๒. อรรถกถา สีลมยญาณุทเทส ว่าด้วยสีลมยญาณ
โดย บ้านธัมมะ  22 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40806

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 39

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๒. อรรถกถา สีลมยญาณุทเทส

ว่าด้วยสีลมยญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 39

๒. อรรถกถาสีลมยญาณุทเทส

ว่าด้วย สีลมยญาณ

คำว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺา ความว่า :-

ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ปาฏิโมกข์ ๑ สติ ๑ ญาณ ๑ ขันติ ๑ และ วิริยะ ๑ ท่าน แสดงว่าสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

เป็นผู้เข้าถึง, เข้าถึงพร้อม, เข้ามา, เข้ามาพร้อม, ถึงแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว, ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ (๑) ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ, เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส


๑. อภิ.วิ.๓๕/๖๐๒.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 40

ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์, ชื่อว่า ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ (๑) ชื่อว่า สติสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่, สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย, กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา (๒) ดังนี้

ชื่อว่า ญาณสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวร (๓) ดังนี้ ชื่อว่า ปัจจยปฏิเสวนาสังวร, ปัจจยปฏิเสวนาสังวรแม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณสังวรนั้นแล.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

เป็นผู้อดกลั้นต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลานเป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่วร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว


๑. ที.สี. ๙/๑๒๒. ๒. ขุ.ส. ๒๕/๔๒๕. ๓. ม.มู. ๑๒/๑๔.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 41

ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสียได้ (๑) ดังนี้

ชื่อว่า ขันติสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว. ย่อมกระทำให้สิ้นสูญไป ให้ถึงความไม่มี (๒) ดังนี้

ชื่อว่า วิริยสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะเสียแล้ว สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ (๓) ดังนี้

ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร แม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยวิริยสังวรนั่นแล.

ในสังวร ๗ เหล่านั้น สังวร ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวร, อินทริยสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร, และปัจจัยปฏิเสวนาสังวร ท่านประสงค์เอาในที่นี้, และในสังวร ๔ เหล่านั้น ปาฏิโมกขสังวร ท่าน


๑. ม.มู. ๑๒/๓๕. ๒. ม.ม. ๑๒/๑๗. ๓. สํ.มหา ๑๙.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 42

ประสงค์เอาเป็นพิเศษ. ก็สังวรนี้แม้ทั้งหมดท่านเรียกว่า สังวร เพราะกั้นทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น ที่จำต้องสังวรตามธรรมดาของตน.

ปัญญาของกุลบุตรผู้ฟังธรรมตามที่กล่าวแล้วในสุตมยญาณแล้ว สังวรอยู่ ทำการสังวร เป็นไปแล้วในการสังวรนั้น สัมปยุตกับสังวรนั้น ท่านกล่าวแล้วว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺา. อีกอย่างหนึ่งมีความว่า ปัญญาในการสังวรเพราะมีการฟังเป็นเหตุบ้าง เพราะมีคำว่า เหตุอตฺเถ สุตฺวา ฟังเหตุและผลปรากฏอยู่ด้วย.

บทว่า สีลํ ในคำนี้ว่า สีลมเย าณํ ความว่า ชื่อว่า ศีลเพราะอรรถว่าสำรวม, ชื่อว่า การสำรวมนี้อย่างไร? คือการตั้งมั่น, อธิบายว่า ความเป็นกายกรรมเป็นต้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้สำรวมด้วยดี. หรือความเข้าไปตั้งมั่น, อธิบายว่า ความที่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นที่รองรับด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.

ก็ในศีลนี้ นักปราชญ์ผู้รู้ลักษณศัพท์ รับรู้ตามๆ กันมาซึ่งอรรถทั้ง ๒ นี้เท่านั้น. แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า ชื่อว่า ศีล เพราะอรรถว่าเสพยิ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ เพราะอรรถว่าเป็นปกติ เพราะอรรถว่าเป็นศีรษะ เพราะอรรถว่าเย็น เพราะอรรถว่า เกษม.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 43

ศีลนั้น แม้จะมีประเภทต่างๆ หลายอย่าง ก็มีการสำรวมเป็นลักษณะ เหมือนรูป (๑) มีประเภทต่างๆ เป็นอันมาก ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็นลักษณะ ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ความที่รูปายตนะแม้มีประเภทต่างๆ เป็นอันมาก โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น. ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็นลักษณะ เพราะไม่ก้าวล่วงความที่แห่งรูปายตนะมีประเภทต่างๆ โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ก็เป็นรูปายตนะที่เห็นได้ด้วยตาฉันใด, ความสำรวมแห่งศีลแม้มีประเภทต่างๆ หลายอย่าง โดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น ท่านกล่าวแล้วว่าเป็นที่รองรับกายกรรมเป็นต้น และเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนี้ได้, การสำรวมนั้นนั่นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้มีประเภทต่างๆ หลายอย่างโดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงความเป็นที่รองรับและเป็นที่ตั้ง.

ก็ การกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณ คือความไม่มีโทษ ท่านเรียกว่า เป็นรส เพราะ อรรถว่าเป็นกิจและสมบัติของศีลนั้นมีลักษณะ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างนี้.


๑. หมายเอารูปารมณ์


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 44

เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าศีลนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ กำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่ากิจ, มีความไม่มีโทษเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่าสมบัติ.

ศีลนี้นั้น วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโอตตัปปะและหิริเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น.

ศีลนี้นั้น มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐานตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ความสะอาดกาย, ความสะอาดวาจา, ความสะอาดใจ (๑) ย่อมถึงซึ่งความนับว่า ปรากฏโดยความเป็นของสะอาด. ส่วน หิริและโอตตัปปะ วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น, อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้. เพราะเมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีลก็ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่, เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลก็ย่อมไม่เกิดขึ้น และไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น ญาณที่สหรคตด้วยศีล สัมปยุตด้วยศีลนั้น โดยวิธีที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีลมเย าณํ. อีกอย่างหนึ่ง ศีลนั่นแหละสำเร็จแล้ว ชื่อว่า สีลมัย, ญาณในสีลมัยนั้น คือสัมปยุต ด้วยศีลมัยนั้น.


๑. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 45

การพิจารณาโทษในการไม่สำรวม ๑, การพิจารณาอานิสงส์ในการสำรวม ๑, การพิจารณาความบริสุทธิ์ในการสำรวม ๑, การพิจารณาความขาวสะอาดจากสังกิเลสในเพราะการสำรวม ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสีลมยญาณนั่นแล.