๓. อานันทเถรคาถา ว่าด้วยความเป็นผู้ทรงธรรม
โดย บ้านธัมมะ  20 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40667

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 300

เถรคาถา ติงสนิบาต

๓. อานันทเถรคาถา

ว่าด้วยความเป็นผู้ทรงธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 53]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 300

๓. อานันทเถรคาถา

ว่าด้วยความเป็นผู้ทรงธรรม

[๓๙๗] บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบ ส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก แต่บัณฑิต ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา มีศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดู ร่างกายอันมีกระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้น เป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรมตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่ว ทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลาพากันดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคดมโคตร เป็น ผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้นอาสวะแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่อง เกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลนั้นคือ พระอานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในมรรคเป็นทาง ไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระ-


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 301

พุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุ มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็น ธรรมที่คล่องปากขึ้นใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชาย มีการศึกษาเล่าเรียนมาน้อย ย่อมแก่เปล่า เหมือนกับโค ที่มีกำลังแต่เขาไม่ได้ใช้งานฉะนั้น เนื้อย่อมเจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญแก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ ที่ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติ ตามที่เล่าเรียนมา ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอด ถือดวงไฟไปฉะนั้น บุคคลควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามา มาก แต่ไม่ควรทำสุตะที่ตนได้มาให้พินาศ เพราะสุตะ ที่ตนได้มานั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลาย รู้อรรถแห่งภาษิต ฉลาดในนิรุตติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรม ให้เป็นการเล่าเรียนดี และพิจารณา เนื้อความ เป็นผู้กระทำความพอใจด้วยความอดทน พยายามพิจารณา ดังความเพียร ในเวลาพยายามมีจิต ตั้งมั่นด้วยดีในภายใน บุคคลควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า หวัง การรู้แจ้งธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม แห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตา ของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้อันมหาชนควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 302

ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัพธรรม เมื่อกายและ ชีวิตของตนเสื่อมไป ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย ติด อยู่ด้วยควานสุขทางร่างกาย ไม่ขวนขวายบำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมีแต่ที่ไหน ทิศทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้ เป็นกัลยาณมิตร นิพพานแล้ว โลกทั้งหมดนี้ปรากฏ เหมือนความมืดมน กายคตาสติย่อมนำมาซึ่งประโยชน์ โดยส่วนเดียวฉันใด กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ ภิกษุผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว มีพระศาสดานิพพานไปแล้ว ฉันนั้น มิตรเก่าพากันล่วงลับไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคม ด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะเพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เหมือนกับ นกที่อยู่ในรังในฤดูฝนฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า

เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่ ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า เพราะประชุมชนเหล่า นั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้เป็น เวลาที่จะเห็นเรา.

พระอานนทเถระจึงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า

พระศาสดาผู้มีจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุม ชนที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า ไม่ ทรงห้าม เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี กามสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เมื่อ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 303

เรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญาไม่เกิดขึ้น เลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปัฏฐากพระผู้มีภาคเจ้าด้วยเมตตากายกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมตตามโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดินตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ ญาณเกิดขึ้นแก่เรา เป็นผู้มีกิจที่จะต้องทำ ยังเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัต พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้ทรง อนุเคราะห์เรา พระศาสดาพระองค์นั้น ได้เสด็จ ปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียวและได้เกิด ขนพองสยองเกล้า.

พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา ความว่า

พระอานนท์เถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอัน ยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ปรินิพพานไปเสียแล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลัง พระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 304

เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความมืดมนที่ เป็นเหตุทำให้เป็นดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระ เป็นผู้มีคติ มีสติ และธิติ เป็นผู้แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำ พระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

พระอานนท์เถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า

เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอน ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

จบอานันทเถรคาถาที่ ๓

รวมพระเถระ

พระเถระ ๓ รูปนี้ คือ พระปุสสเถระ ๑ พระสารีบุตรเถระ ๑ พระอานนทเถระ ๑ ท่านนิพนธ์คาถาไว้ในติงสนิบาตนั้น รวม ๑๐๕ คาถา ฉะนั้นแล.

จบติงสนิบาต

อรรถกถาอานันทเถรคาถา

คาถาของท่านพระอานนทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปิสุเณน จ โกธเนน ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ท่านพระอานนทเถระแม้นี้ เป็นผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดเป็นพี่ชายต่างมารดา แห่งพระศาสดา ในหังสวดีนคร, ท่านได้มีชื่อว่า สุมนะ ส่วนพระบิดาของท่าน ได้มีพระนามว่า พระเจ้า อานันทะ. เมื่อสุมนกุมาร ผู้เป็นพระราชโอรสของตน เจริญวัยแล้ว


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 305

พระองค์ได้ทรงพระราชทานเนื้อที่ให้ครอบครองพระนคร ประมาณได้ ๑๒๐ โยชน์ แห่งกรุงหังสวดี. พระราชกุมารนั้นบางคราวก็เสด็จมาเฝ้า พระศาสดา และพระราชบิดา. ในกาลนั้น พระราชาทรงบำรุงพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ด้วยพระองค์เอง. ไม่ยอมให้ คนเหล่าอื่นบำรุงบ้าง.

สมัยนั้น ปัจจันตชนบท ได้มีการจลาจลขึ้น. พระราชกุมาร ไม่ ยอมกราบบังคมทูลให้พระราชาได้ทรงทราบว่า ปัจจันตชนบทเกิดมีการ จลาจล พระองค์เท่านั้น จัดการปราบจลาจลนั้นเสียจนสงบ. พระราชา ทรงทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงเบิกบานพระทัยยิ่งนัก รับสั่งเรียกหา พระราชโอรสมาแล้วตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะให้พรแก่เจ้า เจ้าจงรับพรนะ. พระราชกุมารกราบบังคมทูลว่า หม่อมฉัน ต้องการจะใช้ชีวิตทำการบำรุง พระศาสดา และภิกษุสงฆ์ให้ตลอด ๓ เดือน. พระราชาตรัสว่า พรนั้น เจ้าไม่อาจจะทำ, จงกล่าวขออย่างอื่นเถิด. พระราชกุมาร กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายไม่ตรัสถ้อยคำเป็น สอง. ขอจงพระราชทานพรนั้นแก่หม่อมฉันเถิด, หม่อมฉันไม่ต้องการ สิ่งอื่น. พระราชาตรัสว่า ถ้าพระศาสดา ทรงอนุญาต, ก็จงให้ทาน ตามสบายเถิด. พระราชกุมารนั้นเสด็จไปยังพระวิหาร เพื่อประสงค์ว่า เราจักรู้ความคิดของพระศาสดา. ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง ทำภัตกิจเสร็จสิ้นแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี, พระราชกุมารนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรามาเพื่อเข้า เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า, ขอท่านจงชี้พระผู้มีพระภาคเจ้าแก่เราเถิด. ภิกษุ ทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระชื่อว่า สุมนะเป็นอุปัฏฐาก, จงไปยังสำนัก ของพระเถระนั้นเถอะ. พระราชกุมารนั้น เข้าไปหาพระเถระแล้ว ถวาย


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 306

บังคมแล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดาแก่เราเถิด. ลำดับนั้น พระเถระเมื่อพระราชกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแหละ จึงดำลงดิน ไปแล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชบุตร จะมาเฝ้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ปูลาด อาสนะไว้ข้างนอก. พระเถระ ทั้งที่พระกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแหละ รับ พุทธอาสน์แล้ว ดำลงภายในพระคันธกุฎีแล้ว ปรากฏภายนอกบริเวณ ให้ปูลาดอาสนะไว้บริเวณพระคันธกุฎี. พระกุมารเห็นเหตุนั้นแล้วเกิด ความคิดขึ้นว่า พระเถระนี้สำคัญยิ่งนัก.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้ว ประทับ นั่งบนอาสนะที่พระเถระปูลาดแล้ว. พระราชบุตรถวายบังคมพระศาสดา แล้ว ทำปฏิสันถารแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระรูปนี้ เห็นทีจะมีความคุ้นเคยในพระศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ใช่แล้วกุมาร เป็นผู้มีความคุ้นเคย. พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภิกษุนี้ทำอย่างไรจึงมีความคุ้นเคย. พระศาสดาตรัสว่า กระทำบุญ ทั้งหลาย มีทานเป็นต้นไว้. พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์จงเป็นผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธศาสนา ในอนาคตกาลเหมือนพระเถระรูปนี้เถิด แล้วถวายภัตตามขอบเขตกำหนดตลอด ๗ วันแล้ว ในวันที่ ๗ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้วาระบำรุงพระองค์ตลอด ๓ เดือน จากสำนักพระบิดาของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงยับยั้งอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน เพื่อข้าพระองค์เถิด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า ประโยชน์ในการไปในที่นั้น จะมี หรือไม่หนอ ทรงเห็นว่ามี จึงตรัสว่า กุมาร พระตถาคตทั้งหลาย ย่อม ยินดียิ่ง ในเรือนว่างเปล่าแล. พระกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 307

ข้าพระองค์ทราบพระดำรัสแล้ว, ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ทราบ พระดำรัสแล้ว, ดังนี้แล้ว ให้พระพุทธเจ้ารับปฏิญญาว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไปถึงแล้ว ก่อนอื่นจะให้คนสร้างวิหาร, เมื่อข้าพระองค์ ส่งข่าวสาสน์แล้ว ขอพระองค์จงเสด็จมาพร้อมกับภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ดังนี้แล้ว ไปเฝ้าพระราชบิดาแล้ว ถวายบังคมพระราชบิดา ด้วยพระดำรัสว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ปฏิญญาแก่ ข้าพระองค์แล้ว, เมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวสาสน์ไปแล้ว พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่ ดังนี้แล้วจึงออกไป เมื่อจะสร้างวิหารในเนื้อที่ทุกๆ โยชน์ เสด็จไปสู่หนทางไกลถึง ๑๒๐ โยชน์. ก็ครั้นเสด็จไปแล้ว พิจารณา ถึงสถานที่สร้างวิหารในพระนครของพระองค์ เห็นอุทยานของโสภณกุฎุมพี จึงซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้วสละทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ ให้สร้าง วิหาร. ครั้นให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และให้สร้าง กุฎีที่เร้นและมณฑป เพื่อเป็นที่พักกลางคืนและกลางวันสำหรับหมู่ภิกษุ ที่เหลือในที่นั้นแล้ว ให้ตั้งกำแพงล้อมรอบ และซุ้มประตูแล้ว จึงส่ง สาสน์ไปยังสำนักพระราชบิดาว่า การงานของข้าพระองค์เสร็จแล้ว, ขอ พระองค์ จงส่งสาสน์ไปยังพระศาสดา.

พระราชาทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว กราบทูล ว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า การงานของสุมนะ สำเร็จแล้ว, บัดนี้ หวังการ เสด็จไปของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป แวดล้อม แล้ว ได้เสด็จไปประทับอยู่ในวิหารทุกๆ โยชน์. พระกุมารทรงทราบว่า พระศาสดาจะเสด็จมา จึงเสด็จไปต้อนรับในที่โยชน์หนึ่ง นำเอาของหอม และดอกไม้เป็นต้นบูชา นิมนต์ให้เสด็จเข้าไปยังวิหารที่สร้างด้วยทรัพย์


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 308

๑๐๐,๐๐๐ ในอุทยานชื่อว่า โสภณะ ที่ซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้ว มอบถวายวิหารนั้น ด้วยพระดำรัสว่า:-

ข้าแต่พระมหามุนีเจ้า ขอพระองค์จงทรงรับอุทยาน ชื่อโสภณะ ที่ข้าพระองค์ซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้ว สร้างด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ เถิด.

ในวันเข้าพรรษา พระกุมารนั้น ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว มอบหมาย หน้าที่การงานให้บุตรและภรรยา อีกทั้งพวกอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านพึงให้ทาน โดยทำนองนี้แหละ แล้วพระองค์เองก็อยู่ในที่ใกล้ สถานที่อยู่ของพระสุมนเถระนั่นแล ทำการบำรุงพระศาสดาตลอด ๓ เดือน เมื่อใกล้ถึงวันปวารณา จึงเข้าไปสู่บ้านแล้ว ยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงจัดวางผ้าไตรจีวรทั้งหลาย ที่แทบพระบาทพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูปแล้ว ถวายบังคม ตั้งปณิธาน ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทำบุญมาตั้งแต่การให้ทานตามเขต กำหนดตลอด ๗ วัน ข้อผลบุญอันนั้น อย่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ สวรรค์สมบัติเป็นต้นเลย โดยที่แท้ขอให้ข้าพระองค์พึงได้เป็นอุปัฏฐากของ พระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระสุมนเถระรูปนี้เถิด. แม้พระศาสดา ก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาของพระกุมารนั้นหาอันตราย มิได้ จึงตรัสพยากรณ์แล้วเสด็จหลีกไป.

แม้พระราชกุมารนั้น ทรงบำเพ็ญบุญมากมาย ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ ปี ในพุทธุปบาทกาลนั้นแล้ว แม้ที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็ทรงสะสมบุญกรรมอัน โอฬารในภพนั้นๆ แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้ถวายผ้าอุตตรสาฎก เพื่อเป็นถลกบาตรแก่พระเถระรูปหนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ แล้วได้


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 309

ทรงทำการบูชา. บังเกิดในสวรรค์อีกครั้งแล้ว จุติจากสวรรค์นั้น ไปเกิดเป็น พระเจ้าพาราณสี ทรงพบพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ นิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น บริโภคแล้ว ให้ช่างสร้างบรรณศาลา ๘ หลัง ใน มงคลอุทยานของตนแล้ว ให้ตบแต่งตั้งที่สำเร็จล้วนด้วยรัตนะ และที่รอง เป็นแก้วมณี ๘ ที่ เพื่อเป็นที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ทำ การบำรุงตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี. สถานที่เหล่านั้น ยังปรากฏอยู่.

ก็เมื่อพระราชาทรงบำเพ็ญบุญเป็นอันมาก ในภพนั้นๆ ตลอดแสนกัป จึงได้บังเกิดในดุสิตบุรี พร้อมกับพระโพธิสัตว์ของพวกเรา จุติจากดุสิต นั้นแล้ว บังเกิดในวังของอมิโตทนะศากยวงศ์ ได้มีพระนามว่า อานนท์ เพราะท่านเกิดแล้ว ทำให้หมู่ญาติทั้งหมดได้รับความยินดีเพลิดเพลิน. ท่านเจริญวัยโดยลำดับแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ แล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรให้ เป็นไป แล้วเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก เสด็จออกจากกรุงนั้น (ท่านอานนท์) ออกไปพร้อมกับเจ้าภัททิยะเป็นต้น ออกไปเพื่อบวชเป็น บริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บวชแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานนัก ได้ฟังธรรมกถาในสำนักของท่าน พระปุณณมันตาณีบุตรแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ก็สมัยนั้น ตลอดเวลา ๒๐ ปี ในปฐมโพธิกาล ไม่มีอุปัฏฐาก ประจำสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. บางคราว พระนาคสมาละ ก็รับบาตร และจีวร ตามเสด็จไป, บางคราว พระนาคิตะ, บางคราว พระอุปวานะ, บางคราว พระสุนักขัตตะ, บางคราว พระจุนทสมณุทเทส, บางคราว พระสาคตะ, บางคราว พระเมฆิยะ, โดยมาก ท่านเหล่านั้นมิได้ทำจิต ของพระศาสดาให้ยินดีโปรดปรานเลย. ครั้นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 310

มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้ ที่บริเวณ พระคันธกุฎีแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นคนแก่, ภิกษุบางพวก เมื่อเรากล่าวว่า เราจะไป ทางนี้ บัดนี้ ก็กลับไปทางอื่นเสีย. ภิกษุบางพวก วางบาตรและจีวร ของเราไว้ที่ภาคพื้น, พวกเธอจงรู้ภิกษุผู้จะอุปัฏฐากเราเป็นประจำ. เพราะ ได้ฟังพระดำรัสนั้น ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากบำรุงพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร. พระมหาสาวกทั้งหมด เริ่มต้น แต่พระมหาโมคคัลลานะไป เว้นท่านพระอานนท์เสีย พากันลุกขึ้นกราบ ทูลโดยอุบายนั้นว่า ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก, ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสห้ามพระสาวกแม้เหล่านั้นเสีย. ส่วน พระอานนท์นั้น ได้นั่งนิ่งแล้วทีเดียว. ลำดับนั้น พวกภิกษุ กล่าวกะท่าน พระอานนท์นั้นว่า ผู้มีอายุ แม้ท่านก็จงทูลขอตำแหน่งการอุปัฏฐาก ประจำพระศาสดาเถิด. พระ.อานนท์กล่าวว่า ถ้าทูลขอได้ตำแหน่งมาแล้ว จะเป็นเช่นไร. ถ้าชอบใจ, พระศาสดา ก็จักตรัสเอง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าอื่น จะพึง ให้อานนท์อุตสาหะขึ้นไม่ได้, ตนเองเท่านั้น ทราบแล้ว จักอุปัฏฐาก. เรา, ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย พากันกล่าวว่า อานนท์ผู้มีอายุ เธอจง ลุกขึ้น จงทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระศาสดาเถิด. พระเถระลุกขึ้นแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ให้จีวรอันประณีต ที่พระองค์ได้แล้ว แก่ข้าพระองค์


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 311

จักไม่ให้บิณฑบาตอันประณีต, จักไม่ให้เพื่ออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกัน, รับนิมนต์แล้ว จักไม่ไป, ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง. พระอานนท์ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากประจำ รับพร ๘ ประการ คือ ข้อห้าม ๔ ประการเหล่านี้ เพื่อปลดเปลื้องคำติเตียนว่า เมื่อพระศาสดาได้รับคุณ มีประมาณเท่านี้, ภาระอะไร ในการที่จะอุปัฏฐาก, พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จไป ยังที่นิมนต์ที่ ข้าพระองค์รับแล้ว, ถ้าเมื่อมีคนพากันมาจากที่ไกล ข้าพระองค์จักได้เพื่อ เข้าเฝ้าในทันทีทีเดียว. เมื่อข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้น จักได้เพื่อเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทันทีทีเดียว, ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงแสดง ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วลับหลัง แก่ข้าพระองค์ซ้ำอีก ข้าพระองค์จัก อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทันที การทูลขอพร ๔ ประการเหล่านี้ เพื่อปลด เปลื้องคำติเตียนพระอานนท์ ย่อมไม่ได้การอนุเคราะห์ในสำนักของพระศาสดา แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล. และเพื่อบำเพ็ญบารมีความเป็น ธรรมภัณฑาคาริกให้บริบูรณ์ว่า พระอานนท์บรรลุผลแห่งบารมีที่บำเพ็ญ มาตลอดแสนกัป ก็เพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งนั้นนั่นแหละแล้ว, ท่านตั้งแต่ วันที่ได้ตำแหน่งอุปัฏฐากแล้ว เมื่อจะอุปัฏฐากพระทศพล ด้วยกิจทั้งหลาย เป็นต้นอย่างนี้ว่า ด้วยน้ำ ๒ ชนิด, ด้วยไม้สีฟัน ๓ ชนิด, ด้วยการ บริกรรมมือและเท้า, ด้วยการบริกรรมหลัง, ด้วยการปัดกวาดบริเวณ พระคันธกุฎี ดังนี้ ก็ทราบว่า เวลานี้พระศาสดาควรจะได้สิ่งนี้, และ ควรจะทำสิ่งนี้ถวาย ดังนี้ เป็นผู้เฝ้าสำนักตลอดกลางวัน ในเวลากลางคืน ก็ตามประทีปใหญ่ไว้ คอยรักษาเหตุการณ์บริเวณพระคันธกุฎี ๙ ครั้ง เมื่อพระศาสดาตรัสเรียก ก็รีบถวายคำตอบ เพื่อบรรเทาถีนมิทธนิวรณ์เสีย.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 312

ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยสงฆ์ใน พระเชตวันแล้ว ทรงสรรเสริญท่านพระอานนท์ โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีธิติ และผู้อุปัฏฐาก. พระอานนท์ ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งเอตทัคคะ ในฐานะ ๕ ประการจากพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ประกอบด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของพระศาสดา พระมหาเถระรูปนี้ ถึงจะยังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ก็ตาม แต่เมื่อพระศาสดา ปรินิพพานแล้ว ภายหลังถูกหมู่ภิกษุกระตุ้นให้อาจหาญแล้ว และถูก เทวดาทำให้เกิดสังเวชแล้ว โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงได้เกิดความ อุตสาหะขึ้นว่า ก็กาลพรุ่งนี้แล้วซิหนอ พระมหาเถระทั้งหลาย จะทำการ ร้อยกรองพระธรรมวินัยกัน, ข้อที่เราเป็นพระเสขบุคคล เป็นผู้มีกิจที่ จะต้องทำ จะเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อร้อยกรองพระธรรมวินัยร่วมกับพระเถระ อเสขบุคคลทั้งหลาย ไม่สมควรแก่เราเลยหนอ ดังนี้ จึงเริ่มเจริญวิปัสสนา บำเพ็ญวิปัสสนาทั้งกลางวันและคืน ไม่ได้ความเพียรที่สม่ำเสมอในการเดิน จงกรม จึงไปสู่วิหาร นั่งบนที่นอน ประสงค์จะนอนพักผ่อน จึงเอนกายลง. ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน เท้าทั้งสองข้างเพียงพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น เป็นผู้ได้อภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑:-

พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จออกจาก ประตูพระอารามแล้ว ทรงยังเมล็ดฝนอมฤตให้ตกอยู่ ยัง มหาชนให้เย็นสบาย พระขีณาสพผู้เป็นนักปราชญ์ เหล่านั้นประมาณตั้งแสน ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก


๑. ขุ. อุ. ๓๒/ข้อ ๑๒.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 313

แวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดุจพระฉายาตามพระองค์ ฉะนั้น เวลานั้น เราอยู่บนคอช้าง ทรงไว้ซึ่งฉัตรขาว อันประเสริฐสุด ปีติย่อมเกิดแก่เราเพราะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีรูปงาม เราลงจากคอช้างแล้ว เข้า ไปเฝ้าพระนราสภ ได้กั้นฉัตรแก้วของเราถวายแด่ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาฤาษีพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงหยุด กถานั้นไว้ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้กั้นฉัตร อันประดับด้วยเครื่องอลังการทอง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว สัตว์ผู้นี้ไปจากมนุษยโลกนี้ จักครอบครองดุสิต จักเสวยสมบัติมีนางอัปสรทั้งหลาย แวดล้อม จักเสวยเทวราชสมบัติ ๓๔ ครั้ง จักเป็นอธิบดี แห่งชน ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติในประเทศราช อันไพบูลย์ในแผ่นดิน ในแสนกัปพระศาสดาพระนามว่า โคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสแห่งพระญาติของ พระพุทธเจ้าผู้เป็นธงชัยแห่งสกุลศากยะ จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก มีชื่อว่า อานนท์ จักมีความเพียร ประกอบ ด้วยปัญญา ฉลาดในพาหุสัจจะ มีความประพฤติอ่อนน้อม


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 314

ไม่กระด้าง ชำนาญในบาลีทั้งปวง พระอานนท์นั้นมีตน ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับไม่มีอุปธิ จักกำหนด รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน มีช้างกุญชร อยู่ในป่า อายุ ๖๐ ปี ตกมันสามครั้ง เกิดในตระกูลช้าง มาตังคะ มีงางอนงาม ควรเป็นราชพาหนะฉันใด แม้ บัณฑิตทั้งหลายก็ฉันนั้น ประมาณได้หลายแสนมีฤทธิ์มาก ทั้งหมดนั้น ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่มีกิเลส เราจักนมัสการทั้งยามต้น ในยามกลาง และในยามสุด เรามีจิตผ่องใส ปลื้มใจ บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เรามีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา มีสติสัมปชัญญะ บรรลุโสดาปัตติผล ฉลาดในเสขภูมิ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราก่อสร้างกรรมใด เราบรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้นแล้ว ศรัทธาตั้งมั่นแล้วมีผลมาก การมาในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดของเรา เป็นการมาดีหนอ... ฯลฯ. ..พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ก็ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ เข้าไปสู่มณฑปสำหรับ สังคายนา เมื่อจะสังคายนาพระธรรม จึงทำการแยกกล่าวคาถาภาษิตไว้ แผนกหนึ่ง ด้วยมุ่งที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นๆ และมุ่งที่จะ ประกาศข้อปฏิบัติของตนเป็นต้น ในเวลาที่จะทำการสังคายนาขุททกนิกาย ตามลำดับ เมื่อจะยกขึ้นสู่สังคายนา ในเถรคาถา จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 315

บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบ ส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่น พินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก แต่ บัณฑิตควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา มี ศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการสมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่าง เดียว เชิญดูร่างกายอันมีกระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็น ใหญ่น้อยผูกขึ้นเป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรมตบแต่งให้ วิจิตร มีแผลทั่วทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลา พากันดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคดมโดยโคตร เป็นผู้ได้สดับมามาก มี ถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ปลงภาระลง แล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้น อาสวะแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องเกาะเกี่ยวแล้ว ล่วง ธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและ ชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด ธรรมทั้งหลายของ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้ว ในบุคคลใด บุคคลนั้น คือพระอานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในมรรค เป็นทางไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรมเสนาบดี เป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นธรรมที่คล่องปากขึ้น


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 316

ใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชายมีการศึกษาเล่าเรียน มาน้อย ย่อมแก่เปล่า เหมือนกับโคที่มีกำลังแต่เขาไม่ ได้ใช้งานฉะนั้น เนื้อย่อมเจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญ แก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน มาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไปฉะนั้น บุคคลควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามามาก แต่ไม่ควรทำ สุตะที่ตนได้มาให้พินาศ เพราะสุตะที่ตนได้มานั้น เป็น เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงควรเป็นผู้ทรง ธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย รู้อรรถ แห่งภาษิต ฉลาดในนิรุตติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรมให้ เป็นการเล่าเรียนดี และพิจารณาเนื้อความ เป็นผู้กระทำ ความพอใจด้วยความอดทน พยายามพิจารณา ตั้งความ เพียร ในเวลาพยายามมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน บุคคล ควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็น สาวกของพระพุทธเจ้า หวังการรู้แจ้งธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรม แห่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็น ดวงตาของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้อันมหาชน ควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นพหูสูตยินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัทธรรม เมื่อกายและชีวิตของตนเสื่อมไป ภิกษุผู้หนักในความ


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 317

ตระหนี่กาย ติดอยู่ด้วยความสุขทางร่างกาย ไม่ขวนขวาย บำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมีแต่ที่ไหน ทิศ ทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้เป็นกัลยาณมิตรนิพพานแล้ว โลกทั้งหมดนี้ปรากฏเหมือนความมืดมน กายคตาสติ ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียวฉันใด กัลยาณมิตร เช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว มี พระศาสดานิพพานไปแล้วฉันนั้น มิตรเก่าพากันล่วงลับ ไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคมด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะ เพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เหมือนกับนกที่อยู่ในรัง ในฤดูฝน ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า

เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่ ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า เพราะประชุมชน เหล่านั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้ เป็นเวลาที่จะเห็นเรา.

พระอานนท์เถระจงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า

พระศาสดาผู้มีจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุม ชนที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า ไม่ ทรงห้าม เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี กามสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เมื่อ เรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญาไม่เกิด


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 318

ขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปัฏฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมตตากายกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมตตามโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดิน ตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรง แสดงธรรมอยู่ ฌานเกิดขึ้นแก่เรา เราเป็นผู้มีกิจที่จะต้อง ทำ ยังเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต พระศาสดา พระองค์ใดเป็นผู้ทรงอนุเคราะห์เรา พระศาสดาพระองค์ นั้น ได้เสด็จปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียว และได้เกิดขนพองสยองเกล้า.

พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา ความว่า

พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณ อันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ปรินิพพานไปเสีย แล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่ง


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 319

ใหญ่ เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความ มืดมนที่เป็นเหตุทำให้เป็นดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระเป็นผู้มีคติ มีสติ และธิติ เป็นผู้แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

พระอานนท์เถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า

เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอน ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถา ๒ คาถาเริ่มต้นว่า ปิสุเณน จ ความว่า บัณฑิตเป็นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้ทำการคลุกคลีกันกับพวกภิกษุฝ่ายพระเทวทัตแล้ว กล่าวโดยมุ่งที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิสุเณน ได้แก่ ด้วยวาจาส่อเสียด. จริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยวาจานั้น ท่านเรียกว่า ปิสุณะ เพราะเปรียบ เหมือนผ้าสีเขียวประกอบด้วยส่วนสีเขียว. บทว่า โกธเนน แปลว่า มี ความโกรธเป็นปกติ. ชื่อว่าผู้ตระหนี่ เพราะมีความตระหนี่อันมีลักษณะ ปกปิดสมบัติของตน.

บทว่า วิภูตนนฺทินา ความว่า ผู้ปรารถนาจะทำสมบัติที่ปรากฏชัด ของปวงสัตว์ให้พินาศไป หรือผู้ปรารถนาจะให้สมบัติที่ปรากฏชัดนั้น แยกเป็นแผนกจากกัน, คำทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวประสงค์ถึงพวกภิกษุ ฝ่ายพระเทวทัตเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ผู้ถูกความตระหนี่ครอบงำ มีแต่ความตระหนี่กล้าแข็งเป็นต้น พากันทำลายเหล่าชนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 320

ชอบเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะแสดงวัตถุ ๕ ประการ เพราะตนทำ พระศาสดาไว้ภายนอก ดำเนินการเพื่อความพินาศแก่มหาชนเป็นอันมาก.

บทว่า สขิตํ ความว่า ไม่ควรทำตนให้เป็นสหาย คือให้มีความ คลุกคลีกัน, เพราะเหตุไร? เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความ ลามก คือการสมาคมกับคนชั่ว คือคนบาป เป็นความเลวทรามต่ำช้า. จริงอยู่ คนที่เอาเยี่ยงอย่างคนพาลนั้น ก็มีแต่จะนำเอาลักษณะคนพาล มีความคิดถึงเรื่องที่คิดแล้วชั่วเป็นต้น เป็นประเภทมาให้, จะป่วยกล่าว ไปไย ถึงคนที่ทำตามคำพูดของคนพาลเหล่านั้นเล่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยบางอย่างที่จะเกิด ขึ้น, ภัยเหล่านั้นทั้งหมด เกิดขึ้นเพราะคนพาล, มิใช่เกิดขึ้นเพราะ บัณฑิตเลย ดังนี้เป็นต้น.

ก็เพื่อจะแสดงถึงบุคคล ที่บัณฑิตจะพึงทำความเกี่ยวข้องด้วย ท่าน จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สทฺเธน จ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วย ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม และด้วยความเชื่อในพระรัตนตรัย.

บทว่า เปสเลน ได้แก่ มีศีลน่ารัก คือสมบูรณ์ด้วยศีล.

บทว่า ปญฺวตา ความว่า มีความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยอำนาจ ปัญญาเครื่องรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป.

บทว่า พหุสฺสุเตน ความว่า ผู้ได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะ บริบูรณ์ด้วยพาหุสัจจะจนถึงปริยัติและปฏิเวธ.

บทว่า ภทฺโท อธิบายว่า การเกี่ยวข้อง กับคนดีเช่นนั้น เป็นความ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 321

เจริญ เป็นความดี เป็นความงาม ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์อันต่างด้วย ประโยชน์ในโลกนี้เป็นต้น.

คาถา ๗ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า ปสฺส จิตฺตกตํ ดังนี้ ความว่า เมื่อ นางอุตตราอุบาสิกาเกิดกามสัญญาขึ้น เพราะได้เห็นรูปสมบัติของท่าน ท่านกล่าวคาถาไว้ก็เพื่อจะให้เกิดการตัดความพอใจในร่างกายได้. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า เพื่อจะให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะได้ เห็นนางอัมพปาลีคณิกา ดังนี้ก็มี. คาถานั้นมีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้ แล้วในหนหลังนั่นแล.

คาถา ๒ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต จิตฺตกถี พระเถระบรรลุ พระอรหัตแล้ว กล่าวไว้ด้วยอำนาจอุทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจารโก คือเป็นผู้อุปัฏฐาก. คำว่า เสยฺยํ กปฺเปติ นี้ ท่านกล่าวไว้ เพราะพระอานนท์นอนในลำดับต่อจาก การบรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระเถระยังราตรีเป็นอันมากให้ผ่าน พ้นไปด้วยการจงกรมแล้ว จึงเข้าไปสู่ห้อง เพื่อจะให้ร่างกายเกิดความ อบอุ่นแล้ว นั่งบนเตียงเพื่อจะนอน พอเท้าสองข้างพ้นจากพื้น แต่ศีรษะ ยังไม่ทันถึงหมอน, ในทันทีนั้น ท่านก็บรรลุพระอรหัต แล้วจึงนอน.

บทว่า ขีณาสโว ความว่า ท่านสิ้นอาสวะทั้ง ๔ ได้แล้ว ต่อแต่ นั้นนั่นแหละ ท่านก็ปราศจากโยคะทั้ง ๔ ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้ แล้ว เพราะล่วงพ้นจากเครื่องข้องคือราคะเป็นต้นได้, เป็นผู้ดับสนิท คือ เย็น เพราะสงบระงับความเร่าร้อนคือกิเลสได้สิ้นเชิง.

คาถาว่า ยสฺมึ ปติฏฺิตา ธมฺมา ท้าวมหาพรหมขีณาสพกล่าวไว้ เพราะมุ่งเจาะจงพระเถระ. จริงอยู่ เมื่อการทำสังคายนาพระธรรม


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 322

จวนใกล้เข้ามาแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งย่อมฟุ้งไป ด้วยกลิ่นหอมอบอวลดังนี้ เจาะจงพระเถระ. ลำดับนั้น เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถระจึงมายังประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา เพื่อให้สงฆ์พร้อม เพรียงกัน ท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส เมื่อจะให้ภิกษุเหล่านั้นละอาย ด้วยการประกาศความเป็นพระขีณาสพของพระอานนท์ จึงกล่าวคาถาว่า ยสฺมึ ปติฏฺิตา ธมฺมา ดังนี้เป็นต้น, ความแห่งคาถานั้นว่า :- ธรรม ทั้งหลายของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ ปฏิเวธธรรม และปริยัติธรรม ที่พระองค์เท่านั้นบรรลุแล้ว และประกาศแล้ว ตั้งอยู่ แล้วในบุรุษผู้วิเศษใด, บุรุษผู้วิเศษนี้นั้น คือพระอานนท์ผู้โคตมโคตร ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก บัดนี้ตั้งอยู่แล้วในมรรคอันเป็นทางไปส่อนุปาทิ- เสสนิพพาน เพราะท่านได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว คือเป็นผู้มี ส่วนแห่งนิพพานนั้นแน่นอน.

ครั้นวันหนึ่ง พราหมณ์ชื่อว่าโคปกโมคคัลลานะ เรียนถาม พระเถระว่า ท่านเป็นผู้ปรากฏในพระพุทธศาสนาว่า เป็นพหูสูต, ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใดที่พระศาสดาได้ตรัสแล้วแก่ท่าน, ที่ท่าน ทรงจำไว้แล้ว? พระเถระเมื่อจะให้คำตอบแก่พราหมณ์นั้น จึงกล่าวคาถา ว่า ทฺวาสีติ ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า ทฺวาสีติ นั้น มีโยชนาแก้ว่า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. บทว่า พุทฺธโต คณฺหึ ความว่า ได้เล่าเรียนมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือได้เรียนมาจากสำนักของพระศาสดา ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. บทว่า เทฺว สหสฺสานิ ภิกฺขุโต ความว่า ได้เล่าเรียนจาก สำนักภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือได้เล่าเรียนจากสำนักภิกษุทั้งหลาย มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 323

บทว่า จตุราสีติสหสฺสานิ ได้แก่ รวมทั้ง ๒ สำนักนั้นได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. บทว่า เย เม ธมฺมาปวตฺติโน ความว่า พระธรรมขันธ์มีประมาณตามที่ได้กล่าวไว้แล้วของข้าพเจ้า ช่ำชอง คล่องปาก ติด อยู่ที่ปลายลิ้น.

ในกาลครั้งหนึ่ง พระเถระบวชในพระศาสนาแล้ว เห็นคนคนหนึ่ง ผู้ไม่ประกอบในวิปัสสนาธุระและคันถธุระแล้ว เมื่อจะประกาศโทษใน เพราะความไม่มีพาหุสัจจะ จึงกล่าวคาถาว่า อปฺปสฺสุตายํ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปสฺสุตายํ ความว่า คนที่มีการศึกษาเล่าเรียน มาน้อย เพราะไม่มีการเล่าเรียนพระสูตร ๑ สูตร, ๒ สูตร, หรือ ๕๐ สูตร, อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีการเล่าเรียนพระสูตร ๑ สูตร, หรือ ๒ สูตร, โดยที่สุดแม้พระสูตร ๑ วรรค แต่เขาพากเพียรเรียนกัมมัฏฐาน ก็ชื่อว่า เป็นพหูสูตได้. บทว่า พลิพทฺโทว ชีรติ ความว่า เปรียบเหมือนโคที่ มีกำลัง มีชีวิต เจริญเติบโตมิใช่เพื่อเป็นแม่โค หรือพ่อโค, ไม่เจริญ เพื่อประโยชน์แก่หมู่ญาติที่เหลือ, ที่แท้ ย่อมแก่เปล่าไร้ประโยชน์ฉันใด แม้คนนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ทำอุปัชฌายวัตร, อาจริยวัตร, และ อาคันตุกวัตรเป็นต้น, ไม่ประกอบความเพียรบำพ็ญภาวนา, ก็มีแต่แก่ เปล่าไร้ประโยชน์. บทว่า มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ความว่า เปรียบ เหมือนเมื่อโคที่มีกำลัง ถูกเจ้าของปล่อยไปในป่า ด้วยคิดว่า โคตัวนี้ไม่ สามารถในการลากไถและนำภาระเป็นต้นไปได้ ดังนี้ มันจะเที่ยวกินและ ดื่มตามสบายใจ เนื้อย่อมเจริญแก่มัน ฉันใด, แม้คนคนนี้ ก็ฉันนั้น นั่นแหละ ทอดทิ้งจากวัตร มีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อาศัยพระสงฆ์ พอ ได้ปัจจัย ๔ แล้ว ทำกิจมีการถ่ายเป็นต้นแล้ว บำรุงเลี้ยงร่างกาย เนื้อ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 324

ของเขาย่อมเจริญ เป็นผู้มีสรีระอ้วนเที่ยวไป. บทว่า ปญฺา อธิบายว่า ส่วนปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระของเขา แม้เพียงองคุลีหนึ่งก็ไม่เจริญ ขึ้น คือตัณหาและมานะ ๙ ประการ ย่อมเจริญแก่เขา เพราะอาศัยทวาร ทั้ง ๖ เหมือนกอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น งอกงามในป่าฉะนั้น.

คาถาว่า พหุสฺสุโต ท่านกล่าวมุ่งถึงภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ดูหมิ่นภิกษุอื่น เพราะอาศัยว่าตนเป็นพหูสูต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเตน ได้แก่ เพราะเหตุแห่งสุตะ คือระบุว่าตนเป็นพหูสูต. บทว่า อติมญฺติ ความว่า ย่อมก้าวล่วงดูหมิ่น คือยกตนขึ้นข่มขู่ผู้อื่น. บทว่า ตเถว ความว่า เหมือน คนตาบอดถือดวงไฟไปในที่มืด เพราะการให้แสงสว่าง จึงเป็นเหตุนำ ประโยชน์มาให้แก่คนเหล่าอื่นเท่านั้น หานำประโยชน์มาให้แก่ตนเองไม่ ฉันใด บุคคลฟังปริยัติจนเป็นผู้คงแก่เรียน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เข้าถึง การฟัง ไม่บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ตน กลับเป็นคนบอด ด้วยการให้แสง สว่างแห่งญาณ จึงนำประโยชน์มาให้แก่คนเหล่าอื่นเท่านั้น ไม่นำ ประโยชน์มาให้แก่ตนเองเลย ดุจคนตาบอดถือดวงไฟ ย่อมปรากฏแก่เรา ฉะนั้น.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงอานิสงส์ในความเป็นผู้ได้สดับมามาก ท่าน จึงกล่าวคาถาว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้เป็นต้น, บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาเสยฺย แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้. บทว่า สุตญฺจ น วินาสเย ความว่า เข้าไปหาท่านผู้เป็นพหูสูตแล้ว ไม่ยอมให้การสดับที่ได้แล้ว พินาศไป เหือดแห้งไป แต่กลับให้เจริญด้วยการทรงจำ คุ้นเคย สอบ ถาม และมนสิการ. บทว่า ตํ มูลํ พฺรหฺมจริยสฺส ความว่า เพราะเข้า ไปหาท่านผู้เป็นพหูสูต ได้สดับสูตรที่ฟังมาเป็นอันมากคือปริยัติธรรมนั้น


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 325

เป็นเบื้องต้น เป็นประธานแห่งมรรคพรหมจรรย์. เพราะฉะนั้น จึง สมควรเป็นผู้ทรงธรรม คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่งวิมุตตายตนะ ในการ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ครั้งแรกพึงเป็นผู้ทรงปริยัติธรรม.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเนื้อความที่บุคคลจะพึงให้สำเร็จด้วยความเป็นผู้ ได้สดับฟังมากในปริยัติธรรม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปุพฺพาปรญฺญู ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในคำนั้นว่า ชื่อว่าปุพพาปรัญญู เพราะ อรรถว่า ย่อมรู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย. จริงอยู่ แม้เมื่อส่วน แห่งอักษรเบื้องต้นของคาถาหนึ่งยังไม่ปรากฏ หรือส่วนแห่งอักษรเบื้อง ต้นปรากฏอยู่ส่วนแห่งอักษรเบื้องปลายยังไม่ปรากฏก็ตาม เขารู้ว่า นี้พึง เป็นส่วนอักษรต้น แห่งส่วนอักษรเบื้องปลาย หรือว่า นี้พึงเป็นส่วน อักษรปลายแห่งส่วนอักษรเบื้องต้น ดังนี้ชื่อว่า ปุพพาปรัญญู. ชื่อว่า อัตถัญญู เพราะอรรถว่า ย่อมรู้จักชนิดแห่งประโยชน์มีประโยชน์ตน เป็นต้น คือประโยชน์แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว. บทว่า นิรุตฺติปทโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ คือ ในนิรุตติปฏิสัมภิทา และแม้ในบทที่เหลือด้วย. บทว่า สุคฺคหิตญฺจ คณฺหาติ ความว่า เพราะความเป็นผู้ฉลาดนั้นแล ย่อมเล่าเรียนธรรมให้ เป็นการเล่าเรียนดีทีเดียว ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะ. บทว่า อตฺถญฺโจปปริกฺขติ ความว่า ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมตามที่ได้ ฟังแล้ว ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนแล้ว คือกำหนดไว้ในใจว่า ดังนี้เป็นศีล ดังนี้เป็นสมาธิ ดังนี้เป็นปัญญา เหล่านี้เป็นรูปธรรมและอรูปธรรม.

บทว่า ขนฺตฺยา ฉนฺทิกโต โหติ ความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายที่ตาม


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 326

เพ่งด้วยใจเหล่านั้น อดทนต่อการเพ่งพินิจ ด้วยทนต่อการเห็นและการ เพ่งพินิจมีอยู่ ย่อมเป็นผู้กระทำความพอใจ คือเกิดความพอใจ ในการ โน้มน้าวไปในวิปัสสนา โดยมุ่งที่จะกำหนดรูปเป็นต้น. และเมื่อบำเพ็ญ วิปัสสนาเป็นอย่างนั้นแล้ว พยายามพิจารณา คือทำความอุตสาหะ ด้วย การเห็นปัจจัยและนามรูปนั้นๆ ต่อแต่นั้นก็ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ไตร่ ตรอง พิจารณา เห็นนามรูปนั้นว่า ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็น อนัตตาบ้าง. บทว่า สมเย โส ปทหติ, อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ความว่า ท่านเมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว ก็ตั้งความเพียร ด้วยการประคองจิต เป็นต้น ในสมัยที่ควรประคองจิตเป็นต้น, และเมื่อจะเริ่มตั้งความเพียร พึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาสมาธิ และมรรคสมาธิไว้ในภาย ใน คือในภายในอารมณ์. พึงละกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหตุไม่ตั้งมั่นเสีย. อธิบายว่า เพราะคุณนี้นั้นแม้ทั้งหมด ย่อมมีแก่ผู้เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้เป็น พหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าฉะนั้น บุคคล ปรารภอสังขตธรรม หวังความรู้ในธรรม คือรู้แจ้งในธรรม เพราะตน ทำหน้าที่อันประเสริฐสุด มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น พึงคบ พึงเสพ คือพึงเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร มีประการดังกล่าวแล้วเช่นนั้นเถิด.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่าท่านผู้เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้ควรแก่การบูชา เพราะมีอุปการคุณมากมายอย่างนั้น จึงกล่าวคาถาว่า พหุสฺสุโต ดังนี้ เป็นต้น. ความแห่งบาทคาถานั้นว่า :- ชื่อว่า พหุสสุตะ เพราะมี คำสอนของพระศาสดา เช่น สุตตะและเคยยะเป็นต้น ที่ได้สดับแล้วเป็น อันมาก, ชื่อว่า ธัมมธระ เพราะทรงจำเทศนาธรรมนั้นทั้งหมดได้ ไม่


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 327

ให้สูญหายไป เหมือนน้ำมันเหลวของราชสีห์ ที่บุคคลใส่ไว้ในภาชนะ ทองคำ ฉะนั้น. ต่อแต่นั้น ก็ชื่อว่า โกสารักขะ เพราะรักษาคลัง พระธรรม ธรรมรัตนะของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน ยิ่งใหญ่, เพราะเป็นดวงตาของชาวโลก ด้วยการมองดูอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้น จึงเป็นดวงตาที่ชาวโลกทั้งหมดควรบูชา คือควรนับถือ, ท่าน กล่าวคำว่า พหุสฺสุโต ซ้ำอีก ก็ด้วยอำนาจคำลงท้าย เพื่อแสดงถึงความ เป็นพหูสูตว่า ชนเป็นอันมากควรบูชา.

พระเถระครั้นได้กัลยาณมิตรเห็นปานนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า ความไม่เสื่อมย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำตามเท่านั้น, หามีแก่บุคคลผู้ไม่ทำตาม ไม่ ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า ธมฺมาราโม ดังนี้เป็นต้น. อธิบายว่า ความ ยินดีมีสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรม เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัยใน ธรรมนั้น, ชื่อว่า ธัมมรตะ เพราะยินดี คือยินดียิ่งในธรรมนั้นนั่นเอง ชื่อว่า ค้นคว้าธรรม คือคำนึงถึงธรรม ได้แก่ กระทำไว้ในใจด้วยการ คิดถึงธรรมนั้นนั่นแหละบ่อยๆ.

บทว่า อนุสฺสรํ ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นเท่านั้น.

บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙ ประการ, ใน กาลไหนๆ ความเสื่อมจากธรรมนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.

ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเมื่อจะให้ภิกษุผู้ชื่อว่ามีราคะยังไม่ไปปราศ เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำทราม มีความฉลาด ให้เกิดความสังเวชใน ร่างกาย จึงกล่าวคาถาว่า กายมจฺเฉรครุโน ดังนี้เป็นต้น.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 328

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายมจฺเฉรครุโน ความว่า เที่ยวไป ไม่ยอมทำอะไรที่ควรทำทางกายแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ มัวแต่สำคัญกาย ว่าเป็นของเรา มากไปด้วยความยึดมั่นในร่างกาย.

บทว่า หิยฺยมาเน ความว่า เมื่อร่างกายและชีวิตของตนเสื่อมไป ทุกๆ ขณะ.

บทว่า อนุฏฺเห ความว่า ไม่พึงทำความเพียรเป็นเหตุลุกขึ้น ด้วย อำนาจการบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น.

บทว่า สรีรสุขคิทฺธสฺส ความว่า ถึงความติดคอยู่ (ในสรีระ) ด้วย การทำสรีระของตนให้ถึงความสุขนั่นแล.

บทว่า กุโต สมณผาสุตา ความว่า ความอยู่สุขสบายด้วยความ เป็นสมณะของบุคคลเห็นปานนั้น จักมีแต่ที่ไหน, คือความอยู่ผาสุกย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้นเลย.

คาถาเริ่มต้นว่า น ปกฺขนฺติ ดังนี้ พระเถระทราบอย่างแจ่มชัดว่า ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปกฺขนฺติ ทิสา สพฺพา ความว่า ทิศทั้งหมดมีทิศตะวันออกเป็นต้น ย่อมไม่ปรากฏ คือเป็นผู้หลงทิศ.

บทว่า ธมฺมา น ปฏิภนฺติ มํ ความว่า ธรรมที่ได้เล่าเรียนแล้ว แม้จะช่ำของด้วยดีในครั้งก่อน. แต่ในบัดนี้ แม้จะนำมาเทียบเคียงโดย เคารพ ก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า.

บทว่า คเต กลฺยาณมิตฺตมฺหิ ความว่า เมื่อท่านพระธรรมเสนาบดี ผู้เป็นกัลยาณมิตรของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ถึงอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 329

บทว่า อนฺธการํว ขายติ ความว่า โลกนี้แม้ทั้งหมด ย่อมปรากฏ เหมือนมืดมน.

บทว่า อพฺภตีตสหายสฺส ความว่า ผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว คือ ปราศจากกัลยาณมิตร.

บทว่า อตีตคตสตฺถุโน ความว่า ท่านเป็นผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จล่วงลับไปแล้ว คือเป็นผู้มีพระศาสดาปรินิพพานไปแล้ว.

บทว่า ยถา กายคตา สติ อธิบายว่า ชื่อว่า มิตรอื่นที่จะนำ ประโยชน์มาให้โดยส่วนเดียว แก่บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งเช่นนั้น ไม่มี เหมือน กายคตาสติภาวนา มีแต่จะนำประโยชน์มาให้โดยส่วนเดียวแก่บุคคลผู้ บำเพ็ญนั้น, ภาวนาอย่างอื่นนำประโยชน์มาให้ ก็เฉพาะบุคคลที่มีที่พึ่ง เท่านั้น.

บทว่า ปุราณา ได้แก่ มิตรเก่า ที่พระเถระกล่าวหมายเอากัลยาณมิตร มีพระสารีบุตรเป็นต้น.

บทว่า นเวหิ ได้แก่ ด้วยมิตรใหม่.

บทว่า น สเมติ เม ความว่า จิตของเราย่อมไม่สมาคม คือจิต ของเรามิได้เกิดความยินดีกับพวกมิตรใหม่เลย.

บทว่า สฺวชฺช เอโกว ฌายามิ ความว่า วันนี้ เรานั้นเว้นจาก ท่านผู้แก่กว่าทั้งหลาย เป็นผู้เดียวเพ่งฌานอยู่ คือเป็นผู้ขวนขวายในฌานอยู่.

บทว่า วสฺสุเปโต ได้แก่ เหมือนนกที่เข้าอยู่ในรังในฤดูฝน, บาลี ว่า วาสุเปโต ดังนี้บ้าง ความว่า เข้าไปอยู่.

คาถาว่า ทสฺสนาย อภิกกนฺเต ดังนี้ พระศาสดาได้ตรัสไว้. ความ


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 330

แห่งบาทคาถานั้นว่า:- อานนท์ เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมากที่พา กันมาจากประเทศต่างๆ ไม่ให้เข้าเฝ้าเรา ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้าของเราเลย. เพราะอะไร? เพราะคนฟังธรรมเหล่านั้น (ต้องการ) จะเห็นเรา, ก็เฉพาะ ในเวลาเฝ้านี้เท่านั้น.

พระเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จงกล่าวคาถาอื่นอีกว่า ทสฺสนาย อภิกฺกนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ก็คาถาก่อนที่ท่านวางไว้ในที่นี้ ก็เพื่อความ สัมพันธ์กันกับคาถานี้, ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงแสดงความสำเร็จ ประโยชน์แห่งบทนั้นว่า ถ้าเราจักได้เพื่อให้ประชาชนที่พากันมาจาก ประเทศอื่น ได้เข้าเฝ้าในทันทีไซร้.

คาถา ๔ คาถาเริ่มต้นว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ ดังนี้ พระเถระกล่าว เพื่อแสดงว่าตนเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ. จริงอยู่ เพราะการเริ่มบำเพ็ญกัมมัฏ- ฐาน และเพราะการขวนขวายอุปัฏฐากพระศาสนา กามสัญญาเป็นต้น แม้ที่ยังมิได้ตัดขาดด้วยมรรค มิได้เกิดขึ้นแก่พระเถระเลย, และกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ก็ได้มีเมตตาเป็นหัวหน้า คล้อยไปตามเมตตา ในพระศาสดาตลอดกาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ แปลว่า ตลอด ๒๕ ปี.

บทว่า เสขภูตสฺส เม สโต ความว่า เมื่อเรายังดำรงอยู่ในเสขภูมิ คือในโสดาปัตติผลอยู่.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 331

บทว่า กามสญฺา ความว่า สัญญาที่ประกอบด้วยกาม ไม่ได้เกิด ขึ้นแล้ว, ก็ในคำนี้ พระเถระแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยตน ด้วย คำที่มุ่งถึงการไม่เกิดขึ้นแห่งกามสัญญาเป็นต้น, และแสดงถึงความบริสุทธิ์ แห่งประโยค ด้วยคำเป็นต้นว่า เมตฺเตน กายกมฺเมน ดังนี้. พึงทราบ เนื้อความในข้อนั้น ดังต่อไปนี้ :- เมตตากายกรรม พึงทราบด้วยการ ทำเครื่องใช้ในพระคันธกุฎีเป็นต้น และด้วยการทำวัตรและปฏิวัตร ถวาย แด่พระศาสดา, เมตตาวจีกรรม พึงทราบด้วยกิจมีการบอกเวลาแสดง ธรรมเป็นต้น, เมตตามโนกรรม พึงทราบด้วยการใส่ใจ น้อมนำมุ่งถึง ประโยชน์เกื้อกูลเฉพาะพระศาสดาในที่ลับ. คำว่า าณํ เม อุทปชฺชถ นี้ พระเถระกล่าวถึงการบรรลุเสขภูมิของตน.

คาถาว่า อหํ สกรณีโยมฺหิ นี้ เป็นคาถาที่เมื่อพระศาสดาใกล้จะ ปรินิพพาน พระอานนท์เข้าไปยังปะรำ เหนี่ยวคันทวยแล้วกล่าวมุ่งจะ ครอบงำความเศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกรณีโยมฺหิ ความว่า เราเป็นผู้มีกิจ มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ที่จะต้องทำ.

บทว่า อปฺปตฺตมานโส แปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต.

บทว่า สตฺถุ จ ปรินิพ์พานํ ได้แก่ พระศาสดาของเราได้เสด็จ ปรินิพพานไปเสียแล้ว.

บทว่า โย อมฺหํ อนุกมฺปโก ได้แก่ พระศาสดาพระองค์ใด เป็น ผู้ทรงอนุเคราะห์เรา.

คาถาว่า ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ดังนี้ เป็นคาถาที่พระเถระเห็นแผ่นดิน


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 332

ไหว และความแผ่ไปแห่งเสียงกลองสวรรค์ เป็นต้น แล้วกล่าวไว้ด้วย เกิดความสังเวช.

คาถา ๓ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต ดังนี้ พระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลายพากันสรรเสริญพระเถระ ตั้งไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คติมนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วย ญาณคติไม่มีใครเสมอ.

บทว่า สติมนฺโต ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยสติและเนปักกปัญญา เป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า ธิติมนฺโต ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยปัญญาสัมปทา มีความ สามารถกำหนดพยัญชนะและอรรถะโดยเฉพาะ. จริงอยู่ พระเถระรูปนี้ กำหนดจำไว้บทเดียวเท่านั้น ก็ย่อมกำหนดถือเอา โดยทำนองที่พระศาสดา ตรัสแล้วได้ตั้ง ๖๐,๐๐๐ บท, และบทที่ได้กำหนดแล้ว ย่อมไม่สูญหาย ตลอดกาลนาน เหมือนน้ำมันเหลวราชสีห์ที่บุคคลใส่ไว้ในภาชนะทองคำ ฉะนั้น, เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา อันมีสติเป็นเบื้องหน้า ซึ่ง สามารถกำหนดพยัญชนะไม่ให้วิปริต และด้วยสติอันมีปัญญาเป็นเบื้องหน้า ซึ่งสามารถกำหนดอรรถะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ เรา ฝ่ายพหูสูต ดังนี้เป็นต้น. และเหมือนอย่างที่พระธรรมเสนาบดี กล่าวไว้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า รตนากโร ได้แก่ เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนะ คือพระสัทธรรม.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 333

คาถาว่า ปริจิณฺโณ นี้ พระเถระกล่าวในเวลาใกล้ปรินิพพาน, คาถานั้น มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอานันทเถรคาถาที่ ๓

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

ติงสนิบาต