[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗
ปัฏฐาน ภาคที่ ๑
อนุโลมติกปัฏฐาน
๑. กุสลติกะ
๗. ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย 484/404
อรรถกถาปัญหาวารวิภังค์ 405
อรรถกถาเหตุปัจจัย 406
๒. อารัมมณปัจจัย 487/406
อรรถกถาอารัมมณปัจจัย 414
๓. อธิปติปัจจัย 496/419
อรรถกถาอธิปติปัจจัย 424
๔. อนันตรปัจจัย 505/424
อรรถกถาอนันตรปัจจัย 426
๕. สมนันตรปัจจัย 512/436
๖. สหชาตปัจจัย 519/438
๗. อัญญมัญญปัจจัย 528/443
๘. นิสสยปัจจัย 531/445
๙. อุปนิสสยปัจจัย 544/449
อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย 469
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย 556/481
อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย 484
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย 559/484
อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย 485
๑๒. อาเสวนปัจจัย 562/485
อรรถกถาอาเสวนปัจจัย 486
๑๓. กัมมปัจจัย 565/487
อรรถกถาปัมมปัจจัย 489
๑๔. วิปากปัจจัย 572/490
๑๕. อาหารปัจจัย 573/490
อรรถกถาอาหารปัจจัย 492
๑๖. อินทริยปัจจัย 560/493
๑๗. ฌานปัจจัย 587/495
๑๘. มัคคปัจจัย 594/497
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย 601/498
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย 604/499
๒๑. อัตถิปัจจัย 609/502
๒๒. นัตถิปัจจัย 622/510
๒๓. วิคตปัจจัย 623/510
๒๔. อวิคตปัจจัย 624/511
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 85]
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 404
๗. ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๔๘๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาของเหตุปัจจัย.
๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรมด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[๔๘๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 405
๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย อำนาจชองเหตุปัจจัย.
๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[๔๘๖] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
อรรถกถาปัญหาวารวิภังค์
ก็ในวาระ ๖ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบปกิณกะดังนี้ว่า ปัจจัยบาง อย่างไม่ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมเลย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกเท่านั้นก็มี, บางอย่างไม่ทั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกเลย ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมเท่านั้นก็มี, บาง
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 406
อย่างตั้งอยู่ทั้งโดยเป็นอนุโลมและเป็นปัจจนิกไม่แน่นอนทั้งสองฝ่าย. ก็ใน บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ พึงทราบด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย ปัญหาที่ ๒ พึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะปัฏฐาน ปัญหาที่ ๓ พึงทราบ ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือที่เหมาะสมกัน.
อรรถกถาเหตุปัจจัย
พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. คำว่า กุศลธรรมเป็น ปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงวิสัชนาปุจฉาที่พึงยกขึ้นในกุศลติกะ ด้วยอำนาจปัจจัยที่ได้มีอยู่ มีอาทิว่า "กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพึงมีหรือ" ดังนี้ อันธรรมดากุศลธรรมนี้ เมื่อเกิดขึ้นเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ๒๒ ที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัยและวิปากปัจจัย. กุศลธรรมเมื่อจะเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดย ปัจจัย ๒๐ ที่เหลือเว้นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัย และ วิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยปัจจัยเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยเหล่านั้นตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจเยน เป็นต้น.
พึงทราบอธิบายในคำนั้นต่อไป เทศนานี้อันใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต เหมือนใน ปัจจยวิภังควาระ (แต่) ตรัสว่าเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตตดังนี้ ในการที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาอย่างนั้น มีประโยชน์ในการที่ทรงกระทำ อย่างนั้น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธมฺมานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดง
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 407
อรรถว่า ว่างเปล่าในปัจจยวิภังควาระนั้น ธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดแต่ปัจจัยย่อมเกิดโดยเป็นกองธรรม หาเกิดขึ้นโดยเป็นสภาพโดดเดี่ยวไม่ เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถว่า เป็นกองในปัญหาวารวิภังค์นี้ พระองค์จึงตรัสว่า ขนฺธานํ. อีกประการหนึ่ง การแสดงปัจจยุบบัน พระองค์ทรงยกขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ในปฏิจจวาระเป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงทรงยกขึ้นแสดง แม้ในปัญหาวารวิภังค์นี้อีก โดยลำดับนั้นทีเดียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรใน วาระเหล่านี้ จึงทรงยกขึ้นเพื่อแสดงอย่างนั้น. แก้ว่า เพื่อแสดงการจำแนก โดยไม่ปะปนกัน จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมที่เหลือ เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมอันหนึ่ง ดังนี้ ผู้ศึกษาก็ไม่สามารถจะทราบปัจจัย และปัจจยุบบันโดยไม่ปะปนกันได้ว่า ธรรมโน้นเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมชื่อโน้น เมื่อเป็นอย่างนั้นอุทเทสกับนิทเทสก็จะไม่มีข้อแปลกกัน เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแยกเทศนาขึ้นอย่างนี้ ก็เพื่อแสดงวิภาคโดยไม่ปะปนกัน.
คำว่า จิตฺตสมุฏฺานํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงกุศลว่าเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยเหตุปัจจัย. แต่ในปัจจัยวิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง ทำวิภาคด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น ไม่ตรัสว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน แต่ตรัสว่ามีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพื่อแสดงรูปที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้งหมด โดยสามัญ เพราะฉะนั้น รูปที่มีอัพยากตเหตุเป็นสมุฏฐาน ในปัจจัยวิภังค์นั้นจึงรวมไปถึงกัมมชรูปในปฏิสนธิด้วย. ผู้ศึกษาพึงทราบใจความในวิสัชนาที่เหลือซึ่งเป็นแบบเดียวกันนี้.
อรรถกถาเหตุปัจจัย จบ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 408
๒. อารัมมณปัจจัย
[๔๘๗] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา ทาน, ศีล, อุโบสถกรรมนั้น.
๒. บุคคลพิจารณากุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน.
๓. บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน.
๔. พระเสขบุคคล พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน.
๕. พระเสขบุคคล ออกจากมรรค พิจารณามรรค.
๖. พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๗. บุคคลรู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.
๘. อากาสาณัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
๙. อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๑๐. กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 409
[๔๘๘] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศลนั้น เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งกุศลทั้งหลายที่ตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งฌาน เพราะ ปรารภฌานนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น, สำหรับ ท่านผู้มีวิปฏิสาร เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
[๔๘๙] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, พิจารณาถึงกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รู้ซึ่งจิตของท่านผู้มีความพร้อม เพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.
๒. พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 410
๓. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศล เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
๔. อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก และกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๕. อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก และกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๖. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๔๙๐] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๓. เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ทิฏฐิ อุทธัจจะ และ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๔. เพราะปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 411
๕. เพราะปรารภโทมนัส โทมนัส ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และอุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.
[๔๙๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระเสขบุคคลพิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, ย่อมรู้กิเลสที่เคยเกิดมาแล้วในกาลก่อน.
๒. พระเสขบุคคลหรือปุถุชนก็ตาม เห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.
๓. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ (๑) ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๔๙๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, รู้กิเลสที่เคยเกิดมาแล้วในกาลก่อนๆ , ย่อมพิจารณาเห็นแจ้งอกุศลธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย อกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.
๒. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.
(๑) บาลีเกิน เพราะอาวัชชะเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 412
๓. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งอกุศล เพราะปรารภอกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
๔. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๔๙๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระอรหันต์พิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.
๒. นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลจิต และแก่อาวัชชนจิต ด้วยอำนาจของอารัมมปัจจัย.
๓. พระอรหันต์ย่อมเห็นแจ้งซึ่งจักขุโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
๕. อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 413
๖. อากิญจัญญาตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๗. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๘. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ.
๙. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ.
๑๐. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ.
๑๑. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๑๒. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๔๙๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๓. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 414
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
๕. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๔๙๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุและขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เพราะปรารภสิ่งนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
อรรถกถาอารัมมณปัจจัย
สองบทว่า ทานํ ทตฺวา คือ สละของที่ควรให้ อีกอย่างหนึ่งได้แก่ เจตนาเป็นเหตุให้ บทว่า ทตฺวา คือ ชำระเจตนาให้ผ่องแผ้ว คือให้หมดจด.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 415
สองบทว่า สีลํ สมาทยิตฺวา คือ สมาทานนิจศีล ด้วยอำนาจศีลมีองค์ ๕ หรือองค์ ๑๐ เป็นต้น สมาทานวิรัติทรงแสดงแล้วด้วยคำนี้ ส่วนสัมปัตตวิรัติและสมุจเฉทวิรัติไม่ได้ตรัสไว้ เพราะไม่ได้ปรากฏว่าเป็น ศีลในโลก ถึงไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ก็เป็นอารัมมณปัจจัยได้เหมือนกัน บรรดาวิรัติทั้งสองนั้น สมุจเฉทวิรัติเป็นอารมณ์แห่งกุศลของพระเสขะจำพวกเดียว หาเป็นแก่บุคคลอื่นไม่.
สองบทว่า อุโปสถกมฺมํ กตฺวา คือ ทำอุโบสถกิริยา ซึ่งมีองค์แปดในวันอุโบสถ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์ และไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้เป็นต้น.
สองบทว่า ตํ ปจฺจเวกฺขิติ ความว่า พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม ย่อมพิจารณากุศลนั้น อีกอย่างหนึ่ง แม้พระอรหันต์ก็ย่อมพิจารณา. จริงอยู่ สำหรับพระอรหันต์กุศลที่ทำไว้ก่อนก็ชื่อว่าเป็นกุศล ก็ท่านย่อมพิจารณาด้วยจิตใด จิตนั้นชื่อว่ากิริยาจิต เพราะฉะนั้น กิริยาจิตนั้น จึงไม่ได้ในอธิการนี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส ดังนี้. จริงอยู่ กรรมที่ทำใกล้ๆ กัน ตรัสไว้ว่า ให้แล้ว สมาทานแล้ว กระทำแล้ว ในคำว่า ปุพฺเพ สุจิณฺณานิ ดังนี้. กรรมเหล่านี้พึงทราบว่า ไม่ได้ทำใกล้ๆ กัน. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ตรัสไว้ว่า เพื่อแสดงกามาวจรกุศลที่เหลือด้วยบุญกิริยา มีทานเป็นต้น.
คำว่า ฌานํ วุฏหิตฺวา แปลว่า ออกแล้วจากฌาน อีกอย่างหนึ่ง นี้แหละเป็นบาลี. คำว่า เสกฺขา โคตฺรภุํ ตรัสหมายถึงพระโสดาบัน จริงอยู่ พระโสดาบันนั้นย่อมพิจารณาโคตรภู ส่วนคำว่า โวทานํ นี้ ตรัสหมายถึง พระสกทาคามี และพระอนาคามี เพราะว่าจิตของท่าน
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 416
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมชาติผ่องแผ้ว. บทว่า เสกฺขา คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี.
สองบทว่า มคฺคา วุฏฺหิตฺวา คือ ออกจากมรรคที่ตนได้แล้วด้วยอำนาจการก้าวล่วงภวังค์แห่งมรรคและผล ส่วนการออกจากมรรคล้วนๆ นั้นแล้วพิจารณาย่อมไม่มี. การเข้าถึงวิปัสสนา เป็นกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบ ในคำนี้ว่า กุสลํ อนิจฺจโต. ก็กุศลขั้นวิปัสสนาเป็นกามาวจรอย่างเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงรูปาวจรกุศล ด้วยคำนี้ว่า เจโตปริยาเณน. แสดงเฉพาะอรูปาวจรกุศลที่กำลังเกิดขึ้น ด้วยอำนาจเป็นอารมณ์แห่งอรูปาวจรกุศล ด้วยคำมีอาทิว่า อากาสานญฺจายตนํ. ทรงแสดงด้วยอำนาจธรรมเท่านั้น ไม่เกี่ยวถึงบุคคล ด้วยคำว่า กุสลา ขนฺธา อิทฺธิวิธาณสฺส เป็นต้น เพราะเหตุนั้นเอง เจโตปริยายญาณ แม้ท่านจะถือเอาในหนหลังแล้ว ก็ยังตรัสซ้ำไว้ในอธิการนี้อีก.
บทว่า อสฺสาเทติ คือ เสวยและยินดีด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยโลภะ ซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ ยินดี คือเป็นผู้หรรษา ร่าเริง ด้วยอำนาจตัณหามีปีติ หรือว่าย่อมยินดียิ่งด้วยอำนาจความเพลินใจ ในธรรมที่ตนเห็นแล้ว.
สองบทว่า ราโค อุปฺปชฺชติ ความว่า ราคะย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ยินดีอยู่ คำนี้ตรัสหมายถึงจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้ง ๘ ดวง.
สองบทว่า ทิฏฺิ อุปฺปชฺชติ ความว่า ทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยจิต ๔ ดวง ด้วยอำนาจความเห็นผิดเป็นต้น ว่าตนเป็นของมีในตนดังนี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ยินดียิ่ง. ก็ในกรณีนี้วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่มีการ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 417
ตัดสินใจ (สงสัย). อุทธัจจะย่อมเกิดแก่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน โทสะย่อมเกิดแก่ ผู้เดือดร้อนอยู่ว่า กรรมดี เรายังไม่ได้ทำเลยเป็นต้น.
สองบทว่า ตํ อารพฺภ ความว่า ทำกรรมเหล่านั้นซึ่งตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์. จริงอยู่ ศัพท์นี้อาเทสพหูพจน์เป็นเอกพจน์ อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นเอกพจน์ด้วยอำนาจชาติ.
คำว่า อรหา มคฺคา วุฏฺหิตฺวา ความว่า ออกแล้วด้วยอำนาจการก้าวล่วงภวังค์ ในลำดับแห่งผลในมัคควิถี ก็ปัจจเวกขณะจิตเป็นกิริยาพยากตะของพระอรหันต์นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอารัมมณปัจจัยแห่งกิริยาพยากตะอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงอารัมมณปัจจัยแห่งวิปากาพยากตะอีก จึงตรัส คำว่า เสกฺขา วา เป็นอาทิ. สองบทว่า กุสเล นิรุทฺเธ คือ เมื่อวิปัสสนาชวนวิถีขาดไป. บทว่า วิปาโก ได้แก่ กามาวจรวิบาก. บทว่า ตทารมฺมณตา คือ โดยเป็นตทารัมมณะ อธิบายว่า จิตนั้น (ตทารมัมณจิต) ทำกุศลที่เห็นแจ้งแล้วซึ่งเป็นอารมณ์แห่งกุศลชวนะให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. ก็แลจะเกิดด้วยอำนาจตทารัมมณะอย่างเดียว เท่านั้นก็หาไม่ ยังเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติด้วย. จริงอยู่ วิบาก ย่อมมีกุศลเป็นอารมณ์ได้เหมือนกัน สำหรับบุคคลผู้ทำกรรมให้เป็นอารมณ์ แล้วถือปฏิสนธิ. แต่วิบากนั้นไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้เพราะเข้าใจยาก. คำว่า กุสลํ อสฺสาเทติ เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงวิบากที่มีกุศลเป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งอกุศลชวนะ.
คำนี้ว่า วิญฺาณญฺจายตนวิปากสฺส ถึงจะเป็นธรรมที่เข้าใจยาก พระองค์ก็ตรัสไว้ด้วยอำนาจวิบากที่มีได้ เพราะมหัคคตวิบากไม่เกิดโดยความเป็นตทารัมมณะ. บทว่า กิริยสฺส คือ อากาสานัญจาตนกุศล
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 418
เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย แก่กิริยาจิต ของบุคคลผู้บรรลุพระอรหัต แล้วเข้าสมาบัติโดยปฏิโลม หรือโดยมีฌานหนึ่งคั่น ในอารมณ์ที่เป็น อากาสานัญจายตนะ ที่ยังไม่เคยเข้า.
บทว่า เจโตปริยาณสฺส เป็นต้น พึงเชื่อมกับอาวัชชนะข้างหน้า ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ แห่งจิตเหล่านั้น (อภิญญาจิต) โดยอารัมมณปัจจัย. บทว่า ราคํ คือ ราคะของตนหรือของคนอื่น แค่ในอธิการนี้วรรณนาปรากฏแล้ว ด้วยอำนาจแห่งราคะของตน. คำว่า อสฺสาเทติ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวไว้ แล้ว แต่ในธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น ไม่ตรัสว่า อสฺสาเทติ (ย่อมยินดี) เพราะไม่มีภาวะที่จะน่ายินดี ก็ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในฐานะนี้. ทิฏฐิพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ก่อนตามลำดับที่มาถึง เพราะบทว่า อสฺสาเทติ ตกไป ทิฏฐินั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมนั้นๆ ในบรรดาธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น ซึ่งเป็นสภาคกันก่อนแล้วตรัสไว้ในลำดับแห่งธรรมนั้นๆ. ก็บรรดาธรรมมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งโทมนัส ด้วยอำนาจความอดกลั้นไม่ได้ว่า บาปธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นทำไม หรือด้วยอำนาจวิปฏิสารมีอาทิว่า เราทำความชั่วไว้ เราทำกรรมหยาบช้า ไว้.
สองบทว่า จกฺขุํ อนิจฺจโต ความว่า รูป ๑๑ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐ และวัตถุรูป ๑ ท่านถือเอาแล้ว เพราะปรากฏตามลำดับวิปัสสนา. รูปายตนะเป็นต้นท่านก็ถือเอาอีก เพราะเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณ เป็นต้น. ก็เพราะเทศนานี้ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ ไม่ได้ตรัสด้วย อำนาจธาตุ ฉะนั้นจึงไม่ถือเอามโนธาตุด้วย. พึงทราบอารมณ์ที่ถือเอา
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 419
แล้ว และยังไม่ได้ถือเอาในที่ทั้งปวงอย่างนี้. คำว่า ย่อมพิจารณาผล ย่อมพิจารณานิพพาน ตรัสไว้เพื่อแสดงอารมณ์แห่งกุศลที่เป็นตัวพิจารณา.
อรรถกถาอารัมมณปัจจัย จบ
๓. อธิปติปัจจัย
[๔๙๖] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ อธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาติธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว การทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๔. พระเสขบุคคลทั้งหลาย การทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา การทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.
๕. พระเสขบุคคลทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 420
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๔๙๗] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ อธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดีเพลิดเพลินเพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[๔๙๘] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และสหชาติธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. พระอรหันต์ออกจากมรรค แล้วกระทำมรรคให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 421
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๔. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรมด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๔๙๙] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 422
[๕๐๐] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อกุศลธรรมที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๕๐๑] ๗. อกุศลธรรม เป็ฯปัจจัยแก่อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็นสหชาตาธิปติได้แก่
อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๕๐๒] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. พระอรหันต์กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลจิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 423
[๕๐๓] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. พระเสขะ กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา. กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน และแก่มรรค ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[๕๐๔] ๑๐. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 424
อรรถกถาอธิปติปัจจัย
ใน อารัมมณาธิปตินิทเทส พระองค์ทรงแสดงกุศลที่นับเนื่อง ในภูมิ ๕ ด้วยอำนาจพระเสขะและปุถุชน. ใน สหชาตาธิปตินิทเทส ก็เหมือนกัน. พระอรหันต์ย่อมไม่มีการทำให้หนักในโลกิยกุศลทั้งหลาย เพราะได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงไว้เฉพาะ อรหัตตมรรคเท่านั้น.
อรรถกถาอธิปติปัจจัย จบ
๔. อนันตรปัจจัย
[๕๐๕] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๐๖] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอนันตรปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 425
คือ ๑. กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
๒. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.
๓. อนุโลมของพระเสขะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๐๗] ๓. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๐๘] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๐๙] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 426
๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
๓. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของพระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๑๐] ๖. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[๕๑๑] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ ของอนันตรปัจจัย.
อรรถกถาอนันตรปัจจัย
ใน อนันตรปัจจัย สองบทว่า ปุริมา ปุริมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรวมกุศลที่เกิดในภูมิเดียวกัน และต่างภูมิกัน. คำว่า อนุโลมเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลนเป็นปัจจัยแก่โวทาน ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์ที่แตกต่างกัน. คำว่า โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 427
มรรค ตรัสด้วยอำนาจภูมิที่ต่างกัน. ก็คำว่า กุศล ในคำว่า กุสลํ วุฏฺานสฺส นี้ ได้แก่กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า วุฏฺานํ คือ วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓. พระโยคาวจรทั้งหลาย ย่อมออกจากกุศลชวนวิถีด้วยวิบากเหล่านั้น ฉะนั้น วิบากนั้นท่านจึงเรียกว่า วุฏฐานะ วุฏฐานะ นั้นมี ๒ อย่าง คือตทารัมมณะ ๑ ภวังค์ ๑. บรรดาวุฏฐานะเหล่านั้น แม้ทั้งสองอย่างเป็นวุฏฐานะของกามาวจรกุศล ภวังค์อย่างเดียวเป็นวุฏฐานะแห่งมหัคคตกุศล. คำว่า มคฺโค ผลสฺส นี้ พระองค์ตรัสแยกไว้ เพราะโลกุตตรวิบากเป็นวุฏฐานะไม่ได้ เหตุที่นับเนื่องในชวนวิถี.
สองบทว่า เสกฺขานํ อนุโลนํ ความว่า กุศลย่อมไม่เป็นอนันตรปัจจัยแก่เสขธรรม เพราะฉะนั้น จึงทรงทำการแยกไว้. บทว่า ผลสมาปตฺติยา คือ ผลสมาบัติของโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล. บทว่า ผลสมาปตฺติยา คือ อนาคามิผลสมาบัติ. ในอกุศลจิตย่อมได้ วุฏฐานวิบากทั้งสอง.
ในคำว่า วิปากาพฺยากตา กิริยาพฺยากตา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ วิปากาพยากเฉพาะแก่วิปากาพยากตะด้วยกันเท่านั้น และกิริยาพยากตะ เฉพาะแก่กิริยาพยากตะด้วยกันเท่านั้นเหมือนกัน. คำว่า ภวงฺคํ อาวขฺชนาย เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่เจือกัน. ในคำว่า กิริยา นั้น กามาวจรกิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่วุฏฐานวิบากทั้งสอง มหัคคตกิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่ภวังค์เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย แล้วแสดงวาระ ๗ วาระเหล่าใด ไว้ในปัจจัยวิภังค์ในหนหลังว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 428
อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล (เพราะอำนาจของอนันตรปัจจัย). ในอธิการนี้ ท่านจำแนกอนันตรปัจจัยไว้โดยสังเขปด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แต่ว่า โดยพิสดารในอธิการนี้ บัณฑิตพึงกำหนดนิทเทส ๑๐ - ๑๗ - ๖๐ ถ้วนและมากกว่านั้นให้ดีแล.
จริงอยู่ อนันตรปัจจัยนี้หาได้นิทเทส ๗ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่ ย่อมได้นิทเทส ๑๐ อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่วิบาก๑.
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑.
วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑.
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑.
ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑๐ อย่างเท่านี้ก็หามิได้ แต่ ยังได้นิทเทส ๑๗ อย่าง อย่างนี้อีก คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑.
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ อกุศลวิบาก ๑ กุศลวิบาก ๑.
กุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ กิริยา ๑.
อกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบาก ๑ แก่กุศลวิบาก ๑ แก่ กิริยา ๑.
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยา ๑ กุศล ๑ อกุศล ๑ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑.
ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑๗ อย่างเท่านั้นหามิได้ ยัง ได้นิทเทส ๖๐ ถ้วน อีก คือ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 429
กุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศล ๖ อย่าง ได้แก่ กามาวจรกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลทั้ง ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งภูมิ, รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล, เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลที่เกิดในภูมิของตนๆ.
ส่วนกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๒ อย่าง คือ กามาวจรกุศล เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, รูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่รูปาวจรวิบาก กามาวจรวิบาก, อรูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, โลกุตตรกุศล เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรวิบาก.
อกุศลเป็นอนันตรปัจจัย ๕ อย่าง คือ แก่อกุศล, อกุศลวิบาก, วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓.
กามาวจรกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๔ อย่าง คือ แก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก.
รูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๓ อย่าง คือ แก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓.
อรูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือ แก่อรูปาวจรวิบาก และกามาวจรกุศลวิบาก. โลกุตตรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๔ อย่าง คือ แก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ ๔. กุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๑๓ อย่าง แก่วิบาก ด้วยประการฉะนี้.
อกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือ แก่อกุศลวิบากและ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 430
กามาวจรกุศลวิบาก. วิบากแม้ในที่ทั้งปวงเป็นอนันตรปัจจัย ๑๕ อย่างแก่วิบาก โดยประการฉะนี้.
วิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๔ อย่าง แม้แก่กิริยา คือ กามาวจรกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยา อกุศลวิบาก รูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบากก็เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาได้เหมือนกัน.
กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่กิริยา ๕ อย่าง คือ กามาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยาที่เป็นไปในภูมิ ๓. รูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่กิริยาในภูมิของคนๆ.
กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๑ อย่าง คือ กามาวจรกิริยา เป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบากและกุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔, รูปาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ ๔.
ส่วนกามาวจรกิริยาเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง แก่กุศลและ อกุศลคือ แก่กามาวจรกุศล และอกุศล.
อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทส ๖๐ ถ้วน ด้วยประการฉะนี้.
อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทส ๖๐ ถ้วนเท่านี้ก็หาไม่ ยังได้นิทเทส แม้อีกมากอย่าง คือ
กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๕๓ ดวง คือ แก่ตนเอง แก่รูปาวจรกุศล ๔ ดวง โลกุตตรกุศลโสมนัส ๑๖ ดวง เพราะประกอบโดยเป็นบาท รวมความว่า เป็นปัจจัยแก่กุศลจิต ๒๑ ดวง เป็นปัจจัยแก่วิบากอีก ๓๒ ดวง คือ แก่กามาวจรวิบาก ๑๑ ดวง ที่เกิดด้วยอำนาจตทารัมมณะ และแก่ภวังค์ในที่สุดแห่งชวนะ แก่รูปาวจรวิบาก
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 431
และอรูปาวจรวิบากที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์อย่างเดียว แก่โลกกุตตรวิบาก ๑๒ ที่เป็นไปด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
กุศลจิตดวงที่ ๒ ก็เหมือนกัน. ส่วนดวงที่ ๓ และที่ ๔ ย่อมเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวงที่เหลือ เว้นกุศลที่เกิดในภูมิสูงๆ ขึ้นไป และโลกุตตรวิบาก.
มหากุศลจิตดวงที่ ๕ และที่ ๖ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๓๓ ดวง คือแก่ตนเอง แก่กุศลจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดในภูมิสูงๆ ขึ้นไป ๙ ดวง และแก่วิบากจิต ๒๓ ดวง.
มหากุศลจิตดวงที่ ๗ และที่ ๘ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง เท่านั้น.
รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐ ดวง คือ แก่รูปาวจรกุศลที่เกิดภายหลังตน ๑ แก่มหาวิบากญาณสัมปยุต ๔ ดวง และแก่รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง.
โดยนัยนี้แหละ บรรดา อรูปาวจรกุศล ทั้งหลาย ดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง พร้อมกับวิบากของตน.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๔ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๕ ดวง คือจิต ๑๔ ดวง และผลสมาบัติ ๑ ดวง.
โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่วิบากของๆ ตน เท่านั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 432
บรรดาจิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง อกุศลจิตดวงหนึ่งๆ เป็น ปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือ กามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๑ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
จิตที่สหรคตด้วยโทสะ ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๗ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๖ ดวง ซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขาและแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๑ ดวง พร้อมกับอเหตุกวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัสมหัคคตวิบาก ๙ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนธาตุฝ่าย กุศลวิบาก.
มโนธาตุ เป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวง. บรรดามโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวงนั้น ดวงที่สหรคตด้วยโสมนัส เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือมโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๑๐ ดวง ที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ แก่ตนเองที่เกิดภายหลังตนในเวลาเป็นตทารัมมณะ และแก่โวฏฐัพพนกิริยา.
ส่วน อเหตุกมโนวิยญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง เหมือนกัน คือ แก่อาวัชชนมโนธาตุ อาวัชชนมโนวิญญาณธาตุที่มีฐาน ๒ และวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๐.
มหาวิบากที่เป็นติเหตุกะ เป็นปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือ แก่ มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร ๑๐. เว้นโสมนัสสันตีรณะ รูปาวจรวิบาก อรุปาวจรวิบาก และอาวัชชนจิตทั้งสอง.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 433
ทุเหตุวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง ที่เหลือเว้น มหัคคตวิบาก.
รูปาวจรวิบาก ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๙ ดวง คือ แก่สเหตุกกุศลวิบากปฏิสนธิจิต อันเป็นไปในภูมิทั้งสาม ๑๗ ดวง และอาวัชชนจิต ๒.
ใน บรรดาอรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๙ ดวง คือ ติเหตุกปฏิสนธิฝ่ายกุศลวิบากชั้นกามาวจร ๔ อรูปาวจรวิบาก ๔ และมโนทวาราวัชชนจิต ๑.
อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัย ๘ ดวง เว้นวิบากชั้นต่ำกว่าเสียหนึ่งดวง.
อรูปวจรวิบากจิตดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยยแก่จิต ๗ ดวง เว้น วิบากที่ต่ำกว่า ๒ ดวง.
อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๔ เป็นปัจจัยแก่จิต ๖ ดวง เว้นวิบากเบื้องต่ำ ๓ ดวง.
โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๔ ดวง คือ ติเหตุกวิบาก ๑๓ ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. ปัญจวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศลวิบากมโนธาตุ. มโนธาตุเป็นอนันตรปัจจัยแก่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบาก. อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากนั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ในเวลาเป็น ตทารัมมณะ กามาวจรวิบาก ๙ ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิและภวังค์ในจุติกาล และกามาวจรกิริยา ๒ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 434
กิริยามโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐.ิ
หสิตุปปาทกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำ คือ แก่ติเหตุกวิบาก ๙ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพและแก่วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส ๕ ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง.
โวฏฐัพพนกิริยา เป็นปัจจัยแก่จิต ๔๕ ดวง คือ กามาวจรกิริยา ๑๐ เว้นกิริยามโนธาตุ กามาวจรกุศล ๘ อกุศล ๑๒ และวิบากจิต ๑๕ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพ.
กามาวจรติเหตุกิริยา ที่สหรคตด้วยโสมนัส ๒ ดวง เป็น อนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๕ ดวง ที่นับแล้วไม่นับซ้ำอีก คือ แก่ติเหตุกวิบาก ๑๓ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ โสมนัสสหรคตวิบาก ๕ ด้วยอำนาจตทารัมมณะ รูปาวจรกิริยา ๔ ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรหัตตผลสมาบัติที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
ทุเหตุกโสมนัสสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๗ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภวังคจิต ๑๓ ตามที่กล่าวแล้ว ตทารัมมณะ ๕ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
กามาวจรติเหตุอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๔ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภังคจิต ๑๓ ดวง เหล่านั้นนั้นแหละ อุเบกขาสหรคตวิบาก ๖ ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ รูปาวจรกิริยา ๑ ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรูปาวจรกิริยา ๔ อรหัตตผลสมาบัติ ๑ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 435
ทุเหตุกอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๘ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำ คือ แก่ภวังคจิต ๑๓ เหล่านั้นด้วย แก่ตทารัมมณจิต ๖ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.
บรรดา รูปวจรกิริยาดวงหนึ่งๆ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐ ดวง คือ ติเหตุกภวังค์ในปัญจโวการภพ ๙ ดวง และแก่ตนเองที่เกิด ภายหลัง ๑ ดวง.
บรรดา อรูปาวจรกิริยาจิตทั้งหลาย
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง คือภวังค์จิต ๙ ดวงในปัญจโวการภพ อีก ๑ ดวงในจตุโวการภพ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑ ดวง.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๒ ย่อมได้ภวังคจิต ๒ ดวง ในจตุโวการภพ.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๓ ได้ ๓ ดวง.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๔ ย่อมได้ภวังคจิต ๔ ดวง และผลสมาบัติอีก ๑ ดวง. บรรดาอรูปาวจรกิริยาเหล่านั้น ดวงหนึ่งๆ เป็น อนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ - ๑๒ - ๑๓ และ ๑๕ ดวง ตามลำดับดังนี้แล. อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทสแม้หลายอย่างด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บัณฑิตควรกำหนดนิทเทส ๑๐ - ๑๗ - ๖๐ และแม้มากหลาย (ของอนันตรปัจจัย) ให้ดี.
สมนันตรปัจจัย เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างแล้ว.
อรรถกถาอนันตรปัจจัย จบ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 436
๕. สมนันตรปัจจัย
[๕๑๒] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
[๕๑๓] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของสมนันตร ปัจจัย
๒. มรรค เป็นปัจจัย แก่ผลด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
๓. อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 437
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
[๕๑๔] ๓. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ สมนันตรปัจจัย
คือ ๑. อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
[๕๑๕] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
[๕๑๖] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ สมนันตรปัจจัย.
๓. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจสมนันตรปัจจัย.
๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วย อำนาจของสมนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 438
๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอรหันต์ ผู้ออกจาก นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
[๕๑๗] ๖. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ ของสมนันตรปัจจัย.
[๕๑๘] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
๖. สหชาตปัจจัย (๑)
[๕๑๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย. ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
(๑) ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 439
[๕๒๐] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย.
[๕๒๑] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานูรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
[๕๒๒] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย,
[๕๒๓] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย
คือ อกุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 440
[๕๒๔] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และ จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
[๕๒๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย อำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพตยากตกิริยา เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย.
๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๔. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 441
๕. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย.
๖. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
๗. พาหิรมหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วย อำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๘. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๙. สำหรับอาหารสมุฏฐานรูป มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๑๐. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๑๑. สำหรับอุตุสมุฏฐานรูป มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 442
แก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
๑๒. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
[๕๒๖] ๘. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาติปัจจัย.
[๕๒๗] ๙. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 443
๗. อัญญมัญญปัจจัย (๑)
[๕๒๘] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของ อัญญมัญญปัจจัย.
[๕๒๗] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของ อัญญมัญญปัจจัย
[๕๓๐] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
คือ ๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.
(๑) ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 444
๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.
๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.
๔. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วย อำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.
๕. สำหรับพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ(๑)
๖. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็น ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.
(๑) ดูข้อ ๕๒๔.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 445
๘. นิสสยปัจจัย (๑)
[๕๓๑] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๒] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๓] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๔] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
(๑) ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 446
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๕] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๖] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๗] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ๑. ขันธ์ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 447
๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย, ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๔. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๕. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๖. ที่เป็นพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.
๗. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจชองนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๘. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๙. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 448
นิสสยปัจจัย, โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๑๐. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๘] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของนิสสยปัจจัย
คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๓๙] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ นิสสยปัจจัย.
[๕๔๐] ๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๔๑] ๑๑. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 449
คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๔๒] ๑๒. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
[๕๔๓] ๑๓. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๙. อุปนิสสยปัจจัย
[๕๔๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 450
๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๓. บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๔. พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำโวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา.
๕. พระเสขะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 451
๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.
๕. บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.
๖. บริกรรมแห่งตติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ตติยฌาน ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.
๗. บริกรรมแห่งจตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่จตุตถฌาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๘. บริกรรมแห่งลากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๙. บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๐. บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๑. บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 452
๑๒. ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยฯ ลฯ.
๑๓. จตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัย แก่อากิญจัญญยตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๔. บริกรรมแห่งทิพยจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพยจักษุ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๕. บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทิพโสตธาตุ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๖. บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๗. บริกรรมแห่งเจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๘. บริกรรมแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๙. บริกรรมแห่งยถากัมมูปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๐. บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๑. ทิพยจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพยจักษุ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 453
๒๒. ทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๓. อิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
๒๔. เจโตปริญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๖. ยถากัมมูปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๗. บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๘. บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๒๙. บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๐. บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๑. ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๒. ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 454
๓๓. ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
๓๔. พระเสขะทั้งหลาย อาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดแล้ว พิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๓๕. มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ อฐานะ ของพระเสขะทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๔๕] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี เพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นการทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อม เกิดขึ้น.
๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสม ไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำ ฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 455
ที่เป็น ปกตูนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ย่อมถือมานะ ทิฏฐิ.
๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญาแล้ว ย่อมถือมานะ ทิฏฐิ.
๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๔๖] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
๑. พระอรหันต์ออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.
๓. อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ตนเร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 456
๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญาแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๕. พระอรหันต์ อาศัยมรรค ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสังขารด้วยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๖. มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะของพระอรหันต์ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๗. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๔๗] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 457
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ครั้นการทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๓. ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
อกุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลอาศัยราคะแล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำการปล้นในเรือนหนึ่ง คอยดักอยู่ในหนทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของชายอื่น ทำการฆ่าชาวบ้าน ทำการฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำลายสงฆ์ ให้แตกกัน.
๕. บุคคลอาศัยโทสะแล้ว ฯลฯ.
๖. บุคคลอาศัยโมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา แล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.
๗. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 458
[๕๔๘] ๘. ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
๙. ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน ... กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท ... แก่มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๐. อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
๑๑. อทินนาทานเป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิ และแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงผูกให้เป็นจักกเปยยาล.
[๕๔๙] ๑๒. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
๑๓. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อทินนาทาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๔. มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่มุสาวาท ด้วยอำนาจของอุปนิสสปัจจัย.
๑๕. มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่กาเมสุมิจฉาจาร ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๖. ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแกปิสุณาวาจา ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 459
๑๗. ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่มุสาวาท ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๘. ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ผรุสวาจา ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
๑๙. ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ปิสุณาวาจา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๐. สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่สัมผัปปลาปะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๑. สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ผรุสวาจา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๒. อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่อภิชฌา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๓. อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่สัมผัปปลาปะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๔. พยาบาท เป็นปัจจัยแก่พยาบาท ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๕. พยาบาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อภิชฌา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๖. มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒๗. มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม-
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 460
สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท ด้วยอำนาจชองอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๕๐] ๒๘. มาตุ (๑) ฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
๒๙. มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปปาทกรรม สังฆเภทกรรม ... นิตยมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๐. ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๑. ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปปาทกรรม สังฆเภทกรรม นิยตมิจฉาทิฏฐิ ... มาตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๒. อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๓. อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปปาทกรรม ฯลฯ ปิตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๔. โรหิรุปปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปปาทกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๕. โรหิรุปปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ฯลฯ อรหันต์ฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
(๑) ข้อความในข้อ ๕๔๘ - ๕๔๙ - ๕๕๐ รวมอยู่ในข้อ ๕๔๗ ที่ว่าด้วยอกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 461
๓๖. สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๗. สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิฯ ลฯ โรหิรุปปาทกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
๓๘. นิตยมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่นิตยมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.
๓๙. นิตยมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปปาทกรรม และแก่สังฆเภทกรรมด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำให้เป็นจักกเปยยาล.
[๕๕๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๒. บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 462
๓. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. บุคคลฆ่าสัตว์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่าสัตว์นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น.
๕. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น.
๖. บุคคลกล่าวเท็จแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าวเท็จนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๗ บุคคลกล่าวคำส่อเสียดแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าวคำส่อเสียดนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๘. บุคคลกล่าวคำหยาบแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าวคำหยาบนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๙. บุคคลกล่าวคำเพ้อเจ้อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าวคำเพ้อเจ้อนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ ไห้เกิดขึ้น.
๑๐. บุคคลตัดที่ต่อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๑๑. บุคคลปล้นไม่ให้เหลือแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 463
๑๒. บุคคลทำการปล้นในเรือนหลังหนึ่งแล้ว เพื่อจะลบล้างผลแห่งกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๑๓. บุคคลคอยดักอยู่ในทางเปลี่ยวแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๑๔. บุคคลคบหาภรรยาของชายอื่นแล้ว เพื่อจะลบล้างผลกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๑๕. บุคคลกระทำการฆ่าชาวบ้านแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๑๖. บุคคลฆ่าชาวนิคมแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ ให้เกิดขึ้น.
๑๗. บุคคลฆ่ามารดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่ามารดานั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.
๑๘. บุคคลฆ่าบิดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่าบิดานั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.
๑๙. บุคคลฆ่าพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่า พระอรหันต์นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม.
๒๐. บุคคลยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย เพื่อจะลบล้างผลของการยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้ายนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 464
๒๑. บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกันแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการทำลายสงฆ์นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.
[๕๕๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็นะ ปกตูปนิสสย ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยราคะแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
๒. บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา แล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำคนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
๓. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. อกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๕๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 465
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
๑. พระอรหันต์กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ที่เกิด ก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
๓. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒. ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓. อุตุเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 466
๔. โภชนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๕. เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๖. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๗. ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๘. พระอรหันต์อาศัยสุขทางกาย ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสังขารด้วยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๙. พระอรหันต์อาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสังขารด้วยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
[๕๕๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 467
๑. พระเสขะทั้งหลาย กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. อาวัชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น ปกตูกนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๒. บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
๓. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[๕๕๕] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 468
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักขุให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักขุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำโสตะเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักทำร้ายในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำสงฆ์ให้แตกกัน.
๒. บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วฆ่า สัตว์ ฯลฯ ทำสงฆ์ให้แตกกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 469
๓. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัย แก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย
พึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัย ต่อไป:-
สองบทว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย คือ ทำศรัทธา ได้แก่ความเชื่อในกรรม ผลของกรรม โลกนี้และโลกหน้าเป็นต้น ให้เป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง เหมือนอย่างว่าคนเชื่อว่าภายใต้แผ่นดินมีน้ำแล้ว ขุดซึ่งแผ่นดินฉันใด กุลบุตรมีศรัทธาก็ฉันนั้น เชื่อผลและอานิสงส์ของทานเป็นต้นแล้ว ย่อมบริจาคทานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย.
ในคำว่า สีลํ อุปนิสฺสาย เป็นต้น อธิบายว่า ทำธรรมมีศีลเป็นต้น เหล่านี้ให้เป็นอุปนิสัย จริงอยู่ บุคคลผู้มีศีลเป็นผู้ฉลาดในศีลานุภาพ และในอานิสงส์แห่งศีล เพราะอาศัยศีลจึงให้ทานแก่คนผู้มีศีล สมาทานศีล ชั้นสูงๆ ขึ้นไป รักษาอุโบสถในวันปักษ์ มีวัน ๑๔ ค่ำ เป็นต้น ให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ขาด เพราะอาศัยศีลสมบัติ ย่อมยังคุณธรรม มีฌานเป็นต้น ให้เกิดขึ้น. แม้บุคคลผู้ได้ยินได้ฟังมาก หยั่งรู้ซึ่งสมบัติทุกอย่างอันเนื่อง ด้วยบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น และความต่างกันแห่งความเศร้าหมอง และผ่องแผ้วแห่งกุศลมีทานเป็นต้น ด้วยสุตมยปัญญาแล้ว อาศัยสุตะบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. แม้บุคคลผู้เสียสละ มีใจน้อมไปในทางบริจาค อาศัยการถึงพร้อมด้วยจาคธรรมของตนจึงให้ทาน สมาทานศีล เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 470
เข้าใจว่า ทานที่บุคคลมีศีลให้แล้วย่อมมีผลมาก รักษาอุโบสถเพราะการปฏิบัติอย่างนั้น จึงเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ย่อมทำให้คุณธรรมมีฌานเป็นต้น เกิดขึ้นได้. ฝ่ายบุคคลผู้มีปัญญากำหนดรู้ประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า และอุบายที่จะข้ามพ้นจากโลก อาศัยความรู้อย่างทั่วถึงว่า เพราะข้อปฏิบัติ นี้ บุคคลอาจทำตนให้ลุถึงประโยชน์ในโลกด้วย ดังนี้ย่อมบำเพ็ญกุศลมีทาน เป็นต้น จะเป็นอุปนิสสัยแห่งทานเป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ย่อมเป็นอุปนิสสัยแม้แห่งศรัทธาเป็นต้น ของตนซึ่งจะเกิดต่อไปในภายภาคหน้า เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา.
บทว่า ปริกมฺมํ ผู้ศึกษาพึงถือเอาบริกรรมในส่วนเบื้องต้น ไม่ใช่ที่เป็นอนันตรปัจจัย บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณนั้นแหละ ย่อมมีแก่ญาณทั้งสองนี้ คือ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ หามีบริกรรมต่างออกไปไม่ ญาณทั้งสองนี้เป็นบริวารแห่งทิพจักขุนั่นเอง เมื่อทิพจักขุนั้นสำเร็จแล้ว ญาณทั้งสองนี้ก็สำเร็จด้วย. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณที่มุ่งต่อการน้อมใจไปเพื่อความรู้ อย่างนั้นเป็นบริการแห่งญาณทั้งสองนั้น เพราะว่าญาณทั้งสองนี้จะมีคติเหมือนทิพจักขุทุกอย่างก็หาไม่ ฉะนั้น จึงมีบริกรรมพิเศษในญาณทั้งสองนี้อีกแล. คำว่า ทิพฺพจกฺขุ ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ทิพจักขุ ของบุคคลผู้เห็นรูปในที่ไกล แล้วต้องการจะฟังเสียงแห่งรูปเหล่านั้น เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ความผ่องใสแห่งโสตธาตุ. ก็ทิพโสตธาตุ ย่อมเป็น อุปนิสสยปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ได้ยินเสียงแห่งรูป
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 471
เหล่านั้น แล้วประสงค์จะไปในที่นั้น. บัณฑิต พึงทราบความเป็นอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจความเป็นอุปการะแก่ธรรมนั้นๆ ในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. คำว่า มคฺคํ อุปนิสฺสาย อนุปฺปนฺนํ สมาปตฺตึ ความว่า พระอริยบุคคลเหล่าใด ยังสมาบัตินั้นๆ ให้เกิดขึ้น เพราะอันตรายในหนทางเป็นสภาพเบาบางแล้ว และละได้แล้วด้วยมรรคนั้นๆ ฉะนั้น มรรคของพระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่สมาบัติ. บทว่า วิปสฺสนฺติ คือ ย่อมเห็นแจ้ง เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไป. คำว่า อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยที่ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สำเร็จได้เพราะการได้บรรลุมรรคนั่นเอง. ก็แล มรรคนั่นเอง ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะเป็นไปในอารมณ์นั้นๆ ภายหลัง ปฏิสัมภิทา เหล่านี้สำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.
คำว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย มานํ ชปฺเปติ ความว่า ย่อมยังมานะให้เป็นไปว่าเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. สองบทว่า ทิฏฺึ คณฺหาติ ความว่า บุคคลไปด้วยอำนาจความเชื่อในคำนั้นๆ ไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา คือ ย่อมถือเอาทิฏฐิ ด้วยอำนาจความเห็นผิดว่า บุคคลมีอยู่เป็นต้น. คำว่า สีลํ สุตํ จาคํ ปญฺํ ความว่า เกิดมานะขึ้นว่า เราเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สดับแล้ว มีการสละ มีความรู้ทุกด้าน. ก็เมื่อบุคคลยังความสำคัญผิดด้วยอำนาจทิฏฐิให้เกิดขึ้นในศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เหมือนความสำคัญผิดด้วยอำนาจมานะ ย่อมถือเอาซึ่งทิฏฐิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคฺสส เป็นต้น บรรดาทิฏฐิ และมานะ เหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ราคะในเวลาอาศัยสมบัติมีศรัทธาเป็นต้นแล้วยกย่องตน เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โทสะในเวลาอาศัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 472
สมบัติ มีศรัทธาเป็นต้นแล้วเย้ยหยันผู้อื่น เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โมหะ ที่สัมมปยุตตด้วยราคะและโทสะทั้งสอง เพราะอาศัยมานะและทิฏฐิมีประการดังกล่าวแล้ว อาศัยสมบัติมีศรัทธาเป็นต้นแล้ว ปรารถนาภวสมบัติและ โภคสมบัติ. โลกิยกุศล เท่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน อธิการนี้ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนโลกุตตรกุศลเป็นธรรมสงบ ประณีต สูงสุด กำจัดอกุศลได้เด็ดขาด ฉะนั้น จึงไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศล เหมือนพระจันทร์ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่ความมืดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นโลกุตตรกุศลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอาในอธิการนี้.
คำว่า อาตาเปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดง อัพยากตธรรมด้วยอำนาจกายิกทุกข์ จริงอยู่ ผู้มีศรัทธา อาศัยศรัทธา ไม่ย่อท้อต่อความหนาวจัด ร้อนจัด เอาใจใส่ในการก่อสร้างเป็นต้น มีประการต่างๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. บุคคลคิดว่า เราได้ โภคสมบัติแล้วจักทำบุญ ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. แม้บุคคลผู้มีศีล ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ด้วยอำนาจการถือธุดงค์ มีการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกวัตร) เป็นต้น เพื่อรักษาศีล ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. ด้วยอำนาจการเที่ยวแสวงหาอาหารเป็นต้น. แม้บุคคลผู้สดับแล้วคิดว่า เราจะปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ความเป็นพหูสูต ปฏิบัติอยู่ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ย่อมทำตน ให้เดือดร้อน. ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. แม้บุคคล ผู้เสียสละเพราะจิตใจน้อมไปในการบริจาค สละเสียจนไม่เหลือปัจจัยไว้ เลี้ยงชีพตน หรือทำการสละอวัยวะเป็นต้น ชื่อว่า ทำตนให้เดือดร้อน
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 473
ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล เพื่อได้มาซึ่งวัตถุที่จะนำมาบริจาค. แม้บุคคลผู้มีปัญญาอาศัยความมีปัญญา ไม่คำนึงถึงความหนาว ร้อนเป็นต้น พยายามสนใจในการท่องจำ ด้วยคิดว่า เราจักมีปัญญาให้สูงขึ้นๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. เห็นโทษในมิจฉาชีพและอานิสงส์ ในสัมมาชีพ ละมิจฉาชีพ และหาเครื่องเลี้ยงชีวิต ด้วยอาชีวะอันหมดจด ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
สองบทว่า กายิกสฺส สุขสฺส คือ แก่ความสุขทางกายในเวลาความสุขเกิดขึ้นแก่กาย ซึ่งมีรูปอันประณีต มีศรัทธาเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ถูกต้องแล้วในเวลาใช้สอยอุปกรณ์แห่งความสุข ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยสมบัติมีศรัทธาเป็นต้น. และแก่ความสุขทางกายอัน มีรูป มีปราโมทย์ และปีติซึ่งมีความเดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งอุปกรณ์ความสุขเหล่านั้นเป็นมูล เป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว. และแก่ความสุขทางกาย ในเวลาวิบากสุขเกิดขึ้น เพราะอุปกรณ์แห่งความสุขเหล่านั้น ทำแล้วในกาลเกิดขึ้นแห่งความสุข, และแก่ทุกข์ทางกาย ในเวลาทุกข์เกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล และในเวลามีการฆ่าและจองจำ อันบุคคลผู้อดกลั้นไม่ได้ด้วยคุณสมบัติ มีศรัทธาเป็นต้นประกอบแล้ว. ก็ในเวลาผลสมาบัติอาศัยศรัทธาเป็นต้นเป็นไป ธรรมหนึ่งๆ ในบรรดาธรรมมีศรัทธาเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติด้วย. สองบทว่า กุสลํ กมฺมํ คือ กุศลเจตนา เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน. แต่เจตนานั้นได้เฉพาะที่มีกำลัง เท่านั้น ที่มีกำลังอ่อนย่อมไม่ได้. ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ (เป็นอุทาหรณ์) :-
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 474
เล่ากันมาว่า หญิงคนหนึ่งต้องการจะผูกคอตาย จึงห้อยเชือกไว้ที่ต้นไม้ จัดแจงของที่ควรจัดอยู่ ที่นั้นโจรคนหนึ่ง คิดว่าตอนกลางคืนเราเข้าไปยังเรือนนั้น แล้วจักเอาเชือกเส้นนี้มัดสิ่งของบางอย่างแล้วลักไป จึงเอามีดเข้าไปตัด ลำดับนั้นเชือกนั้นได้กลายเป็น งูพิษขู่แล้ว โจรกลัวไม่กล้าเข้าไป หญิงนั้นออกจากเรือน สอดคอเข้า ไปในบ่วงเชือกผูกคอตายแล้ว พลวเจตนาห้ามเสีย ซึ่งอันตรายแล้ว เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตนด้วยประการฉะนี้.
แต่คำนี้ก็ไม่ควรถือโดยแน่นอน เพราะว่า กรรมที่ได้โอกาสห้าม อันตรายแห่งวิบากอย่างนี้แล้วย่อมให้ผล ส่วนกรรมที่ยังวิบากให้เกิดกล่าว ไม่ได้ว่า ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่วิบาก. ในคำว่า กมฺมํ นี้ บัณฑิตพึงทราบ ว่า ได้แก่กรรมที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔. ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า มรรคเป็น อุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ข้างหน้านั้น กล่าวด้วยอำนาจธรรมที่ไม่มีเจตนา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ว่า ธรรมที่ยังวิบากให้เกิดขึ้นนั่น แหละเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน.
คำว่า ราคํ อุปนิสฺสาย ปาณํ หนติ ความว่า ประโยชน์ใดย่อมมีโดยเป็นสาระในวัตถุใด ผิดแล้วในวัตถุนั้น หรือว่าฆ่าสัตว์เพื่อประโยชน์นั้น. แม้ในอทินนาทานเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้.
คำว่า สนฺธึ ฉินฺทติ เป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจอทินนาทาน. คำว่า สนฺธึ ในอธิการนั้นหมายเอาฝาเรือน.
สองบทว่า นิลฺโลปํ หรติ คือ แอบเข้าไปขโมย.
สองบทว่า เอกาคาริกํ กโรติ คือ ร่วมกันหลายๆ คน ล้อมปล้น เรือนหลังเดียว.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 475
สองบทว่า ปริปนฺเถ ติฏฺติ คือ ดังทำร้ายคนเดินทาง.
ในคำว่า โทสํ อุปนิสสย เป็นต้น ความว่า ทำโทสะที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจความแค้นว่า เขาได้สร้างความฉิบหายวายวอดให้กับเราเป็นต้น ให้เป็นอุปนิสสัย. คำว่า โมหํ อุปนิสฺสาย คือ ทำโมหะที่ปิดบังโทษในปาณาติบาตเป็นต้น ให้เป็นอุปนิสสัย. สองบทว่า มานํ อุปนิสฺสาย คือ ทำมานะว่า ทำไมจึงฆ่าไม่ได้ ทำไมเราจึงลักไม่ได้ให้เป็นอุปนิสสัย. หรืออธิบายว่า ถูกใครเขาดูถูกเหยียดหยาม แล้วยกเอาการดูถูกนั้นมาเป็น อุปนิสสัยบ้าง.
สองบทว่า ทิฏฺึ อุปนิสฺสาย คือ ทำทิฏฐิในยัญทั้งหลายให้เป็นอุปนิสสัย เหมือนพราหมณ์ทั้งหลาย และพวกปาราสิกะและมิลักขะเป็นต้น.
สองบทว่า ปตฺถนํ อุปนิสสาย คือ ทำความปรารถนามีอาทิอย่างนี้ ว่า ถ้างานชิ้นนี้ของข้าพเจ้าสำเร็จ ก็จักทำพลีกรรมอย่างนี้แก่ท่าน หรือท่านจงนำเครื่องบวงสรวงเทวดาชนิดโน้นมาให้ข้าพเจ้า หรือจงนำเอาไปให้คนโน้น หรือว่าท่านจงมาร่วมเป็นสหายของเรา ซึ่งกำลังทำงานเหล่านี้ อยู่ให้เป็นอุปนิสสัย. ในคำว่า ราโค โทโส มาโน ทิฏฺิ ปตฺถนา ราคสฺส นี้ ราคะเป็นอุปนิสสัยแก่ราคะด้วย แก่ธรรมมีโทสะเป็นต้นด้วย. แม้ในโทสะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า ปาณาติปาโต ปาณาติปาตสฺส ความว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมจะฆ่าสัตว์อื่นอีก เพราะตั้งอยู่ในความที่ไม่สำรวม. หรือว่าย่อมฆ่าญาติมิตรของผู้ที่ถูกเขาฆ่าแล้วประทุษร้ายต่อเพิ่มอีก. ปาณาติบาตเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ปาณาติบาตด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ปาณาติบาตเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อทินนาทานเป็นต้น ในเวลาฆ่าเจ้าของ หรือคนเฝ้าลักเอาของเขาไป, ในการฆ่าสามีแล้วล่วงภรรยาเขา, ในเวลาพูดเท็จว่า
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 476
ไม่ได้ฆ่า, ในเวลาพูดส่อเสียดเพื่อปกปิดกรรมที่ตัวเองทำแล้ว, หรือเพื่อต้องการทำกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ในเวลาพูดคำหยาบ คำเพ้อเจ้อ โดยนัยนั้น ในเวลาเพ่งเล็งสมบัติที่อยากได้ของผู้อื่น ในเวลาคิดว่าเมื่อเขาถูกฆ่าตาย แล้วพวกพ้องมิตรอำมาตย์ของเขาต้องสูญสิ้นไปเป็นต้น และในเวลาถือ ความเห็นผิดด้วยอำนาจผู้ทำกรรมที่ทำได้ยาก ว่าปาณาติบาตของเราจักหนักแน่นอยู่นี้ เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในความหมุนไปในธรรม มีอทินนาทานเป็นต้นเป็นมูลโดยอุบายนี้.
สองบทว่า มาตุฆาตกมฺมํ มาตุฆาตกมฺมสฺส ความว่า มาตุฆาตกรรมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม สำหรับบุคคลผู้เห็นคนอื่นฆ่ามารดา แล้วฆ่าซึ่งมารดาของคนบ้าง เข้าใจว่าการทำอย่างนั้นสมควร หรือด้วยอำนาจการฆ่าในภพหนึ่งแล้วฆ่าในภพอื่นอีก หรือในภพเดียวกัน ด้วยสามารถแห่งการสั่งบ่อยๆ ว่าท่านจงไปฆ่ามารดาของเรา หรือด้วยอำนาจการประหารครั้งที่ ๒ เพื่อให้ตายแน่นอนด้วยการประหาร ๒ ครั้ง. แม้บทที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความตามที่เหมาะสมโดยนัยนี้เหมือนกัน.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อกุศลที่มีกำลัง หาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลทีมีกำลังอ่อนไม่ เพราะฉะนั้น เทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ ด้วยอำนาจอนันตริยกรรมที่เนื่องด้วยกรรมบถเท่านั้น. ดังนั้น ไม่ควรยึดถือโดยแน่นอน. เพราะว่าบุคคลทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นแล้ว ถูกท้วงติงว่า ทำไมจึงทำอย่างนั้น ย่อมทำอาการโกรธบ้าง เดือดร้อนบ้าง ก็เมื่อกิเลสมีประมาณน้อยเกิดแล้ว เขาปล่อยให้กิเลสนั้นขยายตัวไม่ยอมทำการล่วงละเมิดได้ เพราะฉะนั้น อกุศลที่มีกำลังย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลที่หย่อนกำลังไป และอกุศลที่หย่อนกำลังก็ย่อมเป็นอุปนิสสย-
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 477
ปัจจัย แม้แต่อกุศลที่มีกำลังได้เหมือนกัน ก็คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวรรณนานิทเทสแห่งปัจจัยวิภังค์ว่า ธรรมที่ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลัง คำนั้นท่านกล่าวไว้ เพราะภาวะแห่งการเป็นเหตุเท่านั้นมีกำลัง ไม่ใช่เพราะตัวปัจจัยธรรมซึ่งเป็นที่เข้าไปอิงอาศัย. จริงอยู่ กรรมและกิเลสทั้งหลาย ที่มีกำลังมากก็ดี ที่หย่อนกำลังก็ดี จัดว่าเป็นเหตุที่มีกำลังทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคํ อุปนิสฺสาย ทานํ เทติ เป็นต้นต่อไป บุคคลเข้าไปอาศัยความยินดีในอุปปัตติภพ หรือในโภคะทั้งหลายว่า ทำไมหนอเราจึงจะเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ดังนี้แล้วจึงให้ทาน แม้ในการสมาทานศีลและรักษาอุโบสถ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็บุคคลเมื่อทำฌานให้เกิดเพื่อต้องการข่มราคะ ทำวิปัสสนาให้เกิดเพื่อต้องการละราคะ ทำมรรคไห้เกิดเพื่อต้องการตัดภพ ตัดชาติ ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะทำให้เกิดขึ้น. อนึ่ง เมื่อยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด เพื่อต้องการให้ปราศจากราคะ ก็ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะ ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ด้วยความต้องการเท่านี้ ผู้นั้นย่อมเป็นคนปราศจากราคะได้.
บทว่า สทฺธาย คือ ความเชื่ออันเป็นไปด้วยอำนาจทานเป็นต้น แม้ในศีลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า เมื่อยังศรัทธาเป็นต้น ให้เกิดด้วยอำนาจทานเป็นต้น ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัย ราคะให้เกิด ฉันใด ผู้ศึกษาพึงทราบว่า แม้ราคะเป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ศรัทธา เป็นต้น ฉันนั้น.
สองบทว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย คือเพื่อห้ามเสียซึ่งวิบากนั้น อธิบาย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 478
ว่า เพื่อไม่ให้โอกาสแห่งวิบากเกิดขึ้น ในสัปปฏิฆาตธรรมทั้งหลาย มีอธิบายเพียงเท่านี้. ถามว่า อนันตริยกรรมเหล่าใดไม่มีปฏิฆาต ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย ไว้ในอนันตริยกรรม เหล่านั้น. แก้ว่า ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้น. จริงอยู่ ผู้นั้น ย่อมมีอัธยาศัยว่าจะประพฤติเพื่อต้องการจะกำจัดสิ่งนั้น (วิบาก). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาอัธยาศัยนั้น จึงตรัสไว้อย่างนี้. คำว่า ราคํ อุปนิสฺสาย อตฺตานํ อาตาเปติ ผู้ศึกษาพึงทราบความทั้งหมดโดยนัยก่อน นั่นเทียวว่า บุคคลเห็นอยู่ซึ่งส่วนบุญ โดยเป็นการกระทำได้ยากของผู้ยินดีแล้วในสมบัติใดเล่า ย่อมทำอย่างนั้นบ้าง.
สองบทว่า กายิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่ได้เพราะการทำกุศล ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอกุศลมีราคะเป็นต้น หรือว่าด้วยอำนาจการบริโภค กามแห่งบุคคลผู้ยังไม่เห็นโทษด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขสฺส คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการย่างกิเลสเป็นต้น (การทำตนเองให้ เดือดร้อน) หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการฆ่า และการจองจำ ที่เป็นไปเพราะเหตุแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า ผลสมาปตฺติยา หมายถึง คุณธรรมที่พระโยคาวจรให้เกิดขึ้น เพราะตัดกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ หรือหมายถึงคุณชาติที่ท่านผู้เบื่อหน่ายราคะเป็นต้นเหล่านั้นเข้าถึงแล้ว. สองบท ว่า กยิกํ สุขํ เป็นต้น ความว่าเมื่อความสุขเกิดขึ้น บุคคลยินดีความสุขนั้น ทำความสุขนั้นให้เกิดบ่อยๆ ด้วยปัจจัยอย่างเดียวกันนั้นเอง ความสุขคราวก่อนชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ความสุขคราวหลัง.
ก็ในบรรดาความหนาวเป็นต้น เมื่อบุคคลซ่องเสพเกินไป ซึ่งความร้อนมีความร้อนเพราะไฟเป็นต้น ความสุขเบื้องต้นย่อมเป็นอุปนิสสย-
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 479
ปัจจัยแก่ความทุกข์ภายหลัง. อีกอย่างหนึ่งในอธิการนี้ กายิกสุขของบุคคลผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลายว่า สัมผัสแห่งแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพาชิกานี้เป็นสุขจริงหนอ ดังนี้ ย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งกายิกทุกข์ในนรก. ส่วนเมื่อพระโยคีผู้มีความสุขเพราะไม่มีโรค เข้าผลสมาบัติ กายิกสุขย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
ก็เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งความสุขเพื่อกำจัดทุกข์ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าผลสมาบัติระงับอาพาธ เพื่อกำจัดทุกข์ กายิกทุกข์ย่อมเป็น อุปนิสสยปัจจัยแก่กายิกสุข และผลสมาบัติ. ฤดูที่สบายย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่สุข และผลสมาบัติ และฤดูที่ไม่สบายย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลปรารถนาเสวยความสุข อันเกิดแล้ว ด้วยอำนาจรูปอันตั้งอยู่แล้วในสมาบัติ เพราะข่มความไม่สบายเพราะฤดูไว้ ฤดูแม้จะไม่สบาย (ของท่าน) ก็เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติได้เหมือนกัน. แม้ในโภชนะและเสนาสนะก็นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า กายิกํ สุขํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้รวมกันโดยเฉพาะอีก. แต่ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังเหมือนกัน. คำว่า ผลสมาปตฺติ กายิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่เกิดขึ้นด้วย อำนาจรูปที่มีสมาบัติเป็นสมุฏฐาน จริงอยู่ พระโยคีออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมได้เสวยความสุขนั้น.
ในคำว่า กายิกํ อุปนิสฺสาย สุขํ ทานํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ ความสุขและความทุกข์ เป็นอุปนิสสยปัจจัยด้วยอำนาจสุขที่ได้รับแล้วยังไม่เสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ความสุขนี้ของเราไม่พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 480
การบรรลุสุขที่ตนยังไม่ถึงว่า ไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความสุขอย่างนี้ในกาลต่อไป แม้ในทุกข์ก็พึงทราบด้วยอำนาจความเสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ทุกข์พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจปรารถนาไม่ให้ทุกข์เกิดว่า ทุกข์อย่างนี้ไม่พึงเกิดต่อไป. ฤดู โภชนะ และเสนาสนะ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.
แม้ในคำว่า กายิกํ สุขํ เป็นต้น อีก มีความว่า เพราะศรัทธาย่อม เกิดแม้แก่บุคคลผู้ถึงสุขได้ เช่นในคำว่า ดูก่อนโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การเข้าถึงพระพุทธเจ้านั้นว่าเป็นสรณะเป็นการดีแล, ย่อมเกิดแก่บุคคลแม้ถึงทุกข์ก็ได้ เช่นในคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้ อนึ่ง บุคคลย่อมทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น เพื่อประกอบตนไว้ในสุข และพรากเสียจากความทุกข์ เพราะฉะนั้น สุขและทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงโดยเป็นอุปนิสสัยแห่งศรัทธาเป็นต้น แม้ฤดูเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงประกอบอธิบายตามสมควร. แม้ในคำว่า กายิกํ สุขํ อุปนิสฺสาย ปาณํ หนติ เป็นต้น พึงทราบความที่สุขเป็นต้น เป็นอุปนิสสยปัจจัยตามแนวทางแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นเอง. ก็ในบทภาชนีย์แห่งอุปนิสสยปัจจัยนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่าอุปนิสสยปัจจัยทั้งสามทรงจำแนกไว้ ๒๓ วาระ คือ กุศล ๘ อกุศล ๖ อัพยกาตะ ๙ วาระนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่อกุศล ๒ วาระ แก่อัพยากตะ ๓ วาระ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่กุศล ๑ วาระ แก่อัพยากตะ ๒ วาระ แม้อัพยากตะก็เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 481
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่กุศล ๓ วาระ แก่อกุศล ๓ วาระ.
อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย จบ
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย
[๕๕๖] ๑. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากธรรม ด้วย อำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
๑. พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๒. พระอรหันต์พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๓. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
๔. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๕. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ, คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ, รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ, โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 482
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๒. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๓. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๔. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๕. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๖. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
[๕๕๗] ๒. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็นอารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
๑. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๒. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 483
กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๓. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟัง เสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
[๕๕๘] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 484
อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย
ใน ปุเรชาตปัจจัย แม้จักขายตนะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอำนาจรูปหยาบ ส่วนอาโปธาตุเป็นต้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. สำหรับวัตถุปุเรชาตะ คำว่า จกฺขวายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงจักขายตนะเป็นต้นนั้นว่า เป็นวัตถุรูป ที่เกิดก่อน. คำว่า วตฺถุ วิปากาพฺยากตานํ คือ วัตถุเป็นปัจจัยแก่ วิบากอัพยากตะ ตรัสหมายถึงปุเรชาตปัจจัยในปวัตติกาล.
อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย จบ
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
[๕๕๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ๑. กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
[๕๖๐] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
[๕๖๑] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 485
คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย
ใน ปัจฉาชาตปัจจัย คำว่า อิมสฺส กายสฺส ได้แก่ กายอัน ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔. คำว่า ปจิฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย ความว่า เป็นธรรมที่เกิดภายหลัง และเป็นปัจจัยด้วยอำนาจการค้ำจุน. ปัจฉาชาตปัจจัยนี้มาแล้ว โดยอนุโลมในปัญหาวาระนี้ว่า ความเป็นปัจจัยเพราะ อรรถว่าค้ำจุนนี้แหละ ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย.
อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย จบ
๑๒. อาเสวนปัจจัย
[๕๖๒] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย
คือ ๑. กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 486
๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวน ปัจจัย.
[๕๖๓] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย
คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[๕๖๔] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
อรรถกถาอาเสวนปัจจัย
ในการถือเอาคำเป็นต้นว่า อนุโลมํ โคตฺรภุสฺส อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ใน อาเสวนปัจจัย แยกออกไปส่วนหนึ่ง พึงทราบเหตุแห่งการแยกไปนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.
อรรถกถาอาเสวนปัจจัย จบ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 487
๑๓. กัมมปัจจัย
[๕๖๕] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๕๖๖] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
กุศลเจตนา เป็นนปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๕๖๗] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๕๖๘] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของกัมมปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 488
คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
[๕๖๙] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๕๗๐] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๕๗๑] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย อำนาจของกัมมปัจจัย
คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 489
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
อรรถกถากัมมปัจจัย
ในคำนี้ว่า กุสลา เจตนา สมฺปยุตตกานํ ใน กัมมปัจจัย เจตนา พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่าสหชาตะ เพราะไม่มีการจำแนกเป็นสหชาตกัมมปัจจัย และนานักขณิกกัมมปัจจัย (๑) แต่ในการวิสัชนาอัพยากตธรรม การจำแนกนั้นมีอยู่. เพราะฉะนั้น เจตนาที่เป็นสหชาตะและนานักขณิกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในวาระนั้น. ปฏิสนธิ ศัพท์ ตรัสไว้ด้วย อำนาจกฏัตตารูป.
สองบทว่า เจตนา วตฺถุสฺส คือ เจตนาเป็นปัจจัยแก่วัตถุ ตรัสไว้เพื่อแสดงว่าอรูปธรรมอิงอาศัยวัตถุในปฏิสนธิขณะ ย่อมเป็นไปเพราะ วัตถุเป็นปัจจัยแม้ก็จริง ถึงเจตนาก็เป็นปัจจัยแก่วัตถุได้. แม้ในวิปากปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในปฏิสนธิวาระ โดยนัยนี้เหมือนกัน.
อรรถกถากัมมปัจจัย จบ
(๑) บาลี เรียก นานาขณิกะ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 490
๑๔. วิปากปัจจัย (๑)
[๕๗๒] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.
๑๕. อาหารปัจจัย
[๕๗๓] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
[๕๗๔] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
(๑) ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 491
คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
[๕๗๕] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
[๕๗๖] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
[๕๗๗] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
[๕๗๘] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 492
[๕๗๙] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย อำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
อรรถกถาอาหารปัจจัย
สองบทว่า อิมสฺส กายสฺส ใน อาหารปัจจัย ความว่า เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย ด้วยอำนาจยังรูปมีอาหารเป็นสมุฏฐานให้ เกิดขึ้น (ชนกสัตติ) ด้วยอำนาจการค้ำจุน แก่รูปที่เหลือในกาย อันสำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ในปวัตติกาลด้วยอำนาจสันตติ ๔.
แม้ใน อินทริยปัจจัย เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบปฏิสนธิวาระตามที่ข้าพเจ้าก้าวไว้แล้วนั่นแล. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีเนื้อความกระจ่างแล้ว ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอาหารปัจจัย จบ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 493
๑๖. อินทริยปัจจัย (๑)
[๕๘๐] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
[๕๘๑] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
[๕๘๒] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
[๕๘๓] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
(๑) ตั้งแต่ปัจจัยที่ ๑๖ ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 494
[๕๘๔] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
[๕๘๕] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
[๕๘๖] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ ๑. อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
๒. ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
๓. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
๔. โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของ อินทริยปัจจัย.
๕. ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 495
๖. ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
๗. กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
๘. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของ อินทริยปัจจัย.
๑๗. ฌานปัจจัย
[๕๘๗] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ ฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ ของฌานปัจจัย.
[๕๘๘] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ ของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
[๕๘๙] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 496
[๕๙๐] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
[๕๙๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
[๕๙๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
[๕๙๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย
คือ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 497
๑๘. มัคคปัจจัย
[๕๙๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
[๕๙๕] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ ของมัคคปัจจัย.
[๕๙๖] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
[๕๙๗] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
[๕๙๘] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 498
คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
[๕๙๙] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
[๖๐๐] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย
คือ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย
[๖๐๑] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 499
[๖๐๒] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยตตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.
[๖๐๓] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย อำนาจของสัมปยุตตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย
[๖๐๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 500
ขันธ์ที่เป็นกุศลที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นกุศลที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[๖๐๕] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นอกุศลที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นอกุศลที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[๖๐๖] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
๑. ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาที่เกิดพร้อมกันเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 501
๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
๑. จักขายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๒. โสตายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๓. ฆานายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๔. ชิวหายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๕. กายายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๖. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
๑. ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 502
[๖๐๗] ๔. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
๑. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[๖๐๘] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ ของวิปปยุตตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
๑. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจ ของวิปปยุตตปัจจัย.
๒๑. อัตถิปัจจัย
[๖๐๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๐] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 503
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
๑. กุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
๑. กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๑] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๒] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๓] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 504
มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจจาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
๑. อกุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
๑. อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๔] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๕ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทริยะ.
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย,
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 505
ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๓. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พาหิรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.
๔. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 506
๑. พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๒. พระอรหันต์พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๓. พระอรหันต์ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
๔. พระอรหันต์ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
๕. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะฯ ลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๑๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัตยากตกิริยา ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 507
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อาหาระ ได้แก่
กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อินทริยะ ได้แก่
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๖] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
๑. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๒. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๓. พระเสขะหรือปุถุชน เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
๔. พระเสขะหรือปุถุชน ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
๕. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ อัตถิปัจจัย.
[๖๑๗] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 508
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภซึ่งจักษุนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๘] ๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็นสหชาตปุเรชาตะ (๑) ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลที่เกิดพร้อมกันและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๑๙] ๑๑. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปัจฉาชาตาหาระ (๒) ปัจฉาชาตินทริยะ (๓)
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
(๑) สหชาตปุเรชาตะ หมายถึงที่เป็นสหชาตะรวมกับปุเรชาตะ (มิสสกะ).
(๒) หมายถึงปัจฉาชาตะรวมกับอาหาร.
(๓) หมายถึงปัจฉาชาตะรวมกับอินทริยะ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 509
กุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกันและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
ที่เป็น ปัจฉาชาตาหาระ ได้แก่
กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตินทริยะ ได้แก่
กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๒๐] ๑๒. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลที่เกิดพร้อมกันและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[๖๒๑] ๑๓. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็นสหชาตะ ปัจฉาชาตาหาระ และปัจฉาชาตินทริยะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 510
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
อกุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกันและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตาหาระ ได้แก่
อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตินทริยะ ได้แก่
อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๒๒.นัตถิปัจจัย
[๖๒๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของนัตถิ- ปัจจัย
คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย ฯลฯ. พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย.
๒๓. วิคตปัจจัย
[๖๒๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 511
คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย ฯลฯ
พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย.
๒๔. อวิคตปัจจัย
[๖๒๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย,ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.
พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอัตถิปัจจัย.
ปัญหาวารวิภังค์ จบ