โทจตุกเจตสิก
โท (โทสเจติก) + จตุกฺก (หมวด ๔) + เจตสิก (สภาพที่เกิดกับจิต)
เจตสิกที่เป็นหมวด ๔ ของโทสะ หมายถึง อกุศลเจตสิก ๔ ดวง คือ
โทสเจตสิก
อิสสาเจตสิก
มัจฉริยเจตสิก
กุกกุจจเจตสิก
ซึ่งเกิดได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวงเท่านั้น
โทสเจตสิก ต้องเกิดกับร่วมโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวงแน่นอน แต่อิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจเจตสิก บางครั้งเกิดร่วมกับโทสมูลจิต บางครั้งก็ไม่เกิด แต่ถ้าเกิดก็เกิดไม่พร้อมกัน เพราะอารมณ์คนละอย่า คือ อิสสา มีสมบัติของผู้อื่นเป็นอารมณ์ มัจริยะ มีสมบัติของตนเป็นอารมณ์ กุกกุจจะ มีสุจริตกรรมที่ยังไม่ได้กระทำ หรือทุจริตกรรมที่ตนได้กระทำไปแล้วเป็นอารมณ์
โทสเจตสิก เป็นสภาพที่ประทุษร้าย ผลักไส ไม่พอใจในอารมณ์
อิสสาเจตสิก เป็นสภาพที่ริษยา ไม่ยินดีในสมบัติ หรือคุณความดีของผู้อื่น
มัจฉริยเจตสิก เป็นสภาพที่หวงแหนสมบัติหรือคุณความดีของตน
กุกกุจจเจตสิก เป็นสภาพที่เดือดร้อน รำคาญใจในสุจริตกรรม ที่ยังไม่ได้กระทำ หรือทุจริตกรรมที่ได้ทำไปแล้ว
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 2
โทสมูลจิต ๒ ดวง คือ
โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ ๑
โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ ๑
จิต ๒ นี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ประกอบด้วยปฏิฆะ เป็นอสังขาริก ๑ เป็นสสังขาริก ๑ ชื่อว่า ปฏิฆจิต ฯ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
อกุศลจิต ๑๒ [จิตดวงที่ ๙]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
[๓๒๙] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
(โทสะดวงที่ ๒) อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ
คือ เกิดเองกับมีการชักจูงจึงเกิด เป็น 2 ดวง แต่ก่อนนี้อภิธรรมเป็นเล่มๆ อ่านแล้วง่วง ไม่มีใครอธิบาย ไม่รู้เรื่อง ตอนนี้เป็นคำๆ ไม่ท้อ และออกจะสนุก
ขอบคุณครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ