ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 300
๕. เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหาย.
"สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวทำไว้เองฉะนั้น. ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้น แล้วเป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป"
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มกฺกฏโกว ชาลํ ความว่า เหมือนอย่างว่า แมลงมุมทำข่ายคือใยแล้ว ก็นอนอยู่ในศูนย์ใยในที่ท่ามกลาง แล้วก็รีบวิ่งไปฆ่าตั๊กแตนหรือตัวแมลง ที่ตกไปในริมสายใย สูบกินรสของมันแล้ว ก็กลับมานอนอยู่ในที่นั้นอย่างเดิมฉันใด สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ โกรธแล้วด้วยโทสะ หลงแล้วด้วยโมหะ, สัตว์เหล่านั้นย่อมตกไปสู่กระแสตัณหาที่ตัวทำไว้เอง คือเขาไม่อาจเพื่อก้าวล่วงกระแสตัณหานั้นไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน กระแสตัณหา บุคคลล่วงได้ยากอย่างนี้.
ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา ญาติ มิตรทั้งหลาย สุขภาพร่างกาย ทั้งหมดเป็นธรรม เป็นสภาพที่เกิดและดับอย่างรวดเร็ว ปรากฏเมื่อเห็น เมื่อได้ยิน เมื่อคิด เป็นต้น แต่ผู้ไม่รู้ก็ติดข้อง ไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรม ยึดถือสภาพธรรมที่เกิดดับ ว่า เป็นเรา เป็นทรัพย์ของเรา ก็ตกไปสู่กระแสความติดข้องที่ตนทำไว้ ซึ่งหนทางที่จะก้าวล่วงความติดข้องไปได้มีทางเดียว คือการอบรมเจริญความเห็นถูก เข้าใจถูกว่าทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม
กราบเท้าท่านอาจารย์
กราบอนุโมทนา