พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407
[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔ อย่างเป็นไฉน ของ ๔ อย่าง คือ
๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม
[๓๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่น กษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยพระชาติ
มีพระชาติสูง ผู้ทรงพระยศว่ายังทรงพระเยาว์
เพราะเหตุว่า พระองค์เป็นจอมมนุษย์ ได้เสวยราชสมบัติแล้ว
ทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลง พระราชอาญาอย่างหนักแก่เขาได้
เพราะฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน
พึงงดเว้นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์นั้นเสีย.
นรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม
ไม่ว่า พึงดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก (เพราะเหตุว่า)
งูเป็นสัตว์มีพิษ (เดช) ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไรๆ
งูนั้นพึงฉกกัดชายหญิงผู้เขลาในบางคราว
เพราะฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน
พึงงดเว้นการดูหมิ่นงูนั้นเสีย.
นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อมาก
ลุกเป็นเปลว มีทางดำ (ที่ๆ ไฟไหม้ไปดำ) ว่าเล็กน้อย
เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อแล้วก็เป็นกองไฟใหญ่
พึงลามไหม้ชายหญิงผู้เขลาในบางคราว
เพราะฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน
พึงงดเว้นการดูหมิ่นไฟนั้นเสีย.
(แต่ว่า) ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำไปแล้ว
เมื่อวันคืนล่วงไปๆ พันธุ์หญ้าหรือต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้
ส่วนผู้ใดถูกภิกษุผู้มีศีลแผดเผา ด้วยเดช
บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ
ทายาทของเขาก็ย่อมไม่ได้รับทรัพย์มรดก
เขาเป็นผู้ไม่มีพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน.
เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และภิกษุผู้มีศีล
ว่าเป็นภัยแก่ตน พึงประพฤติต่อโดยชอบทีเดียว.
บุคคลในโลกนี้ส่วนใหญ่ ถืออายุเป็นประมาณ รูปร่างภายนอกเป็นประมาณ
ไม่ถือปัญญาและธรรมเป็นประมาณ
ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่านิดหน่อย บาปมีประมาณจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาด) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น
อนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา
ไม่ควรดูหมิ่น ก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ........ค่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อยระลึกรู้จนกว่าปัญญาสมบูรณ์
ส่วนผู้ใดถูกภิกษุผู้มีศีลแผดเผา ด้วยเดช
บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ
ทายาทของเขาก็ย่อมไม่ได้รับทรัพย์มรดก
เขาเป็นผู้ไม่มีพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน.
วานผู้รู้ช่วยอธิบายข้อความนี้ด้วยครับ
อนุโมทนา ครับ
โปรดอ่านคำอธิบายโดยตรงจากอรรถกถา...
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416
ในบทว่า ภิกฺขุ ฑหติ เตปสา นี้ ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ด่าตอบภิกษุผู้ด่า
ทะเลาะตอบผู้ทะเลาะ ประหารตอบผู้ประหาร ย่อมไม่สามารถเอาเดชเผาภิกษุไรๆ ได้.
ส่วนภิกษุรูปใด ไม่ด่าตอบผู้ด่า ไม่ทะเลาะตอบผู้ทะเลาะ
ไม่ประหารตอบผู้ประหาร ไม่ผิดในภิกษุนั้น
ด้วยเดชแห่งศีลของภิกษุนั้น ย่อมเผาภิกษุนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตสฺส ปุตฺตา ปสโว ดังนี้
อธิบายว่า ทั้งบุตรธิดาของผู้นั้น ทั้งโค กระบือ ไก่ สุกรเป็นต้น ก็ไม่มี พินาศหมด.
บทว่า ทายาทา วินฺทเร ธนํ ความว่า แม้ทายาทของผู้นั้น ก็ไม่ได้ทรัพย์.
บทว่า ตาลวตฺถุ ภวนฺติ เต ความว่า ชนเหล่านั้นถูกเดชภิกษุเผาแล้ว
ก็เป็นเหมือนต้นตาลขาดยอด คงเหลือเพียงลำต้น
คือ ย่อมไม่เจริญด้วยบุตรธิดาเป็นต้น.
ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง นี้ คือ ผลกรรม ของ การดูหมิ่น ภิกษุหนุ่ม (ที่ทรงศีล) ใช่ไหมครับ
และคงไม่ใช่ แค่ดูหมิ่น อยู่ในใจ แต่มีการทำกรรม คือ ด่าว่าภิกษุหนุ่ม (ที่ทรงศีล) ด้วย
และถ้าเป็นภิกษุ ด่า ว่า ภิกษุ ด้วยกัน ผลกรรมนี้ คงจะได้รับ ตอนเป็นฆราวาส (ในอนาคต) ???
มีท่านพระปัญจวัคคีย์ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ค่ะ