พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 402
๑๐. ยุคนัทธสูตร ว่าด้วยมรรค ๔ ประการ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พยากรณ์ การบรรลุ พระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรือว่าด้วย มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔ นั้น มรรค ๘ เป็น ไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพ เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะ มีวิปัสสนาเป็น เบื้องหน้า เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิด ขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่ กันไป เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะ และวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นเมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม มา พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ โดยประการ ทั้งปวง หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๔ มรรคนั้น
จบยุคนันธสูตรที่ ๑๐
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
ข้อความที่ว่า "ว่าด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔ นั้น มรรค ๘ เป็นไฉน" มรรค ๘ ข้างหลังคือ มรรค ๔ หรือว่าเป็นมรรค ๘ ถูกต้องแล้วครับ ช่วยอธิบาย มรรค ทั้ง ๔ ด้วยครับ อ่านอรรถกถา ที่แนบต่อสูตรนี้แล้วก็ยังไม่เข้าใจครับ
ที่ถูกคือ "มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔ นั้น มรรค ๔ เป็นไฉน" ในพระสูตรนี้ มรรค ๔ คือ
๑. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
๒. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
๓. เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
๔. ตามข้อความในพระบาลี คือ
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
คำอธิบายที่ว่า "มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น" มรรคที่ว่านั้นคือมรรคอะไรครับ
คำว่า "มรรค" ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ ตามนัยพระสูตร เป็นต้นว่า เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า และโดยอรรถก็หมายถึงการเจริญสมถะและวิปัสสนา หรือเจริญอริยมรรคมีองค์แปดนั่นเองครับ
ขออนุโมทนาครับ