๔. ปฐมปริชานสูตร ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้
โดย บ้านธัมมะ  10 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37136

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 29

๔. ปฐมปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 29

๔. ปฐมปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร. บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 30

คือจักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือจักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 31

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.

จบ ปฐมปริชานสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ ๔

ในปฐมปริชานสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนภิชานํ อปริชานํ อวิราชยํ อปฺปชหํ ได้แก่ ไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายความยินดี ไม่ละ. และในที่นี้ บทว่า อวิราเชนฺโต ได้แก่ ไม่คลายความยินดี ไม่หายหิว. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ เป็นอันตรัสปริญญาแม้ทั้งสาม. จริงอยู่ ด้วยคำว่า อภิชานํ ตรัสถึงญาตปริญญา ด้วยคำว่า ปริชานํ ตรัสถึงตีรณปริญญา ด้วยสองคำว่า วิราชยํ ปชหํ ตรัสถึงปหานปริญญา.

จบ อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ ๔