อยากให้ลูกบวชตามประเพณี ควรทำอย่างไร
ผู้คนในสมัยโบราณ ต้องการสอนลูกให้เข้าใจธรรมะ แต่ตนเองไม่มีความรู้ จึงให้ลูกบวชเพื่อให้พระภิกษุท่านอบรมสั่งสอน ซึ่งพระท่านก็สอนให้เข้าใจพระธรรมวินัยตามสมควร ผู้บวชย่อมได้รับประโยชน์จากการบวชตามสมควร แต่ถ้าบวชตามประเพณี ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากอุปัชฌาอาจารย์ หรือสอนผิดจากพระธรรมวินัยและไม่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอน การบวชของบุคคลนั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ แถมยังมีโทษแก่ตนและพระศาสนาด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการสอนลูก พ่อแม่เองควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ และแนะนำสอนให้ลูกได้ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ รู้ดีรู้ชั่ว รู้สิ่งที่ควรกระทำและสิ่งที่ควรเว้น ย่อมสำเร็จประโยชน์มากกว่าการบวชตามประเพณี มีการฆ่าหมู ฆ่าไก่ เลี้ยงสุราเมรัย และไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
การบวชก็เปรียบเหมือนดาบสองคม ถ้าบวชแล้วประพฤติตามพระธรรมวินัย สูงสุด บรรลุมรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าบวชแล้วไม่ประพฤติตามธรรมวินัย เป็นเหตุให้ไปอบายภูิมิค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อยากให้เข้าใจพระธรรม หรืออยากให้ลูกบวชตามประเพณี กุศลอยู่ที่จิต ไม่ใช่เครื่องแบบ ปัญญาเป็นนามธรรม ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแบบ ขณะที่ดีใจที่เห็นผ้าเหลืองลูก จิตเป็นกุศลใช่หรือไม่ ขณะที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจ จิตเป็นกุศลหรือไม่ บวชเพราะว่าเห็นโทษของการครองเรือน เพราะเข้าใจพระธรรม กับบวชตามประเพณีจึงต่างกัน ขออนุโมทนาครับ
เรื่อง จิตของผู้ที่จะบวชที่ถูกต้องคือเพื่อดับกิเลส ไม่ใช่ตอบแทนพระคุณมารดา บิดา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 189
อรรถกถาปัพพชิตสูตรที่ ๙
จริงอยู่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าบวชคนเหล่านั้นทั้งหมด ก็ปรารถนาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จิตใดเขาสร้างสมอบรมมาเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุพระอรหัต จิตนั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าสร้างสมมาโดยสมควรแก่การบวช. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ถ้าเราลองลดความคาดหวังในตัวลูกลง เราอาจจะเข้าใจในตัวลูกมากขึ้นครับ ว่าความจริงแล้ว ลูกต้องการเหมือนกับที่เราต้องการหรือเปล่า? เพราะอะไร?ความเชื่อที่ว่า "เมื่อลูกบวชแล้ว พ่อแม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์" จะเป็นความเห็นผิดหรือไม่? หรือในพระไตรปิฏกมีปรากฏหรือเปล่า? ขอถือโอกาสเรียนถามท่านวิทยากรและท่านผู้รู้ครับขอบพระคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ก็ต้องทราบเหตุก่อนว่า การจะได้ไปสุคติภูมิหรือสวรรค์ เป็นต้นนั้น ต้องมีเหตุ คือเกิดจากการทำกุศลกรรมนั่นเอง การที่บิดา มารดา เห็นลูกบวชแล้วเกิดความโสมนัส ดีใจ จิตเป็นอะไรขณะนั้น ดีใจด้วยกุศลหรืออกุศล ดังนั้น การทำกุศลจึงเป็นเหตุให้ไปสวรรค์ ลูกไม่บวชแต่ทำกุศลได้ไหม ลูกบวชทำกุศลได้ไหม เช่น ถวายผ้า ถวายบิณฑบาต เป็นต้น ดังนั้นต้องเป็นกุศลของบิดา มารดาเองที่ทำ ไม่ใช่กุศลของลูกที่บวชแล้วจะให้บิดา มารดา ที่ไม่ได้ทำกุศลเกาะชายผ้าเหลืองไปด้วย ถ้าลูกบวชแล้วทำผิดวินัย ตายตอนเป็นพระไปนรก บิดา มารดาจะเกาะผ้าเหลืองไปด้วยไหม?
กรรมของใครก็ของบุคคลนั้นครับ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตนครับ จะขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎกนะครับ ที่เป็นกุศลของ บิดา มารดาเองที่ทำและตอนแรกก็ไปนรกก่อนด้วย ไม่ใช่ไปสวรรค์ ภายหลังจึงนึกถึงกุศลที่ได้ทำจึงไปสวรรค์ครับ ลอง
อ่านดูนะ
เรื่อง ต้องเป็นบุญที่ทำด้วยตนเองจึงจะไปสุคติ ไม่ใช่บุญของคนอื่น ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ผู้ที่ระลึกได้ตามธรรมดาของตน [ทูตสูตร]
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
ในสมัยพุทธกาล ไม่มีการบวชทดแทนบุญคุณเพราะกุลบุตรที่จะบวชในสมัยนั้น เค้ามักจะมีควาเห็นพ้อง ตรงกันว่า การอยู่ครองเรือนเป็นแหล่งก่อเกิดสิ่งไม่ดี/เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน จึงออกบวช เพื่อความบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ไม่ใช่บวชกันตามประเพณีอย่างทุกวันนี้ กรุณาแยกแยะให้ออกนะครับว่าอะไรคือศาสนา อะไรคือประเพณี เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม รากฐานที่แท้จริงแล้ว (บุญ-กรรมของใครก็ของคนนั้นๆ ครับ)
ยินดีในกุศลจิตค่ะ