ขอโทษไม่ได้ ..
โดย คุณย่า  13 พ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12344

สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ที่มูลนิธิฯ
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มี.ค. ๒๕๕๒

บุษกร คำ..ขอขมานี้ อดโทษจริงๆ ได้หรือ ในเมื่อกรรมได้สำเร็จไปแล้ว

อ.จ. ก็..ต้องเป็นความชัดเจน ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องอะไร ก็ควรที่จะให้ได้เข้าใจได้กระจ่าง เท่าที่จะเข้าใจได้ เพราะคุณบุษกรก็คงคิดถึงว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรินิพพานแล้วๆ เราจะไปขอขมาอะไรอย่างนี้ ก็ดูเหมือนว่า แล้วจะหายหรือ ที่เราได้กระทำไป ขอขมา แต่ว่าตามความเป็นจริง ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้กระทำกรรมแล้ว ถึงแม้คนอื่นจะยกโทษ แต่กรรมนั้นก็ยังเป็นเหตุให้เกิดผล ถูกไหมค่ะ

เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยเฉพาะการที่จะกล่าวคำขอโทษ หมายความว่าคนนั้นต้อง รู้สึกตัวจริงๆ ว่าทำสิ่งที่ผิด เพราะว่าไม่ควร เพราะฉะนั้นบางคนรู้ตัวว่าผิด ขอโทษไม่ได้ ไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ผิด ก็ไม่ยอมที่จะขอโทษ นั่นแสดงว่าเห็นว่า ไม่มีกุศลจิต ไม่ละอายในอกุศลที่ได้กระทำแล้ว ต่อสิ่งที่เป็นพระรัตนตรัย หรือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตาม ที่เกิดกุศลจิต นอบน้อมต่อผู้ที่เราขอขมา เป็นการแสดงความเคารพ ความนอบน้อมนั่นเองค่ะ เราจะไม่ขอโทษคนที่เราเห็นว่าเขาไม่สมควร ใช่ไหมค่ะ บางคนอาจจะเป็นคนที่ร้าย และเป็นอกุศลมากๆ ทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ตามความเป็นจริงๆ เรื่องของเขาก็คือเรื่องของเขา

เรื่องของเราก็คือ เราขอโทษได้ไหม เมื่อกระทำผิด ถ้าขอโทษได้ ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต ซึ่งไม่ใช่ความมานะ สำคัญตน แต่สามารถจะเห็นว่า ขณะนั้นน่ะ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรจะกระทำและได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นพร้อมที่จะขอโทษ สิ่งที่เราได้กระทำ ไม่ว่าเขาเป็นใคร เพราะเราทำผิด แต่ถ้าเราไม่ได้กระทำผิด ไปขอโทษอะไร เพราะเราไม่ได้กระทำผิด เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความเข้าใจว่า ได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เป็นการล่วงเกิน ในปัจจุบันชาติ หรือชาติก่อนๆ จะรู้หรือโดยไม่รู้ หรือโดยประมาท ฟังธรรมโดยไม่เคารพ แสดงความเคารพ พอที่จะมีต่อพระผู้มีพระภาคหรือเปล่า โดยกล่าวคำ ขอขมาในเรื่องแม้เพียงเล็กน้อยที่สุด ก็ตามแต่นะค่ะ ก็แสดงให้เห็นถึงความเคารพอย่างยิ่งในบุคคลหนึ่ง ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยที่เราได้ไม่ประพฤติตามว่ากระทำสิ่งที่ไม่สมควร เราก็สามารถจะกล่าวคำขอขมาได้

เพราะฉะนั้น เวลาที่เราอยู่ ณ สถานที่ๆ สมควรจะขอขมา ก็เป็นโอกาสที่จะได้ระลึกถึง สิ่งที่ไม่สมควรกระทำต่อพระรัตนตรัย แต่ไม่ได้หมายความว่า กรรมที่ได้กระทำแล้ว จะหมดไป โดยผู้หนึ่งผู้ใดสามารถที่จะเว้น ยกโทษ นั่นไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีเหตุที่ได้กระทำแล้ว ต้องเป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น แต่ก็เป็นการแสดงความเคารพอย่างยิ่งต่อบุคคล ซึ่งแม้เพียงความผิดเล็กน้อย ก็ไม่สมควรที่จะกระทำต่อ นั่นคือพระรัตนตรัย



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 14 พ.ค. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย พุทธรักษา  วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขอโทษ...เพื่อ "สำรวมระวังต่อไป...ด้วยความละอายใจในอกุศลธรรม"
แต่ไม่ได้หมายความว่า กรรมที่ได้กระทำแล้ว จะหมดไป โดยผู้หนึ่งผู้ใด สามารถที่จะเว้น ยกโทษนั่น ไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่ง เมื่อ "มีเหตุ" ที่ได้กระทำแล้ว ต้อง"ให้ผล" เกิดขึ้น และ เป็นไป
แต่ก็เป็นการแสดงความเคารพ อย่างยิ่งต่อบุคคล ซึ่ง แม้เพียงความผิดเล็กน้อย เพื่อ การระลึก บ่อยๆ เนืองๆ เพื่อ ความสำรวม ระวัง ด้วยความละอาย ใน อกุศลที่ได้กระทำแล้วเพื่อ "ขัดเกลาอกุศล" แม้พียงเล็กน้อย

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 5    โดย opanayigo  วันที่ 14 พ.ค. 2552

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย Sam  วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย saifon.p  วันที่ 17 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย orawan.c  วันที่ 26 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย Pinyapachaya  วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย pamali  วันที่ 14 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย ทิศเบื้องขวา  วันที่ 20 ต.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ ยืนดีในส่วนบุญ สาธุ


ความคิดเห็น 12    โดย chatchai.k  วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 13    โดย Jarunee.A  วันที่ 8 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ