โมหมูลจิต
โมห (ความหลง สภาพที่ไม่รู้ความจริง) + มูล (รากเหง้า) + จิตฺต (จิต)
จิตที่มีโมหเจตสิกเป็นมูล หมายถึง จิตที่มีความหลงลืม หรือไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงเป็นไปในอาการหลายอย่าง เช่นขณะที่คิดไม่ออกหลงลืม ตื่นอยู่แต่อารมณ์ไม่ปรากฏหรือขณะที่สงสัยเพราะไม่รู้ความจริง โมหมูลจิตมี ๒ ดวงแตกต่างกันที่สัมปยุตต์ คือ
๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ โมหมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความสงสัยลังเลใจ
๒. อุเปกฺขาสหคต อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ โมหมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความฟุ้งซ่านในอารมณ์ (จับอารมณ์ไม่มั่นคง ไม่ตั้งมั่นในอารมณ์) โมหมูลจิต เป็นสเหตุกจิต ที่ประกอบด้วยเหตุเดียว คือ โมหเหตุ (โมหเจตสิก) เรียกว่า เอกเหตุกะ ในพระบาลีและอรรถกถาไม่ได้แสดงว่าเป็นอสังขาริกหรือสสังขาริก แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังสงเคราะห์เป็นอสังขาริก เพราะเป็นจิตที่เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีการชักชวนด้วยกายหรือวาจาของผู้ใด หรือแม้การชักชวนด้วยใจของตนเอง เพราะคงไม่มีใครต้องการที่จะหลง หรือต้องการที่จะโง่แต่สภาพของจิตที่โง่นั้นโง่เอง และไม่ได้หมายความว่าโมหมูลจิตเป็นจิตที่มีกำลัง เพราะโมหมูลจิตล้วนๆ ไม่สามารถทำให้ล่วงศีลหรือล่วงกรรมบถได้ แต่เป็นบริวารสนันสนุนให้โลภมูลจิต หรือโทสมูลจิตเกิดขึ้นทำให้ล่วงศีลหรือล่วงกรรมบถได้
สาธุ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม...
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ