ไทยธรรม (ของที่ให้) ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก
โดย บ้านธัมมะ  1 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 19499

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ปีตวิมาน

ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ ชั้นไตรทศ ได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ไทยธรรม (ของที่ให้) ที่เทพธิดานี้กระทำแล้วถึงจะน้อย บุญก็มีผลมากเมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณาไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลาย ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้



ความคิดเห็น 1    โดย neung333  วันที่ 10 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย เรืองกิตติ์  วันที่ 2 ก.ย. 2556

กราบอนุโมทนา ในพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ความคิดเห็น 3    โดย สิริพรรณ  วันที่ 3 พ.ค. 2562

กราบนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

ข้อความส่วนหนึ่งจากพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย

ทานสูตร

... .ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าการให้ทานเป็นการดี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเมื่อเราให้ทานนี้จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต

เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้วมีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

อรรถกถาทานสูตรที่ ๙

ทานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สาเปกฺโข แปลว่า มีตัณหาความอยาก

บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตผูกพันในผลทาน.

บทว่า สนฺนิธิเปกฺโข ได้แก่ ผู้มุ่งฝังจิตลงในทาน

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ไปถึงโลกอื่นแล้ว

บทว่า ตํ กมฺมํ เขเปตฺวา ให้ผลของกรรมนั้นสิ้นไป

บทว่า อิทฺธํ ได้แก่ ฤทธิ คือวิบาก

บทว่า ยสํ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมด้วยบริวาร.

บทว่า อาธิปเตยฺยํ ได้แก่ เหตุแห่งความเป็นใหญ่

บทว่า อาคนฺตุ อิตฺถตฺตํ ความว่า ยังกลับมาเป็นอย่างนี้ คือกลับมาสู่ขันธปัญจกนี้ (ขันธ์ ๕) อีก. อธิบายว่า เขาจะไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก จะไม่ผุดเกิดขึ้นในภพสูงขึ้นไป แต่จะกลับมาภพเบื้องต่ำเท่านั้น

บทว่า สาหุ ทานํ ชื่อว่า ทานนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ดีงาม

บทว่า ตานิ มหายญฺญานิ ความว่า มหาทานเหล่านั้นสำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่า เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา

บทว่า พฺรหฺมกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ ความว่า เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึงทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน

บทว่า อนาคามี โหติ ความว่า เป็นพระอนาคามีผู้ไม่กลับมา เพราะฌาน

บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺตํ ความว่า ไม่กลับมาสู่ภาวะความเป็นอย่างนี้อีก ไม่ผุดเกิดในภพสูงๆ หรือไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดังนั้น บรรดาทานเหล่านี้ :-

ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก

ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง

ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยความละอายและเกรงกลัว

ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ

ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล

ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส

ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับและเป็นบริวาร (แห่งจิต)

คลิ๊กฟังเพิ่มเติมที่

ทานสูตร

กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นอย่างสูงยิ่ง

อนุโมทนาขอบคุณมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ