พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมิจฉาทิฏฐิต่อไป. สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง.ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ (ความเห็นไปข้างทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความแห่งทิฏฐิแม้นี้ ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่าทิฏฐิคหณะ (ป่าชัฏคือทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏหญ้าชัฏป่า ชัฏภูเขา. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (กันดารคือทิฏฐิ) ด้วย อรรถว่า น่าระแวงและมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์ร้าย กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ (ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่าขัดแย้งและทวนกันสัมมาทิฏฐิ. จริงอยู่ ความเห็นผิดเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิปผันทิตะ (ความผันแปรแห่งทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิเพราะ
บางคราวก็ถือเอาความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ เพราะว่าคนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือบางคราวก็คล้อยตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์ ... (ต่อ)
ที่ชื่อว่าคาหะ (ความยึดถือ) เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมีจระเข้ เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่นฉะนั้น. ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ * (ความตั้งมั่น) เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็นไปอย่างมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ (ความถือผิด) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ (ทางชั่ว) เพราะอรรถว่า เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด. ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ (ทางผิด) เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้นดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่าทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น. ชื่อว่า ทางผิดเพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่ามิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด.ที่ชื่อว่า ติตถะ (สัทธิเป็นดังท่า) เพราะเป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไปมาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ (คือลัทธิ) นั้นด้วย เป็นอายตนะ (บ่อเกิด) แห่งความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ (ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ) อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติและด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัยของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะอรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดยตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาดเคลื่อน.
ยินดีในกุศลจิตค่ะ