[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 476
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ประวัติพระนันทกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 476
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ประวัติพระนันทกเถระ
ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภิกฺขุโนวาทกานํ ได้แก่ เป็นผู้โอวาทกล่าวสอนภิกษุณีแท้จริง พระเถระนี้ เมื่อกล่าวธรรมกถา ก็ทำภิกษุณี ๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัต ในการประชุมคราวเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้สอนภิกษุณี ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.
พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในครอบครัว กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้โอวาทสอนภิกษุณี จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัว ณ กรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้ศรัทธาก็บวช ในสำนักพระศาสดา เจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในบุพเพนิวาสญาณ เมื่อบริษัท ๔ มาถึงแล้ว ท่านสามารถจับใจของบริษัทได้หมด แล้วกล่าวธรรมกถา เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า พระนันทกะธรรมกถึก แม้พระตถาคตแล เมื่อเจ้าหนุ่มสากิยะ ๕๐๐ องค์ ออกบวชจากครอบครัวเพราะเทริด เกิดกระสันจะลาสิกขา ก็ทรงพาภิกษุเจ้าสากิยะเหล่านั้น ไปยังสระกุณาละ ทรง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 477
ทราบว่าภิกษุเหล่านั้นสลดใจ เพราะตรัส เรื่องกุณาลชาดก จึงตรัสกถาว่าด้วย สัจจะ ๔ ให้เธอดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ต่อมา ตรัสมหาสมยสูตร ให้เธอบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันเลิศ ภริยาของพระเถระเหล่านั้น มีจิตใจอย่างเดียวกันหมดว่าบัดนี้เราจะทำอะไรในที่นี้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหาปชาบดีเถรี ขอบรรพชา ภริยาทั้ง ๕๐๐ ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระเถรีแล้ว แต่ในชาติต่อจากอดีต ภริยาทั้งหมด ได้เป็นบาทบริจาริกาของท่านพระนันทกะเถระ เมื่อดำรงอยู่ในอัตตภาพเป็นพระราชา สมัยนั้น พระศาสดาตรัสสั่งว่า พวกภิกษุจงสอนพวกภิกษุณี พระเถระ เมื่อถึงวาระ (เวน) ก็รู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้น เป็นบาทบริจาริกาของตนในภพก่อน จึงคิดว่า ภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ เห็นเรากำลังนั่งกลางภิกษุณีสงฆ์ ชักอุปมาละเหตุ เป็นต้น มากล่าวธรรม ตรวจดูเหตุอันนี้แล้ว จะพึงพูดเคาะว่า ท่านนันทกะ ไม่ยอมสละเหล่าสนมจนทุกวันนี้ ท่านมีเหล่าสนมห้อมล้อม ช่างสง่างาม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ไปเอง ส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน แต่ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น จำนงหวังเฉพาะโอวาทของพระเถระ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวาระของท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน ตรัสกะพระคันทกะว่าเธอจงไปเอง สอนภิกษุณีสงฆ์ ท่านไม่อาจคัดค้าน พระดำรัสของพระศาสดาได้ เมื่อถึงวาระของตน จึงให้โอวาทภิกษุณีสงฆ์วัน ๑๔ ค่ำ ให้ภิกษุณีเหล่านั้นทุกรูป ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยธรรมเทศนาอันประดับด้วย สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นใจต่อธรรมเทศนาของพระเถระ พากันไปสำนักพระศาสดา ทูลบอกคุณที่ตนได้ พระศาสดาทรงนึกว่า ใครหนอแสดงธรรม ภิกษุณีเหล่านี้ จึงจะพึงบรรลุมรรคผลชั้นสูงๆ ทรงเห็นว่า ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ นั้น ฟังธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 478
เทศนาของนันทกะอีก ก็จักบรรลุพระอรหัต วันรุ่งขึ้น จึงทรงส่งภิกษุณีเหล่านั้นไป เพื่อฟังธรรมเทศนาในสำนักพระเถระผู้เดียว วันรุ่งขึ้นภิกษุณีเหล่านั้น ฟังธรรมแล้วก็บรรลุพระอรหัตทั้งหมด วันนั้น เวลาที่ภิกษุณีเหล่านั้นมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนามีผล จึงตรัสว่า เมื่อวันวาน ธรรมเทศนาของนันทกะ เป็นเสมือนพระจันทร์ ๑๔ ค่ำ วันนี้เป็นเสมือนพระจันทร์ ๑๕ ค่ำ แล้วทรงทำเหตุนั้น นั่นแล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้โอวาทสอนภิกษุณี แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗