ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 3 [สัทธัมมปัชโชติกา]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบระลึกถึงคุณท่านพระอัครสาวกธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 96
ชื่อว่า ชนิกา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้เกิดในวัฏฏะ. สมจริง ดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุรุษให้เกิด ย่อมวิ่งเข้าสู่จิตของบุรุษนั้น.
ชื่อว่า สัญชนนี เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดประกอบไว้ด้วย ทุกข์.
ชื่อว่า สิพฺพินี เพราะอรรถว่า ติดแน่น. เพราะตัณหานี้เย็บ คือติดแน่นเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ ดุจช่าง เย็บ เย็บผ้าเก่าด้วยผ้าเก่า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า ความเย็บไว้ เพราะอรรถว่า ติดแน่น.
ชื่อว่า ชาลินี เพราะอรรถว่า มีข่ายคืออารมณ์มีประการไม่น้อย. หรือข่ายกล่าวคือความยึดมั่นด้วยการดิ้นรนแห่งตัณหา.
ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เป็นดังกระแสน้ำที่ไหลเร็ว เพราะ อรรถว่า ฉุดคร่า. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เปียกชุ่ม. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า โสมนัสทั้งหลายที่ชุ่มชื่นและประกอบ ด้วยความรักย่อมมีแก่สัตว์เกิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ทั้งชุ่มชื่น ทั้งน่ารัก.
ชื่อว่า สุตตะ เพราะอรรถว่า เป็นดังเส้นด้ายผูกเต่า เพราะอรรถ ว่า ให้ถึงความฉิบหายมิใช่ความเจริญ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุตฺตํ นี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ.
ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แผ่ไปในรูปเป็นนี้.
ชื่อว่า อายุหนี เพราะอรรถว่า สัตว์ย่อมยังอายุให้เสื่อมไปเพื่อต้อง การได้เฉพาะอารมณ์นั้นๆ
ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา มหานิทฺเทสวณฺณนา (สทฺธมฺมปชฺโชติกา) - หน้าที่ 53
วฏฺฏสฺมึ สตฺตานํ ชนนฏฺเฐน ชนิกา ฯ
ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวตีติ หิ วุตฺตํฯ
ทุกฺเขน [๓] สัโยชยมานา ชเนตีติ สญฺชนนีฯ
ฆฏนฏฺเฐน สิพฺพินีฯ
อยํ หิ วฏฺฏสฺมึ สตฺเต จุติปฏิสนฺธิวเสน สิพฺพติ ฆเฏติ ตุนฺนกาโร วิย ปิโลติกาย ปิโลติกํ ตสฺมา ฆฏนฏฺเฐน สิพฺพินีติ วุตฺตา ฯ
อเนกปฺปการํ วิสยชาลํ ตณฺหาวิปฺผนฺทิตนิเวสสงฺขาตํ (๔) วา ชาลมสฺสา อตฺถีติ ชาลินีฯ
อากฑฺฒนฏฺเฐน สีฆโสตา สริตา วิยาติ สริตา ฯ
อลฺลฏฺเฐน วา สริตา ฯ
วุตฺตเญฺหตํ สริตานิ สิเนหิตานิ จ โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโนติฯ
อลฺลานิ เจว สินิทฺธานิจาติ อยํ เหตฺถ อตฺโถ ฯ
< # ๓. ม. อตถนฺตเร วฏฺฏสฺมึ สตฺเตติ ทิสฺสติฯ
# ๔. ม. ตณฺหาวิปฺผนฺฑิตนิเวสสงฺขาตํฯ >
- หน้าที่ 54
อนยพฺยสนาปาทนฏฺเฐน กุมฺมานุพนฺธสุตฺตกํ วิยาติ สุตฺตํฯ
วุตฺตเญฺหตํ สุตฺตกนฺติ โข ภิกฺขเว นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนนฺติฯ
รูปาทีสุ วิตฺถตฏฺเฐน วิสฏา ฯ
ตสฺส ตสฺส ปฏิลาภตฺถาย สตฺโต (๑) อายูหาเปตีติ อายูหินี (๑) ฯ
<# ๑. ม. สตฺเต อายูหาเปตีติอายูหินีฯ>
[สรุป ตัณหา ตอนที่ 3]
ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 3 (10 วรรคต่อมา)
ตัณหา หรือ โลภเจตสิก ท่านแสดงด้วยชื่ออื่นๆ มีดังนี้ ได้แก่
>> ชื่อว่า ชนิกา หมายถึง ผู้ให้กำเนิด ด้วยอรรถว่า ทำให้สัตว์เกิดในวัฏฏะ ได้แก่ การสั่งสมกิเลส การทำกรรม และการรับผลของกรรม มีการเกิดเป็นมนุษย์ เห็น ได้ยิน ที่มีจริงขณะนี้
>> สมจริง ดังที่แสดงไว้ว่า ตัณหาย่อมยังให้บุรุษเกิด จิตของบุรษนั้นย่อมวิ่งพล่านไปเพราะตัณหา?
>> ชื่อว่า สัญชนนี หมายถึง ผู้ทำให้เกิดการผูกมัด เพราะ ยังสัตว์ให้เกิดประกอบไว้ด้วย ทุกข์
>> ชื่อว่า สิพฺพินี หมายถึง ผู้ทำให้เกิดการผูกพันธ์ ด้วยอรรถว่า ติดแน่น
>> เพราะตัณหานี้เย็บ คือเชื่อมสัตว์ทั้งหลายไว้ในวัฏฏะ ด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ ดุจการใช้ผ้าเก่าเย็บด้วยผ้าเก่า (ตุนฺนกาโร = การเย็บผ้า, ปิโลติกํ = ผ้าเก่า) ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า สิพฺพินี เพราะ ติดแน่น
ท่านเปรียบตัณหาเหมือน ผู้ที่เย็บหรือเชื่อมสัตว์นั้นให้ติดแน่นอยู่ในวัฏฏะ คือ ให้สัตว์นั้นยังมีการเกิด การตาย เป็นต้น เพราะตัณหาเป็นกิเลส เมื่อมีกำลังก็เป็นปัจจัยให้เกิดการทำกรรมไม่ว่าจะดีหรือร้าย กรรมนั้นเป็นปัจจัยให้สัตว์เกิดขึ้นรับผลของกรรมดีหรือร้ายตามกรรมที่ทำไว้
>> ชื่อว่า ชาลินี หมายถึง ผู้มีตาข่าย เพราะมีตาข่าย คืออารมณ์หลายประการ หรือมีตาข่ายคือ การตั้งอยู่ของความดิ้นรนด้วยตัณหา (ตณฺหา = ความอยาก, วิปฺผนฺทิต = การดิ้นรน, นิเวส = การตั้งอยู่, สงฺขาตํ = อันมีชื่อว่า)
>> ชื่อว่า สริตา หมายถึง สายน้ำ เพราะมีความหมายดุจดัง สายน้ำที่มีกระแสไหลเร็ว ด้วยอรรถว่า ฉุดคร่า หรือดึงไป (อา = การไป, กฑฺฒน = การดึง, อฏฺเฐน = ด้วยความหมายของ)
>> หรือ ชื่อว่า สริตา (หมายถึง สายน้ำ) ด้วยอรรถว่า เปียกชุ่ม (อลฺล = เปียก หรือ อ่อน, อฏฺเฐน = ด้วยความหมายของ)
>> ดังที่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่า โสมนัสทั้งหลายที่ชุ่มชื่นและเต็มไปด้วยความรัก ย่อมมีแก่สัตว์
>> ก็ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ทั้งชุ่มชื่น ทั้งน่ารัก
>> ชื่อว่า สุตตะ หมายถึง เส้นด้าย ด้วยอรรถว่า เป็นดังเส้นด้ายที่ผูกเต่าไว้ (กุมม = เต่า, อนุพนฺธ = การมัดติด หรือ ผูกติด, สุตฺตกํ = ด้ายเส้นหนึ่ง หรือ ด้ายที่ใช้, วิย = เหมือนกับ) เพราะมีความหมายว่า นำไปสู่ความพินาศ มิใช่ความเจริญ (อนย = ความไม่เจริญ หรือ ความพินาศ, อพฺยสน = ความฉิบหาย หรือ ความเสื่อม, ปาทน = การทำให้เกิดขึ้น, การนำไปสู่) .
>> สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุตฺตํ (เส้นด้าย) นี้แล เป็นชื่อเรียกของนันทิราคะ.
>> ชื่อว่า วิสฏา หมายถึง สิ่งที่แพร่กระจายออกไป (ธาตุ "สิ" = ผูก, วิ (อุปสรรค) = แยก,กระจาย,ขยาย เติม ต (ปัจจัย) แสดงความสมบูรณ์, วิ + สิ + ตา = วิสฏา) เพราะอรรถว่า แผ่กระจายไปในรูปเป็นอาทิ
>> ชื่อว่า อายุหนี หมายถึง ผู้สะสมอายุ เพราะอรรถว่า สัตว์ย่อมสะสมอายุเพื่อต้องการได้เฉพาะอารมณ์นั้นๆ .
กราบเรียนอาจารย์คำปั่น
1. "ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวตีติ หิ วุตฺตํฯ " ในข้อความแปลไทยนั้นท่านแปลว่า " (ตัณหา) ย่อมวิ่งเข้าสู่จิต" แต่จิต เป็นกรรมรอง ไม่ใช่กรรมตรง การแปลว่าตัณหาย่อมวิ่งเข้าสู่จิตไม่ทราบจะตรงหรือไม่ หรือควรจะเป็นจิตย่อมวิ่งพล่านไปเนื่องด้วยตัณหา
2. คำว่า "วิธาวตี" นั้นเป็นสภาพที่วิ่งไปอย่างกระจัดกระจาย หรือ วิ่งพล่าน ใช่ไหมครับ หมายถึง คำอุปมา แท้จริงจิตไม่ได้มีรูปร่างที่วิ่งไป แต่เมื่อตัณหาเกิดพร้อมจิต ย่อมทำให้จิตไม่สงบ
3. ตัณหาที่ชื่อว่า "ผู้มีตาข่าย (ชาลินี) " อันนี้ ไม่ทราบว่าผู้มีตาข่ายโดยอาการไหนครับ จะเป็นผู้ติดอยู่ในตาข่าย หรือนายพรานผู้มีตาข่าย ซึ่งตาข่ายในที่นี้ ท่านกล่าวว่าเป็น อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น และลักษณะของตัณหาที่ดิ้นรนแสวงหา
4. ตัณหาที่ชื่อว่า "สายน้ำ (สริตา) " ความหมายที่ ๑ คือ ฉุดคร่าหรือดึงไป หมายถึง ดึงไป ไม่ทราบจะหมายถึงดึงนามธรรมไปสู่อารมณ์ที่ปรากฏหรือไม่ครับ หรือดึงสัตว์ไปสู่วัฏฏะ หรือจะเป็นอย่างอื่น
5. ตัณหาที่ชื่อว่า "สายน้ำ" ความหมายที่ ๒ คือ ความเปียก (อลฺล) นี่เข้าใจว่ากล่าวถึง โลภะที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา มีอารมณ์ที่เป็นที่รัก ขณะนั้นมีจิตใจชุ่มชื่นไปด้วยรักใช่ไหมครับ คล้ายดินที่แข็งเมื่อเปียกก็อ่อนนุ่ม โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยโสมนัส ก็อ่อนกว่า หรือกระด้างน้อยกว่าโทสมูลจิต หรือจะเป็นอย่างอื่น
6. ดูเหมือนคำว่า "รูปาทีสุ" หมายถึง รูปเป็นอาทิ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น แต่คำแปลของฉบับแปลอาจจะเขียนว่า "รูปเป็นนี้" น่าจะเขียนไม่ถูกต้อง
7. คำว่า "อายูหาเปติ" หมายถึง "ยังให้อายุเกิดขึ้น" หรือ "สะสมอายุ" เข้าใจว่าหมายถึง แก่ขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง ชีวิตประจำวันที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นพร้อมตัณหา ตัณหาก็นำผู้นั้นไปสู่ความตายเพิ่มขึ้นทีละขณะๆ อย่างนั้นหรือครับ หรือจะหมายถึงการมีชีวิตมีขึ้นต่อๆ ไปในวัฏฏะ เพราะการเกิดไม่สิ้นสุดด้วยโลภะ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. "ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวตีติ หิ วุตฺตํฯ " ในข้อความแปลไทยนั้นท่านแปลว่า " (ตัณหา) ย่อมวิ่งเข้าสู่จิต" แต่จิต เป็นกรรมรอง ไม่ใช่กรรมตรง การแปลว่าตัณหาย่อมวิ่งเข้าสู่จิตไม่ทราบจะตรงหรือไม่ หรือควรจะเป็นจิตย่อมวิ่งพล่านไปเนื่องด้วยตัณหา
2. คำว่า "วิธาวตี" นั้นเป็นสภาพที่วิ่งไปอย่างกระจัดกระจาย หรือ วิ่งพล่าน ใช่ไหมครับ หมายถึง คำอุปมา แท้จริงจิตไม่ได้มีรูปร่างที่วิ่งไป แต่เมื่อตัณหาเกิดพร้อมจิต ย่อมทำให้จิตไม่สงบ
จากข้อ ๑ - ๒ พิจารณาได้ว่า ตัณหาวิ่งไปสู่จิตของบุรุษน้้น ตามประโยคภาษาบาลีนั้น แปลถูกต้องแล้ว ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่า ตัณหานั่นแหละ เกิดประกอบพร้อมกับจิต เป็นไปกับจิต ตัณหาก็วิ่งพล่านไปกับจิต ครับ
3. ตัณหาที่ชื่อว่า "ผู้มีตาข่าย (ชาลินี) " อันนี้ ไม่ทราบว่าผู้มีตาข่ายโดยอาการไหนครับ จะเป็นผู้ติดอยู่ในตาข่าย หรือนายพรานผู้มีตาข่าย ซึ่งตาข่ายในที่นี้ ท่านกล่าวว่าเป็น อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น และลักษณะของตัณหาที่ดิ้นรนแสวงหา
เมื่อพิจารณาตามเนื้อความแล้ว ข่าย เปรียบเหมือนตัณหา เพราะเป็นสภาพที่ติดข้อง รวบรัดไม่ให้ไปไหน และ ยังหมายถึง ตัวอารมณ์ที่เป็นที่ติด ด้วย ครับ
4. ตัณหาที่ชื่อว่า "สายน้ำ (สริตา) " ความหมายที่ ๑ คือ ฉุดคร่าหรือดึงไป หมายถึง ดึงไป ไม่ทราบจะหมายถึงดึงนามธรรมไปสู่อารมณ์ที่ปรากฏหรือไม่ครับ หรือดึงสัตว์ไปสู่วัฏฏะ หรือจะเป็นอย่างอื่น
ตัณหาฉุดคร่าไปสู่อารมณ์ที่ติดข้อง และฉุดคร่าให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์
5. ตัณหาที่ชื่อว่า "สายน้ำ" ความหมายที่ ๒ คือ ความเปียก (อลฺล) นี่เข้าใจว่ากล่าวถึง โลภะที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา มีอารมณ์ที่เป็นที่รัก ขณะนั้นมีจิตใจชุ่มชื่นไปด้วยรักใช่ไหมครับ คล้ายดินที่แข็งเมื่อเปียกก็อ่อนนุ่ม โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยโสมนัส ก็อ่อนกว่า หรือกระด้างน้อยกว่าโทสมูลจิต หรือจะเป็นอย่างอื่น
เข้าใจตามนั้นเลยครับ
6. ดูเหมือนคำว่า "รูปาทีสุ" หมายถึง รูปเป็นอาทิ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น แต่คำแปลของฉบับแปลอาจจะเขียนว่า "รูปเป็นนี้" น่าจะเขียนไม่ถูกต้อง
แก้ไขเป็น รูป เป็นต้น ครับ
7. คำว่า "อายูหาเปติ" หมายถึง "ยังให้อายุเกิดขึ้น" หรือ "สะสมอายุ" เข้าใจว่าหมายถึง แก่ขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง ชีวิตประจำวันที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นพร้อมตัณหา ตัณหาก็นำผู้นั้นไปสู่ความตายเพิ่มขึ้นทีละขณะๆ อย่างนั้นหรือครับ หรือจะหมายถึงการมีชีวิตมีขึ้นต่อๆ ไปในวัฏฏะ เพราะการเกิดไม่สิ้นสุดด้วยโลภะ
ตัณหาสะสมเพิ่มขึ้นๆ ทำให้มีการเกิดอยู่ร่ำไปนั่นเองครับ
... ยินดีในกุศลวิริยะของคุณวิทวัตเป็นอย่างยิ่งครับ ...
กราบอนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ