[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 310
เถราปทาน
กัจจายนวรรคที่ ๕๔
ราธเถราปทานที่ ๙ (๕๓๙)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระราธเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 310
ราธเถราปทานที่ ๙ (๕๓๙)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระราธเถระ
[๑๒๙] ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสน หนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรง รู้แจ้งเทวโลกทั้งปวงเป็นนักปราชญ์ มีจักษุ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว
พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้ สัตว์รู้ชัดได้ ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วย ประชุมชนให้ข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก
พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย พระกรุณาแสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ยัง เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงไม่มีความ อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์ ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ
พระมหามุนีพระองค์นั้นสูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 311
ครั้งนั้นอายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์ พระองค์นั้นเมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณ เท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมากให้ข้าม พ้นวัฏสงสารไปได้
ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวพระนคร หังสวดี ผู้เรียนจบไตรเพท ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ว่านรชนทรงมีความเพียร ใหญ่ ทรงแกล้วกล้าในบริษัท กำลังทรงแต่งตั้ง ภิกษุผู้มีปฏิภาณไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ แล้วได้ ฟังพระธรรมเทศนา
ครั้งนั้น เราทำสักการะในพระโลกนายก พร้อมทั้งพระสงฆ์ แล้วหมอบศีรษะลงแทบพระบาทปรารถนาฐานันดรนั้น
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระรัศมี ซ่านออกจากพระองค์ดุจลิ่มทองสิงคีได้ตรัสกะเรา ด้วยพระสุรเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งควานยินดีมีปรกติ นำไปส่งมลทินคือกิเลสว่า
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืนเถิด ปณิ- ธานความปรารถนาของท่านจงสำเร็จเถิด สักการะ ที่ท่านทำในเรากับพระสงฆ์ ก็จงมีผลไพบูลย์ยิ่ง เถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 312
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนาทชื่อว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของ พระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าราธะ พระนายจักทรงแต่งตั้งท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ เราได้สดับพุทธพยากรณ์นั้น แล้วก็เป็นผู้เบิกบานมีจิตประกอบด้วยเมตตาบำรุง พระพิชิตมารในกาลนั้นตลอดชีวิต
เพราะเราเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ด้วย กรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้ง เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และ เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับ มิได้
เพราะกรรมนั้นนำไปเราจึงเป็นผู้ถึงความ สุขในทุกภพ เมื่อถึงภพสุดท้ายเราเกิดในสกุล ที่ยากจน ขาดเครื่องนุ่งห่มและอาหารให้พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 313
นครราชคฤห์อันอุดม ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่ท่านพระสารีบุตรผู้คงที่
ในเวลาเราแก่เฒ่า เราอาศัยวัดอยู่ ใครๆ ไม่ยอมบวชให้เรา ผู้ชรา หมดกำลังเรี่ยวแรง
เพราะฉะนั้น ครั้งนั้น เราเป็นผู้เป็นคนยาก เข็ญจึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ เศร้าโศก พระมหามุนีผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาทอดพระเนตร เห็นเข้า จึงตรัสถามเราว่า
ลูกไฉนจึงเศร้าโศก จงบอกถึงโรคที่เกิด ในจิตของเจ้า เราได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนา ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสดีแล้ว
เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงมีความเศร้าโศก ข้าแต่พระนายก ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง ของข้าพระองค์ด้วยเถิด ครั้งนั้น พระมหามุนีผู้ สูงสุดได้รับสั่งให้เรียกภิกษุมาประชุมพร้อมแล้ว ตรัสถามว่า
ผู้ที่นึกถึงอธิการของพราหมณ์นี้ได้มีอยู่ จงบอกมา เวลานั้น พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์นึกถึงอธิการของเขาได้อยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 314
พราหมณ์ผู้นี้ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่ ข้าพระองค์ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญู เธอจงยังพราหมณ์นี้ให้ บวช พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ควรบูชา ลำดับนั้น เราได้การบรรพชาและอุปสมบทด้วยกรรมวาจา โดยเวลาไม่นานเลย เราก็ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น ไปแห่งอาสวะ เพราะเราเป็นผู้เพลิดเพลิน สดับ พระพุทธดำรัสโดยเคารพ ฉะนั้น พระพิชิตมารจึง ทรงแต่งตั้งเราว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มี ปฏิภาณ
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระราธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบราธเถราปทาน
๕๓๔. อรรถกถาราธเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระราธเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 315
คำนั้นทั้งหมด วิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดรู้ได้โดยง่ายด้วยการติดตามเนื้อความไปตามลำดับของปาฐะนั่นแล จะต่างกันก็แต่บุญกุศลอย่างเดียวเท่านั้นแล.
จบอรรถกถาราธเถราปทาน