พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 395
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ แปลว่า ผู้ไม่ปรารถนา.กถาแห่งอัปปิจฉะนั้น ชื่อว่า อัปปิจฉกถา หรือกถาที่เกี่ยวด้วยความเป็นผู้มักน้อย ชื่อว่า อัปปิจฉกถา. ก็ในที่นี้ ว่าด้วยอำนาจความปรารถนามีบุคคล ๔ จำพวก คือ อตฺริจฺโฉ ผู้ปรารถนายิ่งๆ ขึ้น ๑ ปาปิจฺโฉ ผู้ปรารถนาลามก ๑ มหิจฺโฉ ผู้มักมาก ๑ อปฺปิจฺโฉ ผู้มักน้อย ๑. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ผู้ไม่อิ่มลาภตามที่ตนได้มา ปรารถนาลาภยิ่งๆ ขึ้นชื่อว่า อัตริจฉะ ฯลฯ บทว่า สนฺตุฏฺฐิ ในคำว่า สนฺตุฏฐิกถา นี้ ได้แก่ ความยินดีด้วยของๆ ตน คือด้วยของที่ตนได้มา ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่งการละความปรารถนาปัจจัยที่ไม่สม่ำเสมอ แล้วยินดีปัจจัยที่สม่ำเสมอชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยของที่มีอยู่ คือปรากฏอยู่ ชื่อว่าสันตุฏฐิ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็น อนาคต ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งเป็นปัจจุบัน ท่าน เรียกว่า ผู้สันโดษ. อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยปัจจัยโดยวิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ด้วยญายธรรมโดยชอบ ชื่อว่าสันตุฏฐิ โดยอรรถ ได้แก่ความสันโดษในปัจจัยตามที่ตามได้. ฯ ลฯ
สาธุ
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
ขอบพระคุณพี่เมตตาในธรรมทานค่ะ