นักข่าวนำเสนอข่าวผิด แล้วทำให้ประชาชนเข้าใจผิด นักข่าวผิดหรือไม่
โดย kunyarat  9 ส.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18901

การนำเสนอข่าวของนักข่าวโดยทราบข้อมูลมาคิดว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องแล้วจากนั้น

ก็นำเสนอต่อประชาชนประชาชนก็ทราบข้อมูลตามข่าวแต่แท้จริงแล้วข้อมูลดังกล่าวไม่

ตรงกับความเป็นจริงนักข่าวผิดหรือไม่



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คำว่าผิดในที่นี้ คือ เป็นอกุศลกรรม ซึ่งการกระทำที่ไม่ดี เป็นอกุศลกรรม สำคัญที่

เจตนาเป็นสำคัญครับ การเสนอข่าว หากมีเจตนาที่จะบิดเบือนให้ผู้อื่นมีความเข้าใจผิด

ในเรื่องนั้น การเสนอข่าวนั้นก็เป็นการหลอกลวง โกหก เป็นมุสาวาทเป็นบาป เป็นอกุศล

กรรม เพราะมีเจตนาที่จะหลอกลวง บิดเบือนให้ผู้อื่นเข้าใจผิดครับ จะเห็นนะครับว่า จะ

เป็นบาปหรือผิดในพระพุทธศาสนานั้นก็จะต้องมีเจตนาเป็นสำคัญ หากมีเจตนาที่จะให้

ผู้อื่นเข้าใจผิดในข่าวสารที่ไม่จริงก็ผิดครับ และที่สำคัญธรรมละอียดกว่านั้น แม้จะเสนอ

ข่าวสารที่ถูกต้อง แต่ก็ต้องดูเจตนาด้วยว่า เสนอเพื่อให้ผู้อื่นแตกกัน ทะเลาะกัน แตก

สามัคคีกันหรือไม่ เพราะแม้เป็นเรื่องจริงแต่เสนอแล้วเป็นโทษกับสังคมกับผู้คนรอบข้างก็

ไม่ควรเสนอ นี่คือจรรยาบรรณของนักข่าว และเป็นจิตสำนึกของคนดีที่ควรทำ คือ

เสนอในเรื่องที่ดี ที่จริง และมีประโยชน์ สมกับที่พระองค์แสดงว่า หากเธอจะกล่าวก็ควร

กล่าวเรื่องจริง แท้ ดี และมีประโยชน์และ้ต้องดูกาลเทศะด้วย

นักข่าวหรือแม้เราๆ ท่านๆ ที่เป็นผู้พูดในชีวิตประจำวัน ก็เหมือนนักข่าว ที่คอยสื่อ คอย

บอกเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้อื่น ก็พึงสำเหนียกด้วยปัญญา ว่าสิ่งใดที่เสนอแล้วนำมาซึ่งอกุศล

ต่างๆ เจริญมากมายกับผู้พูด ผู้เสนอ และผู้รับฟัง ควรหรือไม่ที่จะพูดเรื่องนั้น เสนอเรื่อง

นั้นกับผู้อื่นครับ นี่จะเห็นถึงความละเอียดของผู้ศึกษาพระธรรม ก็จะเห็นถึงว่าสิ่งใดควร

พูด สิ่งใดไม่ควรพูด สิ่งใดควรเสนอ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด อยู่ในฐานะใด พระธรรม

จะเป็นเครื่องเตือนและให้ดำเนินไปในทางที่ถูกครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 9 ส.ค. 2554

สำหรับนักข่าวที่เสนอข่าวผิดไม่ตรงความจริง แต่ไมได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง บิดเบือน

หลอกให้คนอื่นเข้าใจผิด ไม่เป็นบาป ไม่เป็นอกุศลกรรม เพราะไม่มีเจตนาที่จะให้ผู้อื่น

เข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะตัวเองก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่จริง แต่สำคัญว่า

จริงจึงเสนอไป อันนี้ไม่ผิด ไม่เป็นอกุศลกรรมในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นมุสาวาทครับ

แต่ถ้ารู้แล้วว่าสิ่งที่จะเสนอข่าว ข่าวนั้นไม่จริง ยังเสนอ นี่ก็เท่ากับการกล่าวเท็จทั้งๆ

ที่รู้ อันนี้ผิดแน่นอนครับ ไม่ควรทำอย่างนั้น ที่ละเอียดลงไปกว่านั้นคือ แม้การได้รับฟัง

เรื่องใด จากสิ่งใด แม้จะไม่ผิดที่จะเสนอข่าวเรื่องนั้น แต่ต้องเป็นผู้ละเอียดว่า สิ่งทีได้รับ

ฟังมานั้นจริงหรือไม่ ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพราะอาจจะเป็นโทษกับผู้ได้รับ

ฟัง หรือ เป็นโทษกับผู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข่าวได้โดยที่นักข่าวนั้นไม่ได้มีเจตนาเลย

แต่เสนอข่าวผิด โดยไม่ได้ตั้งใจและไม่ตรวจสอบให้ดีครับ จึงต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะพูด

ที่จะเสนอสิ่งใดว่าถูกต้องหรือยังครับ โดยการหาข้อมูลให้รอบคอบ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 9 ส.ค. 2554

ดังเช่นในตัวอย่างที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้บรรยายในเทปออกอากาศ เรื่องที่ทำให้ท่าน

เกิดหิริ ความละอายที่จะพูด เสนอในเรื่องใดกับผู้อื่น เพราะท่านได้ฟังจากผู้อื่นและมา

เล่าให้ผู้อื่นฟังว่า จิ้งจกได้ตกจากเพดานลงมาที่ปากของแมวพอดี แต่เมื่อท่านอาจารย์

สุจินต์ไปถามเจ้าของเรื่องอีกครั้ง เจ้าของเรื่องก็เล่าว่า ไม่ใช่ตกจากเพดาน แต่ตกจาก

ผนังข้างฝา ท่านอาจารย์จึงเกิดหิริ ที่จะฟังโดยละเอียดและมีความระมัดระวังในการนำ

เสนอว่าให้ถูกต้องแน่นอนจริงๆ จึงกล่าวครับ แม้นักข่าวและพวกเราก็เช่นกัน แม้จะเสนอ

พูดในเรื่องที่จริง แต่เรื่องที่พูดจริงตามที่คิดหรือไม่ ตรวจสอบให้ดีก่อน และถ้าแม้เป็น

เรื่องจริง แต่ไม่เป็นประโยชน์ เพิ่มอกุศล ทำให้แตกสามัคคี เป็นต้น ก็ไม่ควรพูด ไม่ควร

เสนอ เพราะมีแต่เพิ่มอกุศลของผู้เสนอและผู้รับฟังนั่นเองครับธรรมจึงเป็นเรื่องขัดเกลา

กิเลสอย่างแท้จริง ยิ่งศึกษาเท่าไหร่ก็รู้ว่ายิ่งละเอียด เพราะปัญญาที่เจริญขึ้นย่อมทำให้

เป็นผู้ละเอียดขึ้นในทุกเรื่องในชีวิตประจำวันครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย pat_jesty  วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 5    โดย หลานตาจอน  วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในชีวิตประจำวัน จะต้องมีการพูดคุย มีการสื่อสารกันเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามขาดการติดต่อพูดคุยกันไม่ได้ การที่จะล่วงวจีทุจริต (ทุจริตทางวาจา) มีการกล่าวเท็จ เป็นต้น ในชีวิตประจำวัน ก็อาจจะมีได้ จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับการสะสมมาของผู้นั้นว่าจะเห็นโทษหรือไม่เห็นโทษของวจีทุจริต ถ้าไม่เห็นโทษ ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัวต่ออกุศล ก็พูดเท็จต่อไป สะสมอกุศลต่อไปอีก แต่สำหรับผู้ที่เห็นโทษ ก็จะงดเว้นได้ ไม่พูดเท็จ แต่พูดความจริง เพราะคำจริงหรือความจริง พูดง่ายกว่าคำเท็จ เพราะการพูดคำจริง ไม่ต้องไปหาเรื่องมาเพื่อจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่จะต้องเห็นประโยชน์ด้วยว่าคำพูดนั้น ถึงแม้จะเป็นคำจริง ก็ต้องดูกาละอันควร ต้องพูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟังเท่านั้นจริงๆ คำจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นคำที่พูดได้ง่ายกว่าคำเท็จ แต่เพราะกิเลสที่สะสมมาจึงทำให้ไม่ง่ายต่อการที่จะกล่าวคำจริง เพราะฉะนั้นแล้ว เหตุหลักๆ ของทุจริตประการต่างๆ ก็คือ กิเลส นั่นเอง

การกล่าวคำเท็จ เป็นกุศลกรรม เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดี ที่จะทำให้เกิดผลที่ไม่ดีในอนาคตข้างหน้าสำหรับตนเอง เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้เห็นโทษของกุศลดังกล่าว จึงเป็นเครื่องเตือนที่ดีสำหรับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เป็นนักข่าวเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ประมาทในชีวิตโดยประการทั้งปวง เพราะธรรมดาของปุถุชน มักไหลไปตามอำนาจของกิเลส มักจะพลาดให้กับกิเลสอยู่บ่อยๆ เมื่อมีเหตุปัจจัย ย่อมกระทำกุศลกรรมประการต่างๆ ได้ ซึ่งจะประมาทกำลังของกิเลสไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้น กุศลแม้เล็กน้อย ก็พึงเห็นว่าเป็นโทษเป็นภัย ควรที่จะมีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อกุศล และถอยกลับจากกุศลให้เร็วที่สุด แม้แต่การกล่าวพูดเท็จ ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นไปเพื่อทำลายประโยชน์ของผู้อื่น ก็ไม่ควรทำ และถ้าถึงขั้นที่ทำลายหรือหักรานประโยชน์ของผู้อื่นแล้ว ยิ่งไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะขึ้นชื่อว่า อกุศลแล้วไม่เคยนำประโยชน์มาให้ใครเลยแม้แต่น้อย มีแต่โทษอย่างเดียวเท่านั้นจริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 7    โดย nong  วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย พุทธรักษา  วันที่ 10 ส.ค. 2554

หากการสื่อสารเป็นไปด้วยความเห็นผิด ละคะ...จะเกิดอะไรขึ้น.?


ความคิดเห็น 9    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 10 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

จากคำถามที่ว่า หากการสื่อสารเป็นไปด้วยความเห็นผิด ละคะ...จะเกิดอะไรขึ้น.?

หากสื่อสารด้วยความเห็นผิด เช่น ให้ข้อมูลที่ผิดไม่ตรงตามพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง

ซึ่งทำให้เกิดความเห็นผิดตามมา ก็เป็นโทษกับผู้ที่เสนอในความเห็นผิดได้ครับ