งพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 659
เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่าง
แต่เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่างเท่านั้น ไม่ยิ่ง
ไม่หย่อน (ไปกว่านั้น) ? เพราะทรงเกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์. อธิบายว่า บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย พวกตัณหาจริต พวกทิฏฐิจริต พวกสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ (แยก) เป็นพวกละ ๒ ตามอ่อนและแก่กล้า
ผู้มีตัณหาจริตอย่างอ่อน มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีอารมณ์หยาบเป็นทางแห่ง
ความบริสุทธิ์. แต่ผู้มีตัณหาจริตแก่กล้า มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ละเอียด เป็น
ทางแห่งความบริสุทธิ์. แม้ผู้มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน มีจิตตานุปัสสนาสติปักฐาน ที่มี
อารมณ์แยกออกไม่มากนักเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์. แต่ผู้มีทิฏฐิจริตแก่กล้า มีธัมมา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์แยกประเภทออกไปมาก เป็นทางแห่งวิสุทธิ. และสติปัฏฐานข้อแรก ที่มีนิมิตจะที่พึงประสบได้ไม่ยาก เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ของ
สมถยานิกบุคคล ประเภทยังอ่อน. ข้อที่ ๒ เป็นทางแห่งวิสุทธิสมลยานิกบุคคล
ประเภทแก่กล้า. เพราะท่านดำรงอยู่ได้ไม่มั่นคงในอารมณ์ที่หยาบ. ข้อที่ ๓ ที่มี
อารมณ์แยกประเภทออกไปไม่มากนัก เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์แม้ของวิปัสสนายา-
นิกบุคคลประเภทยังอ่อน. ข้อที่ ๔ ที่มีอารมณ์แยกประเภทออกไปมาก เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ของวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทแก่กล้า. สติปัฏฐานจึงตรัสไว้ ๔ อย่าง
เท่านั้น ไม่ยิ่งไม่หย่อน ด้วยประการดังที่พรรณนามาน ดังนี้.
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมไ่ด้ อันนีเข้าใจตรงกันครับ แต่จะต้องเข้าใจว่า
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ไมไ่ด้มีการเลือกโดยตัวเรา แต่สติปัฏฐานเกิดเอง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าสติ
ปัฏฐานจะระลึกในอารมณ์ใด ซึ่งเป็นอนัตตา ดังนั้นเราไม่สามารถรู้จริตตัวเองได้ นอกจาก
เดา แต่ความเข้าใจพระธรรมจนสติปัฏฐานเกิด ก็จะระลึกเป็นไปทั้ง 4 สติปัฏฐานจนทั่ว
ส่วนหมวดใดเหมาะสมกับผู้ใด ก็ตามแต่สติปัฏฐานนั้นจะระลึก ไม่มีเราไปเลือก เพราะเมื่อ
ไหร่มีการเลือกนั่นคือความต้องการที่เป็นโลภะ จเลือกในหมวดนั้น หมวดนี้ครับ อนุโมทนา