ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ : "สักกายทิฏฐิ" การยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน กำลังเห็นในขณะนี้ ขันธ์ ๕ คือ จักขุปสาท เป็น รูปขันธ์ รูปารมณ์ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็น รูปขันธ์ จักขุวิญญาณ เป็น วิญญาณขันธ์ ความรู้สึกในขณะที่เห็น เป็น เวทนาขันธ์ ความจำในสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกอื่นๆ ซึ่งเกิดพร้อมกับจิต แต่ละประเภทนั้นเป็นสังขารขันธ์
เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือ ทุกขณะที่เกิดมาในภูมิที่มี รูป ก็ต้องมีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ครบทั้ง ๕ ขันธ์ ความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมแต่ละขันธ์ ตามความเป็นจริง คือไม่รู้ว่า รูปขันธ์เป็นเพียงรูป เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ฉันใด เวทนา ความรู้สึกก็เกิดพร้อมกับจิตแต่ละขณะตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไปพร้อมจิต แม้สัญญา เจตนา หรือว่าเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ ก็เกิดพร้อมจิต เพราะฉะนั้น นามขันธ์ ๔ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
นี่คือขันธ์จริงๆ แต่เพราะว่าไม่รู้ความจริงของขันธ์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นก็ยึดถือขันธ์ทั้ง ๕ ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน รวมกันเป็นเรา นี่คือ สักกายทิฏฐิ ทุกขณะที่ปัญญาไม่รู้แจ้งในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
แต่เพราะว่าไม่รู้ความจริงของขันธ์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ก็ยึดถือขันธ์ทั้ง ๕ ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ