[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 161
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ปารายนวรรค
โธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 161
โธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ
[๒๐๓] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมอันใหญ่ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์ บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๐๔] คำถามในคำว่า ปุจฺฉามิ ในอุเทศว่า "ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ" ดังนี้ มี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ฯลฯ ปุจฉา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ ถามถึงนิพพาน.
คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ประสาทปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า พฺรูหิ เม ตํ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ โปรดบอก... ขอทรงโปรดประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 162
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
คำว่า อิจฺจ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา โธตโก" ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก.
คำว่า โธตโก เป็นชื่อ ฯลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระโธตกะทูลถามว่า.
[๒๐๕] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์ มีความว่า ข้าพระองค์ย่อมหวัง คือ ย่อมจำนง ปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งพระดำรัส คือคำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า มเหสี ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะอรรถว่า กระไร ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ ฯลฯ พระนราสภประทับที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ข้าพระองค์ย่อมหวังเฉพาะซึ่งพระวาจาของพระองค์.
[๒๐๖] คำว่า บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ความว่า บุคคลได้ฟัง คือ ได้ยิน ศึกษา เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งพระดำรัส คือ คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว.
[๒๐๗] สิกขา ในคำว่า สิกฺเข ในอุเทศว่า "สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน" ดังนี้ มี ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ฯลฯ นี้ชื่ออธิปัญญาสิกขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 163
คำว่า นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พึงศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต แม้อธิปัญญา เพื่อดับราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ เพื่อสงบ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบวิเศษ เพื่อดับ เพื่อสละคืน เพื่อระงับ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เมื่อนึกถึงสิกขา ๓ อย่างนี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา เมื่อเห็นก็พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิตก็พึงศึกษา เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประคองความเพียรก็พึงศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ด้วยปัญญาก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดรู้ก็พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา สมาทานประพฤติ สมาทานปฏิบัติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงศึกษานิพพานเพื่อตน เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมอันใหญ่ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์ บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๐๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเป็นผู้มีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในทิฏฐินี้นี่แหละ บุคคลได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 164
[๒๐๙] คำว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง... ทำความเพียร ความว่า ท่านจงทำความเพียร ทำความหมั่น ทำความเป็นผู้มีความหมั่น ทำความพยายาม ทำความทรงจำ ทำความเป็นผู้กล้า ยังฉันทะให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้เข้าไปตั้งไว้ ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง... ทำความเพียร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โธตกะ ในอุเทศว่า โธตกาติ ภควา.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๑๐] คำว่า อิธ ในอุเทศว่า "อิเธว นิปฺปโก สโต" ดังนี้ คือ ในทิฏฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษยโลกนี้.
คำว่า นิปโก ความว่า เป็นผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ ผู้นั้นตรัสว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา มีสติ... ในทิฏฐินี้นี่แหละ.
[๒๑๑] คำว่า ได้ฟังคําแต่ปากเรานี้แล้ว ความว่า ได้ยิน คือ ได้ฟัง ศึกษา เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งถ้อยคำ คำเป็นทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 165
เทศนา อนุสนธิ ของเรา แต่ปากเรานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว.
[๒๑๒] สิกขา ในคำว่า สิกฺเข ในอุเทศว่า "สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน" ดังนี้ มี ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.
คำว่า นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พึงศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต แม้อธิปัญญา... สมาทานปฏิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงศึกษานิพพานเพื่อตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเป็นผู้มีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในทิฏฐินี้นี่แหละ บุคคลได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๑๓] ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพ ผู้ไม่มีเครื่องกังวล เป็นพราหมณ์ เที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์ จากความสงสัยทั้งหลาย.
[๒๑๔] เทพ ในคำว่า เทว ในอุเทศว่า "ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก" ดังนี้ มี ๓ คือ สมมติเทพ ๑ อุปบัติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑.
สมมติเทพเป็นไฉน พระราชา พระราชกุมารและพระเทวี เรียกว่า สมมติเทพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 166
อุปบัติเทพเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม และเทวดาในชั้นที่สูงกว่านั้น เรียกว่า อุปบัติเทพ.
วิสุทธิเทพเป็นไฉน พระอรหันตขีณาสพสาวกของพระตถาคตและพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เรียกว่า วิสุทธิเทพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพ เป็นเทพยิ่งกว่าสมมติเทพ กว่าอุปบัติเทพ และกว่าวิสุทธิเทพทั้งหลาย เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสีหะยิ่งกว่าสีหะ เป็นนาคยิ่งกว่านาค เป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะ เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา.
คำว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก ความว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพ คือ ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นอติเทพ ย่อมเห็น ย่อมดู ย่อมแลดู ย่อมเพ่งดู ย่อมเข้าพิจารณาซึ่งพระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพ... ใน มนุษยโลก.
[๒๑๕] คำว่า อกิญฺจนํ ในอุเทศว่า "อกิญฺจนํ พฺราหฺมณํ อริยมานํ" ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เป็นเครื่องกังวล เครื่องกังวลเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีเครื่องกังวล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 167
คำว่า พฺราหฺมณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะทรงลอยธรรม ๗ ประการแล้ว คือ ทรงลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทรงลอยธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอกุศลอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสภิยะ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ลอยเสียแล้วซึ่งธรรมอันลามกทั้งปวง ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น มีจิตคงที่ ล่วงแล้วซึ่งสงสาร เป็นผู้บริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ประเสริฐ.
คำว่า อริยมานํ ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ รักษา เป็นไป เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล เป็นพราหมณ์เที่ยวไป.
[๒๑๖] โธตกพราหมณ์กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตํ ในอุเทศว่า "ตนฺตํ นมสฺสามิ สมนฺตจกฺขุ" ดังนี้.
คำว่า นมสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอนมัสการด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ขอนมัสการด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นไปตามประโยชน์ หรือขอนมัสการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 168
พระสัพพัญญุตญาณเรียกว่า สมันตจักษุ ในบทว่า สมนฺตจกฺขุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น.
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ทรงเห็นอะไรๆ น้อยหนึ่งในโลกนี้ อนึ่ง ไม่ทรงรู้อะไรๆ ที่ไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มีเลย พระตถาคตทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ธรรมชาติใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมชาตินั้นแล้ว เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ข้าพระองค์นมัสการพระองค์.
[๒๑๗] คำว่า สกฺก ในอุเทศว่า "ปมุญฺจ มํ สกฺก กถํกถาหิ" ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้ามั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ ด้วยรัตนทรัพย์หลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ อาจหาญ มีความสามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 169
ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.
วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความสงสัยในเงื่อนเบื้องหน้า ความสงสัยในเงื่อนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในเงื่อนเบื้องต้นและเงื่อนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่สังขาราทิธรรมนี้เป็นปัจจัยแห่งกันและกัน ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความไม่ตกลง ความเป็นสองแง่ ความเป็นสองทาง ความลังเล ความไม่ถือเอาโดยส่วนเดียว ความระแวง ความระแวงโดยรอบ ความตัดสินใจไม่ลง ความที่จิตครั่นคร้าม ใจสนเท่ห์เรียกว่า กถังกถา.
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์ จากความสงสัยทั้งหลาย ความว่า ขอพระองค์จงปลดเปลื้อง จงปล่อย จงถอนขึ้น จงฉุดชัก จงให้ข้าพระองค์ออกไปจากลูกศร คือ ความสงสัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดปล่อยข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงทูลว่า
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเจ้า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล เป็นพราหมณ์เที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์ จากความสงสัยทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 170
[๒๑๘] ดูก่อนโธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกนี้ได้ ก็แต่ท่านเมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ พึงข้ามโอฆะนี้ได้ด้วยความรู้อย่างนี้.
[๒๑๙] คำว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง ความว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง แก้ ปล่อย ถอนขึ้น ฉุดชักท่านให้ออกจากลูกศร คือ ความสงสัยได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
อีกอย่างหนึ่ง เราไม่อาจ ไม่สามารถ ไม่อุตสาหะ ไม่พยายาม ไม่กระทำความหมั่น ไม่กระทำความเป็นผู้มีความหมั่น ไม่กระทำเรี่ยวแรง ไม่ทำความทรงจำ ไม่ทำความเพียร ไม่ยังฉันทะให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพื่อจะแสดงธรรมกะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ไม่ปฏิบัติตาม แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลนั้นพึงปลดเปลื้องได้ ก็ไม่ต้องมีใครๆ อื่น ช่วยปลดเปลื้อง บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันชอบ ปฏิปทาสมควร ปฏิปทาอันเป็นไปตามประโยชน์ ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น ของตน ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ อันเป็นส่วนของตนเอง พึงปลดเปลื้องได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ บุคคลนั้นหนอ เป็นผู้ติดหล่มอยู่ด้วยตน จักถอนขึ้นซึ่งบุคคลอื่นผู้ติดหล่มได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนจุนทะ บุคคลนั้นหนอ ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 171
ฝึก ไม่ได้ถูกแนะนำ ไม่ดับรอบแล้วด้วยตนเอง จักฝึกจักแนะนำให้บุคคลอื่นให้ดับรอบได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้องได้.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
กรรมชั่วอันบุคคลทำด้วยตนเองแล้ว จักเศร้าหมองด้วยตนเอง กรรมชั่วอันบุคคลไม่ทำด้วยตนเองแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์เฉพาะตน ผู้อื่นจะช่วยชำระผู้อื่นให้บริสุทธิ์หาได้ไม่.
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ นิพพานก็ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ หนทางนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้แนะนำก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ สาวกทั้งหลายของเรา เราก็ตักเตือนอย่างนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ บางพวกบรรลุนิพพานอันมีความสำเร็จส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ใครถามทางแล้วก็บอกให้ บุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ด้วยตน พึงพ้นได้เอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
[๒๒๐] คำว่า ดูก่อนโธตกะ... ใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลก ความว่า ซึ่งบุคคลผู้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง มีความระแวง มีความเห็นเป็นสองทาง มีวิจิกิจฉา.
คำว่า กญฺจิ ความว่า ใครๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 172
คำว่า โลเก ความว่า ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนโธตกะ... ใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลก.
[๒๒๑] คำว่า ก็แต่... เมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ ความว่า อมตนิพพาน ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ.
คำว่า เสฏฺํ ความว่า อันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานอุดม.
คำว่า อาชานมาโน ความว่า รู้ทั่ว คือ รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็แต่... รู้ทั่วธรรมอันประเสริฐ.
[๒๒๒] คำว่า ท่านพึงข้ามโอฆะนี้ด้วยความรู้อย่างนี้ ความว่า ท่านพึงข้าม คือ พึงก้าวล่วง พึงเป็นไปล่วง ซึ่งโอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา ด้วยความมารู้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้นโอฆะนี้ด้วยความรู้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนโธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกนี้ ก็แต่ท่านเมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ พึงข้ามโอฆะนี้ได้ด้วยความมารู้อย่างนี้.
[๒๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรงพระกรุณา ตรัสสอนธรรมอันสงัดที่ข้าพระองค์พึงรู้ได้ ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ ไม่อาศัยแล้วพึงเที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 173
[๒๒๔] คำว่า อนุสาส พฺรหฺเม ในอุเทศว่า "อนุสาส พฺรหฺเม กรุณายมาโน" ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดตรัสสอน คือ อนุเคราะห์ เอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดตรัสสอน.
คำว่า กรุณายมาโน ความว่า โปรดกรุณา ปรานี รักษา อนุเคราะห์ เอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรงพระกรุณาตรัสสอน.
[๒๒๕] อมตนิพพาน... ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่าเป็นธรรมอันสงัด ในอุเทศว่า "วิเวกธมฺมํ ยมหํ วิชญฺํ."
คำว่า ยมหํ วิชญฺํ ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้แจ้ง พึงรู้แจ้งเฉพาะ พึงแทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมอันสงัดที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.
[๒๒๖] คำว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ ความว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง คือ ไม่ติด ไม่พัวพัน เหมือนอากาศอันไม่ขัดข้อง คือ ไม่ติด ไม่พัวพัน ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง เหมือนอากาศ ข้าพระองค์ไม่รัก ไม่ชัง ไม่หลง ไม่มัวหมอง เหมือนอากาศที่ใครๆ ย้อมด้วยน้ำครั่ง น้ำขมิ้น น้ำสีเขียว น้ำสีฝาด ไม่ได้ฉะนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง เหมือนอากาศ ข้าพระองค์ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง เหมือนอากาศ ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 174
[๒๒๗] คำว่า อิเธว สนฺโต ในอุเทศว่า อิเธว สนฺโต อสิโต จเรยฺย ความว่า เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ คือ เป็นผู้นั่งอยู่ในที่นี้นี่แหละ เป็นผู้นั่งอยู่แล้ว ณ อาสนะนี้นี่แหละ เป็นผู้นั่งอยู่แล้วในบริษัทนี้นี่แหละ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับระงับแล้วในที่นี้นี่แหละ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ.
คำว่า อสิโต ความว่า นิสัยมี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า ทิฏฐินิสัย ข้าพระองค์ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย ไม่อาศัย จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่อาศัยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่อาศัยสกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่อาศัยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัชบริขาร ไม่อาศัยกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่อาศัยกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่อาศัยสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ ไม่อาศัยเอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ไม่อาศัยอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่อาศัย ไม่แอบ ไม่เข้าถึง ไม่พัวพัน ไม่น้อมใจ ออก สละ พ้นขาดแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบและธรรมที่พึงรู้แจ้ง มีจิตอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อาศัย.
คำว่า จเรยฺยํ ความว่า พึงเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติไป เป็นไป เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 175
ผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ ไม่อาศัยแล้ว พึงเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรงพระกรุณาตรัสสอนธรรมอันสงัดที่ข้าพระองค์พึงรู้ได้ ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ ไม่อาศัยแล้ว พึงเที่ยวไป.
[๒๒๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
เราจักบอกความสงบในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตนแก่ท่าน ที่บุคคลได้ทราบแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้.
[๒๒๙] คำว่า เราจักบอกความสงบ... แก่ท่าน ความว่า เราจักบอก คือ จักเล่า... จักประกาศซึ่งความสงบราคะ ความสงบโทสะ ความสงบโมหะ ความสงบ เข้าไปสงบ ความเข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความระงับซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักบอกความสงบ... แก่ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โธตกะ ในอุเทศว่า โธตกาติ ภควา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 176
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๓๐] คำว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ในอุเทศว่า ทิฏฺเ ธมฺเม อนีติหํ ดังนี้ ความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คือ ในธรรมที่เรารู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ปรากฏแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว คือ ในธรรมที่เราเห็นแล้ว... แจ่มแจ้งแล้ว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง เราจักบอกทุกข์ในทุกข์ที่เราเห็นแล้ว จักบอกสมุทัยในสมุทัยที่เราเห็นแล้ว จักบอกมรรคในมรรคที่เราเห็นแล้ว จักบอกนิโรธในนิโรธที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง เราจักบอกธรรมอันบุคคลผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
คำว่า ประจักษ์แก่ตน ความว่า เราจักบอกซึ่งธรรมอันประจักษ์แก่ตน ที่เรารู้เฉพาะด้วยตนเอง โดยไม่บอกว่ากล่าวกันมาดังนี้ ไม่บอกตามที่ได้ยินกันมา ไม่บอกตามลำดับสืบๆ กันมา ไม่บอกด้วยอ้างตำรา ไม่บอกตามที่นึกเดาเอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 177
ความตรึกตามอาการ ไม่บอกด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตน.
[๒๓๑] คำว่า ที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า กระทำให้รู้แจ้ง คือ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้รู้แจ้ง... แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นตรัสว่าเป็นผู้มีสติ.
คำว่า เที่ยวไป ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
[๒๓๒] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในอุเทศว่า "ตเร โลเก วิสตฺติกํ."
คำว่า วิสตฺติกา ความว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา เพราะอรรถว่า กระไร ฯลฯ เพราะอรรถว่า ซ่านไป กว้างขวาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก.
คำว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ความว่า พึงเป็นผู้มีสติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งตัณหาอันซ่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 178
ไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
เราจักบอกความสงบในธรรมที่เราเห็นแล้วอันประจักษ์แก่ตน แก่ท่าน ที่บุคคลได้ทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้.
[๒๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และสันติอันสูงสุดที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกนี้.
[๒๓๔] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า ตญฺจาหํ อภินนฺทามิ ความว่า ซึ่งพระดำรัส คือ ทางแห่งถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิของพระองค์.
คำว่า อภินนฺทามิ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมยินดี ชอบใจ เบิกบาน อนุโมทนา พอใจ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น.
คำว่า มเหสี ในอุเทศว่า มเหสี สนฺติมุตฺตมํ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทวดาล่วงเทวดา ประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระนราสภประทับอยู่ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 179
อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่า สันติ ในอุเทศว่า "สนฺติมุตฺตมํ."
คำว่า อุตฺตมํ ความว่า เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานสูงสุดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี สนฺติมุตฺตมํ.
[๒๓๕] คำว่า ที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า กระทำให้รู้แจ้ง คือ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้รู้แจ้ง... แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกายฯ ลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.
คำว่า จรํ ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
[๒๓๖] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในอุเทศว่า "ตเร โลเก วิสตฺติกํ."
คำว่า วิสตฺติกา ความว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา เพราะอรรถว่า กระไร ฯลฯ เพราะอรรถว่า ซ่านไป กว้างขวาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 180
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก.
คำว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ความว่า พึงเป็นผู้มีสติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และสันติอันสูงสุดที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้.
[๒๓๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านรู้ธรรมนี้ว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกแล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่.
[๒๓๘] คำว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ท่านย่อมรู้ คือ ย่อมรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า โธตกะ ในอุเทศว่า "โธตกาติ ภควา."
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.
คำว่า ภควา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 181
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคตว่า ชั้นสูง ในอุเทศว่า "อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ" ดังนี้ ตรัสอดีตว่า ชั้นต่ำ ตรัสปัจจุบันว่าชั้นกลางส่วนกว้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสสุขเวทนาว่า ชั้นสูง ตรัสทุกขเวทนาว่า ชั้นต่ำ ตรัสอทุกขมสุขเวทนาว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสกุศลธรรมว่า ชั้นสูง ตรัสอกุศลธรรมว่า ชั้นต่ำ ตรัสอัพยากตธรรมว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสเทวโลกว่า ชั้นสูง ตรัสอบายโลกว่า ชั้นต่ำ ตรัสมนุษยโลกว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสอรูปธาตุว่า ชั้นสูง ตรัสกามธาตุว่า ชั้นต่ำ ตรัสรูปธาตุว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสส่วนเบื้องบนตลอดถึงพื้นเท้าว่า ชั้นสูง ตรัสส่วนเบื้องต่ำตลอดถึงปลายผมว่า ชั้นต่ำ ตรัสส่วนกลางว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง.
[๒๔๐] คำว่า ท่านรู้แล้วซึ่งธรรมนั้นว่า เป็นเครื่องข้องในโลก ความว่า รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏว่า ธรรมนี้เป็นเครื่องข้อง ธรรมชาตินี้เป็นเครื่องขัดข้อง ธรรมชาตินี้เป็นเครื่องผูกพัน ธรรมนี้เป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้วซึ่งธรรมนั้นว่า เป็นเครื่องข้องในโลก.
[๒๔๑] คำว่า อย่าได้ทำแล้วซึ่งตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่ ความว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา.
คำว่า เพื่อภพน้อยและภพใหญ่ ความว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 182
อย่าให้ตัณหาเกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดเฉพาะ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยและภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมภพ (กรรมวัฏฏ์) เพื่อปุนัพภพ (วิปากวัฏฏ์) เพื่อกามภพ (กามธาตุ) เพื่อกรรมภพ (กรรมวัฏฏ์) เพื่อกามภพ เพื่อปุนัพภพ (วิปากวัฏฏ์) เพื่อรูปภพ เพื่อกรรมภพ เพื่อวิปากวัฏฏ์อันให้เกิดใหม่ในรูปภพ เพื่ออรูปภพ เพื่อกรรมภพ เพื่อวิปากวัฏฏ์ อันให้เกิดใหม่ในอรูปภพ เพื่อภพบ่อยๆ เพื่อคติบ่อยๆ เพื่ออุบัติบ่อยๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อยๆ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพบ่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านรู้ธรรมนี้ว่า เป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 183
อรรถกถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในโธตกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์.
บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษานิพพานเพื่อตน คือ พึงศึกษาอธิศีลเป็นต้นเพื่อดับราคะเป็นต้นของตน.
ในนิเทศไม่มีบทที่ไม่เคยกล่าว.
บทว่า อิโต คือ แต่ปากของเรา.
พึงทราบความในนิเทศต่อไป.
บทว่า อาตปฺปํ ความเพียร คือ ความเพียรเผากิเลส.
บทว่า อุสฺสาหํ ทำความหมั่น คือ ไม่สยิ้วหน้า.
บทว่า อุสฺโสฬฺหิํ ทำความเป็นผู้มีความหมั่น. คือ ทำความเพียรมั่น.
บทว่า ถามํ ทำความพยายาม คือ ไม่ย่อหย่อน.
บทว่า ธิติํ ทำความทรงจำ คือ ทรงไว้.
บทว่า วิริยํ กโรหิ คือ จงทำความเป็นผู้ก้าว คือทำความก้าวไปข้างหน้า.
บทว่า ฉนฺท ชเนหิ ยังฉันทะให้เกิด คือ ให้เกิดความชอบใจ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลวิงวอนขอความปลดเปลื้องจากความสงสัย จึงกราบทูลคาถาว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก.
บทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น.
บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 184
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า ปจฺเจกสมฺพุทฺธา ชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจด้วยตนเอง ถึงการรู้แจ้งแทงตลอดอารมณ์นั้นๆ เฉพาะตัว.
บทว่า สีหสีโห คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดังสีหะยิ่งกว่าสีหะ เพราะไม่ทรงหวาดสะดุ้ง.
บทว่า นาคนาโค คือ เป็นดังนาคยิ่งกว่านาค เพราะไม่มีกิเลส หรือเพราะเป็นใหญ่.
บทว่า คณิคณี คือ เป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย.
บทว่า มุนิมุนี เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี คือ มีความรู้ยิ่งกว่าผู้มีความรู้ทั้งหลาย.
บทว่า ราชราชา เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา คือ เป็นพระราชาผู้สูงสุด.
บทว่า มุญฺจ มํ คือ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์.
บทว่า ปมุญฺจ มํ คือ ขอพระองค์จงปล่อยข้าพระองค์โดยวิธีต่างๆ.
บทว่า โมเจหิ มํ ขอพระองค์จงปลดปล่อยข้าพระองค์ คือ ทำให้หย่อน.
บทว่า ปโมเจหิ มํ คือ ขอพระองค์จงทรงทำให้หย่อนอย่างยิ่ง.
บทว่า อุทฺธร มํ ขอพระองค์จงยกข้าพระองค์ขึ้น คือ ยกข้าพระองค์จากเปือกตม คือสงสารแล้วให้ตั้งอยู่บนบก.
บทว่า สมุทฺธร มํ ขอพระองค์จงฉุดชัก คือ ฉุดข้าพระองค์โดยชอบแล้วให้ตั้งอยู่บนบก.
บทว่า วุฏฺาเปหิ คือ ขอให้นำข้าพระองค์ออกจากลูกศรคือความสงสัย แล้วทำให้อยู่ต่างหากกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความปลดเปลื้องจากความสงสัยอันยิ่ง ด้วยพระองค์โดยหัวข้อคือการข้ามโอฆะ จึงตรัสคาถาว่า นาหํ ดังนี้เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ สมิสฺสามิ คือ เราไม่อาจไม่สามารถ. อธิบายว่า เราจักไม่พยายาม.
บทว่า ปโมจนาย คือ เพื่อปลดเปลื้อง.
บทว่า กถํกถี คือ ความสงสัย.
บทว่า ตเรสิ คือ พึงข้าม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 185
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า น อีหามิ เราไม่อาจ คือ ไม่ทำความขวนขวาย.
บทว่า น สมิหามิ ไม่สามารถ คือ ไม่ทำความขวนขวายยิ่ง.
บทว่า อสฺสทฺเธ ปุคฺคเล กะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา คือ กะบุคคลผู้ปราศจากศรัทธาในพระรัตนตรัย.
บทว่า อจฺฉนฺทิเก ผู้ไม่มีฉันทะ คือ ปราศจากความชอบใจเพื่อมรรคผล.
บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน คือ ผู้ปราศจากสมาธิ.
บทว่า หีนวีริเย ผู้มีความเพียรเลว คือ ผู้ไม่มีความเพียร.
บทว่า อปฺปฏิปชฺชมาเน ผู้ไม่ปฏิบัติตาม คือ ไม่ปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลวิงวอนขอคำสั่งสอน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้ เป็นคำแสดงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นผู้ประเสริฐ.
ด้วยเหตุนั้น โธตกะเมื่อจะทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพร่ำสอน.
บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมอันสงัด ได้แก่ ธรรม คือนิพพานอันสงัดจากสังขารทั้งปวง.
บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน คือ ไม่ขัดข้องมีประการต่างๆ.
บทว่า อิเธว สนฺโต เป็นผู้สงบในที่นี้นี่แหละ คือ มีอยู่ในที่นี้.
บทว่า อสิโต คือ ไม่อาศัยแล้ว.
สองคาถาต่อจากนี้ไป มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในเมตตคูสูตรนั่นเอง ความต่างกันมีอยู่อย่างเดียวในเมตตคูสูตรนั้นว่า ธมฺมํ อิธ สนฺติํ ธรรมมีอยู่ในที่นี้ดังนี้.
แม้ในคาถาที่ ๓ กึ่งคาถาก่อน ก็มีนัยดังกล่าวแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 186
เมตตคูสูตรนั่นเอง.
บทว่า สงฺโค ในกึ่งคาถาต่อไป ได้แก่ ฐานะเป็นเครื่องข้อง อธิบายว่า ติดแล้ว.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรกถถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕