[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 52
๓. มหาโคปาลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 52
๓. มหาโคปาลสูตร
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในเชตวนารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระองค์ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ.
องค์เป็นเหตุไม่เจริญ ๑๑ ประการ
[๓๘๔] พระองค์ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ไม่ควรจะรักษาหมู่โคและทําหมู่โคให้เจริญได้. องค์ ๑๑ ประการนั้นเป็นไฉน. นายโคบาลในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ไม่รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้ไม่ปิดแผล ๕. เป็นผู้ไม่สุมควัน ๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักให้ดื่ม ๘. ไม่รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ไม่ฉลาดในตําบลที่โคเที่ยวหากิน ๑๐. เป็นผู้รีดน้ำนมเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้๑๑. เป็นผู้ไม่ปรนปรือเหล่าโคอุสุภ (คือดีกว่าโคทั้งปวง) อันเป็นพ่อฝูงเป็นผู้นําฝูงด้วยการปรนปรือเป็นพิเศษ. นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ไม่ควรจะรักษาหมู่โคให้เจริญได้.
ภิกษุก็เหมือนกัน ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ไม่ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ ๑. เป็นผู้ไม่รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้ไม่ปิดแผล ๕. เป็นผู้ไม่สุมควัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 53
๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักให้ดื่ม ๘. ไม่รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. เป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระเป็นรัตตัญูมีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ด้วย ด้วยบูชาอันล้นเหลือ.
[๓๘๕] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูปเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่รู้จักชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง รูปทั้งปวง ก็คือมหาภูตรูปทั้งสี่ และอุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่ ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูปอย่างนี้.
๒. ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ไม่รู้จักชัดตามเป็นจริงว่าคนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย. ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล.
๓. ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขางออกเสียเป็นอย่างไร.* ภิกษุในศาสนานี้ให้กามวิตก คือความตรึกประกอบด้วยความอยากได้ พยาบาทวิตก คือความตรึกประกอบด้วยความปองร้าย วิหึสาวิตก คือความตรึกประกอบด้วยความเบียดเบียน และอกุศลธรรมที่เป็นบาป ซึ่งเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อยู่ทับถม ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ทําให้เกิดเนืองๆ ภิกษุไม่เขี่ยไข่ขางออกเสียอย่างนี้.
๔. ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผลเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือไว้โดยนิมิต คือความหมาย ถือไว้โดยอนุพยัญชนะ คือความจําแนกออก ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล มีอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้นเค้า ย่อมไหลไปตามบุคคลผู้อยู่ไม่สํารวมอินทรีย์** มีอินทรีย์ที่ไม่สํารวมแล้วใดเป็นเหตุ เธอไม่ปฏิบัติเพื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 54
จะสํารวมอินทรีย์นั้น ไม่รักษาอินทรีย์นั้น ไม่ถึงความสํารวมในอินทรีย์นั้น ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผลอย่างนี้.
๕. ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควันเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่แสดงธรรมตามที่ตนได้ฟังได้เรียนแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร. ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควันอย่างนี้.
๖. ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ไม่ไปหาแล้วและไต่ถามไล่เลียงภิกษุทั้งหลายผู้มีพุทธวจนะฟังแล้วมาก เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกาว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไรโดยระยะกาล. เธอผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่ทําข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในเหล่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย ซึ่งยังมีเป็นอันมากแก่เธอ. ภิกษุไม่รู้จักท่าอย่างนี้.
๗. ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศให้รู้แจ้งแล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ ย่อมไม่ได้ความรู้ธรรมรู้อรรถและความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. ภิกษุไม่รู้จักดื่มอย่างนี้.
๘. ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ไม่รู้ชัดอัฏฐังคิกมรรคคือทางประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางอันประเสริฐตามเป็นจริง ภิกษุไม่รู้จักทางอย่างนี้.
๙. ภิกษุผู้ไม่ฉลาดในโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่รู้ชัดในสติปัฏฐาน คือสติเป็นที่ตั้งอย่างใหญ่ทั้งสี่ ตามเป็นจริงภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจรอย่างนี้.
๑๐. ภิกษุเป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้เป็นอย่างไร. คฤหบดีทั้งหลายมีศรัทธา มาปวารณาคือเชิญภิกษุในศาสนาให้เลือกรับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 55
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ววและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น เธอไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้อย่างนี้.
๑๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญูมีพรรษาบวชนานแล้วเป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชาอันล้นเหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญูมีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชาอันล้นเหลือ อย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล ไม่ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
องค์เป็นเหตุให้เจริญ ๑๑ ประการ
[๓๘๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นโทษอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นคุณต่อไปว่า)
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ควรจะรักษาหมู่โคและทําให้หมู่โคเจริญได้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน. นายโคบาลในโลกนี้ ๑. เป็นผู้รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔.เป็นผู้ปิดแผล ๕. เป็นผู้สุมควัน ๖. รู้จักท่า ๗. รู้จักให้ดื่ม ๘. รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ฉลาดในตําบลที่โคเที่ยวหากิน ๑๐. เป็นผู้รีดน้ำนมมีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นพ่อฝูง ด้วยบูชาอันล้นเหลือ. นายโคบาล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 56
ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ควรจะรักษาหมู่โคและทําให้หมู่โคเจริญได้.
ภิกษุก็เหมือนกัน ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้ปิดแผล ๕. เป็นผู้สุมควัน ๖. รู้จักท่า ๗. รู้จักให้ดื่ม๘. รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ฉลาดในโคจร ๑๐. เป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญู มีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ ด้วยบูชาอันล้นเหลือ.
[๓๘๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง และรูปทั้งปวง ก็คือมหาภูตรูปทั้งสี่ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่. ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปอย่างนี้.
๒. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะอย่างนี้.
๓. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสียเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ไม่ให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลกรรมที่เป็นบาปอยู่ทับถม ละเสีย บรรเทาเสีย ทําให้สิ้นเสีย ไม่ให้เกิดได้เนืองๆ. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสียอย่างนี้.
๔. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสิ่งที่จะพึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 57
ถูกต้องด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วไม่ถือไว้โดยนิมิต ไม่ถือไว้โดยอนุพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลมีอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้นเค้า ย่อมอาจไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สํารวมอินทรีย์ มีอินทรีย์ที่ไม่สํารวมแล้วใดเป็นเหตุ เธอปฏิบัติเพื่อจะสํารวมอินทรีย์นั้น. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลอย่างนี้.
๕. ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ แสดงธรรมตามที่ตนได้ฟังได้เรียนแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร. ภิกษุเป็นผู้สุมควันอย่างนี้.
๖. ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไปหาแล้วและไต่ถามไล่เลียงภิกษุทั้งหลายผู้มีพุทธวจนะฟังแล้วมาก เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรมทรงวินัยทรงมาติกาว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็นอย่างไร โดยระยะกาล. เธอผู้มีอายุทั้งหลาย จึงเปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ทําข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัย ในเหล่าธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย ซึ่งยังมีเป็นอันมากแก่เธอ. ภิกษุรู้จักท่าอย่างนี้แล.
๗. ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อธรรมและวินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งแล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้ธรรมรู้อรรถและความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. ภิกษุรู้จักดื่มอย่างนี้.
๘. ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดอัฏฐังคิกมรรคเป็นทางอันประเสริฐตามเป็นจริง. ภิกษุรู้จักทางอย่างนี้แล.
๙. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้รู้ชัดสติปัฏฐานทั้งสี่ตามเป็นจริง. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรอย่างนี้แล.
๑๐. ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้เป็นอย่างไร. คฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธา มาปวารณาคือเชิญภิกษุในคาสนานี้ให้เลือกรับ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 58
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริกขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น เธอรู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้อย่างนี้แล.
๑๑. ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระเป็นรัตตัญูมีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ด้วยบูชาอันล้นเหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระเถระรัตตัญูมีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นําภิกษุสงฆ์ ด้วยบูชาอันล้นเหลืออย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านี้มีใจเต็มตื้นไปด้วยปีติโสมนัสเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบ มหาโคปาลสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 59
อรรถกถามหาโคปาลสูตร
มหาโคปาลสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ. เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ในมหาโคปาสูตรนั้น มี ๓ กถา คือ เอกนาลิกา จตุรสฺสา นิสินฺนวตฺติกา. การกล่าวบาลีในกถาทั้ง ๓ นั้น และกล่าวเนื้อความแต่ละบท ชื่อว่า เอกนาลิกา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาด แสดงภิกษุไม่ฉลาด แสดงนายโคบาลผู้ฉลาด แสดงภิกษุผู้ฉลาด กล่าวประมวลไว้เป็น ๔ พวก ชื่อว่า จตุรสฺสา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดไปถึงที่สุด การแสดงภิกษุผู้ไม่ฉลาด ไปถึงที่สุด การแสดงนายโคบาลผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด การแสดงภิกษุผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด นี้ชื่อว่า นิสินนวุตติกา. กถานี้อาจารย์ทั้งปวงในธรรมวินัยประพฤติกันมาแล้ว
บทว่า เอกาทสหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ คือโดยส่วนแห่งโทษ ๑๑ อย่างบทว่า โคคณํ แปลว่าฝูงโค. บทว่า ปริหริตุํ ได้แก่ พาเที่ยวไป. บทว่า ผาติกาตุํ ได้แก่ ให้ถึงความเจริญ. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า น รูปฺู โหติ ได้แก่ ย่อมไม่รู้จักรูปโดยการนับ หรือโดยสี. ชื่อว่าย่อมไม่รู้จักโดยการนับ คือย่อมไม่รู้จักนับ โคของตนว่าร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่ง. นายโคบาลนั้นเมื่อแม่โคถูกฆ่า หรือหนีไปนับฝูงโคแล้ว ทราบว่า วันนี้แม่โคประมาณเท่านี้ หายไปดังนี้ เที่ยวไปตลอด ๒ - ๓ ละแวกบ้าน หรือดง ย่อมไม่แสวงหา เมื่อแม่โคของคนอื่นเข้าไปยังฝูงโคของตน นับจํานวนแล้วทราบว่าโคเหล่านี้ประมาณเท่านี้ ไม่ใช่ของเราดังนี้ ไม่เอาไม้ตะพดตีออกไป แม่โคของเขาที่หายไปแล้ว ก็เป็นอันหายไป. เขาต้อนแม่โคของคนอื่นเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 60
ไป. พวกเจ้าของโค เห็นแล้วคุกคามว่า นายโคบาลนี้ รีดน้ำนมแม่โคนมของพวกเรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว พาเอาแม่โคของตนไป. แม้ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมไป เขาย่อมห่างไกลจากการบริโภคปัญจโครส.
นายโคบาลที่ชื่อว่าไม่รู้โดยสี คือไม่รู้ว่า โคสีขาวมีประมาณเท่านี้ สีแดงประมาณเท่านี้ สีดําประมาณเท่านี้ สีด่างประมาณเท่านี้ สีเขียวประมาณเท่านี้ นายโคบาลนั้น เมื่อแม่โคถูกฆ่าหรือหนีไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกลจากการบริโภคปัญจโครส. บทว่า น ลกฺขณกุสโล โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้เครื่องหมายที่ต่างกันมีธนู หอก หลาวเป็นต้น ที่ตนทําเป็นเครื่องหมายไว้ที่ตัวของแม่โค นายโคบาลนั้น เมื่อแม่โคถูกฆ่าหรือหนีไป นับจํานวนโคแล้วรู้ว่า วันนี้โคลักษณะโน้นหายไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล แม้จากการบริโภคปัญจโครส. บทว่า น อาสาฏิกํ สาเฏตา ความว่า แผลของโคมีในที่ถูกตอและหนามเป็นต้นทิ่มแทง แมลงวันหัวเขียวหยอดไข่ขางไว้ที่แผลนั้น ชื่อว่า ไม่คอยเขี่ยไข่ขางของแมลงวันหัวเขียวเหล่านั้น นายโคบาลคอยเอาไม้เขี่ยไข่ขางเหล่านั้นออกไปแล้ว พึงใส่ยา นายโคบาลโง่ หาทําอย่างนั้นไม่. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ไม่คอยเขี่ยไข่ขาง. แผลของโคของเขาลุกลามเป็นแผลลึก พวกสัตว์เล็กไช เข้าท้องได้ แม่โคเหล่านั้นถูกความเจ็บไข้ครอบงําไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า และดื่มน้ำได้ตามต้องการ น้ำนมของโคทั้งหลาย ในที่นั้นก็ขาด พวกโคก็ถอยกําลัง แม้อันตรายแห่งชีวิตย่อมมีแก่โดยทั้ง ๒ ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครสบ้าง ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า น วณํ ปฏิจฺฉาเทตา โหติ ความว่า แผลที่เกิดแล้วแก่โคโดยนัยที่กล่าวแล้ว พึงเอาปอหรือป่านพันปิดไว้. นายโคบาลโง่ หาทําอย่างนั้นไม่. เมื่อเป็นเช่นนั้น หนองย่อมไหลจากแผลของโคของเขา โคเสียดสีกันและกัน เพราะการเสียดสีนั้น แผลเกิดแก่โคแม้เหล่าอื่น โคถูกความเจ็บไข้ครอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 61
งําแล้วอย่างนี้ ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า ตามต้องการได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล.
บทว่า น ธูมํ กตฺตา โหติ ความว่า ในเวลาภายในฤดูฝน เหลือบและยุงเป็นต้นชุกชุมเมื่อฝูงโคเข้าคอกแล้ว ควรสุมด้วยควันให้ในคอกนั้น นายโคบาลผู้ไม่ฉลาด ย่อมไม่สุมควันให้ฝูงโคถูกเหลือบเป็นต้นเบียดเบียนตลอดคืนยังรุ่ง ก็ไม่ได้หลับ ในวันรุ่งขึ้น นอนหลับที่โคนไม้เป็นต้น ในที่นั้นๆ ในป่า ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้าตามความต้องการได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกลจากการบริโภคปัญจโครส. บทว่า น ติตฺถํ ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักท่าว่าเรียบหรือไม่เรียบ มีสัตว์ร้ายหรือไม่มีสัตว์ร้าย ดังนี้. นายโคบาลนั้น ปล่อยแม่โคให้ลงไปโดยที่มิใช่ท่า เมื่อแม่โคเหล่านั้นเหยียบแผ่นหินเป็นต้นที่ท่าไม่เรียบ เท้าย่อมแตก แม่โคลงที่ท่าลึกมีสัตว์ร้าย สัตว์ร้ายมีจรเข้เป็นต้น ก็กัดเอา เขาจะต้องกล่าวว่า วันนี้โคหายไปแล้วประมาณเท่านี้ วันนี้ประมาณเท่านี้ ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญโครสบ้าง ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า น ปิตํ ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักให้โคดื่ม ก็นายโคบาลควรรู้จักให้โคดื่มและไม่ดื่มอย่างนี้ว่า โคนี้ ดื่ม โคนี้ไม่ดื่ม โคนี้ได้โอกาสที่ท่าน้ำ สําหรับดื่ม โคนี้ไม่ได้ดังนี้. แต่นายโคบาลนี้ รักษาฝูงโคในป่าตลอดทั้งวัน คิดว่าเราจักให้ดื่มน้ำดังนี้ ก็ต้อนไปแม่น้ำ หรือหนอง โคใหญ่ โคเล็กเอาเขา หรือสีข้างกระแทกแม่โคที่ไม่มีกําลัง และโคที่กําลังน้อยและ แก่ ตนได้โอกาสลงน้ำแค่อก ดื่มตามความปรารถนา โคที่เหลือ เมื่อไม่ได้โอกาส ยืนอยู่บนฝังดื่มน้ำเจือเปือกตมบ้าง ไม่ได้ดื่มบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น นายโคบาลตีที่หลัง ต้อนให้โคเหล่านั้นกลับเข้าป่าอีก ในโคเหล่านั้น แม่โคที่ไม่ได้ดื่มอิดโรยด้วยความกระหาย ไม่สามารถจะเคี้ยวกินหญ้า ตามความต้องการได้ น้ำนมของแม่โคในที่นั้นก็ขาดไป ฝูงโค ก็ถอยกําลัง ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น วิถึ ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักว่า ทางนี้เป็นทางเรียบปลอด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 62
ภัย ทางนี้ไม่เรียบ น่าสงสัย มีภัยจําเพาะหน้า. เขาเว้นทางอันปลอดภัยเรียบ ต้อนฝูงโคให้เดินไปอีกทางหนึ่ง โคได้กลิ่นราชสีห์และเสือเป็นต้น หรืออันตรายแต่โจรครอบงํา เปรียบด้วยเนื้อตื่น ยืนชูคอ จะเคี้ยวกินหญ้า ดื่มน้ำไม่ได้ตามความปรารถนา น้ำนมของแม่โคในที่นั้น ก็ขาดไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น โคจรกุสโล โหติ ความว่า ก็นายโคบาลพึงฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน พึงรู้คราวละ ๕ วัน หรือคราวละ ๗ วัน ให้ฝูงโคเที่ยวหากินในทิศหนึ่งแล้ว วันรุ่งขึ้น ไม่พึงให้เที่ยวไปที่นั้น. ก็สถานที่ฝูงโคใหญ่เคยเที่ยวไป หญ้าหมดเรียบเหมือนหน้ากลอง แม้น้ำก็ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๕ หรือที่ ๗ จึงควรต้อนให้ไปเที่ยวหากินในที่นั้นอีก เพราะว่า แม้หญ้าก็กลับงอกงาม แม้น้ำก็ใส ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ส่วนนายโคบาลนี้ ไม่รู้จักคราวละ ๕ วัน หรือคราวละ ๗ วัน ย่อมรักษาสถานที่ตนรักษาแล้วนั่นและทุกๆ วัน เมื่อเป็นเช่นนั้นฝูงโคของเขาไม่ได้เคี้ยวกินหญ้าอันเขียวสด เมื่อเคี้ยวกินหญ้าแห้ง ดื่มน้ำเจือเปือกตมอยู่ น้ำนมของแม่โคในที่นั้นก็ขาดไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล.
บทว่า อนวเสสโทหี โหติ ความว่า เนื้อและเลือดของลูกโค จะตั้งอยู่ได้เพียงใด นายโคบาลผู้ฉลาด พึงรีดน้ำนมให้เหลือไว้ ๑ - ๒ เต้า เพียงนั้น นายโคบาลนี้ รีดน้ำนมมิได้เหลืออะไรสําหรับลูกโคเลย ลูกโคที่ยังดูดน้ำนมย่อมอิดโรย ด้วยความกระหายน้ำนม เมื่อไม่สามารถดํารงตนอยู่ได้สั่นล้มลงตายต่อหน้าแม่ แม่เห็นลูกน้อยแล้วคิดว่า ลูกน้อยของเราไม่ได้แม้เพื่อจะดื่มน้ำนมของแม่ตน ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า ดื่มน้ำ ตามความต้องการได้ เพราะความโศกถึงลูก น้ำนมที่เต้าน้ำก็ขาดไป ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครสบ้าง ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่า พ่อโค เพราะอรรถว่าทําหน้าที่เป็นพ่อของโคทั้งหลาย. ชื่อว่าหัวหน้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 63
โค เพราะอรรถว่า นําฝูงโคคือพาไปได้ตามชอบใจ. บทว่า น อติเรกปูชาย ความว่า จริงอยู่ นายโคบาล ผู้ฉลาด ปรนปรือโคใหญ่เห็นปานนี้ ด้วยการปรนปรือเป็นพิเศษ คือย่อมให้อาหารอันประณีต ตกแต่งด้วยของหอมและการเจิม ๕ แห่ง ประดับดอกไม้ สวมปลอกทองคําและเงินที่เขา ตามดวงไฟให้สว่างตลอดคืน ให้นอนภายใต้เพดานผ้า ส่วนนายโคบาลนี้ ย่อมไม่ทําการเอื้อเฟื้ออย่างเดียว จากการให้อาหารอันประณีตเป็นต้นนั้น โคใหญ่เมื่อไม่ได้ปรนปรือ เป็นพิเศษก็ไม่รักษาฝูงโค ไม่ป้องกันอันตราย ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมไป เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครส ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า น รูปฺู โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักรูปที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า มหาภูตรูป ๔ โดยอาการ ๒ คือ โดยการนับ หรือโดยสมุฏฐาน. ชื่อว่าไม่รู้จักโดยการนับ คือไม่รู้ว่า ส่วนแห่งรูป ๒๕ มาแล้ว ในบาลีอย่างนี้ว่า อายตนะคือตา หูจมูกลิ้น และกาย อายตนะคือรูป เสียงกลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ความเบาแห่งรูป ความอ่อนแห่งรูป ความควรแก่การงาน ความก่อขึ้น ความสืบต่อ ความแก่ ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยง อาหารคือคําข้าว. ภิกษุนี้ เปรียบเหมือนนายโคบาลนั้น ไม่รู้จักรูปแห่งโคทั้งหลายโดยการนับฉะนั้น เธอเมื่อไม่รู้จักรูปโดยการนับก็ไม่สามารถเพื่อจะกําหนดรูป ยึดถือรูป กําหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่สามัญลักษณะ กําหนดรูป ยึดถือรูป กําหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่สามัญลักษณะแล้ว กําหนดอรูป กําหนดจับอรูป กําหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่ลักษณะ ให้กัมมัฏฐานถึงที่สุดได้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่เจริญด้วยศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพานในศาสนานี้ เหมือนฝูงโคของนายโคบาลนั้นย่อมไม่เจริญฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า นายโคบาลนั้นย่อมห่างไกลจากปัญจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 64
โครส ฉันใด ภิกษุนั้นก็ห่างไกลจากธรรมขันธ์ ๕ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะฉันนั้น. ชื่อว่า ไม่รู้จักรูปโดยสมุฏฐาน คือไม่รู้ว่า รูปประมาณเท่านี้ มีสมุฏฐานเดียว ประมาณเท่านี้ มีสองสมุฏฐาน ประมาณเท่านี้ มีสามสมุฏฐาน ประมาณเท่านี้ มีสี่สมุฏฐาน ประมาณเท่านี้ ย่อมไม่ตั้งขึ้น แต่สมุฏฐานไหนเลย ดังนี้. ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนายโคบาลนั้น ไม่รู้จักรูปแห่งใดทั้งหลายโดยสีฉะนั้น เธอไม่รู้จักรูปโดยสมุฏฐาน* ยึดถือรูป กําหนดรูป แล้ว ฯลฯ ย่อมห่างไกล.
บทว่า น ลกฺขณกุสโล โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักว่า กุศลกรรมอกุศลกรรมเป็นลักษณะพาลและบัณฑิต ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ คนเป็นบัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ เขาเมื่อไม่รู้จักอย่างนี้ ไม่เว้นคนพาล ไม่คบหาบัณฑิต เมื่อไม่เว้นคนพาล ไม่คบหาบัณฑิต ไม่รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควร เป็นกุศลอกุศล สิ่งที่มีโทษไม่มีโทษ โทษหนักโทษเบา แก้ไขได้แก้ไขไม่ได้ เหตุมิใช่เหตุ เมื่อไม่รู้สิ่งนั้น ย่อมไม่สามารถเพื่อจะถือเอากัมมัฏฐานไปเจริญได้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เจริญด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วในศาสนานี้ เหมือนฝูงโคของนายโคบาลนั้นไม่เจริญ คือเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมขันธ์ เหมือนนายโคบาลห่างไกลจากปัญจโครสฉะนั้น. บทว่า น อาสาฏิกํ สาเฏตา โหติ ความว่า ย่อมไม่บรรเทากามวิตกเป็นต้น ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแล้วดังนี้ ไม่คอยเขี่ยไข่ขางเป็นอกุศลวิตกนี้ เมื่อเที่ยวประพฤติอยู่ในอํานาจของวิตก ย่อมไม่สามารถเพื่อจะถือเอากัมมัฏฐานไปเจริญได้ ภิกษุนั้นย่อมห่างไกลเหมือนของนายโคบาล ฯลฯ บทว่า น วณํ ปฏิจฺฉาเทตา โหติ ความว่า เมื่อถือนิมิตในอารมณ์ทุกอย่างโดยนัยเป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือโดยนิมิตดังนี้ ย่อมไม่ยัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 65
ความสํารวมให้ถึงพร้อมเหมือนนายโคบาลนั้นไม่ปิดแผลฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อเปิดทวารเที่ยวไป ย่อมไม่สามารถเพื่อถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล.
บทว่า น ธูมํ กตฺตา โหติ ความว่า ภิกษุไม่สุมควันคือธรรมเทศนาเหมือนนายโคบาลนั้นไม่สุมควันฉะนั้น คือไม่ทําธรรมกถา หรือสรภัญญะ อุปนิสินนกถา หรืออนุโมทนา แต่นั้น พวกมนุษย์ไม่รู้จักคุณนั้นว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตมีคุณดังนี้ มนุษย์เหล่านั้น เมื่อไม่รู้จักคุณและโทษ ย่อมไม่กระทําการสงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ เธอเมื่อลําบากด้วยปัจจัย ก็ไม่สามารถเพื่อจะทําการสาธยายพระพุทธพจน์ บําเพ็ญวัตรปฏิบัติ ถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น ติตฺถํ ชานาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นดุจท่า เมื่อเข้าไปหา ไม่ไต่ถาม ถือเอา สอบถามให้รู้อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พยัญชนะนี้ พึงปลูกฝังอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้ เป็นอย่างไร บาลีในที่แห่งบาลีนี้ กล่าวไว้อย่างไร เนื้อความในที่นี้ แสดงไว้อย่างไร ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเหล่านั้นอันเธอไม่ไต่ถามแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่จําแนกออกแสดง ไม่ทําข้อความที่ลึกให้ตื้น ไม่ทําข้อความที่ไม่ปรากฏให้ปรากฏแก่เธอ. บทว่า อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฏานีเยสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ย่อมไม่บรรเทาแม้ความสงสัยอย่างหนึ่งในความสงสัยหลายอย่าง มีอธิบายว่า ก็ความสงสัย ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย ย่อมไม่นําแม้ความสงสัยอย่างหนึ่งในธรรมนั้นออกไปได้. เธอไม่เข้าไปหาท่าคือภิกษุผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ จึงเต็มด้วยความสงสัย ไม่สามารถเพื่อจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ เหมือนอย่างว่า นายโคบาลย่อมไม่รู้จักท่าฉันใด ภิกษุนี้ไม่รู้จักท่าคือธรรมฉันนั้น เมื่อไม่รู้ ได้ถามปัญหาในมิใช่วิสัย เข้าไปหาพระนักอภิธรรม ได้ถามสิ่งที่ควรไม่ควร เข้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 66
ไปหาพระวินัยธร ได้ถามการกําหนดรูปและอรูป ท่านเหล่านั้น ถูกเธอถามในธรรมที่มิใช่วิสัย ย่อมไม่สามารถเพื่อจะตอบได้ เธอจึงเต็มไปด้วยความสงสัย ด้วยตนเอง จึงไม่สามารถเพื่อจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล.
บทว่า ปิตํ น ชานาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ คือไม่ได้ความปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม เหมือนนายโคบาลนั้น ย่อมไม่รู้จักให้โคดื่มและไม่ดื่มฉะนั้น เธออาศัยบุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยการฟัง ย่อมไม่ประสบอานิสงส์ ไปยังโรงฟังธรรมแล้ว ย่อมไม่ฟังโดยความเคารพ นั่งหลับ ย่อมพูดคุย เป็นผู้มีใจส่งไปอื่น เธอเมื่อไม่ฟังธรรมโดยความเคารพ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น วีถึ ชานาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริงว่า ทางนี้เป็นโลกิยะ ทางนี้เป็นโลกุตตระ ดังนี้ เหมือนนายโคบาลนั้น ไม่รู้อยู่ซึ่งทางและมิใช่ทางฉะนั้น เมื่อเธอไม่รู้ ตั้งมั่นแล้วในทางที่เป็นโลกิยะ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล บทว่า น โคจรกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ชัดสติปัฏฐาน ๔ ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตตระ เหมือนนายโคบาลนั้นไม่รู้อยู่ซึ่งคราวละ ๕ วัน และ ๗ วันฉะนั้น เมื่อเธอไม่รู้ปลูกฝังญาณของตนไว้ในธรรมอันที่สุขุม ตั้งมั่นในสติปัฏฐานเป็นโลกิยะ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า อนวเสสโทหี ความว่า ภิกษุ เมื่อไม่รู้จักประมาณในการรับ ย่อมรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้ ส่วนในนิทเทสวาร พวกคฤหบดีผู้มีศรัทธามาปวารณาแก่ภิกษุนั้นว่า อภิหฏุํ ปวาเรนิตา ในที่ปวารณานี้ ปวารณามี ๒ คือ ปวารณาด้วยวาจา ๑ ปวารณาด้วยปัจจัย ๑. พวกมนุษย์ไปยังสํานักของภิกษุแล้ว ปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพึงบอกสิ่งที่ต้องการดังนี้ ชื่อว่าปวารณาด้วยวาจา. พวกมนุษย์ถือผ้า หรือ เภสัชมีน้ำนมและน้ำอ้อย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 67
เป็นต้น ไปสํานักของภิกษุ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับตามความต้องการเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปวารณาด้วยปัจจัย. บทว่า ตตฺร ภิกฺขุมตฺตํ น ชานาติ มีอธิบายว่า ภิกษุไม่รู้จักประมาณในปัจจัยเหล่านั้น ไม่รับแต่พอประมาณโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตสูตร*ว่า พึงรู้ความสามารถของทายก ความสามารถของไทยธรรม พึงรู้กําลังของตน. รับสิ่งที่เขานํามาถวายทั้งหมด มนุษย์เดือดร้อนจะไม่มาปวารณาอีก. เธอเมื่อลําบากด้วยปัจจัย ย่อมไม่สามารถจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า เต น อติเรกปูชาย ปูชิตา โหติ ความว่า ภิกษุไม่บูชาพระภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นพระเถระด้วยบูชาเป็นอดิเรก มีเมตตากายกรรมเป็นต้นนี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ เหมือนนายโคบาลไม่ปรนปรือโคใหญ่ด้วยการปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระเถระคิดว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ทําความเคารพและความยําเกรงในพวกเราเหล่านี้แล้ว จึงมิได้สงเคราะห์พวกนวกภิกษุด้วยการสงเคราะห์ ๒ คือไม่สงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ด้วยอามิส ๑ ไม่บํารุงนวกภิกษุผู้ลําบาก เหี่ยวแห้งอยู่ด้วยจีวร หรือบาตร สิ่งของเนื่องด้วยบาตร หรือที่อยู่ ไม่ให้ศึกษา บาลีหรืออรรถกถาคัมภีร์เนื่องด้วยธรรมกถา หรือคัมภีร์ที่ลี้ลับ พวกนวกภิกษุ เมื่อไม่ได้การสงเคราะห์ ๒ อย่างเหล่านี้ แต่สํานักของพระเถระทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่อาจเพื่อจะดํารงอยู่ในศาสนานี้ได้. พวกเธอย่อมไม่เจริญด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เหมือนฝูงโคของนายโคบาลย่อมไม่เจริญฉะนั้น. นายโคบาลนั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากปัญจโครสฉันใด เธอย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมขันธ์ ๕ ฉันนั้น สุกกปักษ์ท่านประกอบไว้แล้ว พึงทราบด้วยสามารถตรงกันข้ามที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์
จบ อรรถกถามหาโคปาลสูตรที่ ๓