ในขณะที่วิบากส่งผล
โดย empty  5 ก.พ. 2550
หัวข้อหมายเลข 2776

ในขณะที่วิบากส่งผลสภาวธรรมที่ปรากฏเกิดขึ้น สติระลึกรู้ในขณะนั้นไม่มีสภาพธรรม ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้นเพราะเหตุใดจึงมีจิตที่เห็นดีและไม่ดี ฯ ในอเหตุกวิปากจิตคะ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 6 ก.พ. 2550

วิบากคือ ผลของกุศลกรรมและผลของอกุศลกรรม ได้แก่ วิบากจิต วิบากเจตสิก วิบากจิตและเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันโดยกระทำกิจต่างๆ เช่น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต จิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้กระทบสัมผัส เป็นต้น จิตเหล่านี้เป็น วิบากคือผลของกรรม เมื่อจิตเจตสิกเหล่านี้เกิดขึ้นกระทำหน้าที่ของตนๆ แต่ไม่ก่อให้ เกิดวิบากอีกต่อไป


ความคิดเห็น 2    โดย empty  วันที่ 6 ก.พ. 2550

เข้าใจในหลักการค่ะ แต่ผลของกุศลและอกุศลในขณะที่ส่งผลถ้ามีสติระลึกรู้ในขณะนั้นก็จะไม่มีความแตกต่างกันเลยใช่ไหมคะ


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 6 ก.พ. 2550

ตัวสติไม่ต่างกันแม้อารมณ์จะเป็นอกุศล หรือกุศล หรือวิบาก หรือรูปก็ตาม


ความคิดเห็น 4    โดย empty  วันที่ 6 ก.พ. 2550

แต่ต่างกันที่ปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นใช่ไหมคะ


ความคิดเห็น 5    โดย empty  วันที่ 6 ก.พ. 2550

มีข้อยกเว้นในพระวินัยไหมคะที่ให้บวชได้โดยไม่ต้องขออนุญาติจากบิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะถ้าบิดามารดามีมิจฉาทิฏฐิ แต่กุลบุตรได้สะสมอบรมปัญญาเกื้อกูลต่อการถือเพศบรรพชิต แต่บิดามารดาไม่ยินยอมจะทำอย่างไร (ในครั้งพุทธกาลมีพระรัฐปาล เป็นต้น) และในเมื่อไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้น กระทำหน้าที่ของตนๆ เหตุใดจึงต้องขอความยินยอมจากบิดามารดา ถ้าบวชไปโดยไม่ได้รับความยินยอมก็จะไม่ได้มรรค ผล นิพพานตามความเชื่อของบุคคลทั่วไปซึ่งไม่เกี่ยวเลย เพราะสภาวธรรมเมื่อมีเหตุมีปัจจัยให้เกิดจึงเกิดขึ้นกระทำกิจของตนๆ เมื่อกระทำกิจของตนเสร็จสิ้นแล้วก็ดับ


ความคิดเห็น 7    โดย empty  วันที่ 6 ก.พ. 2550

แต่ทำไมในชาร์ตจิตจะต้องระบุว่าเห็นดี เห็นไม่ดี ซึ่งตรงนั้นเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งดีและไม่ดีแตกต่างกันไปตามการสะสม ถ้าจะแยกตามเหตุที่มาของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุว่า เห็นดีหรือเห็นไม่ดี เช่น ถ้าเดียรถีเห็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกุศลกรรมส่งผลแต่สภาพธรรมปรุงแต่งให้ไม่ดีก็ได้ ฉะนั้นจึงไม่แน่ว่ากุศลกรรม ส่งผลแล้วต้องเห็นดี ใช่ไหมคะ


ความคิดเห็น 8    โดย shumporn.t  วันที่ 6 ก.พ. 2550

กรรมเป็นเหตุ วิบากเป็นผล เหตุดีย่อมได้วิบากดี เหตุชั่วย่อมได้วิบากชั่ว ขณะเห็นเป็นวิบากจิต เห็นพระพุทธเจ้าย่อมเป็นกุศลวิบากแน่นอน ส่วนกุศลวิบากเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตหรืออกุศลจิตได้ตามการสะสม ส่วนใหญ่เห็นสิ่งที่สวยงามย่อมพอใจ เห็นสิ่งที่ สกปรกย่อมไม่ชอบมีอกุศลเป็นปกติ น้อยครั้งที่เห็นแล้วจะทำให้เกิด ทาน ศีล ภาวนา


ความคิดเห็น 9    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ก.พ. 2550

ขออนุญาติ อธิบายที่คุณกล่าวว่า ขณะนั้นไม่มีปัจจัยปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อมีจิต ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ เจตสิกนั่นแหละเป็นสภาพธัมมะที่ปรุงแต่งจิต ดังนั้น แม้จิตเห็นก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยนะครับ ดังนั้น จิตเห็นจึงเป็นสภาพธัมมะที่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วย อาจจะเข้าใจว่า ปรุงแต่งคือขณะที่คิดนึกหรือเป็นอกุศล แต่ไม่ใช่ครับ เมื่อใดจิตเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยปรุงแต่งแล้วครับ

เพราะเหตุใดจึงมีจิตที่เห็นดีและไม่ดี?

เห็นสิ่งที่ดีและไม่ดี เมื่อจิตเกิดต้องมีอารมณ (สิ่งที่ถูกรู้) แม้จิตเห็นก็มีอารมณ์ อารมณ์ ของจิตก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี เห็นขยะก็เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี เห็นพระพุทธเจ้าก็เป็นอารณ์ที่ดี แต่ท้ายสุด เมื่อจิตมีเจตสิกจึงต้องมีการปรุงแต่งครับ (จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวงครับ)


ความคิดเห็น 10    โดย empty  วันที่ 7 ก.พ. 2550

ยังไม่ได้รับคำตอบที่ตรงกับคำถามเลยค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย shumporn.t  วันที่ 7 ก.พ. 2550

สัจจธรรมคือ ความจริง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง มีอกุศลกรรมย่อมมีอกุศลวิบาก การที่จะรู้ว่าวิบากจิตนั้นเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากนั้นรู้ได้ด้วยปัญญา คนส่วนใหญ่ผู้ไม่มีปกติเจริญสติรู้ได้โดยการศึกษาว่า ขณะที่เห็นสิ่งที่ดีเช่นเห็นพระพุทธเจ้า หรือฟังธรรมย่อมเป็นกุศลวิบาก เมื่อเปรียบกับเสียงนินทาหรือเสียงด่าว่า ซึ่งสภาพธรรมปรากฏให้เห็นอยู่แล้วว่า สภาพจิตที่ดีและสภาพจิตที่ทรามเป็นอย่างไร วินัยเป็นข้อบัญญัติสำหรับพระภิภษุ เพื่อให้เห็นโทษของอกุศลธรรมต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลส การขัดเกลากิเลสเป็นไปได้ทั้งฆารวาสและบรรพชิต สำหรับผู้มิได้บวชก็สามารถอบรมเนกขัมมะในชีวิตประจำวันได้ บิดามารดาเสมือนพรหมของบุตร เป็นบุรพจารย์ เป็นเนื้อนาบุญสำหรับบุตร เป็นโอกาสที่ยังกุศลธรรมมากมาย เช่น หิริโอตตัปปะ การละอาย การกลัว การเคารพยำเกรงอย่างสูงต่อบุตร ขัดเกลาความนอบน้อม ความมีระเบียบวินัยกฏเกณฑ์ซึ่งเป็นศีลในชีวิตประจำวัน ส่วนการไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลนั้นเป็นปัญญาขั้นสูง เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา รู้ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่อบรมไปสามารถละความเห็นผิดได้ เป้าหมายในการศึกษาเพื่อรู้แล้วขัดเกลากิเลสเป็นสำคัญ การคิดจะบวชนั้นแล้วแต่อัชฌาสัยแต่เป้าหมายต้องเพื่อศึกษารู้แล้วขัดเกลา


ความคิดเห็น 12    โดย study  วันที่ 7 ก.พ. 2550

ตอบความเห็นที่ 5

ตามพระวินัยบัญญัติพระอุปัชฌายะจะบวชให้กุลบุบตรที่ได้รับอนุญาตจากมารดา บิดาแล้วเท่านั้น พระวินัยข้อนี้ไม่มีข้อยกเว้น แต่ขืนบวชให้พระอุปัชฌายะต้อง อาบัติ แต่ไม่มีโทษแก่กุลบุตรผู้บวช คือไม่กั้นการบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด สำหรับ บัณฑิตทั้งหลายท่านย่อมฉลาดทั้งโลกบัญญัติและปรมัตถ์ โดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์บุคคลจริง แต่โดยโวหารของชาวโลก พระภิกษุทุกรูปต้องประพฤติตามพระวินัยบัญญัติที่ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จะอ้างว่าไม่มีสัตว์บุคคลไม่ได้ เพราะการอบรมเจริญปัญญาต้องอาศัยองค์ของศีลเป็นส่วนหนึ่ง จึงจะรู้แจ้งอริยสัจจะได้


ความคิดเห็น 13    โดย empty  วันที่ 7 ก.พ. 2550

กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ชี้แนะทางสว่างให้ ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย olive  วันที่ 8 ก.พ. 2550

สาธุ เป็นข้อสนทนาที่ดีจริงๆ


ความคิดเห็น 15    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 28 ม.ค. 2568

ยินดีในกุศลจิตค่ะ