๘. ธรรมเทวปุตตจริยา ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวบุตร
โดย บ้านธัมมะ  22 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34747

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 330

๘. ธรรมเทวปุตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 330

๘. ธรรมเทวปุตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวบุตร

[๑๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นเทพบุตรชื่อว่าธัมโม มีอานุภาพมาก มีฤทธิ์มาก บริวารมาก เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลกทั้งปวง เราชักชวนให้มหาชนสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มีมิตรสหาย มีบริวารชน ในกาลนั้น เทพบุตรลามกเป็นผู้ตระหนี่ แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แม้เทพบุตรนั้นก็เที่ยวไปในแผ่นดินนี้ มีมิตรสหาย มีบริวารชน เราทั้งสอง คือ ธรรมวาทีเทพบุตรและอธรรมวาทีเทพบุตร เป็นข้าศึกแก่กัน เราทั้งสองนั่งรถสวนทางกันมา ชนรถของกันและกันที่แอกรถ การทะเลาะวิวาทอันพึงกลัวย่อมเป็นไปแก่เทพบุตรทั้งสองผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม มหาสงครามปรากฏแล้ว เพื่อต้องการจะให้กันและกันหลีกทาง ถ้าเราพึงโกรธเคืองอธรรมเทพ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 331

บุตรนั้น ถ้าเราพึงทำลายตบะคุณ เราพึงทำอธรรมเทพบุตรนั้นพร้อมทั้งบริวารให้เป็นดุจธุลีได้ แต่เพื่อจะรักษาศีลไว้ เราจึงระงับความปรารถนาแห่งใจเสีย พร้อมทั้งบริษัทได้หลีกทางให้แก่อธรรมวาทีเทพบุตร พร้อมกับเมื่อเราหลีกจากทาง ทำการระงับจิตได้ แผ่นดินได้ให้ช่องแก่อธรรมเทพบุตรในขณะนั้น ฉะนี้แล.

จบ ธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘

อรรถกถาธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาเทวปุตตจริยาที่ ๘.

บทว่า มหาปกฺโข คือมีบริวารมาก.

บทว่า มหิทฺธิโก คือประกอบด้วยเทพฤทธิ์มาก.

บทว่า ธมฺโม นาม มหายกฺโข คือเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก ชื่อ ธรรม.

บทว่า สพฺพโลกานุกมฺปโก คือเป็นผู้อนุเคราะห์โลกทั้งปวงด้วยมหากรุณา ไม่ทำการแบ่งแยก.

แท้จริงพระมหาสัตว์ ในกาลนั้นบังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า ธรรมเทพบุตร. ธรรมเทพบุตรตกแต่งด้วยเครื่องประดับเป็นทิพย์ ขึ้นทิพยรถ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 332

แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เมื่อมนุษย์ทั้งหลายบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว นั่งสนทนากันอย่างเป็นสุขที่ประตูเรือน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ประดิษฐานอยู่บนอากาศ ในบ้าน นิคม และราชธานี ชักชวนมนุษย์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลายจงเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น แล้วบำเพ็ญสุจริตธรรม ๓ อย่าง. จงนับถือมารดาบิดา สมณะ พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล. ท่านทั้งหลายจักได้ไปสวรรค์ เสวยยศยิ่งใหญ่ ดังนี้ กระทำประทักษิณชมพูทวีป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราชักชวนมหาชนให้สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ เที่ยวไปยังคามและนิคม มีมิตร มีบริวารชน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมิตฺโต คือมีสหายผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้กล่าวธรรม.

ก็สมัยนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่ง ชื่อว่า อธรรมเทพบุตร เกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร. อธรรมเทพบุตรนั้นชักชวนสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าสัตว์ จงลักทรัพย์เถิด แวดล้อมด้วยบริษัทใหญ่ ทำชมพูทวีปให้เป็นบ้าน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 333

เทพบุตรลามก เป็นผู้ตระหนี่ แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้เทพบุตรนั้นก็เที่ยวไปในแผ่นดินนี้ มีมิตรสหาย มีบริวารชน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาโป คือประกอบด้วยธรรมลามก.

บทว่า กทริโย คือตระหนี่จัด.

บทว่า ยกฺโข คือเทพบุตร.

บทว่า ทีเปนฺโต ทส ปาปเก แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ คือเที่ยวประกาศชักชวนว่า ธรรมลามก ๑๐ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้น ควรทำด้วยนัยมีอาทิว่า สักการะ ชื่อว่าเป็นอาหารในสรรพโลก เกิดมาเพื่อเป็นของอุปโภคบริโภค. เพราะฉะนั้น ควรฆ่าสัตว์ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตนอิ่มหมีทำอินทรีย์ให้สำราญ.

บทว่า โสเปตฺถ คืออธรรมเทพบุตรนั้นเที่ยวไปในชมพูทวีปนี้.

บทว่า มหิยา คือใกล้แผ่นดิน อธิบายว่า ในอุปจารที่พวกมนุษย์เห็นและได้ยิน.

ในบทนี้มีความดังต่อไปนี้ สัตว์เหล่าใดทำกรรมดี เป็นผู้หนักในธรรม สัตว์เหล่านั้นเห็นธรรมเทพบุตรมาอย่างนั้น ลุกจากที่นั่งบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น. พากันสรรเสริญจนกระทั่งล่วงเลยสายตา. ยืนพนมมือไหว้. ได้ฟังถ้อยคำของธรรมเทพบุตรแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ทำบุญโดยเคารพ. ส่วนสัตว์เหล่าใดมีความประพฤติลามก มีการงานหยาบช้า สัตว์เหล่านั้นฟังถ้อยคำของอธรรมเทพบุตรแล้วก็พากันพอใจเป็นอย่างยิ่ง ประพฤติกรรมลามกยิ่งขึ้นไปอีก. ในกาลนั้น เทพบุตรทั้งสองต่างก็มีวาทะ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 334

ตรงกันข้ามและมีการกระทำตรงกันข้ามของกันและกัน เที่ยวไปในโลกด้วยประการฉะนี้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ธรรมวาทีเทพบุตรและอธรรรมวาทีเทพบุตรเป็นข้าศึกแก่กัน. เมื่อกาลผ่านไป อยู่มาวันหนึ่งรถของเทพบุตรทั้งสองได้มาประจัญหน้ากันในอากาศ. จึงบริวารของเทพบุตรทั้งสองนั้นต่างก็ถามกันว่า พวกท่านเป็นของใคร พวกท่านเป็นของใคร ต่างก็ตอบว่า เราเป็นของธรรมเทพบุตร เราเป็นของอธรรมเทพบุตร แล้วทั้งสองฝ่ายหลีกจากทาง. รถของธรรมเทพบุตรและอธรรมเทพบุตรเผชิญหน้ากัน งอนรถกับงอนรถเกยกัน. ทั้งสองฝ่ายเถียงกันเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งให้ทางว่า ท่านจงหลีกรถของท่านแล้วให้ทางเรา อีกฝ่ายก็ว่า ท่านนั่นแหละจงหลีกรถของท่านให้ทางเรา. ฝ่ายพวกบริวารของเทพบุตรทั้งสอง ต่างก็นำอาวุธออกเตรียมทำสงครามกัน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราทั้งสองนั่งรถสวนทางกันมา ชนรถของกันและกันที่แอกรถ. การทะเลาะวิวาทอันพึงกลัว ย่อมเป็นไปแก่เทพบุตรทั้งสองผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม มหาสงครามปรากฏแล้ว เพื่อจะให้กันและกันหลีกทางให้.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 335

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธุเร ธุรํ คืองอนรถของฝ่ายหนึ่งชนงอนรถของอีกฝ่ายหนึ่ง.

บทว่า สมิมฺหา คือมาเผชิญหน้ากัน. คำว่า อุโภ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า แม้เราทั้งสองเป็นข้าศึกของกันและกัน เที่ยวไปในโลก วันหนึ่งมาเผชิญหน้ากัน เมื่อบริวารทั้งสองฝ่ายหลีกจากทางพร้อมกับรถ เราทั้งสองก็เผชิญหน้ากันอีก.

บทว่า เภสฺมา คือน่ากลัว. บทว่า กลฺยาณปาปกสฺส จ คือกัลยาณธรรมและบาปธรรม.

บทว่า มหายุทฺโธ อุปฏฺิโต คือมหาสงครามปรากฏแล้ว.

จริงอยู่ ความที่บริวารต้องการจะรบกันและกันก็เกิดขึ้น. ในทั้งสองฝ่ายนั้น ธรรมเทพบุตรกล่าวกะอธรรมเทพบุตรว่า ดูก่อนสหาย ท่านเป็นอธรรม เราเป็นธรรม ทางจึงสมควรแก่เรา ท่านจงหลีกรถของท่าน แล้วให้ทางเราเถิด. อีกฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่า เรามียานแข็งแรง มีกำลังไม่หวาดสะดุ้ง เพราะฉะนั้น เราไม่ให้ทาง แต่เราจะรบ ทางจงเป็นของผู้ชนะในการรบเถิด. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธรรมเทพบุตร เราเป็นผู้ให้ยศ ให้บุญ สมณะและพราหมณ์สรรเสริญทุกเมื่อ เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชา จึงสมควรได้ทาง. ดูก่อนอธรรมเทพบุตร เราเป็นธรรมเทพบุตร ท่านจงให้ทางเถิด.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 336

อธรรมเทพบุตร เราไม่หวาดสะดุ้ง มีกำลังขึ้นอธรรมยานแข็งแรง. ดูก่อนธรรมเทพบุตร วันนี้เราจะให้ทางที่เราไม่เคยให้แก่ใครๆ แก่ท่านได้ เพราะเหตุไรเล่า.

ธรรมเทพบุตร ธรรมนั่นแลปรากฏมาก่อน อธรรมเกิดในโลกภายหลัง เราจึงเป็นพี่ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นคนเก่าแก่. ดูก่อนน้อง ท่านจงหลีกทางให้พี่เถิด.

อธรรมเทพบุตร เราพึงให้ทางแก่ท่าน มิใช่เพราะคำอ้อนวอน เพราะคำชื่นชม เพราะสมควรแก่ทาง วันนี้เราทั้งสองจงมารบกันเถิด ทางจักเป็นของผู้ชนะในการรบ.

ธรรมเทพบุตร ดูก่อนอธรรมเทพบุตร เราธรรมเทพบุตรมีกำลังมาก มียศนับไม่ได้ หาผู้เปรียบมิได้ เข้าถึงคุณธรรมทั้งปวง ปรากฏแพร่หลายไปทั่วทิศ ท่านจักชนะได้อย่างไร.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 337

อธรรมเทพบุตร ค้อนเหล็กทุบเงินได้ เงินทุบค้อนเหล็กไม่ได้ หากวันนี้อธรรมจักฆ่าธรรมได้ เราผู้เป็นเหล็ก จะพึงแสดงให้เห็นเป็นดุจทองคำ.

ธรรมเทพบุตร ดูก่อนอธรรมเทพบุตร หากท่านมีกำลังในการรบ คนเจริญและครูย่อมไม่มีแก่ท่าน เราจะให้ทางแก่ท่านด้วยความไม่รัก ดุจด้วยความรัก เราอดทนวาจาหยาบของท่านได้.

คาถาเหล่านี้เป็นคาถาโต้ตอบของธรรมเทพบุตรและอธรรมเทพบุตร

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโสกโร คือให้ยศแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการชักชวนให้ประพฤติธรรม. แม้ในบทที่สองก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สทาตฺถุโต คือยกย่องทุกเมื่อ ได้แก่สรรเสริญเป็นนิจ.

บทว่า ส กิสฺส เหตุมฺหิ ตวชฺช ทชฺชํ คือเราอธรรมเทพบุตรขึ้นรถอธรรมยาน ไม่กลัว มีกำลัง. เฮ้ยธรรมเทพบุตร วันนี้เราจะให้ทางซึ่งเราไม่เคยให้แก่ใครๆ แก่ท่านได้ เพราะเหตุไรเล่า.

บทว่า ปาตุรโหสิ ได้แก่ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้ได้ปรากฏมาก่อนครั้งปฐมกัป.

บทว่า เชฏฺโ จ ท่านกล่าวว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 338

เราเป็นพี่ เป็นผู้ประเสริฐ และเป็นคนเก่าแก่ เพราะเกิดก่อน. ส่วนท่านเป็นน้อง เพราะฉะนั้น น้องจงหลีกทางให้พี่.

บทว่า นปิ ปาติรูปา ดูก่อนท่านธรรมเทพบุตร ความจริงเราพึงให้ทางแก่ท่านมิใช่เพราะความอ้อนวอน มิใช่เพราะคำชื่นชม มิใช่เพราะสมควรแก่ทาง.

บทว่า อนุวิสโฏ คือเราเป็นผู้ปรากฏแพร่หลายด้วยคุณธรรมของตนไปทั่วทิศ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔.

บทว่า โลเหน คือ ค้อนเหล็ก.

บทว่า หญฺฉติ คือจักฆ่า.

บทว่า ยุทฺธพโล อธมฺม คือ ดูก่อนอธรรมเทพบุตร หากท่านเป็นผู้มีกำลังในการรบ.

บทว่า วุฑฺฒา จ ครู จ คือหากว่าคนเจริญเหล่านี้ ครูเหล่านี้ที่เป็นบัณฑิตไม่มีแก่ท่าน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปิยาปฺปิเยน คือด้วยความไม่รัก ดุจความรัก อธิบายว่า เมื่อเราให้แม้ด้วยความไม่รักก็ย่อมให้หนทางแก่ท่าน ดุจด้วยความรัก.

ก็ในกาลนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า หากเราดีดนิ้วมือแล้วพึงกล่าวกะบุคคลลามกนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อความไม่เป็นประโยชน์แก่สรรพโลก ยึดถือสิ่งตรงกันข้ามกับเราอย่างนี้ว่า ดูก่อนคนไม่มีมารยาท ท่านอย่าอยู่ที่นี่เลย. รีบหลีกไปเสียเถิด จงพินาศเถิด ในขณะนั้นเองเขาจะพึงกระจัดกระจายไป ดุจเถ้าถ่านด้วยธรรมเดชของเรา. แต่นั่นไม่สมควรแก่เรา. เราอนุเคราะห์สรรพโลก จะปฏิบัติโดยมุ่งหวังว่า จักยังโลกัตถจริยาให้ถึงที่สุด. ก็คนลามกนี้แหละจะมีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ต่อไป. เราจะพึงอนุเคราะห์คนลามกนี้เป็น


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 339

พิเศษ. เพราะฉะนั้น เราจะให้ทางแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้ ศีลของเราจักบริสุทธิ์ด้วยดี จักไม่ขาด. ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ดำริอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า หากท่านเป็นผู้มีกำลังในการรบ ดังนี้เป็นต้น พอหลีกจากทางให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น อธรรมเทพบุตรไม่สามารถอยู่บนรถได้ หัวทิ่มลงบนแผ่นดิน แผ่นดินแยกออก ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

หากเราพึงโกรธเคืองอธรรมเทพบุตรนั้น ถ้าเราพึงทำลายตบะคุณ เราพึงทำอธรรมเทพบุตรนั้นพร้อมทั้งบริวารให้เป็นดุจธุลีได้ แต่เพื่อจะรักษาศีลไว้ เราจึงระงับความปรารถนาแห่งใจเสีย พร้อมทั้งบริษัท ได้หลีกทางให้แก่อธรรมเทพบุตร พร้อมกับเมื่อหลีกจากทาง ทำการระงับจิตได้ แผ่นดินได้ให้ช่องแก่อธรรมเทพบุตรในขณะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยทิหํ ตสฺส ปกุปฺเปยฺยํ คือ ผิว่าเราพึงโกรธอธรรมเทพบุตรนั้น.

บทว่า ยทิ ภินฺเท ตโปคุณํ คือ ผิว่าเราพึงยังศีลสังวรอันเป็นตบะคุณของเราให้พินาศไปด้วยความโกรธอธรรมเทพบุตรนั้น.

บทว่า สหปริ ชนํ ตสฺส คือ อธรรมเทพบุตรนั้นพร้อม


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 340

ด้วยบริวาร. บทว่า รชภูตํ เป็นดุจธุลี. คือเราพึงทำให้ถึงความเป็นธุลี.

บทว่า อหํ ในบทว่า อปีจาหํ นี้ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า สีลรกฺขาย คือเพื่อรักษาศีล.

บทว่า นิพฺพาเปตฺวาน คือสงบใจด้วยสงบความกระวนกระวายอันเกิดแต่โทสะ โดยไม่ให้ความโกรธอันเกิดขึ้นในอธรรมเทพบุตรนั้นเกิดขึ้นได้ เพราะเราเข้าไปตั้งขันติ เมตตา และความเอ็นดูไว้ล่วงหน้าแล้ว.

บทว่า สห ชเนโนกฺกมิตฺวา คือเราให้หลีกทางพร้อมกับบริวารชนของเรา แล้วให้ทางแก่อธรรมเทพบุตรผู้ลามกนั้น.

บทว่า สห ปถโต โอกฺกนฺเต พร้อมกับเมื่อเราหลีกทางให้ คือ พร้อมกับเราทำความสงบจิตตามนัยดังกล่าวแล้ว และกล่าวว่า เราให้ทางแก่ท่าน แล้วหลีกทางให้หน่อยหนึ่ง.

บทว่า ปาปยกฺขสฺส คืออธรรมเทพบุตร.

บทว่า ตาวเท คือในขณะนั้นเองมหาปฐพีก็ได้ให้ช่อง. แต่ในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวไว้ว่า ในขณะที่กล่าวคาถาว่า เราให้ทางแก่ท่านนั่นเอง มหาปฐพีได้ให้ช่อง.

เมื่ออธรรมเทพบุตรตกลงไปบนแผ่นดินอย่างนั้น มหาปฐพีหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ แม้ทรงไว้ซึ่งสิ่งดีและไม่ดีทั้งสิ้น ก็ได้แยกออกเป็น ๒ ส่วน ในที่ที่อธรรมเทพบุตรยืนอยู่นั้น เหมือนจะกล่าวว่า เราไม่ทรงบุรุษชั่วนี้ไว้ได้. ส่วนพระมหาสัตว์ เมื่ออธรรมเทพบุตรนั้นตกลงไปเกิดในอเวจีมหานรก ยังคงยืนอยู่ที่แอกรถพร้อมกับบริวารด้วยเทวานุภาพใหญ่ ไปตามทาง


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 341

ที่ไปนั่นเอง แล้วเข้าไปยังภพของตน. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธรรมเทพบุตรมีขันติเป็นกำลัง ชนะอธรรมเทพบุตรผู้มีกำลังในการรบ ทำอธรรมเทพบุตรฝังไว้ในแผ่นดิน. ธรรมเทพบุตรเป็นผู้มีกำลังยิ่ง ไม่ล่วงสัจจะ ดีใจขึ้นรถไปตามทางนั่นเอง.

อธรรมเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. บริวารของอธรรมเทพบุตร คือบริษัทของเทวทัต. ธรรมเทพบุตร คือพระโลกนาถ. บริวารของธรรมเทพบุตร คือพุทธบริษัท.

แม้ในธรรมเทวปุตตจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือตามควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง แม้ในจริยานี้ ก็พึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือ การที่เมื่อพระมหาสัตว์เปี่ยมพร้อมด้วยอายุ วรรณะ ยศ สุข และความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ ด้วยกามคุณอันยิ่งใหญ่เป็นทิพย์เหมือนกัน อันนางอัปสร ๑,๐๐๐ บำเรออยู่ตลอดกาล น่าจะตั้งอยู่ในความประมาทอย่างใหญ่ แต่มิได้ถึงความประมาทแม้แต่น้อย แสดงธรรมในวัน ๑๕ ค่ำ ทุกๆ เดือน ด้วยหวังว่า จักยังโลกัตถจริยาให้ถึงที่สุด พร้อมด้วยบริวารเที่ยว


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 342

ไปในทางของมนุษย์ ยังสรรพสัตว์ให้เว้นจากอธรรม แล้วประกอบในธรรม ด้วยมหากรุณา การที่พระโพธิสัตว์แม้พบกับอธรรมเทพบุตร ก็มิได้คำนึงถึงความไร้มารยาทที่อธรรมเทพบุตรแสดงออกมา ไม่ทำจิตให้โกรธในอธรรมเทพบุตรนั้น ยังขันติ เมตตาและความเอ็นดูเท่านั้นให้ตั้งอยู่ แล้วรักษาศีลของตนมิให้ขาด และให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี.

จบ อรรถกถาธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘