อ.จรัญ ภักดีธนากุล : ในการที่ผมทำงานทางกฏหมาย ผมก็ได้รับอบรมสั่งสอนว่า ต้องพยายามอย่าให้ถูกครอบงำด้วยอคติทั้ง ๔ ประการ ไม่ว่าจะเป็น ฉันทาคติ(ลำอียง เพราะรัก) โทสาคติ(ลำเอียง เพราะชัง) ภยาคติ(ลำเอียง เพราะกลัว) หรือ โมหาคติ(ลำเอียง เพราะเขลา) ซึ่งผมเข้าใจว่า นี่เป็นหลักในทางธรรมภิบาลของไทย ที่ไม่ปรากฏชัดเจน ไม่ปรากฏอยู่ใน Good Governace (หลักธรรมภิบาล) ของฝรั่ง แล้วก็เป็นหลักนิติธรรมของไทย เป็นหลักธรรมะของระบบกฏหมายของไทย ที่ก็ไม่ปรากฏในตำราของฝรั่งที่ครบแบบนี้ เขาก็มีตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อย แต่ไม่รอบด้านแบบนี้
แต่ปัญหามันเกิดว่า กฏหมายไทย ให้ใช้หลักนี้ได้ในการบริหารกิจการบ้านเมือง ในการทำหน้าที่ทางกฏหมายและระบบงานยุติธรรม แต่ทำอย่างไร คือ คำถามนี้ก็ถูกท่านอาจารย์คอยท้วงอยู่เสมอว่าทำไม่ได้ แต่ผมก็กราบเรียนเถอะครับว่านักกฏหมายเขายอมรับกันหมดว่า ต้องใช้หลักนี้ ของไทยนะครับ แต่ไม่มีวิธี ไม่มีหลักวิชาใด ที่จะทำให้สามารถหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของอคติ ๔ ตัวนี้ได้จริง ส่วนใหญ่ก็พูดไปตามความเข้าใจว่า เราไม่มีอคติ แต่จริงๆ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราทำโดยไม่มีอคติ ก็กราบเรียนถามให้ความกระจ่างทั้งแก่กระผมเอง และแก่นักกฏหมายไทย นักการเมืองการปกครองไทย ด้วยครับ
อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ : ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ไม่มีใครสามารถจะรู้อะไรตามความเป็นจริงได้เลย ตัวอย่าง ใครสร้างรูปเคารพต่างๆ ในวัด กวนอิม พระพิฆเนศ ใครสร้างในวัด? เห็นไหม? แล้วทำไมรู้ว่าผิดแล้วไม่พูด อคติหรือเปล่า? มี(อคติ)ก็ไม่รู้ กลัวอะไร ที่จะให้ความรู้ที่ถูกต้อง ว่านี่ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โทษเพราะว่าไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงไม่กล้าที่จะรู้ว่า สิ่งใดผิด และสิ่งใดถูก
แต่ถ้าสิ่งนั้นผิด แล้วรู้จริงๆ ว่าผิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงอนุญาตให้มีการสร้างรูปต่างๆ เหล่านี้ในพระเชตวัน หรือที่ไหนเลย ผิดไหม? มีไว้ทำไม? แล้วใครสร้าง? ถามเลย ว่าใครสร้าง? ตอบได้ไหมว่าใครสร้าง? นี่คือความจริง อคติหรือเปล่า? ถ้าไม่ตอบ!! ธรรมะละเอียดมาก บ่งถึงสิ่งที่มี แต่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ว่าขณะนั้น เป็นกุศลหรืออกุศลประเภทไหน เพราะอะไร ถ้ารู้ก็ตอบ ถ้าไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ว่าใครสร้าง ใช่ไหม?
แต่ในวัด ใครสร้างจะอะไรได้ไหม? ใครเป็นผู้อนุญาตให้สร้าง? นั่นหรือ คือผู้ที่เข้าใจพระธรรม? และถ้าเป็นเถระอายุมาก อาจจะเป็นสมาชิกของมหาเถรสมาคม เพราะอายุ แต่ว่าธรรมะล่ะ? แล้วจะนำพระพุทธศาสนาไปไหน? นอกจากไปสู่ความไม่รู้เรื่อยๆ แล้วก็อคติเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น แม้อคติที่พูดกัน ก็มีจริง ถ้าไม่ยกตัวอย่าง ก็ไม่รู้ว่าอคติอยู่ไหน ขณะที่รู้ว่าใครสร้าง ทำไมไม่บอก? อคติหรือเปล่า? กลัวอะไร? ภยาคติ (ลำเอียง เพราะกลัว)
เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ไม่ใช่อยู่ที่อื่น ไม่ใช่ไม่มีเหตุการณ์อะไร แล้วเราก็ไป "เรียนชื่อ" แต่ทั้งหมด "ทุกขณะ เปิดเผยความจริง" ว่า ขณะนั้นเป็นอะไร เพราะอะไร เป็นกุศลหรืออกุศล จะแก้ไขอย่างไร อกุศลทั้งหมดมาจากความไม่รู้ ไม่รู้หมด ว่าอะไรถูกอะไรผิด ควรไหม ที่จะมีรูปอย่างนั้นในวัด? แล้วทำไมมี? มากวัด มากมาย แล้วค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แทนที่จะเอาสิ่งนั้นไปเป็นประโยชน์ ก็กลับไปเสียเงินเสียทองโดยไร้ประโยชน์ แค่มีไว้ทำไม ก็ผิดแล้ว ตอบไม่ได้เลย มีไว้ทำไม? ไว้กราบไหว้หรือ? แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ ทรงแสดงพระธรรมไว้หรือเปล่า?
เพราะฉะนั้น ความถูกต้องคือความเห็นถูก ไม่เกรงกลัวอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะเป็นประโยชน์ ไม่ได้ทำผิดอะไรเลย พูดสิ่งที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ไหม? ทุกคนต้องตรง ถ้าไม่ตรง ก็เป็น "อคติ"
ตัวอย่างมีทุกวัน เพราะฉะนั้น ก็ สามารถจะพิจารณาได้ทุกเหตุการณ์ โดยความเป็น "ผู้ตรง" เป็นธรรมะ ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น!! แต่ถ้าไม่มีธรรมะ ก็ไม่มีใครเลย แต่พอมีกุศลบ้าง อกุศลบ้าง มีธาตุรู้ มีทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัย แต่ไม่รู้ ก็เลยคิดกันเอง ว่าผู้นั้นเป็นเถระ มีเถรสมาคม แต่ต้องรู้ว่า "พระธรรมวินัย" เท่านั้น ทุกกาลสมัย ไม่ว่าจะเป็นกฏหมาย สามารถเทียบเคียงได้ พระธรรมวินัยว่าอย่างไร ถ้าไม่มีเงินมีทอง จะสร้างอะไรต่ออะไรได้ไหม? แล้วสร้างทำไม? สร้างเพื่ออะไร? เข้าใจธรมะหรือเปล่า? ไม่เข้าใจธรรมะ แต่สร้างสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เคารพในพระรัตนตรัยหรือเปล่า? ถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่มีอคติ
ติดตามการสนทนาฉบับเต็มได้ที่ลิงก์นี้ :
ขออนุโมทนาครับ