ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒ ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40237

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 942

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒

ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 942

ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒

ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์

[๔๓๖] ภัทราวุธมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนพระองค์ ผู้ทรงละอาลัย ตัดตัณหาเสียได้ ไม่หวั่นไหว ละความเพลิดเพลิน ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสได้ แล้วพ้นวิเศษแล้ว ละธรรมเครื่องให้ดำริ มีพระปัญญาดี

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ชนในชนบทต่างๆ ประสงค์จะฟังพระดำรัสของพระองค์ มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์แก่ชนในชนบทต่างๆ เหล่านั้นให้สำเร็จประโยชน์เถิด เพราะธรรมนี้พระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนภัทราวุธะ

หมู่ชนควรจะนำเสียซึ่งตัณหา เป็นเครื่องถือมั่นทั้งปวงในส่วนเบื้องบน เบื้อง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 943

ต่ำ ในส่วนเบื้องขวางคือในท่ามกลางให้สิ้นเชิง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่น สิ่งใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ได้ เพราะสิ่งนั้นแหละ.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ มาเล็งเห็นหมู่สัตว์ ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วเพราะการถือมั่นดังนี้ พึงเป็นผู้มีสติ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง.

จบภัทราววุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒

อรรถกถาภัทราวุธสูตร (๑) ที่ ๑๒

ภัทราวุธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โอกญฺชหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านัน บทว่า โอกญฺชหํ คือผู้ละอาลัย. บทว่า ตณฺหจฺฉิทํ ผู้ตัดตัณหาเสียได้ คือตัดหมู่ตัณหาทั้ง ๖. บทว่า อเนชํ ผู้ไม่หวั่นไหว คือ ไม่มีความทะเยอทะยานในโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นนฺทิญฺชหํ ผู้ละความเพลิดเพลิน คือละความปรารถนามีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ภัทราวุธมาณพกล่าวถึงตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นในที่นี้โดยประการต่างๆ เพื่อสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. บทว่า กปฺปญฺชหํ ผู้ละธรรมเครื่องให้ดำริคือ


๑. บาลีเป็น ภัทราวุธปัญหา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 944

ละธรรมเครื่องให้ดำริสองอย่าง. บทว่า อภิยาเจ ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชนทั้งหลายมาจากชนบทได้ฟังดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้วจักกลับไปจากปาสาณกเจดีย์นี้. บทว่า ชนปเทหิ สงฺคตา มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้งหลาย คือมาพร้อมกัน ณ ที่นี้จากชนบททั้งหลายมีอังคะเป็นต้น. บทว่า วิยากโรหิ ขอจงทรงพยากรณ์ คือ ขอจงทรงแสดงธรรม.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลมตามอัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาสองคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทานตณฺหํ ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่น คือ ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่นอารมณ์มีรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดมั่นตัณหา. บทว่า ยํ ยญฺหิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก คือถือมั่นสิ่งใดๆ ในประเภทมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เตเนว มาโร อเนฺวติ ชนฺตุํ มารย่อมติดตามสัตว์ได้เพราะสิ่งนั้นแหละ. ความว่า มารคือขันธมารอันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตามสัตว์นั้นไปด้วยอำนาจกรรมาภิสังขารที่เกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นเอง. บทว่า ตสฺมา ปชานํ เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ คือ เมื่อรู้โทษอย่างนี้ในสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า อาทานสตฺเต อิติ เปกฺขมาโน ปชํ อิมํ มจฺจุเธยฺย วิสตฺตํ ภิกษุเล็งเห็นสัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 945

เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่นดังนี้ ความว่า ภิกษุเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในบ่วงแห่งมารในโลกทั้งปวงว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วในรูปเป็นต้นอันเป็นเครื่องยึดถือ เพราะอรรถว่าพึงยึดมั่น หรือเล็งเห็นอยู่ว่าไม่สามารถจะสงเคราะห์การยึดมั่นในบุคคลผู้ยึดมั่นถือมั่น ผู้ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่น และเพื่อก้าวล่วงจากหมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในบ่วงมารนี้ได้ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นก่อนเหมือนกัน.

จบอรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา