นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
วัตถุคาถา (บางส่วน)
และ ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๘๖๖, ๘๙๗
(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๘๖๖
วัตถุคาถา
(นำมาเพียงบางส่วน)
อชิตมาณพ ทูลถามด้วยใจต่อไปว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพราหมณ์พาวรี ถามถึงธรรมเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์ตรัสพยากรณ์ข้อนั้น กำจัดความสงสัยของพวกข้าพระองค์ ผู้เป็นฤาษีเสียเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพยากรณ์ว่า
ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชา ชื่อว่า ธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป
ลำดันนั้น อชิตมาณพ มีความโสมนัสเป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทยุคลด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรีผู้เจริญ มีจิตเบิกบาน ดีใจพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย ขอไหว้พระบาทยุคล (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) .
ข้อความจากอรรถกถา วัตถุคาถา
ในบทเหล่านั้น เพราะอวิชชา เป็นความไม่รู้ในอริยสัจจ์ ๔ เป็นศีรษะแห่งสังสารวัฏฏ์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ. อนึ่ง เพราะอรหัตตมรรควิชชา (วิชชาในอรหัตตมรรค) ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความพอใจใคร่เพื่อจะทำ) และวิริยะ อันเกิดร่วมกับตน ยังศีรษะให้ตกไป เพราะเข้าถึงธรรมเป็นศีรษะด้วยความตั้งอยู่ในรสอันเดียวกันของอินทรีย์ทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชฺชา มุทฺธาธิปาตนี (วิชชาเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป) . บทว่า ตโต เวเทน มหตา (ด้วยพระเวทอันยิ่งใหญ่) ความว่า ลำดับนั้น อชิตมาณพได้ฟังการพยากรณ์ปัญหานี้ เกิดมหาปีติเป็นล้นพ้น เบิกบานใจ ถึงความเป็นผู้ไม่หดหู่ทางกายและจิต มีความยินดียิ่ง. อชิตมาณพกล่าวคาถานี้ว่า ปติตฺวา จ พาวรี (พราหมณ์พาวรีขอหมอบลงแทบพระบาท) .
------------------------------------------------------
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๘๖๖
ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒
(ว่าด้วยโทษของกาม)
[๔๒๖] ติสสเมตเตยยมาณพทูลถามปัญหาว่า
ใคร ชื่อว่า ผู้ยินดีในโลกนี้ ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร ใครรู้ส่วนสุด
ทั้งสอง แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลางด้วยปัญญา พระองค์ตรัสสรรเสริญใคร
ว่าเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร เมตเตยยะ
ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประพฤติพรหมจรรย์ มีตัณหาปราศจากไป
แล้ว มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นธรรม แล้วดับกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้
ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นรู้ซึ่งส่วนสุดทั้งสองแล้ว
ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลางด้วยปัญญา เรากล่าวสรรเสริญภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ
ภิกษุนั้นล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในโลกนี้เสียได้.
จบติสสเมตเตยยมาณวกปัญหาที่ ๒.
อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๒
ติสสเมตเตยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต ใครชื่อว่า
ผู้ยินดีในโลกนี้ ดังนี้. ติสสเมตเตยยสูตร มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
มีการเกิดขึ้นด้วยอำนาจของการถามของสูตรทั้งหมด. ก็พราหมณ์
เหล่านั้นทูลถามความสงสัยของตนๆ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาไว้แล้วว่า
ให้พวกเราถามได้ตามโอกาส ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันติสสเมตเตยยมาณพทูลถาม
แล้ว ทรงพยากรณ์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น. พึงทราบว่าสูตรเหล่านี้ เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจแห่งการถาม ด้วยประการฉะนี้แล.
เมื่อจบปัญหาของอชิตะแล้ว โมฆราช เริ่มจะทูลถามปัญหาอย่างนี้ว่ามัจจุราช
ย่อมไม่เห็นผู้เพ่งดูโลกอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าอินทรีย์ของโมฆราช
นั้นยังไม่แก่กล้า จึงทรงห้ามว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจงหยุดูก่อน คนอื่นจงถามเถิด.
ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะทูลถามความสงสัยของตน จึงกล่าวคาถาว่า โกธ
ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต คือ ใครชื่อว่าเป็นผู้ยินดี
ในโลกนี้. บทว่า อิญฺชิตา ความหวั่นไหว คือความดิ้นรนด้วยตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า อุภนฺตมภิญฺญาย คือรู้ส่วนสุดทั้งสอง. บทว่า มนฺตา น ลิมฺปติคือไม่ติดอยู่
ด้วยปัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่ติสสเมตเตยยะจึงตรัสสอง
คาถาว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลาย
แล้วประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า. ประพฤติพรหมจรรย์มีกามเป็นนิมิต เห็นโทษ
ในกามทั้งหลายแล้วประกอบด้วยมรรคพรหมจรรย์. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงถึงความยินดี. ด้วยบทมีอาทิว่า วีตตณฺโห มีตัณหาไปปราศแล้ว
ทรงแสดงถึงความไม่หวั่นไหว. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย นิพฺพุโต พิจารณา
เห็นธรรมแล้วดับกิเลส คือพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
แล้วดับกิเลสด้วยการดับราคะเป็นต้น. บทที่เหลือชัดดีแล้วเพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในบท
นั้นๆ . พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล.
เมื่อจบเทศนา พราหมณ์แม้นี้ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยอันเตวาสิก ๑,๐๐๐.
ชนอื่นอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม. บทที่เหลือเช่นเดียวกับบทก่อนนั่นแล.
จบ อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๒.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
วัตถุคาถา *
อชิตมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พราหมณ์
พาวรี ถามถึงธรรมที่เป็นศีรษะ และ ธรรมที่เป็นเครื่องยังศีรษะให้ตกไป พระผู้มีพระภาค
เจ้า ตรัสตอบว่า อวิชชา เป็นศีรษะของสังสารวัฏฏ์ ปัญญาที่เกิดในอรหัตตมรรค เป็น
เครื่องยังศีรษะคืออวิชชาให้ตกไป
หมายเหตุ วัตถุคาถา แปลว่า คาถาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น
------------------------------------------
ข้อความโดยสรุป
ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒
ติสสเมตเตยยมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ใคร
ชื่อว่า เป็นผู้ยินดีในโลก, ความหวั่นไหว ไม่มีแก่ใคร
ทรงตอบว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเห็นโทษในกามทั้งหลาย คลายตัณหาได้
มีสติทุกเมื่อ รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลส ชื่อว่า ผู้ยินดีในโลก และ ไม่มีความหวั่นไหว
ทูลถามว่า ใครรู้ส่วนสุดทั้งสอง แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลางด้วยปัญญา
พระองค์ตรัสสรรเสริญใครว่าเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้
ทรงตอบว่า ผู้รู้ส่วนสุด ๒ อย่ง ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยปัญญา เป็นมหาบุรุษ
ย่อมเป็นบุคคลผู้ล่วงพ้นตัณหาเครื่องร้อยรัดในโลกได้
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ติสสเมตเตยยมาณพ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับ
อันเตวาสิก ๑๐๐๐ ส่วนชนอีกหลายพันได้ดวงตาเห็นธรรม.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ปรายนสูตร .. ส่วนสุด ๒ อย่าง
กิเลสตัณหา
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว
กามราคะ
ประพฤติพรหมจรรย์ และทำอย่างแยบคาย
ตราบใดที่ยังมีตัณหา
มหาบุรุษ
ดวงตาเห็นธรรม
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณครับ
อ่านจบแล้วและมีความเข้าใจตามสมควรแก่กำลังของสติปัญญา
ขออนุโมทนาในส่วนของกุศลด้วยครับ