๑. ภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36137

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 210

วิภังควรรคที่ ๔

๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 210

วิภังควรรค

๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดํารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 211

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไรคือ รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไรคือ ไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไรคือ รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 212

[๕๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไรคือ ไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไรคือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไรคืออริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 213

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้างไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๓๔] บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึงก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มาปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 214

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๑


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 215

วิภังควัคควัณณนา

อรรถกถาภัทเทกรัตตสูตร

ภัทเทกรัตตสูตร มีคําขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในภัทเทกรัตตสูตรนั้น บทว่า ภทฺเทกรตฺตสฺส (ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ) ความว่า ชื่อว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการตามประกอบวิปัสสนา.บทว่า อุทฺ เทสํ ได้แก่ มาติกา. บทว่า วิภงฺคํ ได้แก่ บทที่พึงแจกแจงโดยพิสดาร. บทว่า อตีตํ (สิ่งที่ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ในขันธ์ห้าที่ล่วงแล้ว. บทว่า นานฺวาคเมยฺย (ไม่ควรคำนึงถึง) ความว่า ไม่ควรนึกถึงด้วยตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า นปฺปฏิกงฺเข (ไม่ควรมุ่งหวัง) ความว่า ไม่พึงปรารถนาด้วยตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า ยทตีตํ (สิ่งใดล่วงไปแล้ว) นี้ในคาถานี้เป็นการกล่าวถึงเหตุ. เพราะสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้วดับแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วนั้นอีก. อนึ่ง เพราะสิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง ยังไม่เกิดยังไม่บังเกิด เพราะฉะนั้น บุคคลไม่พึงปรารถนาสิ่งที่ยังไม่มาถึงแม้นั้น บทว่า ตตฺถ ตตฺถ (ในธรรมนั้นๆ) ความว่า บุคคลผู้เข้าถึงธรรมแม้ปัจจุบันในธรรมใดๆ เห็นแจ้งธรรมนั้น ด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในธรรมนั้นๆ เที่ยว. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเห็นแจ้งในธรรมนั้นๆ ในที่ทั้งหลายมีป่าเป็นต้น.บทว่า อสํ หิรํ อสงฺกุปฺปํ (อันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงวิปัสสนาและปฏิวิปัสสนา. จริงอยู่วิปัสสนาย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น วิปัสสนานั้น ชื่อว่า อสํ หิรํ ไม่ง่อนแง่น ชื่อว่า อสํกุปฺปํ ไม่คลอนแคลน. ท่านกล่าวอธิบายว่า บุคคลพึง


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 216

พอกพูน พึงเจริญ พึงเห็นแจ้งเฉพาะวิปัสสนานั้น. อีกประการหนึ่ง นิพพานย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น นิพพานนั้น จึงชื่อว่า อสํ หิรํ อสํกุปฺปํ แปลว่า ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน. อธิบายว่า ภิกษุผู้บัณฑิตรู้แจ้งแล้ว พึงพอกพูนนิพพานนั้น คือเมื่อยังไม่บรรลุผลสมาบัติซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ ก็พึงเจริญบ่อยๆ. ก็เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้พอกพูนนั้น. บทว่า อชฺเชว กิจฺจํ อาตปฺปํ (พึงทำความเพียรเลียในวันนี้ทีเดียว) ความว่าความเพียรที่ได้ชื่อว่า อาตัปปะ เพราะเผากิเลสทั้งหลายหรือยังกิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อนทั่ว พึงทําในวันนี้แหละ. บาทคาถาว่า โก ชฺา มรณํ สุเว (ใครเล่าจะรู้ว่าความตายจักมีในวันพรุ่งนี้) ความว่า ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ หรือความตายในวันพรุ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พึงทําความเพียรอย่างนี้ว่า ก็ความเนิ่นช้าย่อมมีในวันนี้เท่านั้นว่า เราจักทําทาน หรือจักรักษาศีล ก็หรือจักทํากุศลอย่างใดอย่างหนึ่งในวันนี้แหละ เราไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจักรู้ในวันพรุ่งหรือในวันมะรืนจักทําในวันนี้แหละ. บทว่า มหาเสเนน (ผู้มีเสนาใหญ่) ความว่าก็การณ์แห่งความตาย มีหลายอย่างมีไฟ ยาพิษ และศัสตรา เป็นต้น คือเสนาของมัจจุราชนั้น ความผิดเพี้ยนกล่าวคือ การทําสันถวไมตรีอย่างนี้ว่า ท่านจงรอสอง - สามวันก่อนจนกว่าข้าพเจ้าจะทํากรรมเป็นที่พึ่งของคนมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือกล่าวคือ การให้สินจ้างอย่างนี้ว่า ท่านจงถือเอาหนึ่งร้อย หรือ หนึ่งแสนนี้แล้ว รอสอง - สามวัน หรือกล่าวคือ กองพลอย่างนี้ว่า เราจักต้านทานด้วยกองพลนี้ ดังนี้ กับมัจจุราชเห็นปานนี้ ซึ่งมีเสนาใหญ่ ด้วยอํานาจแห่งเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มี. ก็บทว่า สงฺคโร ความผิดเพี้ยนนั้น เป็นชื่อแห่งการทําสันถวไมตรี การให้สินจ้างและกองพล. เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ได้กล่าวแล้ว. บทว่า อตนฺทิตํ ได้แก่ ผู้ไม่เกียจคร้าน คือขยัน. บุคคลนั้น ชื่อว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะฉะนั้น


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 217

บุคคลนั้น ชื่อว่า ภทฺเทกรตฺโต ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ. พระมุนีคือ พระพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรงสงบแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สงบแล้วตรัสเรียกบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้นั้นว่า บุคคลนี้ ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ด้วยประการฉะนี้.

ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า เอวํรูโป (มีรูปอย่างนี้) แม้มีรูปดำมีวรรณะดุจแก้วมณีอินทนีล. หรือ บทว่าอโหสึ ความว่าเรามีรูปอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งรูปอันพึงพอใจอย่างนี้นั้นเทียว. เรามีเวทนาอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งสุขเวทนาและโสมนัสเวทนาอันเป็นกุศล มีสัญญาอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งธรรมทั้งหลาย มีสัญญาเป็นต้น ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเวทนานั้นเทียว มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้. บทว่า อตีตมาทฺธานํ ความว่า รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ได้แก่รําพึง คล้อยตามตัณหาในรูปเป็นต้นเหล่านั้น. ย่อมไม่สําคัญว่า เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งรูปที่เลวเป็นต้น ฯสฯ มีวิญญาณอย่างนี้. บทว่า นนฺทึ น สมนฺวาเนติ (ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลิน) ความว่า ตัณหา หรือ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยตัณหา อันบุคคลย่อมไม่ให้เป็นไป. พึงทราบความรําพึงถึงความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ความเป็นไปแห่งตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอํานาจแห่งรูปอันประณีต และพึงพอใจเป็นต้นเทียว แม้ในบทว่า เอวํรูโป สิยํ (ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้) เป็นต้นบทว่า กถฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปนฺเนสุ ธมฺเมสุ สํหรต (ภิษุทั้งหลาย ก็บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นอย่างไร) นี้ ตรัสเพื่อทรงแสดงขยายอุทเทสว่า ก็บุคคลเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันในธรรมนั้นๆ อันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน. ก็บทว่า กถฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปฺปนฺนํ ธมฺมํน วิปสฺสติ เป็นต้น พึงตรัสไว้ในพระสูตรนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังตรัสถึงวิปัสสนาว่า ไม่ง่อนแง่นและว่าไม่คลอนแคลน เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดง


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 218

ความมีและความไม่มีแห่งวิปัสสนานั้นเทียวจึงทรงยกมาติกาว่า บุคคลง่อนแง่นไม่ง่อนแง่น ดังนี้ แล้วตรัสความพิสดาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํหรติ (ง่อนแง่น) ความว่า บุคคลชื่อว่า ถูกตัณหาและทิฏฐิคร่าไป เพราะไม่มีวิปัสสนา. บทว่าน สํหรติ (ไม่ง่อนแง่น) ความว่า ชื่อว่าไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิคร่าไป เพราะมีวิปัสสนา.บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑