[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 239
๖. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยความแตกต่างแห่งธาตุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 239
๖. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยความแตกต่างแห่งธาตุ
[๒๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ที่เรียกว่า ความแตกต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี มีอยู่แล
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 240
จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจ และจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ ฯลฯ ฆานธาตุ ฯลฯ ชิวหาธาตุ ฯลฯ กายธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ และมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
จบ โฆสิตสูตรที่ ๖
อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ ๖
ในโฆสิตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปา จ มนาปา ได้แก่ รูปที่น่าชอบใจ มีอยู่. บทว่า จกฺขุวิญฺาณญฺจ ได้แก่ จักขุวิญญาณ มีอยู่. บทว่า สุขเวทนิยํ ผสฺสํ ได้แก่ ผัสสะอันเป็นปัจจัยแก่สุขเวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 241
ในชวนกาล ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย. บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่ สุขเวทนาอาศัยผัสสะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในชวนะ. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน ดังนั้นพระองค์ จึงตรัสธาตุ ๒๓ ในพระสูตรนี้. อย่างไร. จริงอยู่ในที่นี้ จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ อารมณ์อันกระทบจักขุปสาทนั้น เป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณ เป็นวิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณธาตุ เป็นธรรมธาตุ. เป็นธาตุ ๒๐ คือในทวารทั้ง ๕ ทวารละ ๔ อาวัชชนจิต ท่านถือว่า มโนธาตุในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้. อารมณ์และหทัยวัตถุ เป็นธรรมธาตุ จิตที่อาศัยหทัยวัตถุ เป็นมโนวิญญาณธาตุ รวมเป็นธาตุ ๒๓ ด้วยประการฉะนี้ ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความต่างแห่งธาตุ ด้วยอำนาจธาตุ ๒๓ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ ๖