วรรคที่ ๘ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42096

[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๘

ฉคติกถาและอรรถกถา 1193/99

อันตราภวกถาและอรรถกถา 1198/103

กามคุณกถาและอรรถกถา 1210/116

กามกถาและอรรถกถา 1214/123

รูปธาตุกถาและอรรถกถา 1217/126

อรูปธาตุกถาและอรรถกถา 1219/130

รูปธาตุยาอายตนกถาและอรรถกถา 1221/134

อรูเป รูปกถาและอรรถกถา 1235/143

รูปังกัมมันติกถาและอรรถกถา 1242/147

ชีวิตินทริยกถาและอรรถกถา 1285/172

กรรมเหตุกถาและอรรถกถา 1303/181


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 99

วรรคที่ ๘

ฉคติกถา

[๑๑๙๓] สกวาที คติมี ๖ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคติไว้ ๕ คือ นรก กำเนิด ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคติไว้ ๕ คือ นรก กำเนิด ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๔] ส. คติมี ๖ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสูรพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสวย อารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน อายุเท่ากัน กับพวกเปรต ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยเปรต มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อสูรพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากันกับ เปรต ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเปรต ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๕] ส. คติมี ๖ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มี


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 100

การเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากัน กับ พวกเทวดา ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเทวดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือน กัน มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากัน กับพวกเทวดา ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๖] ส. คติมี ๖ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ เคยเป็นเทวดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าพวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ เคยเป็นเทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า คติมี ๖ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีอสูรกาย มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่ามีอสูรกาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า คติมี ๖.

ฉคติกถา จบ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 101

อรรถกถาฉคติกถา

ว่าด้วย คติ ๖

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องคติ ๖. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายอันธกะ และอุตตราปถกะทั้งหลายว่า คติมี ๖ รวมทั้ง อสุรกาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งคติทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ในเรื่องโลมหังสนสูตรว่า ดูก่อน สารีบุตร คติ ๕ เหล่านี้แลมีอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคติไว้ ๕ มิใช่หรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจาก พระสูตร. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สกวาทีจึงไม่รับรองคติ ๖ แม้อสุรกาย ท่านก็สงเคราะห์เข้าในอบายภูมิ ดังคำนี้ว่า พระอริยเจ้าพ้นแล้วจาก อบายทั้ง ๔ ดังนี้ มิใช่หรือ? แก้ว่า ท่านสงเคราะห์อสุรกายไว้ในข้อนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่จัดเป็นคติ. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะ ไม่มีคติส่วนหนึ่งต่างหาก. จริงอยู่ พวกอสูรชื่อว่ากาลกัญชิกาในจำพวก อสุรกาย ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งเปรต. บริษัทของท้าวเวปจิตติ ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งพวกเทพ. คำว่า อสุรกาย นี้ ชื่อว่าเป็นส่วน หนึ่งต่างหากย่อมไม่มี.

บัดนี้ สกวาทีจึงเริ่มคำว่า อสูรพวกกาลกัญชิกา เป็นต้น เพื่อจะ แสดงอรรถอย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า สมานวณฺณา ได้แก่ มีรูปร่างสัณฐานอย่างเดียวกัน. คำว่า มีรูปร่างน่าเกลียด ได้แก่ มีรูปพิการ มีลักษณะชั่ว. คำว่า มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 102

มีการประพฤติในเมถุนธรรมเช่นเดียวกัน. คำว่า มี อาหารอย่างเดียวกัน ได้แก่ มีอาหาร มีน้ำลาย น้ำมูก น้ำเหลืองและเลือดเป็นต้นอย่างเดียวกัน. คำว่า มีอายุเท่ากัน ได้แก่ มีการกำหนดอายุเหมือนกัน. คำว่า อาวาหะ และวิวาหะ ได้แก่ การรับหญิงสาว และการให้หญิงสาว.

ในฝ่ายเทพเจ้า สุกฺกปกฺเข ในพวกคุณงามความดี คำว่า มี รูปร่างเหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามเช่นเดียวกัน ถึงพร้อม ด้วยรัศมี อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสน่าทัศนา คือน่ารักน่าดู. คำว่า มีการ เสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่ มีการบริโภคกามคุณ ๕ เหมือนกัน. คำว่า มีอาหารอย่างเดียวกัน ได้แก่ อาหารมีสุธาโภชน์เป็นต้นเหมือนกัน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น. คำว่า มีอสุรกายมิใช่หรือ นี้ เป็น การสำเร็จประโยชน์แต่เพียงว่าอสูรกายมีอยู่เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จว่าเป็น คติของอสุรกายนั้น เพราะไม่มีการกำหนดคติของอสุรกายไว้ส่วนหนึ่ง ดังนี้แล.

อรรถกถาฉคติกถา จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 103

อันตราภวกถา

[๑๑๙๘] สกวาที อันตราภพ๑ มีอยู่หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอรูปภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๙] ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ในระหว่างกามภพและรูปภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ในระหว่างรูปภพและอรูปภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๐] ส. อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างกามภพและรูปภพหรือ?


๑. ภพในระหว่าง.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 104

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างกามภพและ รูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

ป. อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๑] ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพนั้น เป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็น วิญญาณฐิติที่ ๘ เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ ใน


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 105

อันตราภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพเป็นปัญจโวการภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๒] ส. กามภพมีอยู่ กามภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามภพมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 106

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในกามภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามภพ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๓] ส. รูปภพมีอยู่ รูปภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 107

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปภพ มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ อยู่ ในรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปภพเป็นปัญจโวการภพ หรือ?


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 108

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพเป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๔] ส. อรูปภพ มีอยู่ อรูปภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ มีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอรูปภพ มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปภพ มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ อยู่ ในอรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 109

อยู่ ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปภพเป็นจตุโวการภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพเป็นจตุโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๕] ส. อันตราภพมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่

[๑๒๐๖] ส. อันตราภพมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้กระทำอนันตริยกรรม


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 110

หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริย กรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๗] ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลเข้าถึงนรก ฯลฯ สำหรับ บุคคลผู้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ฯลฯ สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 111

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึง อรูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๘] ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อันตราภพมีอยู่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้อันตราปรินิพพายี มีอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้อันตราปรินิพพายีมีอยู่ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า อันตราภพมีอยู่

ส. อันตราภพ ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้ อันตราปรินิพพายีมีอยู่หรือ?


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 112

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้อุปหัจจปรินิพพายีมีอยู่ อุปหัจจภพ ก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพ ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า บุคคล ผู้อันตราปรินิพพายีมีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้อสังขารปรินิพพายีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้สสังขารปรินิพพายีมีอยู่ สสังขารภพก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อันตราภวกถา จบ

อรรถกถา อันตรา ภวกถา

ว่าด้วย อันตราภพ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอันตราภพ คือ ภพที่คั่นในระหว่าง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และสมิติยะทั้งหลาย ว่า สัตว์ หมายถึงผู้จะปฏิสนธิ ผู้ไม่มีทิพพจักขุย่อมเป็นผู้ราวกะมี ทิพพจักขุ ผู้ไม่มีฤทธิ์ย่อมเป็นผู้ราวกะผู้มีฤทธิ์เล็งแลดูอยู่ซึ่งการอยู่ร่วม ของบิดามารดา และการมีระดู เขาดำรงอยู่ประมาณ ๗ วัน หรือเกิน กว่านั้นในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า อันตราภพ เพราะถือเอาบทพระสูตรว่า บุคคลชื่อว่าอันตราปรินิพพายี คือ ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทัน


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 113

ถึงท่ามกลางแห่งอายุขัย โดยไม่พิจารณาดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อันตราภพมีอยู่หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงปรวาทีนั้น ด้วยสามารถแห่งภพทั้ง ๓ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้น จึงกล่าวคำว่า เป็นกามภพ เป็นต้น.

ในปัญหานั้น อธิบายว่า ผิว่า ภพไรๆ ชื่อว่าอันตราภพมีอยู่ตาม ลัทธิของท่านไซร้ ภพนั้นก็พึงเป็นดุจปัญจโวการภพ ภพใดภพหนึ่งแห่ง กามภพทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า เป็นกามภพ หรือรูปภพ หรืออรูปภพ ชื่อว่า อันตราภพ ตามลัทธิของ ท่าน. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงปฏิเสธทั้งหมด. คำว่า มีอยู่ ในระหว่างกามภพ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าอันตราภพมี อยู่ไซร้ อันตราภพนั้นก็จะพึงเป็นเหมือนกับเขตแดนแห่งเขตแดนทั้ง ๒ ปริวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงปฏิเสธปัญหาทั้งปวง ย่อมปฏิเสธไป เพราะลัทธิอย่างเดียว แต่ย่อมไม่ปฏิเสธตามความเป็นจริง โดยคำนั้น นั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวปฏิเสธกะปรวาทีว่า ท่านก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่ แม้คำว่า อันตราภพเป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นต้น สกวาที ถามเพื่อท้วงว่า อันตราภพนั้นไม่รวมอยู่ในกำเนิดเป็นต้นตามที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้แล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ อันตราภพนั้นก็จะพึงเป็น ภพที่เกินจากกำเนิดจากคติเป็นต้นนั้นๆ. คำว่า กรรมอันยังสัตว์ให้ เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ สกวาทีถามเพื่อท้วงว่า ถ้าอันตราภพแม้นั้น พึงเป็นภพหนึ่งต่างหากไซร้ กรรมที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งอันตราภพนั้น ก็พึงมี ดุจกรรมที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงกามภพเป็นต้น ดังคำที่พระศาสดา


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 114

ทรงจำแนกไว้แล้วและแสดงแล้วว่าเป็นกรรมมีอยู่จริง อย่างนี้ ดังนี้. อนึ่ง ลัทธิเหล่านั้นในลัทธิของปรวาทีว่า กรรมโดยเฉพาะที่ชื่อว่าอันยัง สัตว์ให้เข้าถึงซึ่งอันตราภพไม่มี สัตว์ใดจักเข้าถึงซึ่งภพใดๆ ย่อมเกิด ในอันตราภพได้ด้วยกรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งภพนั้นนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. แม้ถูกสกวาทีถาม ว่า สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธตามลัทธิว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้เกิดในกามภพนั่นแหละ. แม้ถูกถามว่า สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ ... ในอันตราภพหรือ ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความเกิด ความ แก่ ความตาย และจุติอุปบัติในอันตราภพนั้น จึงตอบปฏิเสธ แม้ถูกถาม ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้น ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะลัทธิแห่งชนเหล่านั้น ว่า รูปของสัตว์ในอันตราภพเห็นไม่ได้ แม้ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็ไม่หยาบเหมือนสัตว์เหล่าอื่น. ด้วยเหตุนี้นั่นแหละ พึงทราบการปฏิเสธ แม้ในความเป็นแห่งปัญจโวการภพ.

บัดนี้ คำว่า กามภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นการ เปรียบเทียบภพ. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าภพไรๆ ชื่อว่าอันตราภพพึงมี ตามลัทธิของท่านไซร้ ก็บรรดาภพทั้งหลาย มีกามภพเป็นต้นมีอยู่ การ แตกต่างกันแห่งภพและคติเป็นต้น พึงหยั่งเห็นได้ ฉันใด แม้ในอันตราภพ นั้น ก็จะพึงเห็นได้ ฉันนั้น ในอันตราภพหยั่งเห็นไม่ได้ ฉันใด แม้ใน กามภพเป็นต้นเหล่านี้ก็หยั่งเห็นไม่ได้ ฉันนั้น เพราะว่า การจำแนกด้วยดี แห่งภพและคตินั่นแหละมีอยู่ในความเป็นแห่งภพที่มีอยู่ มิใช่ในภพนอกจาก นี้ก็อะไรเล่า เป็นเหตุแปลกกันระหว่างกามภพเป็นต้นเหล่านั้นกับอันตราภพ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 115

ในที่นี้. ปรวาที ย่อมตอบรับรองและตอบปฏิเสธซึ่งปัญหานั้นๆ ด้วย สามารถสักแต่ว่าลัทธิ.

ถูกสกวาทีถามว่า อันตราภพมีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียวหรือ ปรวาที นั้นไม่ต้องการอันตราภพมีแก่สัตว์ผู้เกิดในนรก อสัญญีสัตว์ และอรูปพรหม เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธ. ย่อมตอบรับรองโดยปฏิโลม ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ. คำว่า อนันตราภพ มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำ อนันตริยกรรม. เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อจำแนกแสดงภพทั้งหลาย โดยนัยที่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาอันตราภพของสัตว์เหล่าใดเหล่านั้น. คำนั้นทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลีพร้อมกับการ อ้างพระสูตร แล.

อันตราภวกถา จบ


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 116

กามคุณกถา

[๑๒๑๐] สกวาที กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้นมีอยู่ ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ.

ส. ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความดำริเกี่ยวด้วย กามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วย อำนาจความดำริเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ปีติเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น โสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ก็ ต้องไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ.

[๑๒๑๑] ส. กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักษุของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุ หรือ?


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 117

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กามคุณ ๕ ในโลก มีมโนเป็นที่ ๖ พระพุทธเจ้าทั้งหลายประกาศแล้ว บุคคลสำรอกความพอใจ ในกามคุณ ๕ และมโนนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า มโนของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุ.

[๑๒๑๒] ส. กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ- อยู่ ในกามคุณ หรือ?


๑. ขุ.สุ. ๒๕/๓๐๙.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 118

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามคุณ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติขึ้น พระ ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้นในกามคุณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามธาตุ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามคุณ มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 119

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ- อยู่ ในกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ- อยู่ ในกามคุณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น พระ ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้น ในกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 120

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น พระ ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้น ในกามคุณ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน? รูปซึ่งเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เสียงซึ่งเป็นวิสัยแห่งโสตวิญญาณ กลิ่นซึ่งเป็นวิสัยแห่งฆาน วิญญาณ รสซึ่งเป็นวิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพะซึ่งเป็นวิสัยแห่ง กายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุน่ะสิ.

กามคุณกถา จบ


๑. สํ.สฬา ๑๘/๔๑๓.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 121

อรรถกถากามคุณกถา

ว่าด้วย กามคุณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกามคุณ. ในเรื่องนั้น ในลัทธิของสกวาทีก่อน วัตถุกามก็ดี กิเลสกามก็ดี กามภพก็ดี ท่านเรียกว่า กามธาตุ. จริงอยู่ ่ในบรรดากามเหล่านั้น วัตถุกามชื่อว่ากามเพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา ชื่อว่าธาตุเพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ เป็นนิสสัตตะ และเป็น สุญญตะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามธาตุ กิเลสกามชื่อว่ากามเพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาด้วยเพราะอรรถว่าเป็นการชอบใจด้วย ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ฉะนั้นจึงชื่อว่า กามธาตุ กามภพ ชื่อว่ากามเพราะเหตุ ๓ คือ เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่าใคร่ ๑ เพราะ อรรถว่าเป็นเครื่องก้าวไป ๑ เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่เป็นไปแห่ง วัตถุกาม ๑ ชื่อว่าธาตุเพราะอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ฉะนั้นจึง ชื่อว่า กามธาตุ. ก็ในลัทธิของผู้อื่นถือเอากามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ เพราะอาศัยสักแต่บาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ดังนี้. เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดนี้ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ ทั้งหลาย สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นต้น เพื่อท้วงซึ่งความที่กามคุณนั้นเป็นสภาพที่แตกต่างไปจากกามธาตุ คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า มีอยู่มิใช่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงถึงกิเลสกาม.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้น ได้แก่ เกี่ยวพร้อมเฉพาะแล้วด้วยกามคุณ คือมีกามคุณเป็นอารมณ์. ในคำ ทั้งหลายว่า ก็ต้องไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น นี้ความว่า บรรดา


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 122

ธรรมทั้งหลาย มีความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้น เป็นต้นมีอยู่ ท่านก็ ไม่ควรกล่าวว่ากามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ. อธิบายว่า ก็ธรรม ทั้งหลายมีความพอใจ เป็นต้นแม้เหล่านี้ ชื่อว่ากามด้วย ชื่อว่าธาตุด้วย เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา แม้เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่ากามธาตุ ฉันทะเป็นต้นชื่อว่าธาตุ อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากามเพราะอรรถว่า เป็นการชอบใจ แม้เพราะเหตุนี้ก็ชื่อว่า กามธาตุ. คำว่า จักขุของมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงถึงวัตถุกาม.

ในปัญหาเหล่านั้น ปรวาทีถูกถามว่า มโนของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุหรือ? อีก เพราะปฏิเสธซึ่งความที่อายตนะแม้ทั้ง ๖ ว่า ไม่เป็นกามธาตุเป็นแต่วัตถุกาม ทั้งไม่ตอบรับรองซึ่งความที่ใจนั้นว่า เป็นกามธาตุ เพราะหมายเอามหัคคตและโลกุตตรจิต. อันที่จริง มโนที่ เป็นไปในภูมิ ๒ แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่ากามธาตุทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตำหนิปรวาทีนั้นด้วยการอ้างพระสูตร. คำว่า กามคุณเป็นภพ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่ภพเป็นกามธาตุ. แต่โวหารว่า ภพ ในคำสักว่ากามคุณย่อมไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึง ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. คำทั้งปวงว่า กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึง กามคุณ เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงซึ่งความที่โวหารสักว่า กามคุณเป็นกามธาตุก็หาไม่. จริงอยู่ กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งกามภพ อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากามธาตุมีอยู่ และสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในกามภพ นั้นแหละก็มีอยู่ ฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้ ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติในกามภพ นั้น มิใช่ในกามคุณทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถากามคุณกถา จบ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 123

กามกถา

[๑๒๑๔] สกวาที อายนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความพอใจที่เกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะนั้นมีอยู่ ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม.

ส. ความกำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความดำริเกี่ยวด้วย อายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วย อำนาจความยินดีเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ปีติเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น โสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ.

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ ก็ ต้องไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม.

[๑๒๑๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน? รูปที่เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 124

อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นการ น่ะสิ.

[๑๒๑๖] ส. อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน? รูปอันเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะอันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๕ อย่างนี้มิใช่กาม แต่ ทั้ง ๕ อย่างนี้ เรียกในวินัยของพระอริยะว่า กามคุณ

ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริเป็นกามคุณของบุรุษ สิ่งที่สวยงาม ในโลกไม่ใช่กาม ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ เป็นกามของบุรุษ สิ่งที่สวยงามย่อมตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้นแล แต่ว่านักปราชญ์ย่อมกำจัด ความพอใจในสิ่งที่สวยงามนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม.

กามกถา จบ


๑. อัง. ฉกฺก ๒๒/๓๓๔.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 125

อรรถกามกถา

ว่าด้วย กาม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกาม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า อายตนะทั้ง ๕ มีรูปายตนะเป็นต้น เท่านั้นเป็นกาม เพราะอาศัยสักแต่พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่กิเลสกามนั่นแหละเป็นกามโดยแท้ ดังนี้ โดยหมายเอา ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถกถาตื้น ทั้งนั้นแล.

อรรถกถากามกถา จบ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 126

รูปธาตุกถา

[๑๒๑๗] สกวาที รูปธรรม รูปเป็นธาตุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็น กำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๑๘] ส. รูปธาตุ เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 127

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในรูปธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปธาตุ เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 128

ส. รูปธรรมเป็นไปธาตุ รูปมีอยู่ในกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุวันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ สอง คือ กามภพ และรูปภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

รูปธาตุกถา จบ

อรรถกถารูปธาตุกถา

ว่าด้วย รูปธาตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า รูปธรรมเท่านั้น ชื่อว่า รูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูป ดังนี้ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ทีนั้น สกวาทีเพื่อจะโต้แย้งด้วยอรรถว่า รูปภพ ก็ชื่อว่า รูปธาตุ มิใช่เพียงสักแต่รูปอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอรรถนั้น จึง กล่าวว่า รูปธาตุ เป็นต้น. คำทั้งหมดนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในเรื่องกามคุณนั่นแหละ.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 129

ถูกสกวาทีถามว่า กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละหรือ ปรวาทีเมื่อเห็นผิดจากการกำหนดภูมิ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน ก็เมื่อความเป็นเช่นนั้น มีอยู่ รูปนั้นก็ย่อมปรากฏเพราะการประชุมกันด้วยภพทั้ง ๒ คือ กามภพ รูปภพ ด้วยเหตุนั้น สกวาที จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า บุคคลประกอบ ด้วยกามภพ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปเพียงรูป เดียวทั้ง ๒ ภพ ดังนี้แล.

อรรถกถารูปธาตุกถา จบ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 130

อรูปธาตุกถา

[๑๒๑๙] สกวาที อรูปธรรม เป็นอูปธาตุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เวทนา เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในเวทนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในเวทนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนาเป็นจตุโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๐] ส. อรูปธาตุ เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 131

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่ ในเวทนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในเวทนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปธาตุเป็นจตุโวการภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นจตุโวการภพ หรือ?


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 132

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปธรรม เป็นอรูปธาตุ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุอันนั้น อรูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น อรูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือกามภพ และอรูปภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปธรรม เป็นรูปธาตุ อรูปธรรม เป็นอรูปธาตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ อรูปธาตุก็ อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ อรูปธาตุก็ อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ หรือ?


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 133

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูปธาตุกถา จบื

อรรถกถารูปธาตุกถา

ว่าด้วย อรูปธาตุ

แม้ในเรื่องอรูปธาตุ ในบัดนี้ บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบาย นี้นั่นแหละ คือตามที่กล่าวแล้ว. แต่ในอรูปธรรมทั้งหลาย คือนามขันธ์ ๔ ท่านทำการแสดงไว้ในที่นี้โดยนัยว่า เวทนาเป็นภพ เป็นต้น เพราะถือ เอาเวทนาขันธ์นั่นแหละ. ในปัญหานั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ ว่า สกวาทีถามว่า เวทนา อันถึงซึ่งการนับว่าเป็น อรูปธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมีภพเป็นต้น ตามลัทธิของท่านหรือ. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาอรูปธาตุกถา จบ


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 134

รูปธาตุยา อายตนกถา

[๑๒๒๑] สกวาที อัตภาพมีอายตนะ ๖ อยู่ในรูปธาตุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ในอรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๒] ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุ นั้นไม่มีชิวหายตนะ หรือ?


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 135

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๓] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ และรูปายตนะด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตะ และรูปายตนะด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๔] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ และสัททายตนะด้วย ฯลฯ ในรูปธาตุนั้นมีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ?


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 136

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๕] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๖] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 137

ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๗] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และ สูด กลิ่น นั้นด้วยฆานะนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส นั้นได้ด้วยชิวหานั้น ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๘] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้งธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด กลิ่น นั้นได้ด้วยฆานะนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 138

ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้ง ธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ ด้วยกายนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๙] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น นั้นด้วยฆานะนั้นไม่ได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป นั้น ด้วยจักษุนั้นไม่ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น นั้น ด้วยฆานะนั้นไม่ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ในรูป ธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งธรรมนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๐] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วย


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 139

กายนั้นไม่ได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป นั้นด้วยจักษุนั้นไม่ได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่ ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วยกายนั้นไม่ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๑] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด กลิ่นนั้นไว้ด้วยฆานะนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นเกิดแต่รากไม้ กลิ่นเกิดแต่แก่น กลิ่นเกิดแต่เปลือก กลิ่นเกิดแต่ใบ กลิ่นเกิดแต่ดอก กลิ่นเกิดแต่ผล กลิ่นสด กลิ่นเป็นพิษ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๒] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส นั้น ได้ด้วยชิวหานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 140

ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสเกิดแต่รากไม้ รสเกิดแต่ลำต้น รสเกิดแต่เปลือก รสเกิดแต่ใบ รสเกิดแต่ดอก รสเกิดแต่ผล รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ปร่า เฝื่อน ฝาด ดี ไม่ดี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๓] ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และ บุคคลผู้ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสแข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สุขสัมผัส ทุกขสัมผัส หนัก เบา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กายนิมิต มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กายนิมิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ ๖ มีอยู่ใน รูปธาตุ.

รูปธาตุยา อายตนกถา จบ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 141

อรรถกถารูปธาตุยา อายตนกถา

ว่าด้วย อายตนะในรูปธาตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอายตะในรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า อัตภาพ ของหมู่พรหมเหล่านั้นมีอายตนะครบทั้ง ๖ เพราะอาศัยพระสูตรว่า พวกพรหมที่มีรูป มีความสำเร็จได้ด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง มี อินทรีย์อันไม่บกพร่อง คือมีอัตภาพสมบูรณ์ ดังนี้ จึงสำคัญว่า แม้ฆานนิมิต คือรูปร่างของจมูก ของพวกพรหมเหล่านั้นว่า เป็นอายตนะเทียว คือ หมายความว่าเป็นฆานายตนะนั่นแหละ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อัตภาพ ของพวกพรหม มีอายตนะทั้ง ๖ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ทีนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วง ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่ไม่มีอยู่ในพวกพรหมนั้น จึงเริ่มกล่าวกะ ปรวาทีนั้นว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะหรือ เป็นต้น ลำดับนั้น ปรวาทีก็ตอบรับรองด้วยลัทธิว่า สัณฐานนิมิตของอายตนะทั้ง ๓ คือ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ ที่เป็นภายใน มีฆานายตนะเป็นต้น อันใดมีอยู่ในรูปธาตุนั้น สัณฐานนิมิตนั้นนั่นแหละเป็นอายตนะ ดังนี้. ถูกถามด้วยสามารถแห่งคันธายตนะเป็นต้นซึ่งเป็นของภายนอก ปรวาที เมื่อเสพคุ้นอยู่ซึ่งอารมณ์แห่งฆานายตนะเป็นต้นนั้นจึงไม่ปรารถนา ฆานปสาทเป็นต้นในรูปธาตุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหา ปฏิโลมและปัญหาว่าด้วยการเปรียบเทียบทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบเนื้อ ความโดยอุบายนี้แหละ.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 142

คำว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูดกลิ่น นั้นด้วย ฆานะนั้นหรือ ดังนี้ สกวาทีกล่าวหมายถึงอาจารย์บางพวกใน ลัทธิอื่นเท่านั้น. ได้ยินว่า อาจารย์บางพวกเหล่านั้นมีความสำคัญว่า ใน รูปธาตุนั้นมีอายตนะภายในครบทั้ง ๖ บริบูรณ์ แต่ชื่อว่าอายตนะก็พึง ทำกิจของตน คือรับอารมณ์ได้ตามหน้าที่ เพราะฉะนั้น อายตนะเหล่านั้น จึงสูดกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องซึ่งกลิ่นเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยฆานะเป็นต้น เหล่านั้น ดังนี้. ปรวาทีอาศัยลัทธินั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็ถูกถาม คำว่า ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นเกิดแต่รากไม้ ดังนี้ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ อาจยังความเป็นอายตนะภายนอกให้ปรากฏได้ จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ในรูปธาตุนั้นมีฆานนิมิตมิใช่หรือ เป็นต้น คำนั้นสำเร็จแต่เพียงเป็น รูปร่างสัณฐานเท่านั้น หาได้สำเร็จเป็นอายตนะไม่ เพราะฉะนั้น คำนั้น แม้ท่านปรวาทีนำมาตั้งเป็นลัทธิไว้แล้วก็เหมือนมิได้นำมา ดังนี้แล.

อรรถกถารูปธาตุยา อายตนกถา จบ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 143

อรูเป รูปกถา

[๑๒๓๕] สกวาที รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ป. เป็นรูปภพ เป็นรูปคติ เป็นไปสัตตาวาส เป็นรูป สงสาร เป็นกำเนิดแห่งรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อรูปภพ เป็นอรูปคติ อรูปสัตตาวาส อรูปสงสาร เป็นกำเนิดแห่งอรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งอรูปสัตว์ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นอรูปภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่ง อรูปสัตว์ ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย.

[๑๒๓๖] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นภพ คติ สัตตาวาส สงสาร กำเนิด วิญญาณฐิติ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นภพ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มี ขันธ์ ๔ ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย.

[๑๒๓๗] ส. รูปมีอยู่ในรูปธาตุ และรูปธาตุนั้น เป็นรูปภพ เป็น รูปคติ เป็นรูปสัตตาวาส เป็นรูปสงสาร เป็นกำเนิดแห่งรูปสัตว์ เป็นการ


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 144

ได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น รูปภพ เป็นรูปคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปมีอยู่ในรูปธาตุ และรูปธาตุนั้น เป็นปัญจโวการภพ เป็นคติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น ปัญจโวการภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๘] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น อรูปภพ เป็นอรูปคติ เป็นอรูปสัตตาวาส เป็นอรูปสงสาร เป็นกำเนิดแห่ง อรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งอุปสัตว์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปธาตุ และอรูปธาตุนั้น เป็นอรูปภพ เป็นอรูปคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่งอรูปสัตว์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๙] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น จตุโวการภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปธาตุ และอรูปธาตุนั้น เป็นจตุโวการภพ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 145

คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๐] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งรูปทั้งหลาย ว่า อรูป มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่ง รูปทั้งหลายว่า อรูป ก็ต้องไม่กล่าวว่า อรูปมีอยู่ในรูปสัตว์ทั้งหลาย

[๑๒๔๑] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งรูปทั้งหลาย ว่า อรูป แต่รูปก็ยังมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งกาม ทั้งหลายว่า เนกขัมมะ แต่กามทั้งหลายก็ยังมีอยู่ในหมู่เนกขัมมะ อาสวะ ทั้งหลายก็ยังมีอยู่ในหมู่ผู้หาอาสวะมิได้ โลกิยธรรมก็ยังมีอยู่ในโลกุตรธรรม ทั้งหลาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูเป รูปกถา จบ


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 146

อรรถกถาอารุปเปรูปกถา

ว่าด้วย รูปในอรูปสัตว์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปในอรูปสัตว์ คือ สัตว์ผู้ไม่มีรูป ได้แก่ อรูปพรหม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สุขุม รูปอาศัยโอฬาริกรูปมีอยู่แม้ในอรูปภพ เพราะพระบาลีว่า วิฺาณปจฺจยา นามรูปํ แปลว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้ คำถามของ สกวาทีว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลายหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอารุปเปรูปกถา จบ


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 147

รูปังกัมมันติกถา

[๑๒๔๒] สกวาที กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรม นั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความ ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ จงใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรม ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล.

[๑๒๔๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล เป็น ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 148

ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๔] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของธรรมนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๕] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 149

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น กุศลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๖] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศลหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตหรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 150

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่ ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศลที่ ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ไม่มี อารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 151

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่วิปปยุตด้วย ผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 152

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๒] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ทั้งวิปปยุต ด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่ ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 153

เป็นกุศลที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๓] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้ง วิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ วจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรม เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 154

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้น ด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล.

[๑๒๕๕] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล แต่ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 155

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล แต่ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๗] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น กุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วจีกรรมพึงให้พิสดารอย่างเดียวกับกายกรรม.

[๑๒๕๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรม นั้น มีอยู่หรือ?


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 156

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความ ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ ตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรมที่ตั้งขึ้น ด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล.

[๑๒๕๙] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย อกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 157

อโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นไป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย อกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 158

[๑๒๖๑] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น อกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ วจีกรรมนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าวจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้น ด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล.

[๑๒๖๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ?


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 159

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย อกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ อโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นไป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะที่ตั้งขึ้นด้วย


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 160

อกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๕] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น อกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ?


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 161

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๘] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 162

ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยอกุศล เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๐] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้ง ขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุต ด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 163

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตด้วยผัสสะไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่ทั้งวิปปยุต ด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 164

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่ ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มี อารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๓] ป. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต ที่ ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธาย รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มี อารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 165

[๑๒๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศล บ้าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศล บ้าง.

[๑๒๗๕] ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๖] ส. กายเป็นรูป กายกรรมเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโน เป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูป หรือ?


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 166

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๗] ส. มโน เป็นอรูป คือนาม มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๘] ส. กาย เป็นรูป แต่กายกรรมเป็นอรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโน. เป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นอรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๙] ส. มโน เป็นอรูป มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๐] ส. เพราะกายเป็นไป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นไปหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะจักขายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น จักขุวิญญาณ จึง เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นไป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะโสตายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น โสตวิญญาณ จึง เป็นรูป หรือ?


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 167

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะฆานายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ฆานวิญญาณ จึง เป็นรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะชิวหายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ชิวหาวิญญาณ จึง เป็นรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะกายายตนะเป็นรูป ฉะนั้น กายวิญญาณ จึง เป็นรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๑] ส. รูป เป็นกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๓๔.


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 168

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นกรรม

[๑๒๘๒] ส. รูป เป็นกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อ กายมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะวจีสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะ มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม

[๑๒๘๓] ส. รูป เป็นกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มี ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มโนสัญเจตนา


๑. สํ.นิ. ๑๖/๘๓.


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 169

๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม

[๑๒๘๔] ส. รูป เป็นกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าสมิทธิ ผู้โมฆบุรุษนี้ ถูกปาตลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ ควรพยากรณ์ อย่างนี้ว่า อาวุโส ปาตลิบุตร บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนา ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรมที่จะให้ได้เสวยความสุขแล้ว เขาย่อมจะได้ เสวยความสุข บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรมที่จะให้ได้เสวยความทุกข์แล้ว เขาย่อมจะได้เสวยความทุกข์ บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรม ที่จะให้ได้เสวยเวทนาอันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขแล้ว เขาย่อมจะได้เสวยเวทนา อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ดูก่อนอานนท์ สมิทธิ ผู้โมฆบุรุษ เมื่อพยากรณ์ อย่างนี้แล้ว ชื่อว่า พึงพยากรณ์โดยชอบแก่ปาตลิบุตรปริพาชก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม.

รูปังกัมมันติกถา จบ


๑. ม.อุ. ๑๔/๖๐๒.


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 170

อรรถกถารูปังกัมมันติกถา

ว่าด้วยคำว่า รูปเป็นกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นกรรม (กรรมคือการกระทำ). ในเรื่องนั้น ชนเหล่านั้นมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะและสมิติยะทั้งหลาย ว่า กายวิญญัติรูปและรูปและวจีวิญญัตติรูปนั่นเทียว ชื่อว่ากายกรรมและ วจีกรรม ก็รูปนั้นมีกุศลเป็นสมุฏฐานย่อมเป็นกุศล รูปนั้นมีอกุศลเป็น สมุฏฐานก็ย่อมเป็นอกุศล ดังนั้น คำถามของสกวาทีว่า กายกรรมที่ ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นรูป เป็นกุศลหรือ ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยคำว่า ถ้ารูปนั้นเป็นกุศลไซร้ รูปนั้นก็พึงมีอารมณ์ได้ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า รูป เป็นธรรมมีอารมณ์หรือ เป็นต้น.

ในปัญหานั้น คำว่า ความปรารถนา คือปตฺถนา ความตั้งใจ คือปณิธิ นี้ เป็นไวพจน์ คือเป็นคำแทนชื่อกัน ของความจงใจ คือเจตนา นั่นแหละ. จริงอยู่เมื่อนึกถึงกุศล เจตนานั่นแหละ ท่านเรียกว่า ความปรารถนา และเรียกว่า ความตั้งใจ เพราะตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความนึกถึง. อนึ่ง ในข้อว่า เวทนา สัญญา เจตนา สัทธา เป็นต้น ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ข้างหน้า คำว่า เจตนาคือความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ย่อม มีแก่เวทนาเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่เจตนา. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะความไม่มีเจตนาทั้ง ๒ ดวงรวมเป็นดวงเดียวกัน. อนึ่ง บัณฑิต พึงทราบแบบแผนอย่างนี้ เพราะความที่เจตนานั้นเป็นธรรมชาติตกไป สู่กระแส.


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 171

คำว่า รูปายตนะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงประเภทแห่ง ธรรมที่ย่อไว้ในวาระแรกว่า รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตไม่ว่าอย่างใด ทั้งหมด เป็นกุศลจิตหรือ. นัยแห่งการเปรียบเทียบคำที่เหลือ เป็น ถ้อยคำว่าด้วยวจีกรรม และคำว่า ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต บัณฑิตพึงทราบ คำทั้งปวงตามพิธีการเบื้องต้นโดยทำนองแห่งบาลีนั่นแหละ. ก็ในคำว่า อสุจิ ท่านประสงค์เอาน้ำสุกกะ. การชำระพระสูตรมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถารูปังกัมมันติกถา จบ


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 172

ชีวิตินทริยกถา

[๑๒๘๕] สกวาที รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่ เป็นไปอยู่ ความที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยง อยู่ มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี.

[๑๒๘๖] ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มีแก่นามธรรมทั้งหลาย และอรูปชีวิตินทรีย์ มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย และรูปชีวิตินทรีย์ มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 173

[๑๒๘๗] ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย แต่รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี หรือ?

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มี อยู่แก่นามธรรมทั้งหลาย แต่อรูปชีวิตินทรีย์ไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๘] ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย เป็นรูปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๙] ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๐] ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย เป็นไปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 174

[๑๒๙๑] ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๒] ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย เป็นอรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๓] ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึง กล่าวว่า เป็นไปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึง กล่าวว่า เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๔] ส. รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้านิโรธ ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 175

[๑๒๙๕] ส. ผู้เข้านิโรธ มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ผู้เข้านิโรธมีชีวิตินทรีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี.

[๑๒๙๖] ส. ผู้เข้านิโรธมีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนื่องในขันธ์ไหน?

ป. เนื่องในสังขารขันธ์

ส. ผู้เข้านิโรธมีสังขารขันธ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้านิโรธมีสังขารขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้านิโรธมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๗] ส. ผู้เข้านิโรธ มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มิใช่ผู้เข้านิโรธ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๘] ส. รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 176

ส. อสัญญสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี.

[๑๒๙๙] ส. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนื่องด้วยขันธ์ไหน?

ป. เนื่องด้วยสังขารขันธ์.

ส. อสัญญสัตว์มีสังขาร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปัญจโวการภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 177

[๑๓๐๐] ส. ชีวิตินทรีย์ที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไป ส่วนหนึ่ง ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไปส่วน หนึ่ง ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๑] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไปหมด ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีวิตินทรีย์ที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไป หมด ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๒] ป. ชีวิตินทรีย์เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นอยู่ด้วยชีวิต ๒ อย่าง ตายด้วยมรณะ ๒ อย่าง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ชีวิตินทริยกถา จบ


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 178

อรรถกถาชีวิตินทริยกถา

ว่าด้วย ชีวิตินทรีย์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชีวิตินทรีย์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดว่า ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์เป็นธรรมไม่มีรูปไม่ประกอบกับจิต ฉะนั้นจึงว่า รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะและสมิติยะ ทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที.

ในปัญหาว่า อายุ ... ไม่มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ปรวาที นั้น ย่อมปรารถนาคำว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็น ไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยง อยู่ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งความสืบต่อแห่งอุปาทินนรูปบ้าง แห่ง อนุปาทินนรูปมีต้นหญ้าและหมู่ไม้เป็นต้นบ้าง ฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ. แม้ ในปัญหาว่า มีอยู่ ก็ตอบรับรองด้วยเหตุนี้. ในปัญหาว่า อรูปชีวิตินทรีย์ มีอยู่หรือ ปรวาที ปรารถนาว่า ชื่อว่าความสืบต่อของชีวิตินทรีย์ที่ไม่ ประกอบกับจิตแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น จึงตอบรับรอง. ในปัญหา ว่า อายุของรูปธรรมทั้งหลายเป็นอรูปชีวิตินทรีย์หรือ อธิบายว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปธรรมก็ดี ที่เป็นอรูปธรรมก็ดี มีอยู่ในสันดานแห่ง สัตว์ แต่ปรวาทีปรารถนาซึ่งอรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปุตแห่งสัตว์ ทั้งปวงนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. แม้ในปัญหาว่าด้วย ผู้เข้า นิโรธสมบัติ ปรวาทีหมายเอาอรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปยุตนั่นแหละ จึงตอบปฏิเสธบ้าง ตอบรับรองบ้าง. ฝ่ายสกวาที เมื่อไม่รับรองคำนั้น


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 179

จึงกล่าวว่า หากว่า เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่ออรูปไม่เป็นไปอยู่ รูปก็พึงมีอยู่ได้. ในปัญหาว่าด้วย สังขารขันธ์ ปรวาทีหมายเอาสังขารขันธ์มี ผัสสะ เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ แต่ตอบรับรองหมายเอาสังขารขันธ์มี กายกรรมเป็นต้น. ลัทธิของปรวาทีว่า ธรรมทั้งหลาย มีกายวิญญัติ วจีวิญญัติ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และชีวิตินทรีย์ เป็นต้นว่าเป็นธรรม เนื่องด้วยสังขารขันธ์ ดังนี้. แต่สกวาทีเมื่อไม่ตอบรับรองคำนั้น จึง กล่าวว่า ผู้เข้านิโรธมีเวทนาขันธ์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่าความเป็น ไปแห่งอรูป แม้ดับไปแล้วสังขารขันธ์ยังมีอยู่ไซร้ นามขันธ์ ๔ ก็ต้องมีอยู่ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาภายในสมาบัติ ย่อมตอบ รับรองหมายเอาเบื้องต้นและเบื้องปลายของผู้เข้าสมาบัติและผู้ออกจาก สมาบัติ. แม้ในวาระว่าด้วย อสัญญสัตว์ ก็นัยนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ เพราะ ลัทธินั้นว่า ในกาลปฏิสนธิแห่งอสัญญสัตว์ทั้งหลาย จิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ไป อรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปยุตกับจิตนั้นเกิดขึ้นแล้วก็เป็นไป ตลอดจนสิ้นอายุ เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า อสัญญสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีชีวิตินทรีย์หรือ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามว่า มีชีวิตตินทรีย์หรือ ก็ตอบรับรอง. ย่อมปฏิเสธแม้ซึ่งเวทนาขันธ์ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง ปวัตติกาลของอสัญญสัตว์เหล่านั้น ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่ง ปฏิสนธิกาลของอสัญญสัตว์เหล่านั้น. ก็สกวาที เมื่อไม่ต้องการคำนั้น จึงกล่าวว่า เป็นปัญจโวการภพ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่าในอสัญญสัตว์ เหล่านั้นมีเวทนาเป็นต้นแม้แต่เพียงขณะหนึ่งไซร้ อสัญญสัตว์นั้นก็นับ ว่าเป็นปัญจโวการภพ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตร.


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 180

ในปัญหาว่า จิตดวงแสวงหาอุบัติดับไปส่วนหนึ่ง อธิบายว่า ลัทธิของปรวาทีนั้นว่า ธรรมที่สัมปยุตกันย่อมแตกดับไป แต่ธรรมที่ วิปปยุตกันย่อมตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. คำถามของปรวาที ว่า ชีวิตินทรีย์เป็น ๒ หรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. จริงอยู่ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์มีอยู่ ท่านจึงกล่าวว่าสัตว์ย่อมเป็นอยู่ ด้วยชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้นนั่นแหละ ย่อมตายเพราะการแตกดับแห่งชีวิตินทรีย์ ทั้ง ๒ นั้น. ก็ในขณะจุติ ชีวิตินทรีย์แม้ทั้ง ๒ ย่อมแตกดับพร้อมกัน นั่นเทียว ดังนี้.

อรรถกถาชีวิตินทริยกถา จบ


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 181

กรรมเหตุกถา

[๑๓๐๓] สกวาที พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เพราะเหตุ แห่งกรรมหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ เพราะเหตุ แห่งกรรมหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เพราะเหตุแห่ง กรรมหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ เพราะเหตุแห่งกรรมหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๔] ส. โสดาบัน ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่ง กรรมหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่ง กรรมหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ไม่เสื่อมจาก อนาคามิผล เพราะเหตุแห่งกรรมหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่ง กรรมหรือ?


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 182

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๕] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เพราะเหตุแห่ง กรรมหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมคือปาณาติบาตหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมคืออทินนาทาน ฯลฯ เพราะเหตุ แห่งกรรมคือกาเมสุมิจฉาจาร เพราะเหตุแห่งกรรมคือมุสาวาท เพราะ เหตุแห่งกรรมคือปิสุณาวาจา เพราะเหตุแห่งกรรมคือผรุสวาจา เพราะ เหตุแห่งกรรมคือสัมผัปปลาปะ เพราะเหตุแห่งกรรมคือมาตุฆาต เพราะ เหตุแห่งกรรมคือปิตุฆาต เพราะเหตุแห่งกรรมคืออรหันตฆาต เพราะ เหตุแห่งกรรมคือโลหิตุปบาท เพราะเหตุแห่งกรรมคือสังฆเภท หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมไหน?

ป. เพราะกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย.

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เพราะเหตุแห่ง กรรม คือกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่ว่าใครที่กล่าวตู่พระอรหันต์ ย่อมทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้ทุกคน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กรรมเหตุกถา จบ

วรรคที่ ๘ จบ


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 183

อรรถกถากัมมเหตุกถา

ว่าด้วยเหตุแห่งกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเหตุแห่งกรรม หรือกรรมเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดว่า พระอรหันต์รูปใดผู้เคยกล่าวตู่พระอรหันต์ ในภพก่อนด้วยกรรมอันใด พระอรหันต์รูปนั้นย่อมเสื่อมจากความเป็น พระอรหันต์เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และสมิติยะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีว่า เพราะเหตุแห่งกรรม ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือมีนัยเหมือน คำที่กล่าวไว้ในปริหานิกถานั่นแหละ.

ข้อว่า เพราะกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย ความว่า ความเป็น พระอรหันต์นี้ย่อมเสื่อมเพราะเหตุแห่งกรรมใด ปรวาทีกล่าวเพื่อให้ รับรองซึ่งกรรมนั้น. ทีนั้น สกวาที ยังปรวาทีนั้นให้รับรองซึ่งฝักฝ่าย นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ไม่ว่าใครที่กล่าวตู่พระอรหันต์ เป็นต้น เพื่อท้วง ด้วยคำว่า ถ้าว่าชนเหล่าใดพึงเป็นผู้กล่าวตู่พระอรหัตด้วยกรรม เหล่าใดอย่างนี้ไซร้ ชนเหล่านั้นทั้งหมดพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้หรือ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนิยามในการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ด้วย กรรมนั้น. จึงตอบปฏิเสธ.

อรรถกถากรรมเหตุกถา จบ


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 184

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ฉคติกถา ๒. อันตราภวกถา ๓. กามคุณกถา ๔. กามกถา ๕. รูปธาตุกถา ๖. อรูปธาตุกถา ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา ๘. อรูเปรูปกถา ๙. รูปังกัมมันติกา ๑๐.ชีวิตินทริยกถา ๑๑. กัมมเหตุกถา.

วรรคที่ ๘ จบ