[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 108 - 109
บทว่า กายานุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณากาย. พึงทราบว่า แม้ ท่านกล่าวว่า กาเย ได้แล้ว ก็ยังกระทำศัพท์ว่า กาย ที่สอง ในบทว่า กายานุปสฺสนา ไว้อีก เพื่อแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยการกำหนด โดยไม่ระคนกัน. เหตุนั้น ท่านจึงไม่แสดงว่า กาเย เวทนานุปสฺสนา การพิจารณาเวทนาในกาย, หรือว่า กาเย จิตฺตธมฺมานุปสฺสนา การพิจารณาจิตและธรรมในกาย. ที่แท้ท่านแสดงการกำหนดโดยไม่ระคน กันด้วยการแสดงอาการพิจารณากาย ในวัตถุกล่าวคือกายว่า กายานุปัสสนา เท่านั้น. อนึ่ง ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่งที่พ้นจากอวัยวะน้อย ใหญ่ในกาย. ทั่งไม่ใช่เป็นการพิจารณาสตรีและบุรุษที่พ้นจากอวัยวะที่ผม และขนเป็นต้น.
ก็กายแม้ใดกล่าวคือหมู่แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูป มีผมและขน เป็นต้นในที่นี้ ในกายแม้นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงโดยประการต่างๆ ของวัตถุกล่าวคือกาย, เป็นอันท่านแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยสามารถแห่ง หมู่นั่นแลว่า ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่ง ที่พ้นจากมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ที่แท้เป็นการพิจารณาหมู่อวัยวะน้อยใหญ่, ดุจการพิจารณา ของผู้พิจารณาเครื่องรถ เป็นการพิจารณาหมู่แห่งผมและขนเป็นต้น ดุจการพิจารณาของผู้พิจารณาเครื่องปรุงแต่งพระนคร เป็นการพิจารณาหมู่แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูปทีเดียว ดุจการพิจารณาของผู้แยกลำต้น ใบ และกาบของต้นกล้วย และดุจของผู้แทงตลอดกำมือที่ว่างเปล่า. ก็ธรรม อะไรๆ เป็นกายก็ตาม สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม หรืออย่างอื่นก็ตามที่พ้น จากหมู่ตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในที่นี้. แต่สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทำ ซึ่งการยึดผิดอย่างนั้นๆ ในสิ่งสักว่าหมู่แห่งธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
บุคคลย่อมเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นชื่อว่าเห็นแล้วก็ หาไม่ สิ่งใดอันเขาเห็นแล้ว บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นสิ่ง นั้น เมื่อไม่เห็นอยู่ ย่อมติด เมื่อติดก็หลงอยู่ ย่อมพ้นไป ไม่ได้.