ถ้าไม่บริจาคโทรศัพท์ให้พระ แล้วจะบอกพระว่าอะไรดี คือบอกไปแล้วว่าจะซื้อให้อ่ะ
โทรศัพท์มือถือ เป็นเครื่องมือสื่อสารในการทำธุรกิจ สำหรับคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ส่วนบรรพชิตเป็นผู้สละอาคารบ้านเรือนละซึ่งกิจกรรมทางโลกแล้ว ไม่มีความจำเป็นในการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบนี้ เพราะจะเป็นเครื่องกังวล เป็นภาระและทำให้จิตไม่สงบ สำหรับพระวินัยไม่มีบัญญัติไว้ว่าห้ามพระภิกษุมีไว้เป็นของส่วนตัว แต่ถ้าพิจารณาตามมหาประเทศของพระวินัย ที่ว่าสิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับของที่ไม่ควร สิ่งนั้นก็ไม่สมควร เพราะเป็นไปเพื่อการเพิ่มกิเลส สะสมของใช้มากมาย ไม่เป็นไปเพื่อการขัดเกลา
โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 28-08-2549
ถ้าเรารู้ว่าโทรศัพท์ไม่สมควรแก่พระภิกษุ แล้วเราเคยบอกว่าจะให้ ก็บอกท่านตามตรงไปว่า พระภิกษุไม่ควรใช้โทรศัพท์ส่วนตัวก็เลยเปลี่ยนใจไม่ถวายค่ะ (คุณ bua ก็ถวายอาหาร หรือจีวร ฯลฯ แทนโทรศัพท์) สิ่งที่ดำรงชีวิตของพระภิกษุมีปัจจัย ๔ เท่านั้นคือ บิณฑบาตที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม
การรักษาสัจจะในทางอกุศลไม่เป็นสัจจะบารมี
ขออนุโมทนา
โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นความจำเป็นที่พระต้องมีโทรศัพท์มือถือ ถ้าท่านมีธุระด่วนต้องการติดต่อบุคคลภายนอกวัดก็สามารถใช้โทรศัพท์ที่วัดได้ หรือให้คนที่วัดติดต่อให้ ถ้าเราถวายสิ่งใดอันไม่ได้เกื้อกูลต่อการละกิเลสของพระสงฆ์แล้ว ก็ไม่ควรจะถวาย ถ้าเราบอกท่านตรงๆ แล้ว ท่านไม่เข้าใจหรือมีโทสะ ก็เป็นเรื่องของท่าน เมื่อรู้ว่าสิ่งใดไม่ควรแล้วก็อย่าทำเลยดีกว่าค่ะ
เรื่องโทรศัพท์นั้น มีความจำเป็นกับพระเณรในปัจจุบันเหมือนกัน อาจจะมากด้วย เพราะทุกวันนี้ พระเณรต้องติดต่อสื่อสารกัน เพื่อความสะดวก ถ้าจะให้มีแต่โทรศัพท์ประจำวัด การติดต่อสื่อสารก็ยากยิ่งขึ้น เพราะอะไร เพราะถ้ามีเรื่องด่วน แต่พระรูปนั้นไม่อยู่ จะติดต่อกันได้ยังไงหละ และอีกอย่างหนึ่งนะ พระก็ทำงานอีกหลายด้าน การใช้โทรศัพท์จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ถ้าจะให้พระใช้ตู้สาธารณะ ก็ยิ่งไม่สะดวก ไหนจะต้องพกสมุดโทรศัพท์ คนส่วนมากมักมองพระไม่ลึก เห็นพระเป็นหลักเป็นตอ ไม่มีอะไรทำ วันๆ เล่นแต่โทรศัพท์งั้นหรือเทคโนโลยีทุกอย่างมันอยู่ที่คนใช้ต่างหาก ว่าจะใช้ถูกทางหรือไม่ถูกทาง เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ เกิดเป็นคนต้องใช้ความคิดมีวิจารณญาณ โดยใช้โยนิโสมนสิการโดยแยบยลและแยบคาย จะได้มองทุกเรื่องอย่าง มีเหตุผล จะได้เข้าใจ โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะสังคมปัจจุบันไม่เหมือนในครั้งพุทธกาล ทุกอย่างจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามแต่จะสมควร แต่ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนหมดคือ สิ่งใดที่ควรเคร่งเราก็คงไว้ สิ่งใดที่ควรเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับกับสถานณ์ปัจจุบัน ซึ่งไม่ผิดพระวินัย (อย่ามองคนในแง่จับผิด จงมองอย่างบัณฑิตที่ได้คิดและไตร่ตรองดีแล้ว)
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย หน้าที่หรือกิจที่ถูกต้องของภิกษุและในธรรมวินัยนี้
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
กิจที่ถูกต้องของภิกษุ [มหาปาละบรรพชาอุปสมบท]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
ข้อความบางตอนจาก มหาปรินิพพานสูตร
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบทั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสารในการทำธุรกิจ สำหรับคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ส่วนบรรพชิตเป็นผู้สละอาคารบ้านเรือน ละซึ่งกิจกรรมทางโลกแล้ว ไม่มีความจำเป็นในการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบนี้ เพราะจะเป็นเครื่องกังวล เป็นภาระ และทำให้จิตไม่สงบ สำหรับพระวินัยไม่มีบัญญัติไว้ว่า ห้ามพระภิกษุมีไว้เป็นของส่วนตัว แต่ถ้าพิจารณาตามมหาประเทศของพระวินัย ที่ว่าสิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับของที่ไม่ควร สิ่งนั้นก็ไม่สมควร เพราะเป็นไปเพื่อการเพิ่มกิเลส สะสมของใช้มากมาย ไม่เป็นไปเพื่อการขัดเกลา
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔
เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้าทั้งหลายที่จะต้องตรวจสอบโดยละเอียดกับพระวินัยบัญญัติ
ขออนุโมทนา ครับ
ต้องเข้าใจสภาวะปัจจุบัน และเข้าใจตัวเอง ว่าสมควรหรือไม่สมควร ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือก ตัวเราเป็นคนทำ ผลทีได้รับเราก็เป็นคนรับ
อัฐบริขาร เครื่องใช้สอยสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง สบง จีวร สังฆาฎิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว (ผ้าคาดเอว) กระบอกกรองน้ำ เรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘) สำหรับพระผู้ใฝ่ในวินัยส่วนของใช้อื่นๆ นอกนั้นสมควรหรือไม่ ควรพิจารณาตรึกตรอง ครับ
ขอความเจริญจงมีในธรรม พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ธรรมะทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา
ยินดีในกุศลจิตค่ะ