ทบทวนเรื่องของปัจจัย [๔]
โดย พุทธรักษา  30 พ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 14384

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นี้เป็นเรื่องความละเอียด ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อสรุปประมวลแล้ว ชวนจิตมี ๕๒ ประเภท เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นกริยา และ เป็นโลกุตตรวิบากจิต ๔ ประเภทด้วย

สำหรับโลกุตตรวิบากจิต ไม่เหมือนอย่างโลกียวิบากจิตถ้าเป็นกุศลขั้นกามาวจรจิต ไม่ได้ให้ผลทันที หลังจากที่กุศลจิตนั้นดับไป หรือว่า ถ้าเป็นกุศลที่เป็นขั้นรูปาวจรจิตก็ดี อรูปาวจรจิตก็ดี เมื่อดับไปแล้ว บุคคลที่อบรมเจริญความสงบ จนกระทั่งฌานจิตเกิดในภูมิที่เป็นมนุษย์ จะยังไม่เกิดเป็นพรหมบุคคลในทันที แต่ถ้ารูปาวจรกุศลจิตนั้นไม่เสื่อม และเกิดก่อนจะจุติจิตจะทำให้ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้นเป็นรูปาวจรวิบากจิต และทำให้เกิดในรูปพรหมภูมิ เป็นรูปพรหมบุคคล หรือถ้าอรูปาวจรกุศลจิตเกิดก่อนจุติจิต ก็จะทำให้บุคคลนั้นเกิดในอรูปพรหมภูมิ เป็นอรูปพรหมบุคคล เพราะฉะนั้น กุศลอื่นทั้งหมด ไม่ได้ให้ผลทันทีที่กุศลนั้นดับ ไปเว้นโลกุตตรกุศลจิต เท่านั้น ซึ่งเมื่อโลกุตตรกุศลจิตดับไป โลกุตตรวิบากจิต คือผลจิต ต้องเกิดต่อทันทีโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์

เพราะฉะนั้น สำหรับโลกุตตรวิบากจิต ๔ ประเภท กระทำชวนกิจเพราะฉะนั้น โลกุตตรวิบากจิต จึงเป็นชวนจิตด้วยรวมแล้วก็เป็นชวนจิต ๕๒ ประเภท

สำหรับสภาพธรรมที่จะมีกำลัง ที่จะเป็นอธิปติปัจจัยได้ ต้องเป็นสภาพธรรม คือ จิตและเจตสิกที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๒ เหตุแต่จะไม่เกิดกับอเหตุกจิต ซึ่งไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และจะไม่เกิดกับโมหมูลจิต ซึ่งมีเหตุเกิดร่วมด้วยเพียงเหตุเดียว

สำหรับจิตที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุ คือ จิตที่เป็นอเหตุกจิต อุปมาว่า เหมือนสาหร่ายที่ลอยไปตามน้ำ แต่สำหรับจิตซึ่งมีเหตุเกิดร่วมด้วย อุปมา เหมือนกับต้นไม้ที่มีรากลึก ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นดอก เป็นใบ เป็นผลที่จะงอกงามเจริญเติบโตได้ ก็เพราะเหตุว่ามีรากฉันใดจิตที่จะมีกำลัง ก็จะต้องประกอบด้วยเหตุ แต่ถ้าไม่ประกอบด้วยเหตุ ก็อุปมาเหมือนกับสาหร่ายที่ลอยไปในน้ำไม่มีรากที่จะหยั่งลึก ที่จะทำให้เกิดงอกงามไพบูลย์ได้ ฉันนั้น

ข้อความบางตอนจากเทปชุดปัฏฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ ๕

โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์.

ขออนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ