดื่มน้ำในขันสำริดนั้น ก็ประสบความตายหรือทุกข์ปางตายฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ถูกอาจารย์และพระอุปัชฌาย์แสดงอานิสงส์และโทษอย่างนี้ว่า อัสสาทะเป็นเพียงโสมนัสที่เกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ด้วยอำนาจการเห็นเป็นต้น แต่โทษมีประการต่างๆ เป็นอันมากเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ กามทั้งหลายมีคุณน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แล้วโอวาทอย่างนี้ว่า เธอจงปฏิบัติสมณปฏิปทา จงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงรู้จักประมาณในโภชนะ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 352

จงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น ดังนี้ เพราะตนมีจิตถูกอัสสาทะผูกพันจึงระรานอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ว่า ถ้าจักมีโทษมีประการดังกล่าวแล้วไซร้ ผมจักรู้ในภายหลัง แล้วละอุเทศ (การศึกษา) และปริปุจฉา (การสอบถาม) เป็นต้น และวัตรปฏิบัติ พูดแต่เรื่องโลกามิส บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว เพราะปรารถนาจะบริโภคกาม ต่อแต่นั้นบำเพ็ญทุจริต ๓ ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวได้ในขณะตัดช่องย่องเบาเป็นต้น แสดงต่อพระราชาว่า ผู้นี้เป็นโจร ก็ประสบอนิฏฐผลมีการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นต้น หรือถูกตัดศีรษะในโลกนี้แล แล้วยังจะเสวยทุกข์เป็นอันมากในอบายทั้งสี่ในสัมปรายภพ.

บทว่า ปานีเยน วา วิเนตุํ ความว่า นำไปด้วยน้ำเย็น.

บทว่า ทธิมณฺฑเกน ได้แก่ ด้วยนมส้มที่ใส.

บทว่า มฏฺโลณิกาย ได้แก่ ด้วยข้าวสัตตุและน้ำดื่มที่เค็ม.

บทว่า โลณโสจิรเกน ได้แก่ โลณโสจิรกะที่ทำโดยใส่ข้าวเปลือกผลไม้และผลดองดึงเป็นต้น ทุกอย่างทำให้เป็นยาดองชื่อโลณโสจิรกะ ด้วยยาดองชื่อโลณโสจิรกะนั้น.

ก็ในข้อนี้มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้.

พระโยคาวจรในเวลาอาศัยวัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษถูกความร้อนแผดเผา การบรรลุอรหัตตผลของภิกษุผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของอุปัชฌาย์อาจารย์ กำหนดทวาร ๖ เป็นต้น เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ พึงเห็นเหมือนบุรุษนั้นพิจารณาแล้วละขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม บรรเทาความกระหายด้วยน้ำดื่มเป็นต้น มรรค ๔ พึงเห็นเหมือนฐานะ ๔ มีน้ำดื่มเป็นต้น เวลาที่พระขีณาสพดื่มน้ำคือ มรรค ๔ บรรเทาตัณหา ไปสู่ทิศทางพระนิพพานที่ไม่เคยไป พึงทราบ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 353

เหมือนการที่บุรุษดื่มน้ำดื่ม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเทาความกระหายสุรามีความสุข ไปตามทิศทางที่ปรารถนา.

จบอรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖