[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 495
ปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๔
๑๐. สัพพลหุสสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 495
๑๐. สัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบา ที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อม ยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร อย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อม ยังการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม ยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 496
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม ยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็น ไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่ม สุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
สัพพลุหุสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปาณาติปาโต ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณ ให้ล่วงไป. บทว่า สพฺพลหุโส แปลว่า เพลากว่าวิบากทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 497
บทว่า อปฺจายุกสํวตฺตนิโก ความว่า เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรมวิบากนิดหน่อยนั้น หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิ สัตว์ที่อยู่ในท้องมารดา หรือสัตว์ผู้พอออกจากท้องมารดาแล้วย่อมย่อยยับ, ความจริง วิบากเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องใหลออกจากกรรมอะไรๆ อื่น นี้เป็นทางไปเฉพาะปาณาติบาตเท่านั้น. บทว่า โภคพฺยสนสํ- วตฺตนิโก ความว่า ทรัพย์เพียงกากนิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดยประการใด อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น. บทว่า สปตฺตเวรสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมสร้างเวรพร้อมกับ ศัตรู. จริงอยู่ ผู้นั้นมีศัตรูมาก อนึ่ง ผู้ใดเห็นเขาเข้าย่อมยังเวร ให้เกิดในผู้นั้น ไม่ดับไปด้วยว่าวิบากเห็นปานนี้ เป็นวิบากเครื่อง ให้ออกแห่งความผิดในภัณฑะของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้. บทว่า อภตพฺภกฺขานสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ทำการกล่าวตู่ ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้เป็นไป. กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว ย่อม ไปตกบนกระหม่อมของผู้นั้นนั่นแล. บทว่า มิตฺเตหิ เภทนสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป เขาทำบุคคลใดๆ ให้เป็นมิตร บุคคลนั้นๆ ย่อมแตกไป. บทว่า อมนาปสทฺทสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป วาจาใดๆ เป็นคำเสียดแทง หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดข้อง ตัดเสียซึ่งความรัก เขาได้ฟังแต่วาจานั้น เท่านั้นในที่ๆ ไปแล้วไปเล่า. หาได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจไม่ เพราะ วิบากเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งผรุสวาจา. บทว่า อนาเทยฺยวาจาสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป ถึง ความเป็นผู้ที่จะถูกค้านว่า เพราะเหตุไรท่านจึง ใครจะเชื่อ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 498
คำท่าน นี้ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งสัมผัปปลาปะ. บทว่า อมฺมตฺตกสํ- วตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป จริงอยู่ มนุษย์เป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่านหรือเป็นใบ้ เพราะการดื่มสุรานั้น นี้ เป็นวิบากเครื่องใหลออกแห่งสุราปานะ. สูตรนี้ ตรัสเฉพาะวัฏฏะ เท่านั้นแล.
จบ อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทานสูตรที่ ๑ ๒. ทานสูตรที่ ๒ ๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตตสูตร ๕. ทานูปปัตติสูตร ๖. บุญกิริยาวัตถุสูตร ๗. สัปปุริสสูตรที่ ๑ ๘. สัปปุริสสูตรที่ ๒ ๙. ปญญาภิสันทสูตร ๑๐. สัพพลหุสสูตร.
จบ ทานวรรคที่ ๔