(๓๕๐) ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้. อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้. นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้. เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
อยากเรียนขอความรู้จากท่านผู้รู้ เพื่อความกระจ่างในพระสูตรนี้
๑. ธรรมชาตินี้ คืออะไร
๒. นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้ อย่างไร
๓. เพราะเหตุใด เมื่อ วิญญาณดับ "นามและรูป" จึงดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้ ได้ด้วย
๔. ที่กล่าวว่า "วิญญาณดับ" ดับในแง่ใด ความหมายใด
ขอบพระคุณและอนุโมทนากับคำอธิบายจากทุกท่าน
นิพพานเป็นอารมณ์ของจิต แต่นิพพานไม่ใช่จิต
จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่นิพพานไม่รู้อารมณ์
ดังนั้นธรรมชาติที่รู้แจ้งคืออะไรค่ะ?
ขอบพระคุณสำหรับคำอธิบายนะคะ และขออภัยในความไม่ชัดเจนของพยัญชนะ ข้อความนี้นำมาจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ฑีฆนิกาย สีลขันธวรรค (เกวัฏฏสูตร)
เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงอธิบายถึงการบรรลุพระอรหันต์ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ที่อยากเรียนถามคือ นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้ ได้อย่างไร (เพราะยังมีชีวิตอยู่) และ ที่กล่าวว่า "วิญญาณดับ" ดับในแง่ใด ความหมายใด
ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือไม่ค่ะ ขอคำอธิบายด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
เรียน ความเห็นที่ 3
ก่อนอื่นขอยกข้อความบางตอนจาก
อรรถกถาเกวัฏฏสูตร
ที่ท่านอธิบาย ข้อความในพระบาลี ที่ว่า
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ความหมายคือ ควรรู้แจ้ง
บทว่า ควรรู้แจ้ง คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง. เป็นชื่อของนิพพาน นิพพานนั้น แสดงไม่ได้ เพราะไม่มีการแสดง. นิพพานชื่อว่าไม่มีที่สุด เพราะไม่มีเกิด ไม่มีเสื่อม ไม่มีความเป็นอย่างอื่นของผู้ตั้งอยู่.
บทว่า แจ่มใส คือ น้ำสะอาด. นัยว่า บทนี้เป็นชื่อของท่าน้ำ. เป็นที่น้ำไหล ท่านทำ ป อักษรให้เป็น ภ อักษร ท่าข้ามของนิพพานนั้นมีอยู่ทุกแห่ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อมีท่าข้ามทุกแห่ง ชนทั้งหลายประสงค์จะข้ามจากที่ใดๆ ของมหาสมุทร มีท่าเป็นเส้นทางที่จะไม่มีท่าไม่มี ฉันใด ชนทั้งหลายประสงค์จะข้ามให้ถึงพระนิพพาน
อนึ่ง คำอธิบายเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับท่านอธิบายไว้ดังนี้
บทว่า วิญญาณ คือ วิญญาณเดิมบ้าง วิญญาณที่ปรุงแต่งบ้าง. จริงอยู่ เพราะวิญญาณเดิมดับ นาม และรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ คือว่า ย่อมถึงความไม่มีบัญญัติเหมือนเปลวประทีปที่ถูกเผาหมดไป ฉะนั้น เพราะไม่เกิดขึ้น และดับไปโดยไม่เหลือ แห่งวิญญาณที่ปรุงแต่งนามและรูป จึงดับโดยไม่เกิดขึ้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะดับวิญญาณที่ปรุงแต่งด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ นามและรูปที่พึงเกิดในสังสารวัฏฏ์อันไม่มีเบื้องต้น และที่สุด เว้นภพทั้ง ๗ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือ ในธรรมชาตินี้ ดังนี้
สรุป คือ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปจึงดับ หมายถึงการสิ้นสุดสังสารวัฏฏ์ของพระอรหันต์ คือ ปฏิสนธิวิญญาณ วิปากวิญญาณ ไม่เกิดขึ้นอีกเลย นามและรูปก็ไม่เกิดขึ้น...
ขอบพระคุณสำหรับคำอธิบายค่ะ
ขออ้างอิงถึงข้อความด้านล่างจากอรรถกถานี้นะคะ
เพราะดับวิญญาณที่ปรุงแต่งด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ นามและรูปที่พึงเกิดในสังสารวัฏฏ์อันไม่มีเบื้องต้น และที่สุด เว้นภพทั้ง ๗ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือ ในธรรมชาตินี้ ดังนี้
รบกวนอธิบายเพิ่มเติมนะคะ ว่า เพราะดับวิญญาณที่ปรุงแต่งด้วยโสตาปัตติมัคคญาณนั้นคืออะไร และ ภพ ทั้ง ๗ คืออะไร
และได้อ่านพระสูตรที่ชื่อ พาหิยสูตร จาก
การบรรลุธรรม ...พาหิยทารุจีริยะ
ด้านล่างสุดของพระสูตร พระองค์ท่านเปล่งอุทานว่า ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด
ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายยอมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ (สัจจะ ๔) แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์
ทำให้เข้าใจว่า สภาวะที่ว่า ดิน น้ำ ไฟ และลม ไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุ นั้น รวมไปถึงพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย เพราะพระองค์ท่านสรุปว่า ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์
รบกวนขยายความด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ ๖คำว่า วิญญาณที่ปรุงแต่งด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ เข้าใจว่าหมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ ของผู้ที่เป็นพระโสดาบัน จะเหลืออีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติเท่านั้นดังนั้นเมื่อโสตาปัตติมรรคเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ปฏิสนธิวิญญาณของบุคคลนั้นย่อมถูกปรุงแต่งให้เหลืออีกไม่เกิน ๗ ชาติ คือท่านจะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
คำว่า ดิน น้ำ ไฟ และลม ไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุ นั้น รวมถึงสังขารธรรมทั้งหมดไม่มีในพระนิพพาน สำหรับพระอรหันต์ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังเป็นไปกับขันธ์อยู่เพียงท่านดับกิเลสทั้งหมด เรียกว่ากิเลสนิพพาน แต่ท่านยังไม่เข้าถึงพระนิพพาน ต่อเมื่อท่านดับขันธปรินิพพานแล้ว โดยโวหาร เรียกว่า ท่านเข้าสู่พระนิพพาน ไม่มีขันธ์ใดๆ เหลืออีกเลย ชื่อว่า หลุดพ้นจากรูปและอรูป พ้นจากสุขและทุกข์ พ้นจากวัฏฏะ...
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่มีจริงๆ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นธรรมะ จิตทุกประเภทมีเหตุปัจจัยก็เกิด เกิดแล้วดับแล้วไม่เหลืออีกเลย เช่น จิตเห็นขณะนี้ เกิดแล้วดับ ไม่ใช่จิตเห็นขณะก่อน จิตได้ยินขณะนี้ ไม่ใช่จิตได้ยินเมื่อวานนี้ ฯลฯ
ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับคำอธิบายของท่านอาจารย์ ขอเรียนสอบถามเพิ่มเติมดังนี้นะคะ
นิพพาน เป็นภาวะของผู้เข้าถึงมิใช่หรือคะ... ตามความเข้าใจ (ซึ่งอาจจะผิด) จากการอ่าน 2 พระสูตรที่ยกมาด้านล่างนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายถึงภาวะนิพพาน ว่าบุคคลพึงปฏิบัติให้เข้าถึงได้ (ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่) เพราะพระองค์ทรงกล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่สมาบัติในขั้นไหนๆ และกล่าวว่าไม่ใช่การไป-มา-ตาย-เกิด และก็ไม่ใช่อารมณ์ใดๆ ด้วย ผู้ที่ได้ภาวะนี้ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (ในปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอยู่) ...
เลยสงสัยว่าหากเป็นการกล่าวถึง ภาวะของพระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระองค์ท่านจะกล่าวปฏิเสธสภาวะต่างๆ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดดังกล่าวทำไม และผู้ที่ไม่มีชีวิตจะรับรู้อารมณ์ได้อย่างไร?
หากความเข้าใจนี้ถูก... ขออนุญาตเรียนย้อนกลับไปยังคำถามแรกเริ่มเลยนะคะว่า... "เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้" นั้น เป็นการดับอย่างไร? ในนัยใด? ขอความกรุณาให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยค่ะ
พุทธดำรัส
สิ่ง สิ่งหนึ่งอันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่ ในสิ่งนั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ในสิ่งนั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่สามารถหยั่งลงได้ ในสิ่งนั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ นามรูปดับสนิทในสิ่งนี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้แล
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๙/๔๖๖/๔๓๑ เกวัฏฏสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งนั้นมีอยู่ เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญานัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีอันเดียวกับสิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา เราไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่ามีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้ดับไป และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์
ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๗๑/๒๔๒-๒๔๓ ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
เรียน ความเห็นที่ 11 ครับ
ก่อนที่จะไปไกล ขอความกรุณาทำความเข้าใจนิพพานก่อนคืออะไร ส่วนข้อความ ในพระสูตรต่างๆ ต้องอาศัยข้อความในอรรถกถา และข้อความในสูตรอื่นๆ ประกอบด้วย จะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
ขอเชิญคลิกอ่าน
นิพพานปรมัตถ์
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะที่ได้กรุณานำคำอธิบายของนิพพานมาให้ศึกษาหาก อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นั้นเป็น สภาพที่ดับกิเลส โดยที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ ข้อความด้านล่างที่ยกมากจาก "ธาตุสูตร" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ทุติยวรรค จะหมายความว่ากระไรคะ
และเหตุใด พระองค์ทรงตรัสบอกและสอนภิกษุ ถึงข้อปฏิบัติให้เข้าถึงอนุปาทาปรินิพพาน ขอความเมตตาจากท่านอาจารย์อธิบายด้วยค่ะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้ง หลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
และพระองค์ทรงตรัสสอนทางและข้อปฏิบัติให้เข้าถึงอนุปาทาปรินิพพาน
อนุปาทาปรินิพพานสูตร ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไรเธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
เรียน ความเห็นที่ 13
คำอธิบายในอรรถกถาท่านอธิบายว่า เวทนาจักดับ คือ ไม่มีปฏิสนธิอีก
ขอความบางตอนจาก
อรรถกถาธาตุสูตร
บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล.
บทว่า สพฺพเวทยิตานิ ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมี สุขเวทนาเป็นต้น. อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนาท่านละได้ก่อนแล้ว.
บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว.
บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็น ด้วยความสงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือ จักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น จักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ. ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อว่า เวทยิตะ อนึ่งคำว่าอนุปาทาปรินิพพาน มีความหมายเช่นเดียวกันกับ อนุปาทิเสสนิพพานคือการดับโดยไม่มีเหลือ ได้แก่การตายของพระอรหันต์ (ปรินิพพาน)
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่กรุณาอธิบายเพิ่มเติม และยกอรรถกถามาประกอบอยากกราบเรียนท่านอาจารย์ด้วยความเคารพว่า การตีความจากการอ่านพระสูตรของดิฉันต่างจากของท่านอาจารย์ เพราะดิฉันตีความว่า นิพพาน คือ ภาวะ ที่พระอรหันต์ท่านบรรลุ แต่ มี 2 แบบ ตามการสะสมอินทรีย์บารมี ซึ่งอ่อนแก่แตกต่างกัน
ดิฉันตีความว่า....
1. สอุปาทิเสสนิพพาน ยังคงมีอุปาทิเหลืออยู่ คือ ยังรู้สึกได้ถึงเวทนา แต่เวทนานั้นไม่มีผลกับท่าน
2. อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านดับได้ตั้งแต่ผัสสะ ดังนั้น เวทนาท่านจึงดับเย็น คือ เป็นอุเบกขาแต่ทั้ง 2 แบบนั้น ยังมีชีวิตอยู่ทั้งคู่
และดิฉันเชื่อมั่นว่าการที่พระผู้มีพระภาคท่านทรงอธิบายโดยละเอียดในทุกพระสูตรเกี่ยวกับปฏิปทาให้แจ้งซึ่งอนุปาทิเสสนิพพาน นั้น เพื่อต้องการให้ผู้ฟังธรรมีกถาของพระองค์ท่านรู้ได้ ทำให้ถึงได้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ได้ตอนไม่มีชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งไม่ค่อยจะสมเหตุสมผล เพราะดิฉันเชื่อว่า คำสอนของพระองค์ท่านนั้น ต้องการให้ผู้ฟัง ประพฤติปฏิบัติได้ และได้ประโยชน์ในทิฏฐธรรม และเท่าที่อ่านพระสูตรมา (อาจจะไม่มากนัก) ดิฉันยังไม่เคยผ่านตาว่าท่านอธิบายตรงๆ ว่า...ผู้ที่บรรลุอรหันต์องค์นั้น องค์นี้ ขณะนี้บรรลุ สอุปาทิเสสนิพานแล้ว และได้ดับขันธ์อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อนั้น เมื่อนี้ แต่เท่าที่อ่าน เคยเจอมีที่พระองค์ท่านตรัสตรงๆ เลยว่า เวทนาจักดับเย็นได้เลยใน ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น
๖. อัสสชิสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา
[๒๒๔] ดูกรอัสสชิ อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและ ไส้เชื้อ ไม่มีก็พึงดับ เพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด. ดูกรอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวย เวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
สูตรที่ ๕ มหาวรรค จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๖๘/๑๙๕,
ดูก่อนวัปปะ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว...; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว..; ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...; ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว...; รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุดรอบอยู่; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่; เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย" ดังนี้.
๑. ปริวีมังสนสูตร
[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนาก็รู้ชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือ แล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้วจักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สอุปาทิเสสสูตร ที่ว่า...
ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคล ผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะหรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ
ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ
ดิฉันเชื่อเหลือเกิน ว่าการที่พระองค์ท่านอธิบายพระสารีบุตรอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง นั้น ไม่ใช่เป็นเปรียบเทียบการบรรลุพระอรหันต์แบบสอุปาทิเสฯ กับ อนุปาทิเสฯ ว่ามี ชีวิตอยู่ กับไม่มีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน หากเป็นแค่การอธิบายว่ามีชีวิตอยู่ กับ ตายไป แล้ว ทำไมผู้ฟังถึงจะไม่เข้าใจ
นี้คือเหตุผลที่ทำให้ดิฉันตีความดังกล่าวค่ะ อาจจะผิดก็ได้ เพราะดิฉันไม่ได้ศึกษา พระอภิธรรมมาอย่างท่านอาจารย์ แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ มากนะคะ ที่ได้ให้ความรู้ในมุมของท่าน
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อีกครั้งค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 15
ขอเรียนว่า ท่านเข้าใจ อนุปาทิเสสนิพพานไม่ถูกครับ
เพราะการอ่านพระไตรปิฎกเพียงพระสูตร เพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถา พร้อมทั้งพระอภิธรรมพร้อมทั้งอรรถกถาด้วย จึงจะชัดเจน อนึ่ง คนในยุคนี้ จะตีความเองจากพระสูตรไม่ได้ ต้องอาศัยพระอรรถกถาจารย์รุ่นแรกๆ ที่ท่านอยู่ใกล้สมัยครั้งพุทธกาล และท่านเหล่านั้นท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านอธิบายได้อย่างละเอียดผู้ศึกษาในยุดนี้ จึงจะพอเข้าใจได้
" ... พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมีความละเอียดลึกซึ้งและยากมากทั้งสามปิฎก บางคำแม้ง่าย แต่ความหมายไม่ได้ง่ายตามนั้น จึงไม่ควรอ่านแต่ผู้เดียว โดยไม่มีการไต่ถาม ตรวจสอบ เทียบเคียงโดยตรงจากภาษาบาลีและอรรถกถา จากท่านผู้รู้จริงๆ โดยละเอียดในทุกถ้อยคำที่สงสัย เพื่อความรู้ ความเข้าใจ ที่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากพระธรรม ... "
(คัดจากกระดานธรรมทัศนะ)
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียนคุณคิดไม่ตกครับ
ขอเรียนว่า ที่ผมศึกษาอยู่จะถือเอาข้อความจากพระบาลีและอรรถกถาเป็นหลัก ถ้าคำอธิบายของอาจารย์รุ่นหลังขัดแย้งกับพระบาลีและอรรถกถา ไม่ควรถือเอาและข้อความในพระบาลีและพระอรรถกถาจะไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งคำอธิบายธาตุสูตรจากอรรถกถาก็ชัดเจนอยู่แล้ว นิพพานประเภทที่สอง คำว่าเย็นสนิท หมายถึง การไม่เกิดขึ้นอีก คือไม่มีปฏิสนธิอีก คือการปรินิพพานของพระอรหันต์ ในเถรวาทนั้นเป็นการดับ ขันธ์ทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณมากสำหรับคำอธิบายและยืนยันค่ะ ดิฉันขอเรียนถามความเห็นของท่านอาจารย์เพิ่มเติม เพื่อให้หายข้องใจ ที่ยังคงเหลืออยู่ ดังนี้ค่ะ....เหตุใดพระผู้มีพระภาคถึงตรัสสอนภิกษุ ถึง...
1. ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ซึ่งก็คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นั่นเอง อริยมรรคนี้ ท่านทรงสอนพุทธบริษัทสี่ โดยทั่วไปไม่ใช่หรือ 2. เหตุใดพระองค์ท่านจึงไม่ตรัสสอน ข้อปฏิบัติเพื่อ สอุปาทาปรินิพพาน เลย ทั้งๆ ที่ผู้ที่ได้สอุปา ฯ นั้น ยังดำรงชีวิตอยู่3. บทสนทนา ระหว่าง ท่านพระปุณณมันตานีบุตร และ ท่านพระสารีบุตร ใน รถวินีตสูตร มีใจความดังนี้... ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน. สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
คำถามคือ เหตุใด ท่านพระปุณณมันตานีบุตร จึงไม่กล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อสอุปาทิเสสนิพพาน เพราะท่านยังมีชีวิตอยู่แท้ๆ
4. เหตุใด ท่านพระสารีบุตร จึงถาม อนุปาทาปรินิพพาน ว่าเป็น วิสุทธิ ๗ หรือไม่ เพราะการได้มาซึ่ง วิสุทธิ ๗ นั้น ต้องปฏิบัติเอาตอนมีชิวิต ท่านก็ควรจะถามว่า สอุปาทาปรินิพพาน ว่าเป็น วิสุทธิ ๗ หรือไม่ ไม่ใช่หรือ?
5. อรรถกถา ในพระสูตรนี้ มีว่า "จริงอยู่ พระอรหัตตผลนั้นหาประกอบด้วยอุปาทาน ยึดธรรมอะไรไม่ และท่านกล่าวว่าปรินิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งกิเลสปรินิพพาน. ส่วนอาจารย์ผู้ถือปัจจยุปาทานเรียกปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ที่ไม่เกิดขึ้นโดยปัจจัย ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่อมตธาตุนั่นเองว่าอนุปาทาปรินิพพาน ในคำว่า อนุปาทาปรินิพพาน. นี้เป็นที่สุด นี้เป็นเงื่อนปลาย นี้เป็นที่จบ ด้วยว่า การอยู่จบพรหมจรรย์ของผู้ถือ อปัจจย ปรินิพพาน ย่อมชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่าอนุปาทาปรินิพพาน.
คำถามคือ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ก็คือ อนุปาทาปรินิพพาน ไม่ใช่หรือ
กราบขอความเมตตาและขอรบกวนท่านอาจารย์ เป็นอย่างสูง ได้โปรดช่วยเหลือ กรุณาอธิบายเพื่อให้หายสงสัยไปเลยค่ะ ดิฉันและเพื่อนๆ รวมถึงผู้อ่านกระดานนี้ คงอยากได้ความกระจ่างแจ่มแจ้งเป็นที่สุดค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
เรียนคุณคิดไม่ตก
๑. ถูกต้องครับ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน คืออริยมรรคมีองค์ ๘ และสอนแก่พุทธบริษัททั้งสี่ ตามสมควรแก่ฐานะ๒. ถ้าจะกล่าวว่า พระธรรมที่แสดง เพื่อ สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ไม่ผิด เพราะก่อนที่จะถึงอนุปาทาปรินิพพาน ย่อมถึง สอุปาทิเสสนิพพานก่อน เว้นแต่บางท่านที่กิเลสดับพร้อมกับการปริพพาน๓.การที่ท่านกล่าว่า เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เป็นการกล่าวแบบสูงสุด เพราะนั่นคือที่สุดของทุกข์ ที่สุดของวัฏฏะจริงๆ ๔.ก็เพราะญาณทัสสนวิสุทธิกับอนุปาทาปรินิพพานเป็นคนละอย่างกัน เพราะญาณทัสสนวิสุทธิ คืออรหันตมรรค เป็นสอุปาทิเสนิพพาน เมื่อตาย จึงเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ดับโดยไม่เหลือ...๕.ข้อความที่ท่านยกมาก็ชัดเจนอยู่แล้วครับ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ก็คือ อนุปาทาปรินิพพาน ถ้าท่านยังมีชีวิตยังมีปัจจัยปรุงแต่งให้ จิต เจตสิก รูปหรือ ขันธ์ห้าเป็นไปอยู่ เมื่อท่านดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่มีปัจจัยอะไรปรุงแต่งเลย ไม่มีขันธ์เหลือ..
และขอเพิ่มเติมอีกว่า ในบางพระสูตร พระพุทธองค์แสดงว่า อนุปาทาปรินิพพาน
และนิพพาน หมายถึงการบรรลุพระอรหันต์ก็มี แต่ความหมายทั่วไป คำว่า นิพพาน
และอนุปาทาปรินิพพาน ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป ..
อ่านคำตอบของท่านอาจารย์ด้วยความปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง คำตอบของท่านอาจารย์แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความไม่ยึดติดในตัวตน และโดยเฉพาะ.. ในสถานะของความเป็นอาจารย์ผู้ให้ธรรมะเป็นวิทยาทาน.... ดิฉันขอคารวะท่านอาจารย์จากใจจริงค่ะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบังเกิดความปริวิตกในพระทัยว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต....ดิฉันขออนุญาติอีกครั้ง ขอยกท่อนสรุปที่พระองค์ท่านกล่าวกะท่านสารีบุตร ใน สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ ว่า...
ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ...เพราะความหลากหลายของบุคคลที่เป็นสอุปาทืเสสะ มีถึง ๙ จำพวก จึงเป็นเหตุให้ยากแก่การเข้าใจจริงๆ นั่นแหละ พระองค์จึงทรงกล่าวสรุปกะท่านสารีบุตร ดังที่ยกมา..
และในอรรรถกา ของพระสูตรนี้ กล่าวอธิบายไว้ว่า....
บทว่า สอุปาทิเสสํ ได้แก่ เป็นผู้ยังมีเบญจขันธ์เหลือ.
บทว่า อนุปาทิเสสํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่เหลืออุปาทาน คือหมดความยึดถือ.
ทำให้ดิฉัน (คิดว่า) เข้าใจในเรื่อง เรื่องวิสุทธิ (รถวินีตสูตร) ที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตร กล่าวกับท่านพระสารีบุตรว่า " ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน " นั้น คือการที่ท่านได้ใช้ วิสุทธิ ๗ เป็นข้อประพฤติปฎิบัติ ท่านกล่าวอุปมาว่า วิสุทธิเหล่านี้เปรียบเสือนเหมือนรถ ๗ ผลัดที่เป็นปัจจัยส่งให้ถึงที่หมาย คือ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้ไม่เหลืออุปาทาน คือหมดความยึดถือ และเป็นการอยู่จบพรหมจรรย์ โดยไม่มีกิจใดๆ ที่ต้องทำอีกแล้ว ของท่านพระปุณณะ นั่นเอง... (อ้างอิงอรรถกถา.. ในคำว่า อนุปาทาปรินิพพาน. นี้เป็นที่สุด นี้เป็นเงื่อนปลาย นี้เป็นที่จบ ด้วยว่า การอยู่จบพรหมจรรย์ของผู้ถือ อปัจจย ปรินิพพาน ย่อมชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่าอนุปาทาปรินิพพาน.)
ทำให้ย้อนนึกถึง สภาวะของพระอรหันต์ ที่พระองค์กล่าวว่า "เวทนาเป็นของดับเย็นในอัตตภาพ"... ดิฉัน ยังเข้าไม่ถึง สภาวะนี้ (คงอีกนานมาก) แต่ได้เคยไปกราบครูบาอาจารย์บางองค์ สัมผัสได้ถึงความสงบ เยือกเย็น และความเมตตา แม้เพียงแค่เข้าใกล้.... ก็เลยเทียบเคียงเอาว่าที่พระผู้มีพระภาคกล่าวสอนภิกษุในหลากหลายพระสูตรที่ว่า....ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุดรอบอยู่; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่; เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย" ดังนี้. เป็นเช่นไร...
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความกระจ่าง ความชัดเจน ความถูกต้อง เพื่อการดำรงอยู่ของพระสัทธรรม และ ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญาของท่านผู้อ่านกระดานสนทนานี้ ซึ่งดิฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการสะสมความรู้ถูก เห็นถูก จะเป็นปัจจัยให้เข้าใจพระธรรมได้ง่ายขึ้น เมื่อได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง อีกในอนาคตกาลกราบขอบพระครั้งอีกครั้งในความเมตตากรุณาของท่านอาจารย์ค่ะ
เท่าที่อ่านมายาวพอควร....ขอแสดงความคิดเห็น เพิ่มเติม ..ดังนี้ ว่า....
" ควรศืกษา พระอภิธรรม ควบคู่ไปกับ การศืกษา พระสูตร ด้วย จะดีกว่าไหม?"
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า...พระอภิธรรมนั้น เป็น พระปัญญาตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นหลักธรรมที่ ละเอียด ลุ่มลึก ครอบคลุม กว้างขวาง ในทุกแง่มุม....นับว่าเป็น ขุมปัญญาอันสูงสุด ของมนุษย์.......
ซึ่งหากคุณ 'คิดไม่ตก" ได้ศึกษา พระอภิธรรม อย่างเข้าใจ โดยละเอียด....อาจทำให้ ....เมื่อคุณกลับ มาอ่าน พระสูตรต่างๆ คุณจะ เข้าใจ ใน อรรถ พยัญชนะ และ นัย ของพระสูตร ต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ก็ได้ รวมทั้ง อาจทำให้คุณ สามารถจำแนกแยกแยะ ความรู้ ความเข้าใจ ทางธรรม ได้อย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล พิจารณาธรรมได้ สอดคล้อง กัน ทั้ง พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม ด้วยก็ได้ค่ะ........
เรียนคุณคิดไม่ตกครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ อนึ่งขอเรียนเพิ่มเติมในเรื่อง เย็น ข้อความจากอรรถกถาเกวัฏฏสูตร บางตอนท่านอธิบายว่า ..จักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ.. และไม่ใช่เวทนาเท่านั้นแม้ขันธ์อื่นที่เหลือก็ดับเหมือนกัน ดังข้อความว่า.. บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็น ด้วยความ สงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือ จักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น จักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ. ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อว่า เวทยิตะ...
ส่วนข้อความที่ท่านยกมาจาก สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ เรื่องสอุปาทิเสสะ กับอนุปาทิเสสะ ถูกต้องตามนัยพระสูตรนี้ เพราะทรงแสดงพระเสขบุคคลเป็นสอุปาทิเสสะ ๙ จำพวก ส่วนพระอรหันต์ ในสูตรนี้ไม่ได้แสดงไว้ และในอรรถกถาอธิบายอนุปาทิเสสะว่าคือหมดความยึดถือ. ซึ่งหมายถึงพระอรหันต์
และขอยกข้อความในอรรถกถาที่อธิบายอนุปาทาปรินิพพาน ดังนี้ อรรถกถาปุริสคติสูตรที่ ๒
บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
อรรถกถาปฐมโกสลสูตรที่ ๙
บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานํ ได้แก่ อปัจจยปรินิพพาน นิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
อรรถกถาอัทธาสูตรที่ ๔
บทว่า เวทคู ความว่า ผู้ถึงเวท (จบไตรเพท) เพราะถึงฝั่งแห่งอริยสัจ ๔
ที่จะพึงรู้. ผู้มีคุณอย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ย่อมไม่ชื่อว่าเข้าถึงการนับว่า
เป็นมนุษย์ หรือเทวดา เพราะไม่มีภพใหม่ในบรรดาภพทั้งหลาย
ภพไหนๆ อีกต่อไป คือถึงความเป็นผู้หาบัญญัติไม่ได้เลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาลง ด้วยอนุปาทาปรินิพพาน ..
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้กรุณาให้คำอธิบายเพิ่มเติมต่ะ....
ดิฉันชั่งใจอยู่หลายรอบว่าควรเสนอความคิดเห็นนี้หรือไม่ เพราะรู้ดีว่า ผู้ที่อ่านกระดานนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงของผู้ที่ศึกษาอภิธรรม และยึดถือคำสอนพระอภิธรรมเป็นหลักใหญ่ ส่วนดิฉันไม่เคยศึกษามาก่อน ก็ขอให้ถือเสียว่า ความคิดเห็นนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลก็แล้วกัน ซึ่งคงจะขัดแย้งกับคนส่วนใหญ่ในกระดานนี้เป็นแน่....
แรกเริ่มที่ดิฉันได้ส่งคำถามมา ดิฉันไม่ทราบมาก่อนว่า พระอภิธรรมสอนว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การดับขันธ์ (ตาย) ของพระอรหันต์ ดังนั้น การสนทนาก็เลยแตกแขนงบานปลายออกไปยึดยาว กว่าจะเห็นพ้องต้องกันในระดับนึงก็ล่วงไปจนถึง ความคิดเห็นที่ 24 จากการตอบของท่านอาจารย์ (ขออภัยเป็นอย่างสูงที่เอ่ยถึง) ดิฉันขอพระคุณ คุณ booms อย่างยิ่ง ที่แนะนำให้ดิฉันศึกษาพระอภิธรรม แต่ดิฉันขออนุญาตที่จะปฏิเสธ เพราะดิฉันมีคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นพุทธพจน์โดยตรง (พระธรรม พระวินัย) ให้ได้ศึกษาอยู่แล้ว ในตอนแรกดิฉันก็ไม่ได้มีความคิดปฏิเสธ แต่เพราะเหตุที่ว่าดิฉันไปอ่านเจอหลายๆ คำสอน ที่ไม่สอดคล้องตรงกับพุทธพจน์ เช่น สมาธิในอรรถกถาแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ขณิก อุปจาร อัปปนา แต่พระผู้มีพระภาคทรงสอน สัมมาสมาธิ ดังนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน.... เธอบรรลุทุติยฌาน.... บรรลุตติยฌาน...บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข.... นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.เรื่องอนุปาทิเสสนิพพาน พระอภิธรรมสอน ว่าเป็นการสิ้นชีวิตของพระอรหันต์ แต่เท่าที่อ่านพระสูตรมา ดิฉันก็ไม่เคยเห็นว่าพระองค์ทรงกล่าวถึงว่าอนุปาทิเสสนิพาน คือ การตายของพระอรหันต์ ดังที่เรียนยกตัวอย่างมาในความคิดเห็นก่อนๆ ขออนุญาตยกตัวอย่างพระสูตรที่เป็นพุทธพจน์นี้อีกรอบ ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะพระองค์ท่านก็กล่าวชัดเจนแจ่มแจ้งว่า บุคคลผู้เป็นอนุปา ฯ >> บุคคล ก็คือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย... ก็เลยขัดกับพระอภิธรรมอีก อย่างที่แสดงความคิดเห็นไปว่า ดิฉันเชื่อว่าพุทธประสงค์ในการสั่งสอนของพระองค์ ก็เพื่อให้พุทธบริษัทสี่ทำได้จริง เห็นผลจริง ได้ประโยชน์จริงในปัจจุบัน และรวมทั้งถึงเรื่อง "เจตสิก" ซึ่งดิฉันยังไม่เคยอ่านเจอว่าเป็นพุทธพจน์....ดิฉันขอเรียนว่า ดิฉันมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ศรัทธาพระองค์ท่านอย่างที่สุด เชื่อมั่นในคำสอนของพระองค์ท่านอย่างที่สุด พระองค์ท่านเป็นศาสดาของพรหม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านตรัสเสมอในเกือบทุกพระสูตรว่า....เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง... ไม่เชื่อคำสอนที่เป็นพระพุทธพจน์ของพระองค์ท่านแล้วจะเชื่อใคร ท่านทรงย้ำอีกว่า....ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.ดิฉันถือว่าดิฉันเป็นพุทธสาวก ย่อมเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ถือเอาคำสอนที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติ แน่นอน ดิฉันอาจไม่ได้เข้าใจแจ่มแจ้งในทุกๆ พระสูตร แต่อาศัยการพิจารณา ปฏิบัติควบคู่ไปด้วย อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญอีก ก็เลยพอจะคุ้นเคยกับสำนวนของพระองค์ท่านมากขึ้น (ดิฉันถือคติที่ว่า “ไม่เข้าใจ ดีกว่า เข้าใจผิด”) ดิฉันไม่ได้กางตำราตอบแบบวิชาการ ดิฉันอาศัยความเข้าใจ เทียบเคียงหลายๆ พระสูตร ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์พุทธประสงค์ว่าในพระสูตรนั้น ว่าทำไมท่านถึงสอนอย่างนั้น... ดิฉันเข้าใจอย่างไรก็แสดงความเห็นอย่างนั้น ซึ่งก็ต้องสวนทางกับผู้ศึกษาพระอภิธรรมอยู่ดี เพราะดิฉันตีความจากพุทธพจน์ ส่วนผู้ศึกษาพระอภิธรรมก็ยึดคำสอนที่กล่าวไว้ในอภิธรรมเป็นหลัก (ซึ่งจากตัวอย่างบางตัวอย่างที่ยกมา ก็มีความแตกต่างกันแล้ว) ดิฉันเพิ่งเป็นสมาชิกในกระดานนี้ และเท่าที่อ่านดูหัวข้อสนทนาจากหลายๆ ท่าน ดิฉันเห็นความราบรื่น ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีจุดร่วมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับการแสดงความเห็นของดิฉันโดยสิ้นเชิง มันช่างดูแปลกแยก แตกต่าง ไม่ลงรอยกัน ซึ่งดิฉันเองก็ไม่ได้ยินดีเลย ดูเป็นการโต้วาทะ เอาชนะกันยังไงยังงั้น ดิฉันจึงตระหนักว่า เพราะไม่ได้ยึดตำราเดียวกัน ความเห็นเลยเป็นเส้นขนานหาทางบรรจบไม่ได้ จึงขอยุติการแสดงความเห็นในกระดานสนทนานี้ เพราะไม่อยากให้บรรยากาศของกระดานสนทนานี้เสียไป ความคิดเห็นของดิฉันขัดกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในกระดานนี้ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ ความคิดเห็นก็เป็นแค่ความคิดเห็น เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งแนวทางของใครก็แนวทางของคนนั้น ไม่สามารถบังคับกันได้ หากศรัทธาไม่เกิดกราบขออภัย และ ขอขอบพระคุณที่ให้ดิฉันได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
เรียน คุณคิดไม่ตก ครับ
ผมเห็นว่า การที่ทุกท่านสนใจในพระธรรมย่อมเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา การศึกษา และ สนทนาธรรม ในหนทางที่ถูกต้อง ก็เพื่อจุดประสงค์ที่แท้จริง คือความเข้าใจธรรมที่มีอยู่ ในทุกๆ ขณะนี้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อ ลาภ ยศชื่อเสียง หรือ ศึกษาไปเพื่อประโยชน์อื่นใดไม่ หากคุณ คิดไม่ตก มีความสนใจใฝ่รู้ เพื่อประโยชน์ในความเข้าใจดังกล่าวแล้ว ผมเห็นว่า จะตรงกันกับพระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ ที่ทรงตรัสสอนความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ให้พวกเราได้เข้าใจได้ เพื่อความหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์นี้ ในวันหนึ่ง แม้จะยาวนานเพียงไหน ก็ไม่มีตัวตน ที่จะไปกะเกณฑ์ได้ เป็นแต่การสั่งสม เจริญเหตุคือ กุศลทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การอบรมเจริญปัญญา เพื่อการรู้ถูก เห็นถูก เข้าใจถูก ในสภาพธรรมทั้งหลายในขณะนี้เอง ว่าหาใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆ ไม่ เป็นแต่ "ธรรม" เท่านั้น ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วดับไปในทุกๆ ขณะ ไม่หวนกลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ถึง ๔๕ พรรษานั้น ยังมีอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งสามปิฏก คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ให้พวกเราได้ศึกษา และ ข้อความทั้งสามปิฏกนั้น ก็สอดคล้องต้องกัน ไม่ได้ขัดแย้งกันอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ด้วยเหตุที่พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้น ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นตามได้ยาก ผู้ศึกษาจึงควรศึกษาด้วยความไม่ประมาท เพราะหากศึกษาผิด หรือเข้าใจผิด ก็ย่อมเป็นโทษแก่ตนนั้นเอง หาใช่ใครอื่นไม่ ผมในฐานะผู้ศึกษาอยู่เช่นกัน ก็ขอสนทนาด้วยเพียงเท่านี้นะครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการศึกษาธรรมก็คือเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกต้องตรงตามความเป็น จริง จึงต้องมีการสนทนากันแลกเปลี่ยนความคิดตามเหตุผลเพื่อให้เข้าใจถูกต้องอัน เป็นการเกื้อกูลกันในพระธรรมวินัยนี้และเป็นการรักษาพระศาสนาด้วยครับ การสนทนา ธรรมตามกาลจึงเป็นความดี
ประเด็นปัญหาที่สนทนากันตอนนี้คือเรื่อง นิพพาน นิพพานที่เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทานิพพาน ประเด็นก็คือ อนุปาทานิพพานนั้นคืออย่างไร ยังมีชีวิตอยู่หรือ ปรินิพพานดับขันธ์ไม่เหลือแล้ว
สำหรับประเด็นนี้นั้น ตามที่ผู้ถามได้แสดงความคิดเห็นว่า พระอภิธรรมแสดงว่าอนุปาทานิพพานนั้นเป็นการที่ดับขันธ์ไม่เหลืออีก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่อภิธรรมเท่านั้นแม้พระสูตรก็แสดงในเรื่องอนุปาทาปรินิพพานว่าเป็นการดับขันธ์ไม่เหลือ ซึ่งข้าพเจ้าจะได้ยกพระสูตรมาแสดงต่อไปในประเด็นตรงนี้ ดังนั้นประเด็นปัญหาเรื่องพระอภิธรรมว่าจริงหรือไม่จริงอย่างไรจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นคืออนุปาทานิพพานที่แสดงว่าเป็นการดับขันธ์ไม่เหลือมีในพระสูตรมีหรือไม่
อีกประเด็นที่ผู้ถามได้แสดงว่าอนุปาทานิพพานคือต้องยังมีชีวิตอยู่ โดยได้ยกพระสูตรที่ว่า
ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุดรอบอยู่; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่; เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย" ดังนี้. เป็นเช่นไร... ซึ่งจากข้อความที่ท่ายกมานั้น แสดงว่า เวทนาท่านไม่เพลิดเพลินคือไม่ถูกตัณหาเกาะเกี่ยวได้อีก เพราะผู้ยังมีกิเลสก็ยังยินดีติดข้องในเวทนาที่เกิดขึ้น แต่ผู้ที่ดับกิเลสแล้วย่อมไม่ยินดีติดข้องในเวทนาที่เกิดขึ้น
จักเป็นของเย็นในอัตภาพนี้ หมายความว่า คือในอนาคตก็จะดับสังขารทั้งหลาย ทั้งเวทนาและสังขารธรรมอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่แค่เวทนาเท่านั้น รวมทั้งขันธ์ทั้ง 5 ด้วยครับเพราะฉะนั้นอนุปาทานิพพานจึงเป็นนิพพานที่ดับขันธ์ทั้ง 5
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 309
อรรถกถา ธาตุสูตร
บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล.
บทว่า สพฺพเวทยิตานิ ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมี สุขเวทนา เป็นต้น. อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนาท่านละได้ก่อนแล้ว.
บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว.
บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็น ด้วยความสงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความ กระวนกระวายในสังขาร คือ จักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนา อย่างเดียวเท่านั้น จักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ. ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อว่า เวทยิตะ.
ข้าพเจ้าจะข้อความที่แสดงว่าอนุปาทานิพพานหมายถึงนิพพานที่ดับขันธ์ 5 ไม่เหลือ ที่มีในพระสูตรที่ไม่ใช่มีแต่พระอภิธรรมเท่านั้นครับ พร้อมคำอธิบาย
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 362
เรื่องภิกษุอาคันตุกะ
สองบทว่า เต โลเก เป็นต้น ความว่า ชนเหล่าชั้นชื่อว่าดับสนิทแล้ว ในขันธาทิโลกนี้ คือปรินิพพานแล้ว ด้วยปรินิพพาน ๒ อย่าง คือ ด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะกิเลสวัฏฏ์อันตนให้สิ้นไปแล้ว ตั้งแต่เวลาที่บรรลุพระอรหัต และด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า อนุปาทิเสส เพราะขันธวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ด้วยดับจริมจิต คือถึงความหาบัญญัติไม่ได้ ดังประทีปหาเชื้อมิได้ ฉะนั้น.
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 89
ในบทว่า ปรินิพฺพุโต นี้ปรินิพพาน มี ๒ คือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ขันธปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 898
อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส
บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ เพราะนิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ในนิพพานธาตุ ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือ ยึดถืออย่างแรงกล้าว่า เรา ของเรา.
บทว่า อุปาทิ นี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ. ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่. ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะคือขันธ์ ๕ เหลืออยู่. ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพานธาตุนี้.
จากข้อความในพระสูตรที่ไม่ใช่พระอภิธรรมในสูตรนี้ได้อธิบายไว้ว่า อุปาทิ หมายถึง ขันธ์ 5 สอุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นไปกับอุปาทิคือขันธ์ 5 นั่นคือดับกิเลสแล้ว แต่ยังมีขันธ์ 5 อยู่ คือ มีชีวิตอยู่ แต่อนุปาทาทิเสสนิพพาน คือ ไม่มีอุปาทิ นั่นก็คือไม่มีขันธ์ 5 เพราะอุปาทิ หมายถึงขันธ์ 5 เพราะฉะนั้น เป็นการปรินิพพานที่ดับขันธ์ ไม่เหลือแล้วนั่นเองครับ (อนุปาทาทิเสสนิพพาน)
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 734
บทว่า ยญฺจ รตฺตึ อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยาปรินิพฺพายติ (และในราตรีใด ทรงปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) ความว่า ก็ในราตรีที่มีพระจันทร์เพ็ญในวิสาขมาสใดนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในระหว่างนางรังทั้งคู่ ที่สาลวโนทยานอันเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวมัลละ ในเมืองกุสินารา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออภัยที่ต้องกลับคำพูด ขอนุญาตกลับมาแสดงความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
ดิฉันขอขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นของทุกๆ ท่านด้วยใจจริง แต่อยากจะขอวิงวอนให้ท่านทดลองอ่านเฉพาะพระพุทธพจน์ที่ไม่ต้องยกอรรถกถาประกอบจะได้ไหม พระพุทธพจน์เป็นการแปลตรงๆ จากพระบาลี แปลจากคำตรัสสอนจากพระโอษฐ์ของพระสัมมาสัมพุทธจ้าโดยตรง ไม่ได้แต่งขึ้นใหม่ ไม่ปนความเห็นของอาจารย์ท่านไหนๆ
อยากขอวิงวอนทุกท่านให้เก็บอรรถกถาเอาไว้ก่อน อยากเรียนเชิญชวนให้ท่านอ่านเฉพาะคำตรัสที่เป็นพระพุทธพจน์ล้วนๆ จะได้ไหม แล้วลองพิจารณาดูว่า ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ยากเกินกว่าจะเข้าใจไหม ซับซ้อนเกินไปไหม
โกศลสูตรที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ พระมหากัจจายนเถระ เป็นพระพุทธสาวก ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถอธิบายธรรมที่ย่อให้พิสดาร ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ พระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำภิกษุเหล่านั้นในตอนท้ายว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะทราบให้แน่ชัด ก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ขนาดพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่พระผู้มีพาะภาคตรัสสรรเสริญว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความย่อให้พิสดาร ยังไม่บัญญัติคำสอนของท่านเลย ท่านกล่าวว่าหากพระพุทธเจ้าไม่ทรงรับรอง หรือ กล่าวแก้ก็ให้จำคำที่พระพุทธเจ้ากล่าวแก้นั้นแทน
แต่ปัจจุบันนี้ พระพุทธเจ้าไม่มีพระชนม์ชีพอยู่ เหลืออยู่เฉพาะพระธรรม และพระวินัยที่เป็นศาสดาแทนพระองค์ท่านเท่านั้น คำสอนที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ ใครเล่าจะเป็นผู้ตรวจแก้ ใครเป็นผู้รับรอง มีเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่จะทำหน้าที่นี้ได้... เพราะพระองค์ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทนและอีกหนึ่งในหลายๆ คำเตือนที่พระพุทธองค์ทรงฝากย้ำไว้....
[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ พวกเราที่ปฏิญาณตนว่าเป็นพุทธสาวก เหตุใดจึงไม่ทรงจำคำสอนของพระองค์ท่าน ทำไมถึงไม่เอาเฉพาะพระพุทธพจน์มาศึกษา สอบสวน ไต่ถาม เพื่อการดำรงอยู่ของพระพุทธพจน์แท้ๆ สืบไป
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ
ขอเรียนชี้แจงจุดยืนของดิฉัน ที่ประกาศความเป็นพุทธสาวก ที่จะทำตามพระโอวาทย์อย่างสุดความสามารถ มา ณ โอกาสนี้
พระตถาคตเป็นศาสดาของพรหม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่จำเป็นต้องศึกษาคำสอนของอาจารย์ท่านอื่นอีกแล้ว
กราบขอบพระคุณ
เรียน คุณคิดไม่ตกครับ
ก่อนอื่นผมอยากจะขอให้พิจารณาว่าอรรถกถาจารย์คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร มีมาตั้งแต่ยุคไหน คนในยุคนี้จะเข้าใจอรรถแห่งพระธรรมได้ดีกว่าอรรถกถาหรือ แน่ใจหรือว่าเราเข้าใจอรรถของพระธรรมจริงๆ ขณะที่ปฏิเสธคำอธิบายในอรรถกถา สภาพจิตเป็นอกุศลหรือกุศล มีคุณหรือมีโทษ เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์... และที่ท่านยกมหาปเทศมาถูกต้องแล้วครับ ทุกวันนี้พระไตรปิฎกเป็นหลักในการเทียบเคียงพระธรรมวินัย แต่เพราะเหตุใดบางท่านจึงปฏิเสธพระอภิธรรม...
ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ท่านอาจารย์ได้สอบถามมา ขอเรียนอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้ ก่อนอื่นผมอยากจะขอให้พิจารณาว่าอรรถกถาจารย์คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร มีมาตั้งแต่ยุคไหน
- ดิฉันทราบแต่เพียงว่า ท่านเป็นพระภิกษุ แต่รายละเอียดอื่นๆ ไม่ทราบค่ะ ดิฉันศึกษาแต่พุทธประวัติค่ะ คนในยุคนี้จะเข้าใจอรรถแห่งพระธรรมได้ดีกว่าอรรถกถาหรือ แน่ใจหรือว่าเราเข้าใจอรรถของพระธรรมจริงๆ
- ท่านอาจารย์เชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าไหมคะ? ท่านทรงสอนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย เป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก) เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ)
ท่านได้ทรงสอนวิธีการเอาไว้เสร็จสรรพ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่ง ลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวน เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ได้ปฏิบัติตามหรือยังคะ หรือว่าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลถึงแนะนำให้ศึกษาอาาถกถาคะ ดิฉันเชื่อมั่นว่าหากเรามีความเพียรที่จะกระทำตามวิธีของพระองค์ท่านอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความเชื่อมั่นและอุตสาหะแล้ว ต้องเข้าใจอรรถของพระธรรมจริงๆ อย่างที่ท่านทรงตรัสไว้แน่นอน ขอให้ทำตามวิธีของท่านจริงๆ เถอะ เราต้อง ย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย พวกเราได้กระทำตามจริงๆ แล้วหรือยัง พระองค์ท่านกล่าวคำไหน ก็คำนั้น ไม่เป็นอื่นไปได้ค่ะ ขณะที่ปฏิเสธ คำอธิบายในอรรถกถา สภาพจิตเป็นอกุศลหรือกุศล มีคุณหรือมีโทษ เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์
๗. วีมังสกสูตร
ว่าด้วยการตรวจดูธรรม
ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วยประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็นมูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ (ทรงกล่าวย้ำซ้ำถึง ๒ ครั้ง) พระผู้มีพระภาคทรงส่งเสริมให้ผู้ที่ยังไม่แน่ใจพระธรรมของพระองค์ท่านตรวจสอบดูก่อน ทรงตรัสชมว่า เมื่อตรวจสอบแล้ว ตกลงใจในธรรมแล้ว ด้วยเหตุนี้ก็จะเกิดศรัธทาอย่างมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงทำให้กวัดแกว่งได้.
พระองค์ทรงตรัสสนับสนุนให้ตรวจสอบก่อนจะปลงใจเชื่อด้วยซ้ำไป หากดิฉันยังไม่ปลงใจเชื่อและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ท่าน หรือกระทำตามหลัก กาลามสูตร ท่านอาจารย์ว่า สภาพจิตของดิฉันเป็นอกุศลหรือกุศล มีคุณหรือมีโทษ เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์ คะ... หากมีทำไมพระองค์ทรงอนุญาตให้ตรวจสอบคะ...
และที่ท่านยกมหาปเทศมาถูกต้องแล้วครับ ทุกวันนี้พระไตรปิฎกเป็นหลัก ในการเทียบเคียงพระธรรมวินัย แต่เพราะเหตุใดบางท่านจึงปฏิเสธพระอภิธรรม
เพราะไม่ใช่พระพุทธพจน์ พระองค์ทรงตรัสว่า
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ในพระอภิธรรมมีการบัญญัติเพิ่มเติม และบางจุดก็ไม่สอดคล้องกับพระพุทธพจน์ เช่นเรื่อง สมาธิ 3 ระดับ, เจตสิก, โสฬสญาณ ฯลฯ
ท่านตรัสว่า ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงขอนำคำกล่าวของท่านพระอานนท์มาแสดงไว้ ณ ที่นี้
[๑๐๖] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์โคปกะ โมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว ฯ
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆ ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่
[๑๐๘] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึงอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ
อา. ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ
[๑๐๙] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ
อา. ดูกรพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ ฯ
ขนาดในสมัยนั้นยังมีพระอรหันต์และพระอริยบุคคลเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ยังไม่มีองค์ไหนที่จะสามารถเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้เลย รุ่นหลังจากนั้นก็คงไม่ต้องกล่าวถึง
ดิฉันกล้าประกาศตัวเองว่าเป็นพุทธสาวกทั้งคำพูดและการกระทำ ขอยืนหยัดที่จะกระทำตามคำสอนของพระองค์ท่านอย่างแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า ดิฉันคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความศรัทธาเชื่อถือที่มีต่อพระอภิธรรม ของหลายๆ ท่านในที่นี้ได้ เผอิญได้เข้ามาสนทนาแล้ว ก็จะขอถือโอกาสนี้จุดประกายเล็กๆ จากหลากหลายพระพุทธพจน์ที่ได้อัญเชิญมาในกระดานนี้ ให้ท่านได้ลองพิจารณาทบทวนดูบ้าง
กว่าพระองค์จะทรงตรัสรู้ ท่านทรงบำเพ็ญเพียรมานานแค่ไหน ท่านเสียสละขนาดไหน พระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์อีกหรือ ทำไมถึงให้ความสนใจในคำสอนของอรรถกถามากกว่าพระพุทธพจน์ แล้วจะเอาพระพุทธพจน์ของพระองค์ซึ่งท่านทรงเพียรสอนตั้ง ๔๕ พรรษาไปไว้ที่ไหน
พระองค์ท่านเป็นศาสดาของพรหม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มิใช่หรือ? พระองค์ท่าน ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง มิใช่หรือ?
ยังจำเป็นอีกหรือที่เราจะต้องศึกษาคำสอนของอาจารย์ท่านอื่นอีก
โปรดลองพิจารณาดูเถิด ขอยุติแต่เพียงเท่านี้
เรียน คุณคิดไม่ตกครับ
ขอเรียนว่า พุทธศาสนิกครั้งพุทธกาล สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ท่านไม่ปฏิเสธพระอภิธรรมเลยครับ เพราะพระอภิธรรมเป็นพระ พุทธพจน์ ไม่ได้ต่างไปจาก ปิฎกอื่นๆ แต่มีรายละเอียดมากขึ้น เพราะจุดประสงค์ ที่ทรงแสดงเพื่อการเข้าใจความจริง จริงๆ ลองศึกษาดูสิครับ จะรู้ว่าเป็นพระธรรม ที่ตรัสไว้ดีแล้วจริงๆ อันใครผู้อื่นแสดงไม่ได้ เว้นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวจึงจะ สามารถแสดงได้ ส่วนสาวกทั้งหลายท่านเพียงแสดงตามที่ฟังมาเท่านั้น
อนึ่ง ข้อความจากพระบาลีที่ท่านยกมาถูกต้องทั้งหมดครับ แต่ต้องพิจารณาด้วย ว่าหมายถึงอะไร และถ้าทราบว่าอรรถกถารุ่นแรกๆ ก็คือ ปกิณณกเทศนาของพระพุทธองค์ และคำอธิบายของพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ท่านไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคีตินั่นเอง การเลื่อมใสในอรรถกถาจารย์ยังคุณประโยชน์ให้สำเร็จมากมาย กว่าการเชื่อ การเสื่อมใสในอาจารย์ยุคปัจจุบันที่ท่านปฏิเสธอรรถกถาและขอเรียนว่าท่านจะไม่ผิดหวังแน่นอนที่ท่านเลื่อมใสในอรรถกถา ฏีกา ที่ท่านขยายข้อความในพระบาลีครับ
ขอเรียนชี้แจงท่านอาจารย์เป็นข้อๆ เช่นเคยนะคะ
ขอเรียนว่า พุทธศาสนิกครั้งพุทธกาล สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อรรถกถา
ฎีกา อนุฎีกา ท่านไม่ปฏิเสธพระอภิธรรมเลยครับ
- ดิฉันไม่ทราบเหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าอโสกมหาราชหรอกค่ะ ไม่ขอแสดงความคิดเห็นจะดีกว่า แต่เชื่อมั่นว่าผู้ที่ไม่ปฏิเสธพระพุทธพจน์ย่อมมีมากกว่ามากมายนัก
เพราะพระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ ไม่ได้ต่างไปจาก ปิฎกอื่นๆ แต่มีรายละเอียดมากขึ้น เพราะจุดประสงค์ที่ทรงแสดงเพื่อการเข้าใจความจริง จริงๆ ลองศึกษาดูสิครับ
- ขออนุญาตยกตัวอย่างสักตัวอย่างนึงนะคะ สมาธิ ๓ ระดับ ไม่ใช่พุทธพจน์ค่ะ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์กล่าวเจอในพระสูตรไหรคะ ท่านอาจารย์เห็นว่าสมาธิภาวนาที่พระองค์ทรงตรัสสอนนั้นมีรายละเอียดไม่เพียงพอ มีข้อความที่ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ หรือคะ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑ ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
จะรู้ว่าเป็นพระธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้วจริงๆ อันใครผู้อื่นแสดงไม่ได้ เว้นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวจึงจะสามารถแสดงได้ ส่วนสาวกทั้งหลายท่านเพียงแสดงตามที่ฟังมาเท่านั้น
- เห็นด้วยอย่างยิ่งเป็นที่สุดค่ะ สาวกทั้งหลายมีหน้าที่เพียงแสดงตามเท่านั้น ไม่ใช่มีหน้าที่บัญญัติเพิ่ม หรือบิดเบือนค่ะ
ขออนุญาตยกตัวอย่างแค่เรื่องอนุปาทาปรินิพพาน เรื่องเดียวเท่านั้นก็เห็นจะเกินพอนะคะ ที่อรรถกถากล่าวว่า เป็นการตายของพระอรหันต์ แต่ความเป็นจริงแล้ว เป็นภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่
ดังตัวอย่างหลายๆ พระสูตรที่อัญเชิญมาแสดง รวมถึง คิลานสูตรที่ ๒ ที่พระองค์กล่าวจุดประสงค์แสดงธรรม ก็เพื่อที่จะให้ภิกษุบรรลุอนุปาทาปรินิพพานเป็นที่หมาย
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเราแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
โกศลสูตรที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯท่านอาจารย์เคยลองคิดไหมคะ ว่าผู้ที่เชื่อตามคำอธิบายของอรรถกถาที่ว่าเป็นการตายของพระอรหันต์ มีจำนวนประมาณเท่าไร เรือนแสน หรือ เรือนล้าน อันตรายไหมคะ ที่พุทธศานิกชนจดจำคำสอนที่ผิด อันตรายไหมคะที่พระพุทธพจน์ถูกบิดเบือนไป ไม่อาจจะประเมินค่าความเสียหายได้เลยนะคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงเรียกภิกษุผู้กล่าวตู่ถ้อยคำของพระตถาคตว่า "โมษบุรุษ"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆบุรุษ ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ท่านอาจารย์ตระหนักถึงภัยนี้ไหมคะ....
อนึ่งข้อความจากพระบาลีที่ท่านยกมาถูกต้องทั้งหมดครับ แต่ต้องพิจารณาด้วย ว่าหมายถึงอะไร และถ้าทราบว่าอรรถกถารุ่นแรกๆ ก็คือ ปกิณณกเทศนาของพระพุทธองค์ และคำอธิบายของพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ท่านไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคีตินั่นเอง
- ดิฉันพอจะเข้าใจความหมายค่ะ เพราะเป็นภาษาไทย และอย่างที่เคยเรียนไว้ในความคิดเห็นก่อนหน้านี้ ดิฉันถือคติว่า "ไม่เข้าใจ ดีกว่า เข้าใจผิด" ไม่อยากเข้าใจผิด เช่นที่คนส่วนใหญ่ที่ศึกษาอรรถกถาแล้วเข้าใจว่า อนุปาทาปรินิพพาน เป็นการตายของพระอรหันต์ ... ส่วนข้อความต่อมาที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงนั้น ไม่เข้าใจค่ะ เพราะไม่ได้ศึกษาเลยไม่รู้ที่มาที่ไป
การเลื่อมใสในอรรถกถาจารย์ยังคุณประโยชน์ให้สำเร็จมากมาย กว่าการเชื่อ การเสื่อมใสในอาจารย์ยุคปัจจุบันที่ท่านปฏิเสธอรรถกถา
- มีข้อความตรงไหนในการแสดงความคิดเห็นของดิฉันที่บ่งบอกถึงความยกย่องเลื่อมใสอาจารย์ยุคปัจจุบันที่ท่านปฏิเสธอรรถกถาคะ ดิฉันมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจุดศูนย์รวมแห่งความเทิดทูนบูชาและเลื่อมใสศรัทธา ค่ะ ดิฉันไม่ได้ยึดตัวบุคคลนะคะ เพราะบุคคลจริงๆ แล้ว ไม่มี และหากดิฉันจะเลื่อมใสท่านเหล่านั้น ก็เพราะคุณธรรมของท่าน ที่ท่านเป็น ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติตรง ผู้ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าค่ะ
ส่วนที่ท่านอาจารย์ว่า การเลื่อมใสในอรรถกถาจารย์ยังคุณประโยชน์ให้สำเร็จมากมายนั้น ดิฉันว่า กับการที่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธพจน์ สิ่งไหนจะยังประโยชน์ให้มากกว่าคะ ดิฉันมีเพชรน้ำงาม เลอค่า หาตำหนิไม่ได้ แล้วจะไปเอาพลอยที่ด้อยค่ากว่าไปทำไมคะและขอเรียนว่าท่านจะไม่ผิดหวังแน่นอนที่ท่านเลื่อมใสในอรรถกถา ฏีกา ที่ท่านขยายข้อความในพระบาลีครับ
- ดิฉันอยากจะเรียนท่านอาจารย์ในทำนองกลับกันว่า ท่านจะไม่ผิดหวังแน่นอนที่มาเลื่อมใสศึกษาพุทธพจน์ เพราะหาที่ผิดไม่ได้เลย เพราะพระองค์ท่านกำหนดสมาธิในการแสดงธรรมทุกครั้ง มีใครใน 3 โลก นี้ทำได้อย่างพระองค์ท่านคะ
...พระตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้แจ้งอย่างเดียว. เราประคองจิต สงบตั้งมั่น ทำให้เป็นสมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้น
จนจบคาถานั้นทีเดียว เราอยู่ด้วยผลสมาธิเป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล. และพระตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้ พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแล ไม่เป็นอย่างอื่น
ไม่เป็นการยากเกินความสามารถ ไม่เป็นการสุดวิสัยที่จะเรียนรู้หรอกค่ะ ดิฉันปลูกศรัทธาความเลื่อมใสในสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เป็นเลิศที่สุด พระพุทธพจน์ เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงออกจากพระโอษฐ์ ก็เปรียบเสมือนกับดิฉันได้ฟังพระธรรมจากพระองค์ท่านโดยตรงอยู่แล้ว ไม่ต้องผ่านการขยายความให้เสียอรรถรส อีกทั้งมีจุดบกพร่องด้วยค่ะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่
ขนาดพระอานนท์ เป็นผู้ใกล้ชิดพระพุทธจ้าที่สุด ได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์มากที่สุด ผู้ซึ่งพระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก ยังไม่บัญญติสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงบัญญัติเลย และไม่ออกตัวเองเลยว่าจะเป็นภิกษุที่เป็นที่พึ่งอาศัยของใครได้ เราควรตระหนักในจุดนี้ แล้วหันมาศึกษาพุทธพจน์โดยตรงจะเป็นการดีที่สุด เช่นที่เคยกล่าวไว้ ดิฉันคงไม่สามารถจะเปลี่ยนความคิดเห็นของใครได้ ทุกอย่างแล้วแต่เหตุปัจจัย แล้วแต่การสั่งสมมา แล้วแต่ว่าใครจะเห็นคุณค่าของสิ่งใดมากกว่ากัน ดิฉันไม่มีความสงสัยใดๆ ในคำตรัสที่ว่า พระองค์ท่าน ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ค่ะ
ขอขอบพระคุณค่ะ
ขอเรียนว่า ท่านอรรถกถามิได้บัญญัติพระธรรมเพิ่ม แต่ท่านรู้พุทธประสงค์อย่างแท้จริง ท่านจึงอธิบายให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจในอรรถของพระธรรมได้ตรง อนึ่งพระอภิธรรมปิฎก ได้ถูกยกขึ้นสู่สังคีติทุกครั้งที่มีการสังคายนา ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมโดยรอบแล้ว ย่อมกล่าวว่าพระธรรมขัดแย้งกัน แม้แต่สมาธิที่ทรงแสดง ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง เพราะสมาธิไม่มีเพียงขั้นเดียว ความสงบของจิตย่อมมีหลายขั้นอรรถกถาท่านจึงอธิบายตามที่เป็นจริง เพราะความสงบของจิตมีหลายขั้นสำหรับพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น เกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคนี้ใครเล่าจะกล้าประกาศว่าเข้าใจพระพุทธพจน์ทั้งหมด โดยไม่สงสัยเลย
ขอเรียนถามคุณคิดไม่ตก ว่าพระอรหันต์เมื่อท่านจุติแล้วเป็นอย่างไร การปรินิพพานของพระอรหันต์คืออย่างไร อุปาทิคืออะไร
แต่ก่อนหน้านี้หลายปี....ดิฉันเป็นคนหนึ่ง ที่คิดเห็น เหมือน คุณ"คิดไม่ตก" และ คิดเห็น เหมือน พระคุณเจ้าที่เป็น อาจารย์ บางท่าน ที่ปฏิเสธ พระอภิธรรม ด้วยเหตุผลว่า....." ไม่ใช่พระพุทธพจน์"..... เวลาผ่านไป…. จะด้วย บุญกุศลที่เคยสะสมมา หรือ จะเพราะเหตุแห่ง มหาวิบาก ก็ไม่ทราบได้….ทำให้ ดิฉัน ได้มาศึกษา พระอภิธรรม……ซึ่งที่ผ่านมา ดิฉันไม่สามารถคิด ตรึกตรอง เข้าใจ พระธรรมได้อย่าง แจ่มชัด เวลาที่อ่านพระสูตร ก็มีความรู้สึก ว่ายังเข้าใจไม่กระจ่าง สงสัย บางครั้งก็สับสน โดยที่รู้ว่า จิตของตน ในขณะนั้นๆ เป็นอกุศลอย่างมาก…..ทำให้ฉุก คิดขึ้นมาได้ว่า ….ทำอย่างไรหนอเราจึงจะเข้าใจ พระธรรมได้มากขึ้น …….. จนได้ หันมา ศึกษา พระอภิธรรม อย่างตั้งใจจริง เพียงเพื่อให้เข้าใจในธรรมมะที่ได้ฟัง ที่ได้อ่าน ศึกษา อย่างแจ่มแจ้ง เท่านั้น ซึ่งหลังจากได้ศึกษาพระอภิธรรมควบคู่ ไปกับ การศึกษา พระสูตร และพระวินัย ก็พบว่าเข้าใจธรรมมะ สภาพธรรมต่างๆ ดีขึ้นมาก และที่โสมนัส ปิติมาก คือ ได้ความรู้สึกที่ซาบซึ้ง ใน พระปัญญา ที่ ลุ่มลึก ละเอียด มีความเป็นเหตุเป็นผล ของพระสัมมาสมพุทธเจ้า…….. จากที่ดิฉันอ่าน ความคิดเห็นของคุณ “คิดไม่ตก”มา โดยตลอด….คาดว่า คุณ เป็นผู้ใฝ่ศึกษาธรรม อย่างตั้งใจผู้หนึ่ง…..และอาจเป็นผู้มีปัญญาทางธรรม แตกฉาน อย่างมาก….หากเพียงคุณได้เปิดใจกว้าง ไม่ด่วนปฏิเสธ พระอภิธรรม ซึ่งเป็นธรรมมะส่วนละเอียด ….โดยที่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างเข้าใจ โดยละเอียด และจาก คำอธิบาย ที่คุณ prachern.s ความคิดเห็นที่ 36, 38 และ 40 ก็น่าจะเป็น เหตุผลพอควร ที่พอจะทำให้คุณเห็นคุณค่า ของ การ ศึกษาธรรมมะ ส่วนละเอียด ได้บ้าง “ อย่าลืมว่า ตัณหา ทิฏฐิ และ มานะ เป็นเครื่่องเินิ่นช้า ในการก้าวสู่พระ นิพพาน “ นะคะ
ท่านอาจารย์ถามคำถามยากเหลือเกิน ดิฉันเรียนท่านอาจารย์แล้วว่า เราถือตำราคนละเล่ม จะหาทางมาบรรจบกันได้อย่างไรละคะ เพราะถ้าดิฉันตอบก็คงจะยกพุทธพจน์มาตอบ ส่วนท่านอาจารย์ก็จะยกอรรถกถามาอธิบาย แล้วต่างก็หาเหตุผลที่ตัวเองเชื่อมาหักล้าง เป็นการโต้กันไปมา มีประโยชน์อะไรที่จะทำอย่างนี้คะ
แต่หากท่านอาจารย์จะยกเฉพาะพุทธพจน์ล้วนๆ มาสนทนาสิคะ เราจะเป็นบริษัทที่พระองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นบริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้านเราทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ทำการสอบสวน ไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน เราทั้ง ๒ ฝ่าย ย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้นและบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสียได้ นี่คือพุทธประสงค์ที่ทรงประกาศชัดแจ้งค่ะ
ดิฉันเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ค่ะ ว่าคนในยุคนี้คงไม่มีใครเข้าใจพระพุทธพจน์ทั้งหมด โดยไม่สงสัยเลย ด้วยเหตุนี้พระองค์ถึงได้ทรงเตรียมทางออกไว้ให้แล้ว พระองค์ท่านรอบคอบมากนะคะ ท่านทรงกลัวว่าเราจะไปเลือกวิธีการผิดๆ มาใช้ ท่านต้องการให้พวกเราสอบสวนทบทวนเนื้อความในพุทธพจน์นั้นๆ ซึ่งกันและกันเอง โดยไม่ต้องอาศัยคำสอนหรือความเชื่อจากบุคคลอื่นเลย ซึ่งเมื่อเราปฏิบัติแล้ว ก็จะรู้ตามได้ อย่างที่ท่านตรัสไว้ และความเลื่อมใสศรัทธาก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยไม่มีใครที่ไหนมาทำให้หวั่นไหวได้เลย
ดิฉันคงไม่สามารถตอบคำถามของท่านอาจารย์ได้ในเรื่องการจุติหรือการปรินิพพานของพระอรหันต์ เพราะยังไปไม่ถึงค่ะ และก็ไม่ทราบเหตุผลของการถามด้วยค่ะ ขออนุญาตยกพุทธพจน์อย่างละ 1 ข้อ มาตอบแทนนะคะ
อัคคิวัจฉโคตตสูตร ตอบเรื่อง จุติแล้วเป็นอย่างไร
[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน? ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ? ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร
ปัญจสิขสูตร ตอบเรื่อง การปรินิพพานของพระอรหันต์คืออย่างไร
[๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
ส่วนที่ท่านอาจารย์ถามว่า อุปาทิ คืออะไร ดิฉันคิดว่าท่านอาจารย์คงจะงง ในข้อความนี้ของดิฉัน
ขออนุญาตยกตัวอย่างแค่เรื่องอนุปาทาปรินิพพาน ที่อรรถกถากล่าวว่า เป็นการตายของพระอรหันต์ แต่ความเป็นจริงแล้ว เป็นภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่
ดิฉันพิมพ์ผิดค่ะ ขออภัย ขอแก้ใหม่ดังนี้ ที่อรรถกถากล่าวว่า เป็นการตายของพระอรหันต์ แต่ความเป็นจริงแล้ว เป็นภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทานเหลืออยู่ หรือนัยนี้ก็ได้อีกค่ะ
บทว่า อนุปาทิเสสํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่เหลืออุปาทาน คือหมดความยึดถือ ให้ดูตรงเนื้อความในพระสูตรที่ดิฉันได้พิมส์ตัวอักษรสีนำ้ตาลเอาไว้ประกอบด้วยก็ได้ค่ะ ไม่ทราบท่านอาจารย์จะถามดิฉันประเด็นนี้หรือเปล่าคะ
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเราแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ..... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
ดิฉันขอสรุปว่า ใครศรัทธาคำสอนแบบไหน อย่างไร ของใคร ก็เลือกเอาตามที่ตัวเองได้พิจารณา หรือเห็นสมควรก็แล้วกันนะคะ
การแสดงความคิดเห็นของดิฉันทั้งหมดในกระดานนี้ ดิฉันถอดหัวใจพูด จุดประสงค์ก็คือการคงไว้ซึ่งคำสอนที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆ พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศเจตนารมณ์ไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ให้ใส่ใจคำสอนของคนอื่นแม้แต่สาวก เพราะพระองค์ตระหนักดีว่าจะทำให้พระสัทธรรมของท่านเสื่อมสูญ หากมีข้อผิดพลาดในคำสอนนั้น แต่ท่านให้หมั่นทบทวนสอบถามซึ่งและกันของเนื้อหาในพระธรรม พระวินัย ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นการดำรงคำสอนของพระองค์ไว้ และเป็นคำสอนไม่ผิดพลาด ผู้ปฏิบัติตามก็เห็นผลได้อย่างแท้จริง
หากพระองค์ทรงทราบว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นศิษย์ตถาคต เวลาจะอธิบายหรือกล่าวสอนอะไร กลับยกตัวอย่างคำในอรรถกถาขึ้นมาแสดงแทนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เป็นจริงเป็นจัง พระองค์คงต้องเสียพระทัยมาก ท่านทรงลำบากเวียนว่ายในสังสารวัฎ อันแสนจะยาวนาน เพื่อตรัสรู้ธรรม แต่ศิษย์ตถาคตกลับเห็นของคำของอรรถกถาดีกว่า ทั้งๆ ที่พระพุทธพจน์แท้ๆ ก็ไม่ได้ยากจนสุดวิสัยที่จะศึกษาให้เข้าใจได้เลย ให้เกียรติพระองค์ท่านบ้างเถอะนะคะ และบรรดาข้อโต้แย้งทั้งหลายทั้งปวงในทุกที่ทุกสำนักก็จะไม่เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นก็จะหาข้อสรุปได้รวดเร็วพราะต่างก็ใช้คำสอนเดียวกันหมด
ดิฉันถือว่าได้ทำหน้าที่อย่างยิ่งแล้ว ในการปกป้องและรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ในข้อสนทนานี้
ขอน้อมถวายทุกตัวอักษรในการแสดงความคิดเห็นของหม่อมฉัน เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ด้วยเศียรเกล้า
ขอขอบคุณในความเห็นของทุกๆ ท่านค่ะ
เรียน คุณคิดไม่ตกครับ
ก่อนอื่นขออนุโมทนาคำของท่านที่ว่า "จุดประสงค์ก็คือการคงไว้ซึ่งคำสอนที่เป็นพุทธพจน์แท้ๆ " ดีมากครับ แต่การแสดงธรรมเพื่ออธิบายพระธรรมของพระพุทธองค์ ของพระสาวกทั้งหลายทำให้เราเข้าใจอรรถแห่งธรรมมากขึ้น ควรศึกษาหรือไม่ เพราะเหตุใด เพราะพระอรรถกถาจารย์คือพระอรหันต์สาวกทั้งหลายนั่นเอง และ
ผมขออนุโมทนาในเมตตาจิตของคุณ booms ที่มีต่อสหายธรรมผู้ใผ่ธรรม เพราะทุกคนที่เข้ามาศึกษาพระธรรมเพื่อการอบรมเจริญปัญญา เพื่อพ้นจากทุกข์กันทั้งนั้น แต่บางครั้งอาจจะไปรับฟังถ้อยคำของคนบางคน ซึ่งทำให้เรามีอคติกับบางท่านก็เป็นได้ หากหวังความเจริญในธรรมวินัยนี้ต้องเป็นผู้ซื่อตรง มีจิตอ่อนโยนในเพื่อนพรหมจรรย์ ไม่ดูหมิ่นในผู้มีศีล ผู้มีปัญญา ใคร่ต่อประโยชน์ เจริญเมตตาเนืองๆ ผู้นั้นพึงหวังความ เจริญในพระศาสนานี้เป็นแน่ครับ
ขออนุญาตพิมพ์ตอบด้วยนะคะ พอดีเพิ่งจะได้เข้าอินเตอร์เน็ตมาอ่านเจอ
ได้อ่านความคิดเห็นคุณ"คิดไม่ตก"แล้วอยากให้คุณ"คิดไม่ตก" อย่าเพิ่งจากไปไหนเลย อยากให้ลองศึกษาพระธรรมขั้นละเอียด (พระอภิธรรม) ก่อนที่จะปฏิเสธ ไม่ได้อยากให้แตกคอหรืออะไร แต่อยากให้ลองศึกษาดู ที่พิมพ์ตอบนี้เพราะชื่นชอบที่คุณ"คิดไม่ตก" เห็นคุณค่าของพระธรรมวินัย
และรู้สึกเสียใจที่คุณ"คิดไม่ตก"อาจจะจากไปไม่กลับมาสนทนาธรรมกันอีก เพราะหาได้ยากมากสำหรับบุคคลที่จะศึกษาพระไตรปิฎกในยุคนี้
ดิฉันก็คงต้องขอบอกจากใจจริงๆ คือเสียใจที่ได้อ่านเจอว่ามีสหายธรรมผู้มีศรัทธาศึกษาพระธรรม คิดว่าพระอภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์ ดิฉันน้ำตาไหลออกมา รู้สึกท้อใจอย่างไรไม่ทราบ เพราะสหายธรรมที่นี่ จากที่ได้สัมผัสมา ทุกท่านยึดถือพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดาและต่างก็เกิดมาเจอกันในยุคกาลวิบัติ
ดิฉันคิดว่า คงไม่มีสหายธรรมท่านใดคิดว่าอ่านพระพุทธพจน์เอาเองเข้าใจได้ง่ายเลย โดยไม่จำเป็นไม่ต้องถามผู้รู้หรืออรรถกถาจารย์ให้ช่วยขยายความโดยละเอียด (โดยพิสดาร) พระตถาคตบัญญัติไว้ดีแล้ว
พระอริยสาวกรุ่นหลังหรือท่านอรรถกถาจารย์ผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ได้มีความกรุณาขยายความเพื่ออนุเคราะห์ เกื้อกูลกุลบุตรรุ่นหลังๆ ที่ไม่ได้สะสมมาดีแล้วเหมือนคนยุคพุทธกาล ด้วยการขยายความต่อท้ายไว้ เพื่อหวังให้เกิดความเข้าใจที่สอดคล้องกันทั้งสามปิฎก
ทั้งพระวินัย - ข้อบัญญัตที่เป็นอธิศีลสิกขา เป็นแนวทางประพฤติตนที่ไว้ตรวจสอบและควบคุมกิเลสของตนเอง ไม่ใช่มีไว้สำหรับพระเท่านั้น
พระสูตร - บันทึกการเทศนาธรรมแก่บุคคลต่างๆ ตามแต่กำลังปัญญาของบุคคลผู้สดับที่ไม่เท่ากัน ตามการสะสม ตามกาลสมัย ตามสถานที่ต่างๆ อรรถและพยัญชนะทรงแสดงตามอัธยาสัยและตามการสะสมบารมีทั้ง 10 ของบุคคลนั้นๆ
พระอภิธรรม - เป็นพระธรรมส่วนละเอียด กล่าวถึงสภาพธรรมล้วนๆ เพื่อขยายความเข้าใจในส่วนพระสูตรและพระวินัย ซึ่งดิฉันเข้าใจว่าในยุคพุทธกาล เหล่าสาวกที่ฟังพระสูตรแค่ไม่กี่ประโยคแล้วบรรลุทันที เพราะได้สะสมความเข้าใจทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และอบรมบารมีมามากพอและนานพอสมควรเป็นกัปๆ จึงไม่ได้แปลว่าฟังแค่พระสูตรก็พอ แม้ไม่เคยมีการแสดงอภิธรรมเกิดขึ้นในโลก อภิธรรมก็มีอยู่ทุกขณะจิต หรือที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 ประการ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ควรค่าแก่การศึกษา ควรค่าแก่การสนทนาและสอบถามผู้แตกฉาน เพื่อความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไป
ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ
ข้อสนทนาในเรื่องพุทธวจนะนี้
เป็นเรื่องที่ผมสงสัยอยู่พอดีครับ เพราะได้รับฟังมาเช่นกันว่า ให้ยึดถือเฉพาะส่วนที่เป็นพุทธวจนะเท่านั้น ผมได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากข้อสนทนาในกระทู้นี้ (ปกติอาจารย์ประเชิญตอบคำถามสั้นมากๆ ในกระทู้อื่นๆ ต่างจากคำตอบในกระทู้นี้) ได้แง่คิดที่สำคัญยิ่ง คือ การศึกษาพระธรรมนั้นเป็นเรื่องละเอียด และลึกซึ่ง
การศึกษาก็เพื่อละความไม่รู้ต่างๆ ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจ ไม่รู้ลึกซึ่ง รู้จริง ไม่ใช่รู้เฉพาะถ้อยคำ อรรถ ก็อย่าพึงปักใจเชื่อเรื่องใดๆ หรือเชื่อความเห็นของใคร ก็ตาม ยังไม่ต้องยอมรับ หรือปฏิเสธ หรือตั้งเงื่อนไขใดๆ เพราะเมื่อเรายังไม่เข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว โอกาสที่เราจะเข้าใจผิด คิดผิด หลงผิด เป็นไปได้มากทีเดียว อันนี้เป็นหลักที่ผมได้จากการสนทนาธรรมในกระทู้นี้
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ได้อ่านกระทู้หัวข้อนี้แล้ว เหมือนกับกำลังสนทนาด้านวิชาการ โดยอิงพระไตรปิฎกเป็นหลัก ดิฉันเป็นคนสนใจด้านธรรมะ แต่ก็เพียงศึกษาแค่เปลือกได้เท่านั้น เพราะระดับสติปัญญาไม่เพียงพอที่จะไปเข้าใจคำยากๆ โดยเฉพาะคำว่า นิพพาน เป็นสิ่งยากเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ ไม่รู้ว่าอีกกี่แสนปี ถึงจะเข้าใจได้ แต่ หนังสือด้านธรรมที่มีผู้เขี่ยนมากมาย ได้พูดถึงคำนี้กันมาก ราวกับว่าถ้ารู้วิธีก็ไปถึง นิพพาน ได้
ณ วันนี้ ขอศึกษาพระธรรม โดยการฟัง การบรรยายธรรม จากท่านอาจารย์สุจินต์ ไปก่อน น่าสนใจกว่าเยอะเลย เพราะเป็นธรรมในชีวิตประจำวัน ดีกว่าไปสนใจสิ่งที่เรายังเข้าไม่ถึงจริงๆ เดี่ยวจะกลายเป็นอัตตา ไม่ใช่ อนัตตา
เวลาผ่านมาได้หลายปี และมุ่งที่จะฟังการบรรยายธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้คือระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของคน มองเห็นความปกติ ไม่ต่างอะไรกับการมองเห็นต้นไม้มากมาย ที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็รู้ว่า นั้น ต้นมะม่วง ต้นมะพร้าว ฯลฯ โดยไม่รู้สึกว่า ทำไมต้นมะม่วงไม่เหมือนต้นมะพร้าว ก็ไม่ต่างกับคนเลยจริงๆ เข้าใจและรับรู้ถึงความเป็นบุคคลนั้นที่สะสมมาที่จะเป็นเช่นนั้น และจะไม่รู้สึกอยากจะเข้าไปแก้ไขอะไรกับใครเขาเลย คำติ คำวิจารณ์ ก็จะน้อยลง และ การอยู่ร่วมกันก็จะง่ายขึ้น พระธรรม เท่านั้น ที่จะเปลี่ยนนิสัยคนได้
ขอกราบระลึกถึงพระคุณของท่านอาจารย์สุจินต์ ค่ะ
ขออนุญาตนำคำสอนของท่านอาจารย์สุจินต์ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับการศึกษาพระสูตร เป็นที่สมควรนำมาพิจารณาอย่างยิ่งครับ
ศึกษาพระสูตรอย่างไร...เป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นผิด !
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร
ขอเชิญศึกษาพระธรรม...
รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์
พระไตรปิฎก
ฟังธรรม
วีดีโอ
ซีดี
หนังสือ
กระดานสนทนา
การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)